คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : "แพทย์แผนไทย" คืออะไร
การแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบาย
ภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎี
ความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย
พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์
การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด
หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวด
ไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือ
ทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา
การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมาก
นัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่
ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อ
บังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทย
กระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้
อย่างเต็มที่
ธาตุเจ้าเรือน
ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม
ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็น ธาตุประจำตัว เรียกว่า“ธาตุเจ้าเรือน ” ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี 2
ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้า เรือนปัจจุบัน ที่
พิจารณาจาก บุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ กายและใจ ว่าสอดคล้องกับลักษณะ
ของบุคคลธาตุเจ้าเรือน อะไร เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาด
ความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก จุดอ่อน ด้านสุขภาพของแต่ละคนตาม
เรือนธาตุ ที่ขาดความสมดุล ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นการปรับ
พฤติกรรมการบริโภค อาหารของแต่ละคนในชีวิตประจำวัน โดยใช้รสของอาหารคุณลักษณะที่
เป็นยามาปรับ สมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย จะได้รู้อย่างไรว่าเป็นคนธาตุอะไร มี
จุดอ่อนด้านสุขภาพด้วยโรคอะไร และควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ให้ตรงกับธาตุ ุเจ้าเรือน
ของตนสามารถอ่านได้จากอาหาร สมุนไพรประจำธาตุดังต่อไปนี้
คัมภีร์แพทย์แผนไทย
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป
คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค และ วิธีการตรวจโรคต่างๆ
คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ซึ่งกล่าวถึงถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยทฤษฎีธาตุในการวินิจฉัยและ
พยากรณ์โรค
คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงสาเหตุของโรค และ ความผิดปกติของธาตุต่างๆ และรสยาต่างๆ
คัมภีร์ธาตุวิภังค์ เช่นเดียวกับคัมภีร์โรคนิทาน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน และรสยาต่างๆ
คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน รวมถึง
รสยาต่างๆ
คัมภีร์ที่กล่าวถึงไข้
คัมภีร์ฉันศาสตร์ กล่าวถึงไข้ โดยใช้ทฤษฎีธาตุ
คัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึงไข้ต่างๆ
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร
คัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในช่องปาก
คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยพิจารณาจากอุจจาระ และใช้ทฤษฎี
ธาตุ
คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในช่องท้องและท้องเดินอาหาร
คมภีร์อติสาร เช่นเดียวกับคัมภีร์อุทรโรค แต่รายละเอียดแตกต่างกัน
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคสตรี และการตั้งครรภ์
คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ลักษณะสตรีต่างๆ โรคในเด็กแรกเกิด
คัมภีร์มหาโชติรัตน์ กล่าวถึงโรคสตรี
คัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และทางเดินปัสสาวะ
คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม
คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ หัวใจ และไต ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีลม
คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร อธิบายที่ตั้งและการเรียกชื่อโรคของ โรคลม
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง
คัมภีร์กษัย
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิว
คัมภีร์ทิพยมาลา เกี่ยวกับฝีภายในร่างกาย
คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์ กล่าวเกี่ยวกับฝี
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคตา
คัมภีร์อภัยสันตา
แพทย์แผนไทยประยุกต์
แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนาย
แพทย์ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนไทยโบราณให้มีความ
เป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทย
ประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้อง
ร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตก ผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของ
ไทย สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง (ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด
13 รายการ) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการ
รักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทยอาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ
นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทย
เพื่อส่งเสริมสุขภาพ
แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้
การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์
เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะสอบใบ
ประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย และผดุงครรภ์
การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการ
แพทย์แผนไทยประยุกต์
ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตในสาขาการแพทย์แผน
ไทยมากขึ้น ซึ่งการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน
คือ การแพทย์แผนไทย เน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์
แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพร เพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการ
แพทย์แบบตะวันตก ซึ่งต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละ
ประเภทกัน โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนการแพทย์แผนไทย มีดังนี้
สาขาการแพทย์แผนไทย
สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก (หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาการ
แพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก หลักสูตรแพทย์แผนไทย 3ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(วิทยาเขตสกลนคร)
สถาบันแพทย์แผนไทยเพ็ญนภา นนทบุรี
โรงเรียนภัทรเวชสยาม การแพทย์แผนไทย นนทบุรี
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความคิดเห็น