ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Travel Around Japan

    ลำดับตอนที่ #6 : บุคคลสำคัญ

    • อัปเดตล่าสุด 16 ธ.ค. 58


    CR.SHL

     บุคคลสำคัญ       

    1. คิโดะ ทาคาโยชิ (Kido Takayoshi)

            เป็นบุตรชายแพทย์ซามูไร  วาดะ มาซาคาเกะ เป็นรัฐบุรุษญี่ปุ่นในช่วงปลายงาวะและฟื้นฟูเมจิ เมื่อเขาทำงานกับโชกุน เขาใช้นามแฝงว่า ไนอิโบริ มัสซุซุเกะ  เค้าคือ 1 ใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคปฏิรูปเมจิ ร่วมกับ โอคุโบะ โทชิมิจิ และ ไซโง ทาคาโมริ  ทั้ง 3 จะรู้จักในนามว่า สามขุนนางแห่งการฟื้นฟูเป็นตัวแทนของแคว้นโจชู ที่ร่วมมือกับ แคว้นซัทสึมะ ในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุน โทกุกาว่า และสถาปนารัฐบาลกลางแห่งองค์จักรพรรดิขึ้นมา รวมทั้งการยกเลิกระบบศักดินา และทำการปฏิรูประบบการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจในญี่ปุ่น


                                                                                                                   ( ที่มาภาพ : http://teen.mthai.com/variety/78336.html )

                                                                                                           (ที่มาข้อมูล : http://en.wikipedia.org/wiki/Kido_Takayoshi )         

     

        2. ซะกะโมะโตะ เรียวมะ 

                    เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1836 เป้าหมายของเรียวมะ ก็คือ ต้องการให้รัฐบาลโชกุนคืนอำนาจให้กับสมเด็จพระจักรพรรดิ  เรียวมะได้สามารถรวบรวมกองกำลังจากเมืองซาจึมะ โจชู โทะสะ ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อใช้ต่อกรกับรัฐบาลโชกุน ในที่สุด โชกุนอิเอะโมจิ กับโชกุนโยชิโนบุ ก็ยอมคืนอำนาจให้กับสมเด็จพระจักรพรรดิโคเม

             หลังจากโชกุนคืนอำนาจเสร็จ เรียวมะก็ทำการร่างผู้ที่จะขึ้นมาบริหารงานราชการของรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งเป็นประชาธิปไตย โดยเลือกจากผู้นำและผู้มีความสามารถจากกลุ่มปฏิวัติในตอนนั้น แต่สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็คือ แม้เรียวมะจะเป็นผู้เขียนร่างรัฐบาลชุดนี้ขึ้นมาเอง แต่ในร่างนั้นกลับไม่มีชื่อเขาในตำแหน่งใดๆเลย

    ปี พ.ศ. 2410 เรียวมะ ซาคาโมโต้ ก็เสียชีวิต และการตายของเขาเป็นชนวนสงครามบากุฝุ ซึ่งเป็นสงครามระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารของโชกุน กับรัฐบาลภายใต้การนำของสมเด็จพระจักรพรรดิ  ซึ่งนำมาสู่การสิ้นสุดอำนาจของตระกูลโตกุกาวะ และการล่มสลายของระบบศักดินา(ซามูไร) ที่ครอบงำญี่ปุ่นยาวนานกว่า 267 ปี และถวายอำนาจอธิปไตยทั้งมวล คืนสมเด็จพระจักรพรรดิ ที่เรียกกันว่า"การปฏิรูปเมจิ"


                             ( ที่มาข้อมูลและภาพ : http://board.postjung.com/542570.html )


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×