คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #73 : The Satanic Bible -VS-HOLY BIBLE ตอนที่ 4 บทที่ 7
[The Satanic Bible]7.THE PRINCIPALITIES
เทวดา ที่เป็นผู้ปกป้องคำสอนของพระเจ้า หรือ ศาสนา นั้นเอง ได้แก่
- NISROCK หรือ ASSYRIAN ผู้ถูกชี้ตัวว่าเป็นเจ้าชายแห่งนรก
- ANAEL 1 ใน 7 เทวดา ที่ให้พลังในด้านการสร้างสรร และเกี่ยวข้องกับ ลักษณะทาง
- CHALDEAN เทพธิดาแห่งความรักและสงคราม
- LUCIPHER เทพแห่งควารักและการเกี่ยวพาราศี
- CERVILL เทพแห่งพลัง ผู้ช่วย DAVID เข่นฆ่า GOLIATH
HOLY BIBLE
ใน Holy Bible คำว่า ASSYRIAN ปรากฏในพระธรรม
อสย 10:5 วิบัติแก่ อัสซีเรีย ผู้เป็นตะบองแห่งความกริ้วของเรา และเป็นไม้พลองแห่งความเกรี้ยวกราดของเรา
อสย 10:6 เราจะใช้เขาไปสู้ประชาชาติที่ปฏิเสธพระเจ้า เราจะบัญชาเขาให้ไปสู้ชนชาติที่เรากริ้ว ไปเอาของริบ และฉวยของปล้น และให้เหยียบย่ำลงเหมือนเหยียบเลนในถนน
ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงการเป็นฑูตสวรรค์ แต่กล่าวว่า เป็นดินแดนหนึ่่งเท่านั้น ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในสมัยพระพันธสัญญาเดิมนั้นจะเห็นว่า อิสลาเอล ชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกนั้น เกี่ยวข้องกับ อัวซีเรียเป็นอย่างมาก
อิสราเอลสมัยอัสซีเรียเรืองอำนาจ (ก่อน.ค.ศ. 802 - 610)
อัสซีเรียคือใคร
อัสซีเรียเป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมโสโปเตเมียนานหลายศตวรรษ มีเมืองอัสชูร์เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไทกรีส อัสซีเรียได้กลายเป็นประเทศใหญ่และเป็นเอกราชสองครั้งในช่วงเวลาหลายศตวรรษ ครั้งแรกในสมัยบรรพชนต้นตระกูลยิว ครั้งที่สองใกล้กับสมัยที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ ในศตวรรษที่ 9 ก.ค.ศ. อัสซีเรียยกทัพมารุกรานปาเลสไตน์ ถือเป็นครั้งที่ 3 ที่อัสซีเรียเป็นเอกราชและย่างเข้าสู่ยุคที่มีความเข้มแข็งที่สุด
ชาวอัสซีเรียบันทึก เรื่องราวของกษัตริย์และเจ้านายต่าง ๆ เรื่องการทำสงครามและส่วยที่ประเทศแพ้สงครามส่งไปให้ บันทึกเหล่านี้ยังมีอยู่และช่วยให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ของอิสราเอลดีขึ้น อัสซีเรียควบคุมประเทศต่าง ๆ ที่ตนปราบได้ด้วยการจัดเขตปกครองขึ้นใหม่ โดยยกเลิกเส้นกั้นพรมแดนเดิมของประเทศเหล่านั้นเสีย แล้วตั้งแคว้นใหม่ขึ้นมาพร้อมกับสร้างเมืองหลวงใหม่แทนเมืองหลวงเดิม ถ้าประชาชนยังขืนก่อการกบฏแข็งข้อก็จะถูกกวาดต้อนจากภูมิลำเนาเดิมให้ไปอยู่ ที่บริเวณอื่นในจักรวรรดิอัสซีเรีย มีเพียงไม่กี่ชาติที่ยอมสวามิภักดิ์ต่ออัสซีเรียและได้รับอนุญาตให้คงระบอบ การปกครองและการเมืองของตนไว้เหมือนเดิมแต่ต้องอยู่ใต้ปกครองของผู้นำที่อัส ซีเรียเป็นผู้เลือกให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเท่านั้น
กษัตริย์ที่สำคัญ ๆ ของอัสซีเรียมีดังนี้
ทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 (Tiglath-Pileser III) ก.ค.ศ. 745-727
