ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ญี่ปุ่น (culture) ^O^

    ลำดับตอนที่ #13 : Sumo

    • อัปเดตล่าสุด 5 ธ.ค. 49



    ซูโม่ : บางคนกล่าวว่าซูโม่เป็นกีฬาแห่งชาติ บางคนบอกว่าเป็นจิตวิญญาณประจำชาติ ส่วนนักปล้ำซูโม่ (rikishi / ริคิชิ)
      อาจจะกล่าวว่า ซูโม่เป็นงานที่หนักมากกว่าจะไปถึงชัยชนะอันรุ่งโรจน์ ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8
      ซูโม่เป็นความบันเทิงของวังหลวง เพราะวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววัง
      ในเกียวโต ซูโม่ได้พัฒนาไปมากในฐานะความบันเทิงที่มาจาการต่อสู้กันของนักรบ ในศตวรรษที่ 17 ซูโม่จึงกลายเป็นกีฬา
      อย่างเป็นทางการ โดยใช้พื้นศาลเจ้านิกายชินโตเป็นสังเวียนประลองกำลัง ทั้งนี้เสื้อผ้า ริ้วขบวนและพิธีกรรมต่างๆ
      ของซูโม่ในปัจจุบันสืบทอดมาจากรูปแบบในอดีต

     ในช่วงตกต่ำของสมัยเอโดะก็มีซูโม่หญิงเช่นกัน ตอนแรกพวกเธอก็สวมใส่ชุดผ้าเดี่ยวแบบเดียวกับซูโม่ชาย
     จนช่างทำภาพพิมพ์จากแท่นพิมพ์ไม้ แบบที่เรียกว่า อุคิโยเอะ (ukiyoe) จำต้องแกะแท่นพิมพ์ไม้เป็นภาพเสื้อผ้าซูโม่หญิง
     เพื่อให้ในภาพพิมพ์มีสิ่งปกปิดทรวงอกของพวกเธอ ทว่าต่อมาทางการก็ได้ออก กฎหมายให้ซูโม่หญิงสวมเสื้อผ้า

     ตามประเพณีเดิม ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาติให้ก้าวลงไปในสังเวียนที่เรียกว่า โดะเฮียว (dohyo) ทว่าในเดือนมกราคม 1990
     กฎเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกท้าทาย เมื่อมายูมิ โมริยามะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องการเป็นผู้มอบถ้วยรางวัลของนายกรัฐมนตรี 
     ชื่อว่า ไพร์มมินิสเตอร์สคัพ (Prime Minister’s Cup) ให้กับผู้ชนะการแข่งขัน แต่เธอก็ต้องถูกปฏิเสธจากสมาคมซูโม่
     ที่หัวอนุรักษ์นิยม

     ซูโม่เป็นกีฬายอดนิยมเพราะมีความเกี่ยวพันกับหลายสิ่ง กล่าวคือการสะท้อนเรื่องพละกำลัง การเป็นพิธีกรรมโบราณ
     การควบคุมพฤติกรรม ศาสนา ระบบชนชั้นและรูปแบบการฝึกฝนแบบพวกศักดินา

     การที่จะก้าวขึ้นถึงจุดสุดยอดของกีฬาซูโม่ได้ นักปล้ำต้องสูญเสียพละกำลังและอารมณ์อย่างมหาศาล พวกเขาต้องอดหลับอดนอน
     เสียเหงื่อ ถูกเหยียดหยามอย่างต่อเนื่องและยังต้องทำอาหาร ซื้อของ วิ่งไปทำธุระ หรือขัดถูหลังและทำงานต่างๆ ให้กับซูโม่รุ่นพี่
     รวมถึงต้องไปเข้าห้องน้ำร่วมกับรุ่นพี่อีกด้วย การกระทำทั้งหมดนี้ก็เพียงเพื่อจะได้มาแค่ที่นอนและกระดาน
     และมีแต่ซูโม่ฝีมือเยี่ยมเท่านั้นที่ได้เงินเดือน

