โครมาโทกราฟี(chriomapography)
เป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสีอาศัยสมบัติ2ประการคือ
สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายได้ต่างกัน
สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้ต่างกัน
. วิธีการทำโครมาโทกราฟีจะประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวดูดซับสาร
ตัวทำละลาย(solvent) มีดังนี้
ตัวทำละลายบริสุทธิ์เช่น น้ำอีเทอร์ เฮกเซน ตัวทำละลายผสมเช่นเอทานอล สารละลายโซเดียมคลอไรด์
หลักการคือ สารที่แยกออกมาจากสารผสมได้ก่อนจะมีความสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ใช้ในการ ทดลอง สารที่แยกออกมาจากสารผสมได้ก่อนจะมีความสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ใช้ในการ ทดลองแต่ถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้น้อยจึงสามารถเคลื่อน
สารที่แยกออกมาจากสารผสมได้ทีหลังจะมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายที่ใช้ใน การทดลองได้น้อยแต่ถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้มากจึงสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกล
ถ้าสารที่แยกออกมามีหลายสีมองเห็นเป็นช่วงๆหลายช่วงแสดงว่าสารที่ใช้ในการทดลองมีองค์ ประกอบอย่างน้อยเท่ากับสิ่งที่เราแยกได้หรือมากกว่า
ถ้าสารที่แยกออกมามีสีเดียวเราจะยังสรุปไม่ได้ว่าสารที่เราใช้ในการทดลองนั้นเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีองค์ประกอบเพียง1ชนิดเนื่องจากอาจจะมีสารอื่นปนอยู่ด้วยแต่สารนั้นแยกโดยวิธีนี้ไม่ได้หรือเราใช้ตัวทำละลายไม่เหมาะสม ในการแยก
อัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับ(rate of flow; ) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายในตัวทำละลายและ การถูกดูดซับของสารนั้นๆและสารแต่ละชนิดก็จะมีค่า .ที่แตกต่าง
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ(steam distillation)
เป็นการสกัดสารโดยอาศัยไอน้ำให้ทำหน้าที่เป็นตัวละลายสารที่เราต้องการจะแยกออกมาใช่แยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ เช่นการแยกสารหอมระเหยออกจากผิวมะกรูด
ตารางแสดงตัวอย่างพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย
ตัวอย่างของพืช | ส่วนที่มีน้ำมันหอมระเหย |
ตะไคร้ตะไคร้หอม | กาบใบ |
ยูคาลิปตัสกะเพรา โหระพา | ใบ |
กุหลาบ มะลิการะเวก จำปา | ดอก |
จันทน์เทศ | ผล |
มะกรูด มะนาวส้ม | เปลือกของผล |
กระวาน กานพลูเร่ว | เมล็ด |
จันทน์ สนกฤษณา | เนื้อไม้ |
อบเชยสีเสียด | เปลือกไม้ |
แฝกหอม | ราก |
ขิง ข่าไพล | เหง้า |
หลักการแยกสารเมื่อเราให้ความร้อนแก่น้ำจนน้ำระเหยกลายเป็นไอไอน้ำจะผ่านไปยังสารที่ต้องการแยกและสกัดสารที่ต้องการแยก ซึ่งเป็นสารที่ระเหยง่ายออกมา เมื่อไอของน้ำกับน้ำมันหอมระเหยผ่านเครื่องควบแน่นจะกลั่นตัวกลายเป็นของเหลว 2 ชั้น ไม่รวมตัวกัน เป็นเนื้อเดียว ตัวอย่างเช่นการสกัดแยกน้ำมันหอมระเหยจากใบกระเพรา การแยกน้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบ
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น