ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >> จะ Ent' ติด ตั้งแต่ม.5 <<

    ลำดับตอนที่ #41 : แนะนำหลักสูตรในฝันแหนม : บริหาร 5 ปีตรี-โท ธรรมศาสตร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.78K
      2
      4 ก.พ. 51

    ไปโดมวิชาการมาค่ะ โดนล้างสมองเรียบร้อย อะไม่ใช่.. ของเค้าดีจริงๆ
    555+
    เลยจะเอาหลักสูตรมาให้ดู
    ใช้คะแนน smart ยื่นตรง หรือ admission เข้าก็ได้
    เป็นหลักสูตรที่เรียน 5 ปี จบทั้งตรีและโทค่ะ
    โดย 3 ปีแรกเรียนตรี ครึ่งปีต่อมา ฝึกงาน และจบตรี
    จากนั้นต่อโทอีกปีครึ่ง ก็จบ

    หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549

    1. ชื่อหลักสูตรควบ   8. ระบบการศึกษา
    2. ชื่อปริญญา   9. ระยะเวลาการศึกษา
    3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ 10. การลงทะเบียน
    4. วัตถุประสงค์ 11. การวัดผลการศึกษาและการสำเร็จการศึกษา
    5. กำหนดการเปิดสอนตามหลักสูตร 12. โครงสร้างหลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (บูรณาการ)
    และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา คือ
    6. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา  
    7. วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา


    1. ชื่อหลักสูตรควบ
      บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    Integrated Program of Bachelor of Business Administration and (Integrative Management)
    and Master of Science

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    2. ชื่อปริญญา
      ชื่อเต็ม
    - บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) Bachelor of Business Administration (Integrative Management)
    - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการเงิน) Master of Science in Financial Management
    - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการตลาด) Master of Science in Marketing Management
    - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ) Master of Science in Logistics and Operations Management
    ชื่อย่อ
    - บธ.บ. (การจัดการแบบบูรณาการ) B.B.A. (Integrative Management)
    - วท.ม. (การบริหารการเงิน) M.S. (Financial Management)
    - วท.ม. (การบริหารการตลาด) M.S. (Marketing Management)
    - วท.ม. (การบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ) M.S. (Logistics and Operations Management)

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
      คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน

    4. วัตถุประสงค์
     
    4.1

    เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้มีลักษณะบูรณาการทั้งด้านความรู้ และทักษะการจัดการโดยประสมประสานการศึกษาในห้องเรียนกับกิจกรรมภาคปฏิบัติที่เชื่อมโยงนักศึกษากับโลกการทำงานจริงของภาคธุรกิจ สังคม และชุมชน

    4.2 เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้รอบ รู้ลึก และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจที่ทันสมัยสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความต้องการบุคลากรด้านธุรกิจในศตวรรษที่ 21
    4.3 เพื่อปลูกฝังจริยธรรม จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคมให้กับบัณฑิต ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้ และทักษะเพื่อการต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองภายหลังการสำเร็จการศึกษา
    4.4 เพื่อเสริมสร้าง และตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นต้นแบบของสถาบันการศึกษาและวิจัยด้านการจัดการธุรกิจที่ดีที่สุดในประเทศไทย

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    5. กำหนดการเปิดสอนตามหลักสูตร
      ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    6. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
      6.1 ระดับปริญญาตรี
    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 ข้อ 7
    6.2 ระดับปริญญาโท
      6.2.1

    ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บูรณาการ) โดยได้รับค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ในกรณีที่ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 ต้องสอบผ่านการเข้าศึกษาต่อตามเกณฑ์ที่คณะฯ กำหนด

      6.2.2 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 8 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2541

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    7. วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
     

    7.1 ระดับปริญญาตรี
    การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือการคัดเลือกตามวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย
    7.2 ระดับปริญญาโท
    นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บูรณาการ) โดยได้รับค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกในกรณีที่นักศึกษาได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 และประสงค์จะศึกษาต่อระดับปริญญาโทจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ที่คณะฯ กำหนด


    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    8. ระบบการศึกษา
      8.1 ระดับปริญญาตรี
    การศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้ระบบทวิภาค โดยแบ่งเวลาศึกษาในปีหนึ่ง ๆ เป็นสองภาคการศึกษาปกติ ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่บังคับ คือ ภาคหนึ่งและภาคสอง ภาคการศึกษาหนึ่ง ๆ มีระยะเวลา 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติด้วย ภาคฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับ การคิดหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นดังนี้
     