     กีฬาซูโม่เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลานานสองสัปดาห์ และจะแบ่งจัดที่โคคุงิคัง (Kokugikan) 
     ในโตเกียว 3 ครั้ง และอีก 3 ครั้งในเรียวโงะคุ (Ryogoku) ซึ่อยู่ทางตะวันออกของกรุงโตเกียวการแข่งขันในโคคุงิคัง
     จัดขึ้นในเดือนมกราคม พฤษภาคม และกันยายน นักปล้ำทุกคนต้องลงปล้ำทุกวันเป็นเวลาสองอาทิตย์ ผู้ชนะเลิศจะ
     ได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากองค์จักรพรรดิ รวมทั้งเงินราวัลก้อนโต เนื้อวัวก้อนขนาดเท่าตัวซูโม่ และข้าวหนักกว่าตัน
     ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ซูโม่อยู่ได้อย่าง “สบาย” ไปนานหลายปีทีเดียว

     ในอดีตก่อนการสร้างห้องแข่งขันใหม่เมื่อปี 1985 นั้น บรรดาแฟนซูโม่ยังอาจได้กระทบไหล่ซูโม่นอกสังเวียน
     รวมทั้งยังได้แอบมองเข้าไปในห้องแต่งตัวก่อนการแข่งขัน แต่ปัจจุบันหากแฟนๆ ต้องการสัมผัสบรรยากาศแบบเดิมต้อง
     ไปที่เบยะ (beya-โรงซ้อม) ซึ่งซูโม่จะซ้อมกันตั้งแต่เช้า เบยะบางแห่งต้องมีใบอนุญาตถึงจะเข้าได้ บางแห่งก็เปิดให้เข้าชม
     การฝึกของซูโม่ดำเนินไปอย่างเงียบๆ ซูโม่ส่วนใหญ่ดูเจ้าเนื้อ แต่พวกเขากลับเต็มไปด้วยพละกำลัง เพราะผ่านการฝึกฝนมา
     เป็นอย่างดี ทำให้มีกล้ามเนื้อซ่อนอยู่ในร่างกายที่อุดมไปด้วยไขมัน ซูโม่ที่ตัวใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น [เป็นคนฮาวาย 
     ชื่อ ซาเลวา เอติซาโน (Salevaa Atisanoe) แต่ตอนนี้โอนสัญชาติเป็นคนญี่ปุ่นแล้ว พร้อมชื่อใหม่ว่า โคนิชิกิ (Konishiki)] 
     มีน้ำหนักถึง 253 กิโลกรัม ก่อนจะลดลงเมื่อเดินเข้าประตูวิวาห์ แชมป์ซูโม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักประมาณ 110-150 กิโลกรัม
     แต่ก็มีซูโม่ที่จัดอยู่ในระดับเก่งที่มีน้ำหนักเพียง 91 กิโลกรัม อยู่เหมือนกัน

     คนที่เข้าวงการซูโม่ใหม่ต่างมีความฝันจะไปให้ถึงระดับเซคิโทริ (sekitori) ให้ได้สักวัน หรือเป็นหนึ่งใน 50 ยอดซูโม่
     จากจำนวนทั้งหมด 600 กว่าคน เพราะนั่นหมายถึงชื่อเสียงและเงินก้อนโต ทว่าซูโม่เพียงสองสามคนจาก 50
     คนเท่านั้นที่สามารถไปถึงดวงดาว หรือการเป็นแชมป์ที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า โยโคะซึนะ (yokozuna) ได้

