ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >> จะ Ent' ติด ตั้งแต่ม.5 <<

    ลำดับตอนที่ #46 : เทคนิคการทำข้อสอบภาษาอังกฤษ : สารพัดตำรา กับ Reading

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.71K
      0
      17 ก.พ. 51

    มันมีหลายสถาบัน.. หลายตำรา หลายครู สอนต่างกันมากๆ...
    คนแรก บอกให้อ่านโจทย์ก่อน... แล้วค่อยๆไปอ่านเรื่อง พอเจอคำตอบจะได้รู้
    อีกคนบอกให้อ่านย่อหน้าแรก จะได้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร แล้วค่อยๆไปไล่อ่านคำถามสลับกับเนื้อเรื่อง
    ส่วนอีกคน บอกว่า ให้อ่านเนื้อเรื่องก่อน...
    แง้ว ตูจะเอาไงดี...
    มันมีหลายตำรานะ.. แหนมว่า แล้วแต่คน ลองดูเอานะ.. ว่าเราจะเหมาะกับเทคนิคไหน
    แต่ข้างล่างนี้ คือเทคนิคของแหนมเอง
    ซึ่งบอกไว้ก่อนว่า คะแนนรีดดิ้งแหนมห่วย.. - -" เมื่อเทียบกับพาร์ทอื่นแล้ว..
    แต่ก็นั่นแหละ แหนมชอบทำแบบนี้.. และเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับแหนม
    แหนมเป็นคนอ่านเร็ว แฮร์รี่เล่ม 7 ยังจบใน 3-4 วัน แม้ว่าจะอ่านแบบสปีดสุดๆ และไม่ได้เก็บรายละเอียดทุกขั้นตอน..
    และแหนมก็เป็นคนทำข้อสอบเร็ว cu-tep บอกว่าอ่านกันไม่ทัน ยัยแหนมทำแล้วยังเหลือเวลาประมาณ 5 นาที - -"
    ดังนั้น เทคนิคของแหนม อาจจะเป็นที่เสียเวลาของใครหลายคน แต่เป็นวิธีที่ชัวร์สำหรับแหนม..
    แหนมจะอ่านเนื้อเรื่อง 1 รอบ ให้เข้าใจ... ถ้าไม่เข้าใจ ก็กลับไปอ่านจนรู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง ห้ามอ่านคำถาม..
    อาจจะดูตัวหนา ตัวเอียง จำไว้ให้ดี.. ไปทำเลยได้ แต่ต้องไปเข้าใจตัวหนา ตัวเอียง นั้นก่อนนะ ว่าเกี่ยวยังไงกับเนื้อเรื่อง
    ในระหว่างทีอ่าน อ่านจะมีช๊อตสั้นๆหน้าย่อหน้าว่า ย่อหน้านี้เกี่ยวกับอะไร (ตรงนี้ก็อาศัยความรู้ด้าน paragraph writing* นิสนุง หรือไม่ก็ คอมมอนเซ้นส์ นั่นแหละ)
    จากนั้นก็ไปดูคำถาม..
    คำถามของ reading อันนี้เป็นสากลที่ถามบ่อยๆ แต่พอจะแบ่งได้ดังนี้
    1 Main Idea : คือถามเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวมของเรื่อง โทนของเรื่อง ชื่อเรื่อง ต้องอาศัยความเข้าใจทั้งเรื่อง
    (ถ้าเป็นคนอื่น จะบอกว่า ให้ตอบอันอื่นให้จบก่อน แล้วค่อยตอบช้อนี้ แต่แหนมว่า ถ้าเราเข้าใจเนื้อเรื่องแล้ว.. เราก็ย่อมทำได้เลย ถ้าไม่ชัวร์ ก็ข้ามไปก่อน แล้วอ่านเนื้อเรื่องอีกรอบ..)
    2 Details : คือคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่อง
    -โวแคบ โดยมาก จะใจดี ทำตัวหนา ตัวเอียงมา แม้แปลไม่ออก ก็อย่าตกใจ อ่านรอยๆ ดูใจความ จะทำให้เดาความหมายได้.. แม้แปลออก ก็อย่าดีใจ เพราะความหมายในบทความ กับความหมายที่เรารู้ อาจจะไม่เหมือนกัน ศัพท์ 1 ตัวแปลได้หลายความหมายนะ..
    -รายละเอียด พวกตัวอย่าง อะไรพวกนี้ ถ้าข้อสอบง่าย ก็ขีดเส้นใต้มาตอบเลย ถ้าข้อสอบยาก จะเป็นแนวที่เรียกว่า paraphrase (ในบทความเขียนอย่าง แต่ในคำถามเขียนอีกอย่าง ความหมายเดียวกัน)
    -สรรพนาม ว่ามันแทนตัวไหน เช่น it เค้าจะถามว่า อี it เนี่ย หมายถึงตัวไหน...
    ...
    ลองดูนะงับว่า work เปล่า
    บอกแล้วว่าพวกนี้ เทคนิคเฉพาะตัว
    ถ้าอยากเก่ง ไม่มีทางลัด นอกจาก ซื้อหนังสือมาทำๆๆๆๆ ทำเสร็จก็ปาหัวหมาทิ้ง 555+


    *paragraph writing คือการเขียนย่อหน้า
    โดยมากแล้ว ที่เป็นมาตรฐาน คือ ใน 1 ย่อหน้า จะมีใจความหลัก 1 อัน.. (และก็มักเป็นประโยคแรก) นอกนั้น คือส่วนที่อธิบายขยายความ..
    แต่ก็นั่นแหละ คนออกข้อสอบมันก็รู้จุดนี้ มันเลยไม่ค่อยใส่มาให้ ให้เราจับใจความเอาเองไง ^^"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×