    - วิชาบรรยาย (ภาคทฤษฎี) 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
    - วิชาฝึกหรือทดลอง (ภาคปฏิบัติ) 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
    - การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม (ภาคฝึกงานอาชีพ) ใช้เวลาฝึก 3 – 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ ระหว่าง 45 – 90 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

    8.2 ระดับปริญญาโท
      8.2.1

    เป็นการศึกษาระบบทวิภาค โดยแบ่งปีการศึกษาออกเป็นสองภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษา หนึ่งมีระยะเวลา 16 สัปดาห์ ภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 8 สัปดาห์

      8.2.2 หลักสูตรการศึกษาแบ่งออกเป็นแผน 2 แผนการศึกษา ดังนี้
    1. แผน ก. แบบ ก2 : แผนจัดทำวิทยานิพนธ์
    เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ซึ่งประกอบด้วย
      1. วิชาบังคับ
    2. วิทยานิพนธ์
    รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
    24 หน่วยกิต
    12 หน่วยกิต
    36 หน่วยกิต

    2. แผน ข : แผนการศึกษาลักษณะวิชาโดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์
    เป็นแผนการศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ศึกษา
    วิชาการศึกษาอิสระ จำนวน 6 หน่วยกิต แทนซึ่งประกอบด้วย
      1. วิชาบังคับ
    2. วิชาเลือก
    3. วิชาการศึกษาอิสระ
    รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
    24 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    36 หน่วยกิต

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    9. ระยะเวลาการศึกษา
     

    9.1 ระดับปริญญาตรี
    หลักสูตรการศึกษาชั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในภาคปกติเป็นหลักสูตร 4 ปี นักศึกษาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาอย่างมากไม่เกิน 7 ปีการศึกษา และใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ
    9.2 ระดับปริญญาโท
    ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 8 ภาคการศึกษา


    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    10. การลงทะเบียน
      10.1 ระดับปริญญาตรี
    ในแต่ละภาคการศึกษาปกตินักศึกษาต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชาไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 19 หน่วยกิต สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนนักศึกษาจดทะเบียนศึกษารายวิชาได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต ทั้งนี้รายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 ข้อ 10
    10.2 ระดับปริญญาโท
    ในแต่ละภาคการศึกษาให้ลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และไม่เกิน 12 หน่วยกิต รายละเอียดอื่นๆให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2541

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    11. การวัดผลการศึกษาและการสำเร็จการศึกษา
      11.1 ระดับปริญญาตรี
    11.1.1 การวัดผลการศึกษา การวัดผลใช้ระบบตัวอักษรซึ่งรายละเอียด การวัดผลเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 ข้อ 12, 13, 14, 15 และ 22

      1. การวัดผลการศึกษา แบ่งเป็น 8 ระดับ มีชื่อและค่าระดับต่อหนึ่งหน่วยกิตดังนี้

    ระดับ A B+ B C+ C D+ D F
    ค่าระดับ 4.00 3.5 3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 0

      รายวิชาที่นักศึกษาได้ค่าระดับไม่ว่าค่าระดับใดตามวรรคแรก และไม่ว่าจะเป็นรายวิชาบังคับ หรือ รายวิชาเลือกให้นำมาคำนวนค่าระดับเฉลี่ยสำหรับภาคและค่าระดับเฉลี่ยสะสมทุกครั้งไป
    2. ในบางกรณีหลักสูตรอาจกำหนดให้วัดผลการศึกษาบางรายวิชาเป็น 2 ระดับ คือระดับใช้ได้ (S) และระดับยังใช้ไม่ได้ (U) ระดับใช้ได้ (S) และระดับยังใช้ไม่ได้ (U) ไม่มีค่าระดับ และหน่วยกิต ที่ได้จะไม่นำมาคำนวณค่าระดับเฉลี่ย
    11.1.2 การสำเร็จการศึกษา คณะพาณิชย์ฯ จะเสนอชื่อนักศึกษาขออนุมัติปริญญาจากสภามหาวิทยาลัย หลังจากได้ตรวจสอบเงื่อนไขดังต่อไปนี้ โดยครบถ้วนแล้วคือ
      1. ได้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบหลักสูตร และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่คณะพาณิชย์ฯ กำหนด
    2. ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดภาคการศึกษาปกติ รายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 ข้อ 22