แชลมาเนเสอร์ที่ 5 (Shalmaneser V) ก.ค.ศ. 727-722
ซาร์กอนที่ 2 (Sargon II) ก.ค.ศ. 722-705
เซนนาเคอริบ (Sennacherib) ก.ค.ศ. 705-681
เอสาร์ฮัดโดน (Esarhaddon) ก.ค.ศ. 681-699
อาเชอร์บานิปัล (Ashurbanibal) ก.ค.ศ. 669-631
ทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 สถาปนาการปกครองของอัสซีเรียเหนือบริเวณต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ 6 นอกจากอิยิปต์ ซึ่งกว่าอัสซีเรียจะปราบได้ก็เลยไปจนถึงสมัยของเอสาร์ฮัดโดนและอาเชอร์บานิปัล กษัตริย์องค์ถัดจากทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 ลงมาล้วนแต่ต้องพิสูจน์อำนาจของตนในการปกครองจักรวรรดิไว้ให้ได้ ศัตรูของอัสซีเรียในเวลานั้น นอกจากอียิปต์แล้วยังมีบาบิโลนที่เป็นเสมือนหอกข้างแคร่ซึ่งเป็นคู่แข่งกันมาตลอด และยังมีประเทศมีเดียและเอลามที่คอยสร้างความเดือดร้อนให้อัสซีเรียอยู่เสมอ และในปี ก.ค.ศ. 614 และ ก.ค.ศ. 612 ชาวมีเดียก็เข้าโจมตีและยึดกรุงอัสชูร์ได้ กองทัพของมีเดียและบาบิโลนร่วมมือกันโจมตีและทำลายเมืองนีนะเวห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอัสซีเรียในรัชสมัยของเซนนาเคอริบ ชาวอัสซีเรียที่เหลืออยู่ซึ่งพยายามรักษาเอกราชของตนไว้แต่ก็ต้องถูกโจมตีพ่ายแพ้ในปี ก.ค.ศ. 610
ศาสนาของชาวอัสซีเรีย
ชาวอัสซีเรียเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ แต่ละเมืองมีเทพเจ้าของตนเอง พระอัสชูร์เป็นเทพเจ้าประจำเมืองอัสเชอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวง ถือเป็น "เจ้าแห่งเทพทั้งหมด" อิชทาร์เป็นอิตถีเทพแห่งกรุงนีนะเวห์ บรรดากษัตริย์ทั้งหลายต่างเชื่อว่าที่ตนสามารถชนะชาติศัตรูได้ก็เพราะเทพต่าง ๆ โดยเฉพาะอัสชูร์เป็นผู้ประทานชัยชนะให้ และถือว่าศัตรูของตนเป็นพวกที่กบฏและไม่ยอมปรนนิบัติเทพเจ้าจึงต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ ซาร์กอนที่ 2 บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า "โดยประกาศิตของเทพเจ้าอัสชูร์ พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะลงโทษด้วยการให้ความพ่ายแพ้แก่พวกเขา" เซนนาเคอริบ ก็นำเอาความคิดเห็นคล้ายกันนี้มาใช้โดยกล่าวว่า "ด้วยความช่วยเหลือของอัสชูร์ พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้ปะทะและทำให้พวกเขาพ่ายไป" ที่จริงแล้วคำว่า "อัสซีเรีย" มาจากคำว่า "อัสเชอร์ " อันเป็นชื่อเมืองหลวงและ "อัสชูร์" ชื่อเทพเจ้าของพวกเขา
อำนาจของอัสซีเรียในอิสราเอลและยูดาห์
เราสามารถแบ่งศึกษาเป็นตอน ๆ ตามรัชสมัยของกษัตริย์อัสซีเรียแต่ละพระองค์ดังนี้
ช่วงที่อัสซีเรียอ่อนแอ (ก.ค.ศ. 800 - 745)
แม้อัสซีเรียทำลายล้างอำนาจของซีเรียได้ในปี ก.ค.ศ. 802 แต่ในเวลาเดียวกันอัสซีเรียเองก็มีประเทศข้างเคียงตั้งตัวเป็นศัตรูอยู่มากจนไม่สามารถมาปราบอิสราเอลและยูดาห์ได้ ดังนั้นอิสราเอลจึงว่างเว้นจากการแทรกแซงของต่างชาตินานกว่าครึ่งศตวรรษ กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรทั้งสองจึงวางแผนเข้าควบคุมประเทศเล็ก ๆ ในปาเลสไตน์และที่ฟากโน้นของแม่น้ำจอร์แดน
