ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สายวิทย์-คณิต พิชิตฝัน (Fight for the Future)

    ลำดับตอนที่ #3 : บทที่ 1 เรื่อง บทนำและการวัด

    • อัปเดตล่าสุด 11 เม.ย. 58


    หน่วยและการเปลี่ยนหน่วย

    ระบบหน่วยระหว่างชาติ (International System Units)  หรือที่คุ้นกันว่าหน่วย SI

          ประกอบด้วยหน่วยมูลฐาน  หน่วยอนุพันธ์  หน่วยเสริม (ขออนุญาตละไว้นะ)  และคำอุปสรรค

    -       >>>>>    หน่วยมูลฐาน  คือ  หน่วยของปริมาณมูลฐาน  มีอยู่ 7 หน่วย คือ

    -       >>>>>    หน่วยอนุพันธ์  คือ  เป็นการคูณหรือการหารกันของหน่วยปริมาณมูลฐานหลาย ๆ หน่วย  เช่น  เมตร/วินาที   หรือ  กิโลกรัม.เมตร/วินาที 

    -       >>>>>    คำอุปสรรค  คือ  คำที่นำหน้าหน่วยมูลฐานหรือหน่วยอนุพันธ์ที่มีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป  ก็เหมือนกับการเขียนสัญกรณ์คณิตศาสตร์ที่เปลี่ยนจากจำนวนเต็มที่หลักเยอะๆ ให้อยู่ในรูปสั้นๆ โดยการเขียนให้อยู่ในรูปเลขยกกำลัง
     

    >>>>หลังการจำ<<<<

    -          ให้จำว่าเลขที่ติดลบคือน้อยมากกกกมีนิดเดียว ให้จำว่าคำที่มีเสียง นิดๆ อิๆ คือหน่วยที่ติดลบ 


    >>>>ทริคการเปลี่ยนหน่วย<<<<

    คำอุปสรรคเดิม / คำอุปสรรคใหม่

    ข้อควรระวัง!!!!!!!

    -          คำอุปสรรคเดิม ก่อนจะเปลี่ยนใหม่ต้องทำให้หน่วยเดิมนั้นเป็นหน่วย SI ก่อนที่จะเปลี่ยนหน่วยใหม่

     >>>>>    เลขนัยสำคัญ

          เป็นตัวเลขที่แสดงขนาดของปริมาณที่แน่นอน สามารถเชื่อถือได้ว่าไม่คลาดเคลื่อน โดยได้จากการอ่านช่องสเกลที่เล็กที่สุดของเครื่องมือวัดนั้น

     >>>>>    การบันทึกตัวเลข

          ต้องบันทึกตัวเลขนัยสำคัญลงไปทุกตัวแม้ว่าค่าสเกลช่องเล็กที่สุดจะเป็น 0 ก็ตามต้องบันทึกตามความละเอียดของเครื่องมือนั้น ความละเอียดของเครื่องมือต่างๆ จะมีความละเอียดดังนี้

    0.X   cm  ถ้าวัดด้วยไม้บรรทัดธรรมดา

    0.XX  cm  ถ้าวัดด้วยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

    0.XXX  cm  ถ้าวัดด้วยไมโครมิเตอร์

     >>>>>    การบันทึกตัวเลขจากการวัด

    1.                         ตัวเลขตัวสุดท้ายเกิดจากการเดาขึ้นมา

    2.                        ตัวเลขอื่นๆ นอกจากตัวเลขสุดท้ายต้องได้จากการวัดที่แน่นอน

    3.   การบันทึกมีรูปดังนี้
     

    >>>    >>>>>    จำนวนตัวเลขนัยสำคัญและหลักการนับ

    1.                      ถ้า 0 อยู่หน้าตัวเลข  ไม่นับว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 0.000

    2.                    ถ้า 0 อยู่กลางให้นับว่าเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น 0.1202 จะมีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว

    3.                   ถ้า 0 อยู่หลังให้นับว่าเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น  0.1200 จะมีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว

    4.                  ค่าคงตัวในสูตรต่าง ๆ ไม่นับว่าเป็นเลขนัยสำคัญ

     >>>>>    การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ

          ผลลัพธ์จะต้องมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับตำแหน่งของจำนวนที่มีหลักทศนิยมน้อยที่สุด  เช่น  X.XX + X.XXX ผลลัพธ์จะได้ X.XX

    การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ

          ผลลัพธ์จะต้องมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนที่มีตัวเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุด  เช่น X.123 + X.02 ผลลัพธ์จะได้เลขนัยสำคัญทั้งหมดเท่ากับ X.02
     




    B B
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×