    11.2 ระดับปริญญาโท
    11.2.1 การวัดผลการศึกษา การวัดผลใช้ระบบตัวอักษร ซึ่งรายละเอียดของการวัดผลและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2541 ข้อ 13
      1. การวัดผลการศึกษาแบ่งเป็น 9 ระดับ มีชื่อและค่าระดับต่อหนึ่งหน่วยกิต ดังนี้

    ระดับ A A- B+ B B- C+ C D F
    ค่าระดับ 4.00 3.67 3.33 3.00 2.67 2.33 2.00 1.00 0

      2. การวัดผลการศึกษาสำหรับวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตให้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ P (ใช้ได้) และ ระดับ N (ใช้ไม่ได้) โดยไม่มีค่าระดับ
    3. ในบางกรณี หลักสูตรอาจกำหนดให้วัดผลการศึกษาสำหรับลักษณะวิชาบางวิชาที่คิดหน่วยกิตให้เป็น 2 ระดับ คือระดับ S (ใช้ได้) และระดับ U (ใช้ไม่ได้) โดยไม่มีค่าระดับก็ได้
    4. การนับหน่วยกิตที่ได้ ให้นับรวมเฉพาะหน่วยกิตของลักษณะวิชาที่นักศึกษาได้ระดับ S หรือระดับไม่ต่ำกว่า C เท่านั้น ลักษณะวิชาที่นักศึกษาได้ระดับ D หรือ F ไม่ว่าจะเป็นลักษณะวิชาบังคับ หรือลักษณะวิชาเลือกให้นำมาคำนวณค่าระดับเฉลี่ยสำหรับภาคการศึกษานั้นและค่าระดับเฉลี่ยสะสมทุกครั้งไป
    5. นักศึกษาที่ได้ระดับ U หรือ D หรือ F ในลักษณะวิชาใดที่เป็นวิชาบังคับในหลักสูตร อาจจะจดทะเบียนศึกษาซ้ำในลักษณะวิชานั้นได้อีกเพียง 1 ครั้ง และครั้งหลังนี้จะต้องได้ระดับ S หรือระดับไม่ต่ำกว่า C มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา หากลักษณะวิชาที่ได้รับค่าระดับ U หรือ D หรือ F เป็นลักษณะวิชาเลือก นักศึกษาอาจจะจดทะเบียนศึกษาซ้ำในลักษณะวิชานั้นอีกหรืออาจจะจดทะเบียนศึกษาลักษณะวิชาอื่นแทนก็ได้นักศึกษาที่ได้ศึกษาลักษณะวิชาใดและสอบได้ระดับไม่ต่ำกว่า C จะไม่มีสิทธิจดทะเบียนศึกษาซ้ำในลักษณะวิชานั้นอีก
    11.2.2 การสำเร็จการศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะเสนอชื่อนักศึกษาขออนุมัติปริญญาจากสภามหาวิทยาลัยหลังจากที่ได้ตรวจสอบเงื่อนไขดังต่อไปนี้โดยครบถ้วนแล้ว คือ
      1. ได้ศึกษาลักษณะวิชาต่าง ๆ ครบตามหลักสูตรและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กำหนด
    2. ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
    3. ได้ระดับ S ในการสอบวิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก2)
    4. ได้ระดับ S ในการศึกษาวิชาการคันคว้าอิสระ (แผน ข.)
    5. ได้ระดับ P ในการสอบประมวลวิชา (แผน ข.)
    6. ได้ระดับ P ในการสอบภาษาต่างประเทศ
    7. สำหรับนักศึกษาที่เลือกทำวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับระดับ S ในการสอบวิทยานิพนธ์ และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding)

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน

    12. คณาจารย์ผู้สอน (รายละเอียดปรากฏในภาคผนวก)
      12.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
    12.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
    12.3 อาจารย์ผู้สอน

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    13. จำนวนนักศึกษา
    จำนวนนักศึกษาจำแนกตามชั้นปี แต่ละปีการศึกษา มีดังนี้

