ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ญี่ปุ่น (culture) ^O^

    ลำดับตอนที่ #3 : ประวัติศาสตร์ของประเทศ (3)

    • อัปเดตล่าสุด 8 เม.ย. 50




    สมัยกลางใหม่ (ศตวรรษที่ 16 – กลางศตวรรษที่ 19)
                เป็นยุคที่โชกุนและไดเมียว มีอำนาจปกครองสิทธิขาดเหนือที่ดินและประชาชน อันเรียกว่า การปกครองแบบ บะคุฮัง (Bakuhan) ซึ่งระบบนี้พึ่งพาเศรษฐกิจอันมาจากผลผลิตทางการเกษตร


    สมัยอะชุฉิ โมะโมะยะมะ
                เป็นยุคที่โชกุนชื่อ โอะดะ โนะบุนะงะ (Oda Nobunaga) และโทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิ (Toyotomi Hideyoshi) ได้ปราบปรามไดเมียวหัวเมืองต่าง ๆ และรวมศูนย์กลางอำนาจไว้ได้แต่เพียงผู้เดียว ความสงบภายในประเทศประกอบกับการติดต่อกับต่างประเทศที่มากขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมอันหรูหรา อย่างเช่น วัฒนธรรม
    โมะโมะยะมะ (Momoyama)


    สมัยเอะโดะ
                โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ (Tokugawa Ieyasu) ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 และหลังจากนั้นอีก 260 ปี การปกครองทั้งหลายก็ตกอยู่ในอำนาจของตระกูลโทะคุงะวะ รัฐบาลโทะคุงะวะได้ลิดรอนอำนาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และพระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย เมื่อเกษตรกรอันเป็นฐานอำนาจของรัฐบาลโทะคุงะวะยากจนลงจนเดือดร้อน การปกครองของตระกูลโทะคุงะวะก็เริ่มสั่นคลอนลงตั้งแต่เข้าศตวรรษที่ 19
       ยุคนี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของวัฒนธรรมเก็นโระขุ (Genroku) ซึ่งเป็นของนักรบผสมกับราษฎรสามัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างเกียวโต โอซาก้า เอกลักษณ์คือละครหุ่น ละครคะบุขิและหัตถกรรมต่าง ๆ มีศิลปินกำเนิดจากราษฎรสามัญมากมาย เช่น นักเขียน อย่าง อิฮะระ ไชคะขุ (Ihara Saikaku) นักกลอนไฮขุ อย่าง มะทสึโอะ บะโช (Matsuo Bashou) นักแต่งบทละครหุ่น ละครคะบิขุ อย่าง ชิคะมะทสึ มงซะเอะมง (Chikamatsu Monzaemon) จนเมื่อศตวรรษที่ 19 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมได้ย้ายไปอยู่เอะโดะ เป็นยุคของวัฒนธรรม คะเซ (Kasei) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชาวเมือง อันได้แก่ นวนิยาย ละครคะบุขิ ภาพอุคิโยะ บุงจิง-งะ เป็นต้น
       การศึกษาและวิชาการก็เจริญรุ่งเรือง ชนชั้นนักรบเล่าเรียนปรัชญาของขงจื๊อและหลักคำสอน จูจื่อ (Chu H si) ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ค้ำจุนการปกครองของรัฐบาลโทะคุงะวะ การศึกษาเกี่ยวกับญี่ปุ่นและดัตช์ (ฮอลันดา) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการเปิดโรงเรียนตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อลูกหลานของชนชั้นนักรบ ราษฎรสามัญเองก็นิยมส่งลูกหลานไปศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่วัด (terakoya)





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×