     ซูโม่จะสู้กันบนสังเวียนยกพื้นสี่เหลี่ยมทำจากดินและทราย เรียกว่า โดะเฮียว ส่วนวงกลมบนสังเวียนเรียวกว่า ทาวาระ (tawara)
     ซึ่งทำจากฟางข้าว การแข่งขันซูโม่ในรุ่นที่เก่ง นับเป็นการจดจ่อให้กำลังอย่างเต็มที่ระหว่างคู่ต่อสู้
     โดยจะมีการจับฝ่ายตรงข้ามยกขึ้นจำนวนห้าครั้ง และแต่ละครั้งเมื่อนักมวยปล้ำถอยออกมา
     จะมีการโปรยเกลือลงบนพื้นสังเวียนเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย

     เป้าหมายของนักซูโม่คือการผลักร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ยกเว้นเท้าให้สัมผัสหรือตกจากสังเวียน
     ซึ่งจะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก แต่ละครั้งโดยเฉลี่ยจะกินเวลาไม่เกินหกวินาที

     พวกริคิชิเก่งๆ จะดูที่ความสามารถไม่ใช่ขนาด ตำแหน่งสูงสุดของริคิชิที่เรียกว่า โยโคะซึนะ (ผู้ชนะเลิศระดับสูงสุด)
     จะมีจำนวนไม่เกินสี่ตำแหน่ง ระดับรองลงมาคือ โอเซกิ (ozeki) ริคิชิทั้งสองระดับจะยังคงอยู่ในตำแหน่งแม้จะพ่ายแพ้ใน
     บาโชะ (basho) (แต่ต้องแพ้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ 15 เกม การแข่งขันต่อ 1 บาโชะ) อย่างไรก็ตาม ถ้าซูโม่คนนั้นแพ้ติดกัน 
     2 บาโชะ ซูโม่ในขั้นโอเซกิจะถูกลดตำแหน่ง และโยโคะซึนะก็จะถูกกดดันให้ลาออก

    KaioPhoto

     ซูโม่ระดับแนวหน้าเรียกรวมกันว่า มาคุโนะอุจิ (makunouchi) ระดับรองลงมาคือ โอเซกิ, เซคิวาคิ, โคมุซูบิ ทั้งยังมีระดับ
     มาเองะชิระ (maegashira) กลุ่มใหญ่ ที่เป็นระดับของนักมวยปล้ำธรรมดา ริคิชิผู้ได้ตำแหน่งคาจิโคชิ (kachikoshi)
     นั้นคือผู้ที่สามารถชนะอย่างน้อย 8 ครั้งในการแข่งขัน 15 ครั้ง เพื่อเป็นการเลื่อนขั้นโดยอัตโนมัติ ส่วนมาเคโคชิ (makekoshi)
     นั้นเป็นพวกที่ถูกลดขั้นลงหลังจากการแพ้แปดครั้ง

     การแบ่งกลุ่มซูโม่ไม่ได้ใช้เรื่องน้ำหนักหรือขนาดวัด และทุกคนจะได้ปล้ำกับคนอื่นโดยทั่วถึง
     บางครั้งซูโม่บางคนจะได้แข่งกับคนที่หนักกว่าตัวเองสองเท่า โดยข้อห้ามสำคัญคือห้ามเล่นงานคู่ต่อสู้ใต้เข็มขัด

     พวกซูโม่จะใส่เข็มขัดที่เรียกว่า มาวาชิ (mawashi) เอาไว้ วิธีการเอาชนะคู่ต่อสู้ที่สง่างามที่สุด (และธรรมดาที่สุด) ของซูโม่คือ
     เทคนิคที่เรียกว่า โยริกิริ (yorikiri) ซึ่งเป็นการใช้แขนสองข้างยกมาวาชิของคู่ต่อสู้ให้ลอยขึ้น และผลักออกไปนอกเวที อีกวิธีหนึ่งคือ
     สึริดาชิ (Tsuridashi) เป็นการลากคู่ต่อสู่ออกไปนอกเวที ส่วนการจับทุ่มเป็นวิธีการที่ริคิชิรุ่นเล็กชอบใช้ เนื่องจากมีขนาดตัวเล็ก
     แต่ก็ต้องอาศัยไหวพริบและฝีมืออันยอดเยี่ยมชำนาญ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×