    จำนวนนักศึกษา ที่กำหนดรับ
    ปีการศึกษา
    2549
    2550
    2551
    2552
    ชั้นปีที่ 1
    60
    60
    60
    60
    ชั้นปีที่ 2
    60
    60
    60
    ชั้นปีที่ 3
    60
    60
    ชั้นปีที่ 4
    60
    รวม
    60
    120
    180
    240

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน

    14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน
      ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน



    15. ห้องสมุด

      จำนวนหนังสือ ตำราเรียนทางด้านการบัญชี และบริหารธุรกิจในสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และห้องสมุดของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประมาณ 173,507 เล่ม

    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน

    16. โครงสร้างหลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (บูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา คือ
      - สาขาวิชาการบริหารการเงิน
    - สาขาวิชาการบริหารการตลาด
    - สาขาวิชาการบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ
    16.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดทั้งหลักสูตร 156 หน่วยกิต
    ในระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต และระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้
    ระดับปริญญาตรี  
    120 หน่วยกิต
    1. วิชาศึกษาทั่วไป
    2. วิชาเฉพาะ
    2.1 ความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ
    2.2 ทักษะทางธุรกิจ
    2.3 บูรณาการกลยุทธ์และการจัดการธุรกิจ
    3. วิชาเลือกเสรี


    15
    39
    30
    30 หน่วยกิต
    84 หน่วยกิต
    หน่วยกิต
    หน่วยกิต
    หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต

    ระดับปริญญาโท  
    36 หน่วยกิต
    (เฉพาะแผน ก แบบ ก2)
    (เฉพาะแผน ข.)
    1. วิชาบังคับ
    2. วิชาเลือก
    3. วิทยานิพนธ์ 12 - หน่วยกิต
    4. การศึกษาอิสระ
    24
    -
    12
    -
    24 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    - หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต

    16.2 ข้อกำหนดของหลักสูตร
      16.2.1 ข้อกำหนดหลักสูตรระดับปริญญาตรี

    1. วิชาศึกษาทั่วไป
    30 หน่วยกิต
    นักศึกษาต้องศึกษาตามข้อกำหนดหลักสูตรศึกษาทั่วไปดังต่อไปนี้
      1.1 ส่วนที่ 1 รวม 21 หน่วยกิต ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ในหมวดมนุษยศาสตร์ หมวดสังคมศาสตร์ หมวดวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ และหมวดภาษา ตามหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด แต่สำหรับหมวดวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ นักศึกษาต้องศึกษาวิชา มธ.152 หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และหมวดภาษาต่างประเทศ นักศึกษาต้องศึกษาวิชา สษ.171 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 และ สษ.172 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3
    1.2 ส่วนที่ 2 รวม 9 หน่วยกิต ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ตามที่คณะฯ กำหนด ดังนี้
    บังคับ 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่
    อ.221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล
    อ.241 การฟัง – การพูด 1
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    และเลือกศึกษา 1 วิชา 3 หน่วยกิต จากวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 2 ยกเว้นวิชา มธ.151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย และมธ.153 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    2. วิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะรวมทั้งหมด 84 หน่วยกิต แยกตามหมวดวิชาดังต่อไปนี้
       
    • หมวดวิชาความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ (15 หน่วยกิต)
    กธ.201 หลักการจัดการธุรกิจ
    กธ.202 การจัดการองค์การ
    กธ.203 กฎหมายธุรกิจ และระเบียบการค้า การลงทุน
    กธ.204 การภาษีอากร
    กธ.301 ธุรกิจกับสังคม และชุมชน

    หมวดวิชาทักษะทางธุรกิจ (39 หน่วยกิต)
    กธ.211 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม และการแข่งขัน
    กธ.212 การใช้ข้อมูลทางการบัญชีและการเงินเพื่อการตัดสินใจ
    กธ.213 การวิเคราะห์ปัญหา และการตัดสินใจทางธุรกิจ
    กธ.214 ระเบียบวิจัยธุรกิจ
    กธ.311 การวางแผนธุรกิจ
    กธ.312 ธรรมาภิบาล และการจัดการความเสี่ยง
    กธ.313 วัฒนธรรมและธรรมเนียมทางธุรกิจ
    ภาษาต่างประเทศ (เลือกเพียง 1 ภาษา จำนวน 4 วิชา)

    หมวดวิชาบูรณาการกลยุทธ์ และการจัดการธุรกิจ (30 หน่วยกิต)

