คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #14 : เบสบอล
เบสบอล : กีฬาประจำชาติจริงๆ ในแง่ของความนิยมและการได้รับการตอบรับตลอดทั้งปีก็คือ เบสบอล
ชาวญี่ปุ่นเริ่มเล่นเบสบอลกันมาตั้งแต่ปี 1873 กีฬาชนิดนี้สามารถเล่นได้ทุกเพศวัย
เมื่อครั้งที่มิชชันนารีชาวอเมริกันเริ่มสอนเทคนิกการเล่นเบสบอลให้กับนักเรียนในวิทยาลัยญี่ปุ่นในปี 1912 นั้น
พวกเขาก็คงไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นกีฬายอดนิยมไปได้
เบสบอล (Yakya / ยิคิว) เป็นคู่แข่งกับซูโม่ในฐานะกีฬาประจำชาติ ฤดูกาลเบสบอลสองฤดูกาลของญี่ปุ่นเป็น
อุตสาหกรรมที่ทำเงินได้มาก เพราะสามารถดึงคนดูเข้าสนามได้ถึง 15 ล้านคน
อีกล้านคนที่เหลือจะชมการแข่งขันจากโทรทัศน์ ขณะที่คนโดยสารรถไฟก็จะอ่านแต่หนังสือพิมพ์กีฬาระหว่าง
ทางไปทำงานทุกเช้า โดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงตุลาคม เพื่อติดตามรายละเอียดผลการแข่งของคืนวาน
ญี่ปุ่นอาจจะจัดได้ว่าเป็นชาติที่บ้ากีฬาเบสบอลมากว่าสหรัฐอเมริกาเสียอีก
ความต่างระหว่างเบสบอลอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น
คือนักเบสบอลญี่ปุ่นถือว่ากีฬาเบสบอลเป็นอาชีพหนึ่งที่พวกเขาต้องฝึกฝนอย่างหนักในช่วงนอกฤดูแข่งขัน
เช่นเดียวกับที่ต้องฝึกหนักช่วงฤดูการแข่งขันในเดือนเมษายนถึงตุลาคม
ทีมเบสบอลทุกทีมจะต้องเข้าแข่งรวมทั้งสิ้น 130 เกมต่อหนึ่งฤดูการแข่งขัน ซึ่งน้อยกว่าของอเมริกาที่มีการแข่งถึง 162 เกม
ทุกฤดูการแข่งขันจะเริ่มเปิดฉากในวันเสาร์แรกของเดือนเมษายน และปิดใสช่วงกลางเดือนตุลาคม
ทั้งนี้ทีมผู้ชนะของแต่ละลีกจะต้องมาเจอกันในการแข่งขันที่เรียกว่า เวิลด์ซีรี่ส์ อันเป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดของการแข่งขัน
7 ครั้งในญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มเปิดสนามในสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคม
ญี่ปุ่นมีลีกเบสบอลอาชีพสองลีก โดยมีบริษัทใหญ่เป็นเจ้าของทีมต่างๆ ในลีก ไม่ใช่เมืองต่างๆ
แม้ว่าชื่อทางการของทีมจะมีชื่อของเมืองอยู่ด้วยก็ตาม
ส่วนทีมไหนที่ชนะบอยก็เท่ากับเป็นการช่วยสร้างชื่อและโฆษณาให้กับบริษัทผู้เป็นเจ้าของทีมไปด้วย
สนามเซบุ (Seibu) อันเป็นสนามแข่งขันตั้งอยู่ใกล้กับทางรถไฟเซบุ ติดกับสวนสนุกเซบุเพื่อให้สนุกกันได้ทั้งครอบครัว
เมื่อใดก็ตามที่มีการทำโฮมรันในสนามก็จะมีการจุดพลุขึ้นไปบนท้องฟ้าจนสว่างไสวทันที่
ส่วนแผ่นป้ายที่สถานีรถไฟเซบุในอิเคบุกุโรก็จะคอยรายงานผลการแข่งขันให้ผู้โดยสารรถไฟทราบ
ช่วงที่พวกเขาผ่านห้างสรรพสินค้าอย่างเร่งรีบ นอกจากนี้ห้างสรรพสินค้าหรือตามร้านต่างๆ
