ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ญี่ปุ่น (culture) ^O^

    ลำดับตอนที่ #6 : เทศกาลทานาบาตะ

    • อัปเดตล่าสุด 18 ต.ค. 49



    Tanabata เป็นหนึ่งในห้าของประเพณีโบราณ ที่มีต้นกำเนิดจากแนวคิดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และนำมาเชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นขนบธรรมเนียม อันได้แก่ (1) เทศกาล Jinjitsu ในวันที่ 7 เดือน 1 ที่เชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพดีตลอดปี ทุกวันนี้อาจจะพูดได้ว่าไม่ได้ยึดถือปฏิบัติกัน แล้ว (เข้าใจว่าถูกนำไปรวมกับเทศกาลปีใหม่), (2) เทศกาลตุ๊กตาฮินะ ในวันที่ 3 เดือน 3 สำหรับอวยพรให้เด็กหญิงเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข ซึ่งอาจเรียกอีก อย่างหนึ่งได้ว่าเป็นวันเด็กหญิงของญี่ปุ่น, (3) เทศกาลวันเด็กในวันที่ 5 เดือน 5 ซึ่งถือเป็นวันเด็กแห่งชาติของญี่ปุ่น, (4) เทศกาล Tanabata ในวันที่ 7 เดือน 7 และ (5) เทศกาล Choyo ในวันที่ 9 เดือน 9 ที่ยังพอเหลืออยู่บ้างแต่ค่อนข้างน้อย มากแล้ว ในช่วงเดือน 9 นี้เป็นช่วงที่มีดอกเบญจมาศบาน ดังนั้นเทศกาลนี้จึงใช้เหล้าที่หมักจากดอกเบญจมาศไหว้พระจันทร์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายงานไหว้พระจันทร์ในเมืองไทย ในปัจจุบันเหลือเพียง 3 เทศกาล ที่ยังถือปฏิบัติกันอยู่คือ เทศกาลตุ๊กตาฮินะ, เทศกาลวันเด็กและเทศกาล Tanabata
    ท้องฟ้าในตอนกลางคืนของเดือน 7 ตามปฏิทิน ทางจันทรคติ มักจะเป็นคืนท้องฟ้าโปร่งเหมาะกับการดูดาว สมัยก่อนในประเทศจีนมีเทศกาลดูดาว ซึ่งหญิงสาวชาวจีนจะขอพรจากดวงดาวให้ตนเองมีความสามารถทางหัตถกรรมเพิ่มขึ้น แนวความคิดดังกล่าวได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในสมัยนารา (ค.ศ.719-784 )
    อีกด้านหนึ่งในอดีตที่ญี่ปุ่นเองเชื่อว่ามีชนกลุ่ม น้อยกลุ่มหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญทางการทอผ้า สังเกต ถึงปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในคืนเดือน 7 เช่นกันและมีการกราบไหว้ดวงดาวเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผักของฤดูร้อนให้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้แล้วอีกส่วนหนึ่งของแนวความคิดของเทศกาล Tanabata นี้มาจากเรื่องเล่าคลาสสิกที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

    จาก Love story ของเจ้าหญิงโอริฮิเมะ ธิดาของเทพเจ้าแห่งสวรรค์ผู้มีพรสวรรค์ในการทอผ้า อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำแห่งสวรรค์ (ทางช้างเผือก) ฝีมืองานทอผ้าและเย็บปักถักร้อยของเจ้าหญิงโอริฮิเมะนั้นเป็นที่เลื่องลือของบรรดาเทพต่างๆ ไปทั่วสวรรค์และเป็นที่โปรดปรานของเทพเจ้าแห่งสวรรค์เป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่ง เทพเจ้าแห่งสวรรค์ได้เห็นว่า เจ้าหญิงโอริฮิเมะทำงานหนักตลอดเวลาสมควรที่จะได้พักผ่อนบ้าง จึงแนะนำให้เจ้าหญิงได้รู้จักกับฮิโกะโบชิ ชายหนุ่มผู้เลี้ยงวัวอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำแห่งสวรรค์ และในที่สุดเทพเจ้าแห่งสวรรค์ก็ให้ทั้งสองได้อภิเษกกัน

    นับวันความรักของเจ้าหญิงกับฮิโกะโบชิก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทั้งคู่ละเลยงานของตนและใช้เวลาอยู่ด้วยกันตลอดเวลา จนทำให้บรรดาเทพต่างๆพากันเดือดร้อนจากการละเลยงานของเจ้าหญิง ถึงแม้จะได้รับคำตักเตือนจากเทพเจ้าแห่งสวรรค์แล้วก็ตาม ทั้งคู่ก็ยังไม่สามารถทุ่มเทเวลาให้กับงานของตนได้ ซึ่งทำให้เทพเจ้าแห่งสวรรค์โกรธมาก และส่งฮิโกะโบชิกลับไปยังอีกด้านไกลโพ้นของแม่น้ำแห่งสวรรค์ การจากกันนั้นทำให้เจ้าหญิงเสียใจ และเอาแต่ร้องไห้ทุกวัน ดังนั้นเทพเจ้าแห่งสวรรค์จึงให้สัญญาว่า ถ้าเจ้าหญิงโอริฮิเมะตั้งใจทอผ้าดังเดิมแล้ว จะอนุญาตให้ทั้งคู่ได้พบกันปีละครั้งในคืนของวันที่ 7 เดือน 7

    ด้วยเหตุนี้ในทุกปีท้องฟ้ายามค่ำคืนของวันที่ 7 เดือน 7 จะมีดาวฤกษ์สุกสว่าง 2 ดวง คือ ดาว Vega ของเจ้าหญิงโอริฮิเมะ (เป็นดาวที่สดใสที่สุดในกลุ่มดาวพิณ) และดาว Altair ของฮิโกะโบชิ (เป็นดาวที่สดใสที่สุดในกลุ่มดาวนกอินทรี) โคจรข้ามทางช้างเผือกมาพบกัน

    เช่นเดียวกับเทศกาลตุ๊กตาฮินะและเทศกาลวันเด็ก ที่เริ่มเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ในปัจจุบันเทศกาล Tanabata ที่มีชื่อเสียงมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ Hiratsuka (จังหวัด Kanagawa ) และที่ Sendai (จังหวัด Miyagi) ปกติงานเทศกาล Tanabata นี้จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3-7 กรกฎาคม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วญี่ปุ่นและทั่วโลก ไปดูการประดับโคมกระดาษที่ตกแต่งทั่วเมือง ขบวนพาเหรดและ light up ในตอนกลางคืน พร้อมทั้งร่วมเขียนคำอธิษฐานลงบนกระดาษสี 5 สีแล้วนำไปแขวนไว้ที่กิ่งไผ่

    นอกจากนี้ตามโรงเรียนต่างๆ ห้างสรรพสินค้าและสถานีรถไฟทั่วญี่ปุ่น มักจะนำต้นไผ่ต้นเล็กๆ มาประดับพร้อมกับเตรียมแผ่นกระดาษเล็กๆ มี 5 สีสำหรับเขียนคำอธิษฐานขอพรให้ประสบความสำเร็จทั้งการงานและความรัก เพื่อร่วมฉลองในเทศกาล Tanabata นี้ด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×