ในราชอาณาจักรอิสราเอลนี้ทั้งในรัชสมัยของกษัตริย์เยโฮอาชและเยโรโบอัมที่ 2 ก็ต่างมีชัยชนะเหนือประเทศเหล่านั้น จนสามารถแผ่อำนาจไกลขึ้นไปทางเหนือจนไปถึงราชอาณาจักรฮามัทและเลยไปถึงกรุงดามัสกัส ในราชอาณาจักรยูดาห์ก็เช่นกัน ฮามาซิยาห์โจมตีเอโดมและยึดได้เมืองหนึ่งที่อยู่ด้านใต้ของทะเลตายลงไป 50 ไมล์ (2 พกษ.14.7) อุสซียาห์ หรืออาซาริยาห์ทรงสร้างกรุงเยรูซาเล็มขึ้นใหม่ (2พศด.26.9, 15) และขยายอำนาจของยูดาห์ไปยังเอโดมทรงปราบปรามพวกฟีลิสเตียได้ นอกจากนี้แล้วยังควบคุมบางเผ่าที่อยู่ในทะเลทรายอาราเบียได้ (2พศด.2 6.6-8) ซึ่งผลของชัยชนะเหล่านั้นทำให้ยูดาห์และอิสราเอลมีอำนาจมาก
หลังจากนั้นก็เป็นเวลาสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอิสราเอลเชื่อว่านั่นเป็นเพราะพระเจ้าทรงพอพระทัยในการปรนนิบัติรับใช้ของพวกเขา แต่ผู้เผยพระวจนะสองท่านคือ อาโมส และโฮเชยากลับชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยพวกอิสราเอล เพราะประชาชนแข่งขันแย่งชิงเกียรติยศและความร่ำรวยประพฤติตนไม่ยุติธรรมแก่คนจน กราบไหว้พระอื่นโดยเฉพาะเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ แม้แต่ผู้เผยพระวจนะก็พูดแต่เอาใจประชาชน ไม่ได้พูดความจริง
ทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 (ก.ค.ศ.745-727)
กษัตริย์อัสซีเรียองค์นี้ทรงนำกองทัพต่อสู้กับบาบิโลน อูราห์ทู และมีเดียจนได้ชัยชนะ พระองค์ทำให้อัสซีเรียเข้มแข็งพอที่จะพยายามเข้าควบคุมประเทศเล็ก ๆ ในปาเลสไตน์และฟากโน้นของแม่น้ำจอร์แดน สามารถบังคับให้ดินแดนในภาคเหนือส่วนใหญ่ส่งส่วยให้กับตน
ขณะที่โยธามสิ้นพระชนม์ อาหัสได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์ยูดาห์แทน พระองค์ทรงขอร้องอัสซีเรียให้ยกทัพมาช่วยปราบศัตรูของตน (2พกษ. 16.7-8) ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ตักเตือนและคัดค้านนโยบายนี้ (อสย.7.17) แต่อาหัสไม่ยอมฟังเสียง ทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 ยกทัพใหญ่มาต่อสู้กับประเทศต่าง ๆ ที่แข็งข้อพระองค์ โจมตีฟีลิสเตียและสร้างป้อมที่แม่น้ำอียิปต์ (ดูแผนที่ 2) แล้วก็โจมตีราชอาณาจักรอิสราเอลและทำลายเมืองต่าง ๆ ไปเป็นจำนวนมาก
ในรัชสมัยโฮเชยาขึ้นครองราชสมบัตินั้นพระองค์ยอมจำนนต่ออำนาจอัสซีเรีย (2พกษ.15.30,17.3) ทิกลัท-ปิเลเสอร์จึงแบ่งราชอาณาจักรอิสราเอลออกเป็นสามแคว้น แคว้นหนึ่งมีเมืองเมกิดโดเป็นเมืองหลวง แคว้นหนึ่งมีเมืองโดร์เป็นเมืองหลวง และอีกแคว้นหนึ่งที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำจอร์แดนมีเมืองกิเลอาดเป็นเมืองหลวงทั้งหมดตกเป็นแคว้นของจักรวรรดิอัสซีเรีย และปล่อยให้อิสราเอลเป็นรัฐเล็ก ๆ อยู่บนภูเขาเอฟราอิมหลังจากนั้นทิกลัท-ปิเลเสอร์ก็ยกทัพไปตีดามัสกัสในปี ก.ค.ศ. 732
แชลมาเนเสอร์ที่ 5 (ก.ค.ศ. 727-722)