    กธ.321 กลยุทธ์ และการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย
    กธ.322 กลยุทธ์ และการดำเนินธุรกิจระดับโลก
    กธ.323 การจัดการเพื่อผลการดำเนินงานและสร้างมูลค่าให้กิจการ
    กธ.329 โครงการรณรงค์ทางธุรกิจเพื่อสังคม และประเทศชาติ
    กธ.421 สัมมนานโยบาย และกลยุทธ์ธุรกิจ
    กธ.422 สัมมนาการจัดการธุรกิจสมัยใหม่
    กธ.429 โครงการนวัตกรรมทางธุรกิจ
    กธ.439 ธุรกิจภาคปฏิบัติ (ฝึกงาน)


    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต


    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    12 หน่วยกิต


    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต
    6 หน่วยกิต

      3. วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
        นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีจำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
    13.2.2 ข้อกำหนดหลักสูตรชั้นปริญญาโท
    นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยต้องศึกษารายวิชาต่าง ๆ ให้ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของแต่ละสาขาวิชาดังนี้

    1) วิชาเอกการบริหารการเงิน 36 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ
    แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ศึกษาวิชาบังคับทั้ง 8 วิชา (24 หน่วยกิต)
    บง.601 ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน
    บง.602 การวิจัยทางการเงิน
    บง.611 นโยบายและกลยุทธ์ทางการเงิน
    บง.612 การวิเคราะห์การลงทุน
    บง.613 อนุพันธ์ทางการเงิน
    บง.614 การเงินระหว่างประเทศ
    บง.711 การจัดการความเสี่ยง
    บง.712 สัมมนาทางการเงิน

    • แผน ก แบบ ก2 (วิทยานิพนธ์)
    บง. 800 วิทยานิพนธ์

    • แผน ข (การศึกษาอิสระ)

    วิชาเลือก
    วิชาอื่นๆในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า

    • การศึกษาอิสระ
    บง.719 โครงการด้านการเงิน
    36 หน่วยกิต

    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต


    12 หน่วยกิต



    6 หน่วยกิต


    6 หน่วยกิต

    2) วิชาเอกการบริหารการตลาด 36 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ
    แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ศึกษาวิชาบังคับทั้ง 8 วิชา (24 หน่วยกิต)
    บต.601 การจัดการการตลาด
    บต.602 ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจ
    บต.611 การจัดการผลิตภัณฑ์และตรายี่ห้อ
    บต.612 การจัดการราคา และความสามารถในการทำกำไร
    บต.613 การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย
    บต.614 การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร
    บต.711 กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการแข่งขัน
    บต.712 สัมมนาการจัดการการตลาด

    • แผน ก แบบ ก2 (วิทยานิพนธ์)
    บต. 800 วิทยานิพนธ์

    • แผน ข (การศึกษาอิสระ)
    วิชาเลือก
    วิชาอื่นๆในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า
    การศึกษาอิสระ
    บต.719 โครงการด้านการตลาด


    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต


    12 หน่วยกิต



    6 หน่วยกิต

    6 หน่วยกิต

    3) วิชาเอกการบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ 36 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ
    แผน ก แบบ ก2 และแผน 8 ศึกษาวิชาบังคับทั้ง 8 วิชา (24 หน่วยกิต)
    บล. 601 การจัดการโลจิสติกส์
    บล. 602 การจัดการการปฏิบัติการ
    บล. 611 การจัดการสินค้าคงคลัง
    บล. 612 การจัดการคลังสินค้า
    บล. 613 การจัดการการขนส่ง
    บล. 614 การจัดการโซ่อุปทาน
    บต. 613 การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย
    บล. 711 สัมมนาการจัดการโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ

    • แผน ก. (วิทยานิพนธ์)
    บล. 800 วิทยานิพนธ์

    • แผน ข (การศึกษาอิสระ)
    วิชาเลือก
    วิชาอื่นๆในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า
    การศึกษาอิสระ
    บล. 719 โครงการด้านโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ


    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต
    3 หน่วยกิต


    12 หน่วยกิต



    6 หน่วยกิต

    6 หน่วยกิต
    ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ด้านบน

    ที่มา http://ibmp.bus.tu.ac.th/Business.asp


    ใครอยากได้อะไร ลองถามมา ถ้าหาได้ก็หาให้นะคะ (ถ้าไอ้แหนมว่าง..)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×