ในเซบุก็จะมีการเล่นเพลงปลุกใจประจำทีมซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งวันทั้งคืนในวันที่ทีมนั้นๆ เป็นผู้ชนะ
การที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้คนต่างชาติ (gaijin / ไกจิน) มาเล่นในทีมเบสบอลญี่ปุ่นได้ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
ทีมเบสบอลทุกทีมจะทำการเลือกผู้เล่นต่างชาติสามคนมาจากจำนวนผูเล่น 60 คนที่อยู่ใน “เมเจอร์ลีก” และทีมสมัครเล่น
ทีมเบสบอลญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะว่าจ้างอดีตผู้เล่นต่างชาติของลีกในอเมริกามาร่วมด้วย หรือผู้เล่นหนุ่ม จากไต้หวันที่จะถูกส่งไป
ยังทีมสมัครเล่นก่อนเพื่อให้พัฒนาฝีมือ ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะกลายเป็นดาราใหญ่ในอนาคต
มีนักวิจารณ์หลายคนคิดว่าญี่ปุ่นน่าจะอนุญาตให้ว่าจ้างผู้เล่นต่างชาติได้มากขึ้นกว่าเดิม และควรยกเลิกกฎข้อห้ามทิ้งไปเสีย
ขณะที่บางคนกลับกล่าวว่าผู้เล่นต่างชาตินั้นไม่เหมาะกับเบสบอลญี่ปุ่น และไม่สมควรอนุญาตให้มาเล่น
ซึ่งเป็นความคิดเห็นในทางตรงกันข้าม
แต่ขณะนี้สถานการณ์กลับเป็นใจ เนื่องจากนักเบสบอลต่างชาติมีการแสดงออกและคำพูดคำจาที่ทำให้เบสบอลของญี่ปุ่น
มีเสน่ห์มากขึ้น แต่การจำกัดสิทธิของคนพวกนี้ทำให้รู้สึกว่าเบสบอลเป็นกีฬาจำกัดเฉพาะของชาวญี่ปุ่นเท่านั้น
ทั้งนี้เบสบอลทั้งสองลีกของญี่ปุ่นเริ่มเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 1950 ปัจจุบันนี้มีผู้เล่นต่างชาติเข้ามาเล่นให้กับทีมในญี่ปุ่น
จำนวนมากกว่า 300 คนแล้ว
การฝึกฝนตลอดทั้งปี (รวมถึงวันแข่งด้วย) เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดของผู้เล่นต่างชาติที่เข้ามาเล่นในลีกญี่ปุ่น
(ที่ให้กฎเดียวกัน แต่คนละทัศนคติ) นักเบสบอลต่างชาติยืนยันว่าการฝึกฝนก่อนฤดูกาลแข่งขัน รวมกับการแข่งขัน
ในระหว่างฤดูกาลแข่งก็เพียงพอแล้ว นักกีฬามืออาชีพไม่จำเป็นต้องฝึกหนักไปตลอดช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ทั้งสองฝ่าย
ก็ยังเถียงกันในเรื่องเงินและการฝึกฝนไม่จบสิ้น กล่าวคือญี่ปุ่นจะกำหนดให้ผู้เล่นชาวอเมริกันที่ได้เงินเดือนมากกว่านักกีฬา
เบสบอลชาวญี่ปุ่น เล่นเบสบอลตามแบบฉบับของญี่ปุ่น
ส่วนเรื่องที่ว่าจะอนุญาตให้กำหนดจำนวนผู้เล่นต่างชาติในลีกญี่ปุ่นกี่คนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้
แต่ตอนนี้นักกีฬาญี่ปุ่นก็มีพัฒนาการด้านพละกำลัง รวมทั้งความเร็วมากขึ้น ยกเว้นเรื่องขนาดร่างกาย
ซึ่งส่งผลให้นักเบสบอลญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะแจ้งเกิดในการแข่งขันระดับโลกได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี 1995