เมื่อทิกลัท-ปิเลเสอร์สิ้นพระชนม์ กษัตริย์โฮเชยาแห่งอิสราเอลพยายามจะปลดแอกปกครองของอัสซีเรีย พระองค์จึงไปขอความช่วยเหลือจากอียิปต์ แต่ตอนนั้นอียิปต์กำลังอ่อนแอเกินกว่าที่จะให้ความช่วยเหลือได้ แชลมาเนเสอร์จึงยกทัพมาปิดล้อมกรุงสะมาเรียและจับโฮเชยาจำคุก (2พกษ.17.1-4)
ซาร์กอนที่ 2 (ก.ค.ศ. 722 - 705)
ซาร์กอนที่ 2 เป็นกษัตริย์ต่อจากแชลมาเนเสอร์ที่ 5 สามารถยึดกรุงสะมาเรียได้ในปี ก.ค.ศ. 721 กวาดต้อนบุคคลชั้นนำไปไว้ประเทศอื่นเป็นจำนวน27,290 คน (2พกษ.17.5-6) นี่คือจุดจบของราชอาณาจักรอิสราเอล เพราะพวกที่ถูกกวาดต้อนเชลยพากันแต่งงานกับคนในแผ่นดินที่ตนไปอาศัยอยู่ นอกจากนี้แล้ว ซาร์กอนที่ 2 ยังนำเอาชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในอิสราเอล แม้ว่าคนเหล่านั้นจะได้รับการสั่งสอนให้นมัสการพระเจ้า แต่ก็ได้ผลเพียงแค่เพิ่มพระเจ้าอีกองค์หนึ่งเข้าไปในความเชื่อของพวกเขา (2พกษ. 17.41) ชาวอิสราเอลที่สะมาเรียแต่งงานกันผสมกลมกลืนกับชาวต่างชาติ ทำให้สูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติที่พระเจ้าทรงแยกไว้เป็นพิเศษ ลูกหลานของเขากลายเป็นชนชาติที่เรียกกันว่าชาวสะมาเรียนั่นเอง
ราชอาณาจักรยูดาห์รอดพ้นจากการถูกทำลายก็เพราะกษัตริย์อาหัสยอมสวามิภักดิ์ต่ออัสซีเรีย และเมื่อเฮเซคียาห์ครองราชสมบัติในปี 715 พระองค์ทรงวางแผนจะแยกตัวออกจากการควบคุมของอัสซีเรียแต่พระองค์ก็ทรงอดทนรอคอยจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม แม้จะมีหลายประเทศร่วมมือกับอียิปต์ที่กำลังกบฏต่ออัสซีเรียแต่พระองค์ก็ไม่เข้าร่วมกบฏด้วย จึงทำให้อัสซีเรียไม่ได้รบกวนยูดาห์ เมื่อซาร์กอนสิ้นพระชนม์เฮเซคียาห์ทรงเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะร่วมกบฏด้วยทรงหันไปเป็นพันธมิตรกับบาบิโลน แต่ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ต่อว่าเฮเซคียาห์ที่พึ่งความช่วยเหลือจากต่างชาติ สักวันหนึ่งบาบิโลนจะมาปกครองยูดาห์
เซนนาเคอริบ (ก.ค.ศ. 705-681)
ในปี ก.ค.ศ. 701 เซนนาเคอริบโอรสผู้สืบบัลลังก์ต่อจากซาร์กอน ยกทัพไปโจมตีประเทศต่าง ๆ ที่แข็งข้อ ทั้งที่ปาเลสไตน์และที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำจอร์แดน สามารถพิชิตเมืองไทระ บิบลอส อารวัด อัชโดด โมอับ เอโดม และอัมโมน ซึ่งล้วนแต่ยอมสวามิภักดิ์พระองค์ และเวลานั้นยูดาห์ทำให้ยูดาห์ประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก หลังจากปี ก.ค.ศ. 701 มาแล้วมีการกบฏต่ออัสซีเรียเกิดขึ้นหลายครั้ง จนกระทั่งปี ก.ค.ศ. 691 เซนนาเคอริบพ่ายแพ้ประเทศต่าง ๆ ในเมโสโปเตเมียที่ผนึกกำลังกันต่อสู้พระองค์อย่างยับเยิน แต่หลังจากนี้เซนนาเคอริบก็เอาชนะบาบิโลนได้อีกหลายครั้งในปี ก.ค.ศ. 689 ในปีถัดมาเซนนาเคอริบได้กรีฑาทัพมายังปาเลสไตน์พยายามจะตียูดาห์ให้ได้แต่กษัตริย์เฮเซคียาห์ยังดึงดันไม่ยอมแพ้ แต่ในเวลานั้นที่กองทัพอัสซีเรียที่ได้ปิดล้อมกรุงเยรูซาเล็มไว้ได้อันตธานไปโดยไม่บอกกล่าวและไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ประชาชนยูดาห์จึงพากันโมทนาพระคุณพระเจ้าที่ช่วยพวกตนให้รอดปลอดภัย พวกเขาเชื่อว่านั่นคือหมายสำคัญแสดงว่าพระองค์ทรงพิทักษ์รักษาประชาชนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มเสมอ (2พกษ.19.32-34)
