ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามร้อยปี

    ลำดับตอนที่ #1 : ที่มาของสงคราม

    • อัปเดตล่าสุด 6 เม.ย. 54


    ที่มาของสงคราม

    สาเหตุของความขัดแย้งเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1066 เมื่อ ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมารุกรานอังกฤษ พระองค์ทรงไดัรับชัยชนะต่อสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ในยุทธการเฮสติงส์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นอยู่กับกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งต้องทรงสาบานความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส การแสดงความสวามิภักดิ์ของกษัตริย์องค์หนึ่งต่อกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิ์ศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงที่ปกครองฝรั่งเศสเองก็ไม่พอใจที่มีกษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรฝรั่งเศส และพยายามหาทางลดความเป็นอันตรายของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส

    หลังจากสมัยของสงครามกลางเมืองที่เรียกว่าสงครามอนาธิปไตย (The Anarchy) ในอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1135 ถึงปี ค.ศ. 1154 ราชวงศ์อองชูก็ขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราชวงศ์อองชูก็ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั่งเศสที่รวมทั้งนอร์มังดี,ไมน์, อองชู, ทูแรน, ปัวตูร์, แกสโคนี, แซงตง, และอากีแตน ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวมๆ ว่าจักรวรรดิอองชู (Angevin Empire) การที่พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองชูต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสผู้อ่อนแอกว่าเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งตลอดมา

    สมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษทรงได้รับดินแดนมากมายจากสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แต่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสทรงใช้ความอ่อนแอของพระเจ้าจอห์นทั้งทางกฎหมายและทางการทหาร และเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1204 พระองค์ก็ทรงยึดดินแดนต่างๆ มาเป็นของฝรั่งเศส ยุทธการบูแวงส์ (Battle of Bouvines) ในปี ค.ศ. 1214, ยุทธการแซงตง (Saintonge War) ในปี ค.ศ. 1242 และยุทธการแซงต์ซาร์โดส์ (War of Saint-Sardos) ในปี ค.ศ. 1324) ทำให้ราชวงศ์อองชูสูญเสียดินแดนนอร์มังดีทั้งหมดและลดเนื้อที่ครอบครองในฝรั่งเศสลงเหลือเพียงในบริเวณบางส่วนของแกสโคนีเท่านั้น

    เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขุนนางอังกฤษก็ยังรำลึกถึงเวลาที่บรรพบุรุษมีอำนาจครอบครองดินแดนมากมายบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเช่นในนอร์มังดีซึ่งฝ่ายอังกฤษถือว่าเป็นดินแดนของบรรพบุรุษ และเป็นแรงบันดาลใจในความพยายามที่ยึดดินแดนเหล่านี้คืนมาในครองครองอีกครั้งหนึ่ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×