นักกีฬาญี่ปุ่นนามว่า โนโมะ ฮิเดโอะ (Nomo Hideo) ได้กลายเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศ (หมายรวมทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกา)
เมื่อเขาได้เข้าร่วมทีมกับลอสแอนเจลิสดอดเจอร์ ในตำแหน่งพิตเซอร์ และในปีนั้นเอง โนโมะ ฮิเดโอะ
ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในพิตเซอร์ยอดเยี่ยมที่สุดของวงการเบสบอล “อเมริกัน”
ระบบทีมสมัครเล่นของญี่ปุ่นไม่ซับซ้อน และแตกต่างจากระบบ “บุชลีก” (bush leagues) ของอเมริกา กล่าวคือองค์กรหนึ่ง
จะมีเพียง 1 ทีมเล็กเท่านั้น ขณะที่อเมริกาเหนือจะมี 4-5 ทีม โดยที่ขนาดของทีมจะแตกต่างกันไป ทีมขนาดเล็ก 12
ทีมในญี่ปุ่นจะถูกรวมเป็น 2 ทีมใหญ่ ทำการแข่งขันกันเองเพื่อความสนุกสนาน
และพัฒนาฝีมือของผู้เล่นไม่ใช่เล่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตอบแทน
กฎกติกาการเล่นกีฬาเบสบอลในญี่ปุ่นนั้นโดยทั่วไปแล้วก็เหมือนกับของอเมริกาเหนือ แต่ก็มีที่ต่างกันไปบ้าง อาทิ
การนับคะแนนในการตีถูกของญี่ปุ่นจะกลับข้างกับของอเมริกาเหนือ คือแทนที่จะนับ 2-3 ก็จะนับ 3-2 ทำให้แฟนๆ
เบสบอลชาวอเมริกันสับสนกันไปบ้างในการดูครั้งแรก
นอกจากนี้แล้ว การแข่งขันเบสบอลในญี่ปุ่นก็จะมีเกมที่ผลออกมาเสมอกันด้วย เนื่องจากว่ามีการเข้าดีลูก 12 ครั้ง
นอกจากนั้นแล้ว การที่เกมกีฬาเบสบอลของญี่ปุ่นต้องมีการเสมอกัน ก็เพราะแฟนเบสบอลญี่ปุ่นจะต้องเดินทางไป
และกลับจากสนามด้วยระบบขนส่งมวลชน ซึ่งกำหนดหยุดวิ่งให้บริการหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว และถ้าหากว่าเกมจะ
ต้องดำเนินไปเรื่อยๆ จนรู้ผลแพ้ชนะเหมือนในอเมริกาเหนือแฟนเบสบอลก็ต้องพลาดชมการแข่งขันในช่วงสำคัญตอนท้าย
เพราะต้องออกจากสนามเร็วกว่าปกติ มิฉะนั้นอาจจะพลาดรถขากลับบ้าน ในกรณีที่มีการตีลูกไปจนถึง 20
ครั้งหรือเล่นกันถึงหกชั่วโมง
สนามเบสบอลที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คือสนามในร่มแห่งแรกหรือโตเกียวโดม ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “บิ๊กเอ้ก (Big-Egg)”
สนานนี้จุคนได้มากถึง 56,000 คน สนามแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโคระกุเอลลีเชอร์แลนด์คอมเพล็กซ์
(Korrakuen Leisure land complex) ที่รวมเอาสวนสนุก สระน้ำและเครื่องทำคลื่นเทียมเอาไว้ด้วย
ทีมเบสบอลญี่ปุ่นเองก็มีการเสริมสร้างความสนุกสนานในการเล่นของตนเช่นกัน จากทรัมเป็ต กลอง และแทมบูรีน
ซึ่งควบคุมโดยเชียร์ลีดเดอร์ที่ทีมจ้างมา หน้าที่ของคนพวกนี้คือสร้างเสียงอึกทึกชนิดแก้วหูแทบแตก
ซึ่งต่างจากสไตล์ของอเมริกาเหนือที่ขึงขังและเอาจริงเอาจังมากกว่า
ความคิดเห็น