อัสซีเรียกับอียิปต์
กษัตริย์อัสซีเรียสองพระองค์ต่อมาคือ เอสาร์ฮัดโดน และ อาเชอร์บานิปัลรับภาระในการปราบปรามอียิปต์ ซึ่งคอยยุแหย่ประเทศเล็ก ๆ ในปาเลสไตน์ให้ก่อความยุ่งยากแก่อัสซีเรียอยู่เนือง ๆ ซึ่งทั้งสองพระองค์สามารถยึดเมืองเมมฟิส ดินดอนสามเหลี่ยมของอียิปต์ และทำลายเมืองเธเบสได้ จนกระทั่งอัสซีเรียสามารถบรรลุถึงความยิ่งใหญ่สูงสุดของตน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
ในช่วงปี ก.ค.ศ. 687- 642 เป็นรัชสมัยของมนัสเสห์ที่ปกครองยูดาห์ กษัตริย์พระองค์นี้ใน 2 พงษ์กษัตริย์ 21.1-18 ได้บันทึกไว้ว่า มนัสเสห์ทรงสนับสนุน "การกระทำอันน่าเกลียดน่าชัง" ทุกอย่าง คือ พระองค์ยอมจำนนต่ออัสซีเรียและสนับสนุนประชาชนให้กระทำพิธีตามแบบศาสนาอื่น ซึ่งอัมโมนโอรสของมนัสเสห์ได้เป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ (ก.ค.ศ. 642 - 640) ก็ทรงดำเนินนโยบายอย่างเดียวกันกับพระราชบิดา
ช่วงปีท้าย ๆ ของอัสซีเรีย
ตอนที่มนัสเสห์เป็นกษัตริย์แห่งยูดาห์อยู่นั้น บาบิโลนก่อกบฏต่ออัสซีเรียอีกครั้งในปี ก.ค.ศ. 652 ในระหว่างที่กำลังต่อสู้กับบาบิโลนอยู่นั้น อียิปต์ก่อกบฏขึ้นและสามารถปลดแอกการปกครองของอัสซีเรียได้ นี่คือตอนที่อัสซีเรียเริ่มเสื่อมอำนาจลง เมื่อโยสิยาห์เป็นกษัตริย์ยูดาห์ พระองค์ทรงฉวยโอกาสพยายามจะกอบกู้อิสระภาพให้แก่ยูดาห์ พระองค์ทรงปฏิรูปชีวิตด้านศาสนาของยูดาห์ เนื่องจากมีการค้นพบพระคัมภีร์ม้วนหนึ่งในพระวิหารเกือบจะแน่ใจได้ว่าเป็นร่างเดิมของพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ อัสซีเรียไม่สามารถขัดขวางมิให้ยูดาห์ประกาศอิสระภาพ เมื่อฟาโรห์เนโคแห่งอียิปต์ยกทัพไปช่วยอัสซีเรียที่กำลังแตกพ่ายโยสิยาห์ขัดขวางจึงถูกสังหารที่เมกิดโดในปี ก.ค.ศ. 609 (2พกษ.23.29)
ตะบองแห่งความกริ้วของพระเจ้า
ในประวัติศาสตร์ตอนนี้อิสราเอลต้องทนทุกข์อันเกิดจากประสบการณ์ใหม่ที่ไม่น่าอภิรมย์ พวกเขาต้องพ่ายแพ้อัสซีเรียซึ่งเป็นชาติที่มีอำนาจเหนือกว่าตนมากนัก แต่ความขมขื่นนี้จากประสบการณ์นี้เองทำให้พวกเขาเข้าใจพระเจ้าและวิธีการที่พระองค์ทรงใช้ในโลกนี้
พระเจ้ากับเทพอาชูร์
สมัยนั้นประชาชนเชื่อว่าแต่ละชาติมีเทวาธิราชของตนเอง และเชื่อด้วยว่าพระองค์เป็นผู้นำชัยชนะในการทำสงครามมาให้ ชาวอัสซีเรียเชื่อว่าที่ตนชนะสงครามได้เพราะอำนาจของเทพอาชูร์ ข้าราชการอัสซีเรียตำแหน่งรับชาเคห์เคยใช้ความคิดเห็นนี้เกลี้ยกล่อมประชาชนในกรุงเยรูซาเล็มให้ยอมแพ้ (2พกษ. 18.33-35) สำหรับอิสราเอลนั้น ผู้เผยพระวจนะหลายท่านก็เคยทำนายล่วงหน้าไว้แล้วว่าอิสราเอลจะพ่ายแพ้ พระเจ้าทรงวางแผนให้อิสราเอลถูกทำลายและถูกกวาดต้อนเป็นเชลย (อมส.3.11, 5.27, ฮชย.10.14, 11.5-6 และอสย.5.13) ผู้เผยพระวจนะเชื่อว่าพระเจ้าเพียงแต่ใช้อัสซีเรียมาลงโทษประชาชนของพระองค์เท่านั้น (อสย.7.17-20) แต่คราวใดที่อัสซีเรียโอ้อวดชัยชนะหรือใช้ความรุนแรงเกินกว่าที่พระเจ้าเจตนาไว้ พระองค์ก็ทรงลงโทษพวกเขาคราวนั้น เพื่ออัสซีเรียจะได้รู้ว่าพระเจ้าเป็นผู้ลงโทษพวกเขา บรรดาผู้เผยพระวจนะเชื่อว่าพระเจ้าทรงควบคุมเหตุการณ์ทุกอย่างแม้พวกอัสซีเรียจะมีเสรีภาพในการเลือกกระทำได้ด้วยตนเอง แต่พระองค์ก็สามารถใช้การกระทำของพวกเขาทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ และทรงมีอำนาจในการจำกัดชัยชนะของพวกเขาไว้ในขอบเขตที่เป็นประโยชน์ตามพระประสงค์ของพระองค์
พระเจ้ากับอิสราเอล
สาเหตุที่ประชาชนอิสราเอลถูกลงโทษก็เพราะพวกเขาทำชั่วไว้มากไม่ได้ทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ทำผิดในเรื่องการนมัสการ และในเรื่องความอยุติธรรมในสังคม แม้พวกผู้เผยพระวจนะจะเตือนหรือโจมตีซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่ออิสราเอลไม่ฟังจึงสมควรที่อิสราเอลกับยูดาห์จะได้รับความทุกข์ทั้งหมดที่มาจากอัสซีเรีย
ความหวังเพียงอย่างเดียว
เพราะอิสราเอลเห็นว่าพระเจ้าไม่คุ้มครองพวกเขาแล้ว ดังนั้นในเวลาที่มีความทุกข์เดือดร้อนพวกเขามักจะหันไปขอพึ่งความช่วยเหลือ หรือเป็นพันธมิตรกับชาติต่าง ๆ ที่เกลียดชังอัสซีเรียด้วยเหตุผลเดียวกัน ผู้เผยพระวจนะพยายามคัดค้านการกระทำดังกล่าวเสมอ เช่น อิสยาห์เตือนอาหัสไม่ให้ขอความช่วยเหลือจากอัสซีเรีย (อสย.7) และเตือนกษัตริย์เฮเซคียาห์ด้วยว่าความช่วยเหลือจากอียิปต์ก็ไร้ประโยชน์ (อสย.19) แต่ความหวังอย่างเดียวที่อิสยาห์ให้แก่กษัตริย์แห่งยูดาห์ได้คือพวกเขาจะ ต้องวางใจในพระเจ้าและนำประชาชนให้วางใจในพระเจ้าแต่องค์เดียวเท่านั้น สำหรับการพิพากษาของพระเจ้าจะเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน ไม่มีใครขัดขวางได้
ในประวัติศาสตร์อัสซีเรียบทที่ผ่านมาจะเห็นว่า ในที่สุดจักรวรรดิอัสซีเรียก็ถูกโค่นล้มทำลายอำนาจโดยประเทศบาบิโลนและประเทศมีเดีย จึงมี 3 ประเทศที่เรืองอำนาจขึ้นมาคือ อียิปต์ มีเดีย และบาบิโลน ล้วนเป็นประเทศที่เข้มแข็งและมีอิทธิพลในช่วงต่อมา
ที่มาของข้อมูลนี้
http://www.baanjomyut.com/library/jew/page07.html
คำว่า ANAEL ใน HOLY Bible นั้นไม่ได้กล่าวถึงคำๆนี้เลย แต่ในศาสนาของพวกยิว กล่าวว่า เป็นฑูตสวรรค์ เช่นกันกับ Satanic Bible แต่แตกต่างกันมากในหน้าที่
Haniel ( ฮีบรู : הניאל, "ความสุขของพระเจ้า" หรือ ฮิบรู : חַנִּיאֵל, "Grace of God") แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Anael
Hanael หรือ Anael เป็น ทูตสวรรค์ ในตำนานของพวกยิว และ angelology และ เป็น 1 ใน 7 Archangels
ชื่อ Haniel อาจเกิดขึ้นจากภาษาฮิบรู hana'ah, ซึ่งแปลว่า "ความสุข", "ความสุข" เป็นเทพแห่งดางดาว
Venus ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ของ “ความรัก” Anael เป็นทูตสวรรค์ของการแต่งงาน มีความรักและเสน่หาของมนุษย์
Anael ที่ยังเป็นที่รู้จักกัน Hagiel ยังมีการกล่าวถึงเป็นทูตสวรรค์ของอากาศ ลมหายใจรับอากาศเข้าสู่ร่างกาย
Hanael ชื่อในภาษาฮิบรูซึ่งหมายความว่า "ความสุขของพระเจ้า."
เป็น ที่เชื่อกันในบางคนบางส่วน สำหรับผู้ที่เรียกร้องให้ Anael สามารถส่งความช่วยเหลือมาถึงตัวเขาเองได้ โดยในการนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามความสัมพันธ์รัก และ พระพรพิเศษ ทูตสวรรค์องค์นี้จะไม่แทรกแซงในโชคชะตาของมนุษย์ แต่ถ้าเป็นไปได้สำหรับความสัมพันธ์ที่จะบานสะพรั่งที่เขาจะช่วยเปิดประตูที่จำเป็นนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งความเชื่อนี้เองได้นำไปสู่พิธีกรรมสำหรับการเรียกร้อง Anael
1 ดอกกุหลาบสีแดง หรือ 1 ดอกสีขาว เอาหนามออก แล้วกดลำต้นเข้าด้วยกันและเลื่อนให้เป็นสามวง วงที่หนึ่ง เป็นแหวนเงิน อีกวงหนึ่งเป็นทองและ วงที่สามคือ ทองแดง สถานที่นี้ ต้องมีเทียนสีขาวจุดในตำแหน่งในแต่ละด้าน แล้วเผาไม้จันทน์ ให้มีกลิ่นหอม
หันหน้าถไปทางทิศตะวันออกและสวดอธิษฐาน เรียก Anael และ ขอพรของเขาในความสัมพันธ์ของความรัก
Haniel (Anael) จะปรากฏใน Satanic Bible เป็นเทวดา 1 ใน 7 เทวดา ที่ให้พลังในด้านการสร้างสรร และเกี่ยวข้องกับ ลักษณะของเส้นทาง เป็นเพศหญิง
Chaldean
คำส่า CHALDEAN ใน Holy Bible ไม่ได้กล่าว ฑูตสววรค์ แต่กลับถึง กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีชื่อ ว่าคนเคลเดีย
Chaldea หรือ Chaldaea มาจากภาษากรีก Χαλδαία Chaldaia ภาษาฮิบรู כשדים Kaśdim อราเมอิก : ܟܐܠܕܘ, Kaldo คือที่ดินแอ่งน้ำที่ตั้งอยู่ในวันที่รุ่งเรืองซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อิรัก ที่มาของปกครองในสมัย บาบิโลน ในภูมิภาคจากศตวรรษที่ 8 เป็นที่รู้จักในฐานะคนเคลเดีย หรือ Chaldees ภาษาฮิบรู ไบเบิลใช้คำכשדים (Kaśdim)
Chaldea ปรากฏบ่อยครั้งใน Holy Bible
อสย 23:13 จงดูแผ่นดินแห่งคนเคลเดียเถิด เป็นชนชาตินี้ ไม่ใช่อัสซีเรีย เขาลิขิตให้ไทระเป็นที่สัตว์ป่าอยู่ เขาได้ก่อเชิงเทินของเขาขึ้น เขาทลายวังทั้งหลายของมันลง เขากระทำให้มันเป็นที่ปรักหักพัง
ดนล 2:2 แล้วพระราชาจึงทรงบัญชาให้มีหมายเรียกพวกโหร พวกหมอดู พวกนักวิทยาคม และคนเคลเดียเข้าทูลพระราชาให้รู้เรื่องพระสุบิน เขาทั้งหลายก็เข้ามาเฝ้าพระราชา
ดนล 2:5 พระราชาทรงตอบคนเคลเดียว่า "คำของเรานั้นเด็ดขาด ถ้าเจ้าไม่ให้เรารู้ความฝันพร้อมทั้งคำแก้ฝัน แขนขาของเจ้าต้องถูกทึ้งออก และบ้านเรือนของเจ้าจะต้องถูกทำลาย
ดนล 2:10 คนเคลเดียจึงกราบทูลพระราชาว่า "ไม่มีบุรุษคนใดในพิภพที่จะสำแดงเรื่องพระราชาได้ เพราะว่าไม่มีพระราชาที่ยิ่งใหญ่ และทรงฤทธิ์ไต่ถามสิ่งเหล่านี้จากโหร หรือหมอดู หรือคนเคลเดีย
ดนล 4:7 พวกโหร พวกหมอดู และคนเคลเดีย และหมอดูฤกษ์ยามก็เข้ามาเฝ้า เราก็เล่าความฝันแก่เขา เขาทั้งหลายแก้ฝันให้เราไม่ได้
ดนล 5:7 พระราชารับสั่งเสียงดัง ให้นำหมอดู และคนเคลเดีย และหมอดูฤกษ์ยาม เข้ามาเฝ้า และพระราชาตรัสกับพวกนักปราชญ์กรุงบาบิโลนว่า "ผู้ที่อ่านข้อเขียนนี้ และแปลความให้เราได้ เราจะให้ผู้นั้นสวมเสื้อสีม่วง และสวมสร้อยคอทองคำ และเราจะตั้งให้เป็นอุปราชตรีในราชอาณาจักรของเรา
คนเคลเดีย
คนเคลเดียเป็นคนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของบิซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทางตอนใต้ของอิรักในวันนี้ บางครั้งคำว่า "เคลเดีย" ถูกใช้เพื่ออ้างถึงชาวบาบิโลนในทั่วไป แต่ปกติมันหมายถึงชนเผ่ากึ่งเร่ร่อนเฉพาะที่อาศัยอยู่ในส่วนใต้ของบาบิโลน ที่ดินของคนเคลเดียเป็นส่วนหนึ่งทางตอนใต้ของบาบิโลนหรือ Mesopotamia มันเป็นความคิดโดยทั่วไปจะมีพื้นที่ประมาณ 400 กิโลเมตรและยาว 100 กิโลเมตรกว้างข้างของ
แม่น้ำไทกริสยูเฟรติส
คนเคลเดียจะกล่าวถึงหลายครั้งในพระคัมภีร์ในบริบททั้ง ตัวอย่างเช่นพระธรรมปฐมกาล 11:28 ส่วนฮารานสิ้นชีวิตก่อนเทราห์ผู้เป็นบิดาในแผ่นดินที่ตนบังเกิด คือ เมืองเออร์ของชาวเคลเดีย
พูดถึงว่า บิดาของอับราฮัม เกิดที่แผ่นดินที่เรียกว่าเมืองเออร์ของชาวเคลเดีย เป็นชนเผ่าที่เฉพาะเจาะจง หรือคนที่รู้จักกันคือคนเคลเดีย เรารู้จากข้อพระคัมภีร์เช่น
ปฐมปฐมกาล 11:31 และ 15:07
“เทราห์ก็พาอับรามบุตรของตนกับโลทหลานชาย คือ บุตรของฮารานและนางซารายบุตรสะใภ้ คือ ภรรยาของอับราม ออกจากเมืองเออร์ของชาวเคลเดีย จะเข้าไปในแผ่นดินคานาอัน แต่เมื่อเขาทั้งหลายมาถึงเมืองฮารานแล้วก็อาศัยอยู่ที่นั่น”
15:07 “แล้วพระองค์ตรัสแก่อับราม ว่า "เราคือพระเจ้าที่พาเจ้าออกจากเมืองเออร์ของชาวเคลเดีย เพื่อจะยกดินแดนนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้า”
ที่พระเจ้าเรียกอับราฮัมออกจาก แผ่นของคนเคลเดียเพื่อให้อับราฮัมจะติดตามพระเจ้าไปยังดินแดนที่พระเจ้าได้สัญญา ว่าจะให้เขาและลูกหลานของเขาแคลเดียน (Chaldeans)
แคลเดียนเป็นกลุ่มชนที่แตกตัวออกมา จากพวกอราเมียน (Arameans) และได้เข้าตั้งมั่นในดินแดนตอนกลางของเมโสโปเตเมีย ชาวแคลเดียนนั้นยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอัสซีเรียน ในขณะเดียวกันชาวแคลเดียนก็ได้คิดก่อการกบฏแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ หลังจากกษัตริย์อัสซูร์บานิปาลแห่งอัสซีเรียนสิ้นพระชนม์แล้ว นาโบโปลัซซาร์ผู้นำชาวแคลเดียนนั้นได้แยกตัวออกจากการปกครองของอัสซีเรียน และประกาศให้ตนเหนือดินแดนบาบิโลเนีย นาโบโปลัซซาร์และเซซารัสผู้นำชาวมีดส์ได้รวมกำลังกันยึดครองกรุงนิเนเวย์ ทำให้จักรวรรดิอัสซีเรียนต้องล่มสลายไป ดังนั้นจักรวรรดิแคลเดียนจึงขึ้นมามีอำนาจแทน โดยนาโบโปลัซซาร์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น มีศูนย์กลางอยู่ที่บาบิโลเนีย เมืองหลวงคือกรุงบาบิโลน
จักรวรรดิแคลเดียนเจริญถึงขีดสุดใน สมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ (Nebuchadnezzar) ซึ่งเป็นโอรสของนาโบโปลัซซาร์ จักรวรรดิได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกโดยครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทรงยึดอาณาจักรยูดาห์ของฮิบรูและกวาดต้อนชาวฮิบรูมาเป็นเชลยที่กรุงบาบิโลน เรียกช่วงระยะเวลานี้ว่า “ช่วงกักขังที่บาบิโลเนีย” (The Babyloian Captivity) นอกจากนี้กษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ได้เชื่อมสัมพันธไมตรีกับมีดส์ด้วยการแต่ง งานกับเจ้าหญิงมีดส์แห่งจักรวรรดิมีเดียน ในสมัยของพระองค์นั้นกรุงบาบิโลนเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการปกครองและการ ค้า จักรวรรดิแคลเดียนเริ่มเสื่อมลงภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
กษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ (Nebuchadnezzar)
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิแคลเดียนต้องล่มสลายในสมัยของกษัตริย์นาโบนิดัส (Nabonidus) เพราะ
1. ชาวแคลเดียนไม่พอใจในการปกครองของนาโบนิดัสที่มีแต่การกดขี่ข่มเหง
2. เชลยฮิบรูไม่ให้ความจงรักภักดี เพราะต้องการอิสรภาพเพื่อกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์
3. ชาวแคลเดียนถูกรุกรานและได้พ่ายแพ้ให้กับกองกำลังทหารเปอร์เซียนที่นำโดยไซรัสมหาราช
หลังจากนั้นเป็นต้นมาดินแดนของ จักรวรรดิแคลเดียนทั้งหมดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย โดยพวกเชลยชาวฮิบรูนั้นไซรัสมหาราชได้ปลดปล่อยให้กลับสู่ปาเลสไตน์
ไซรัสมหาราช (Sirus)
http://www.bibletools.org/index.cfm/fuseaction/Library.sr/CT/BQA/k/167/Who-Are-Chaldeans.htm
http://www.gotquestions.org/Chaldeans.html
ส่วนคำว่า LUCIPHER และ CERVILL ไม่มีปรากฏใน Holy Bible คะ จึงไม่ได้ขยายความอันใด
ความคิดเห็น