จากประวัติศาสตร์ ประเทศไทยเรค้าขายกับต่างชาติมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยุครุ่งเรื่องอย่างสมัยอยุธยา ยุคพระเจ้าปราสาททอง กว่า 400ปีมาแล้ว ที่เราพบหลักฐาน ว่ามีคริสเตียนชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในอยุธยา กว่า400คน และน่าจะมากกว่านั้น พวกเขาเป็นใครมาจากไหน ทำอะไรที่อยุธยามาดูกัน
ชุมชนชาวญี่ปุ่นใอยุธยาน่าจะมีขึ้นในสมัยพระนเรศวร ซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ ของพ่อค้าเรือสำเภาญี่ปุ่นที่ตั้งคลังสินค้า เพื่อรวบรวมสินค้าไว้คอยสำเภาจากญี่ปุ่นในฤดูกาลปีต่อไป เรือสำเภาของญี่ปุ่นที่ เดินทางมาทำการค้าในอุษาคเนย์นี้ ประมาณว่ามีขึ้นในราวปลายสมัยพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2132)
แต่ก่อนหน้านี้สยามกับญี่ปุ่นต่างติดต่อทำการค้า ระหว่างกันโดยมีอาณาจักรริวกิว หรือปัจจุบันคือ หมู่เกาะโอกินาวา เป็นตัวแทนการค้า รวมทั้งตัวแทนการค้ากับจีนด้วย
บ้านญี่ปุ่นตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของเกาะเมือง ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำ เป็นบ้านโปรตุเกส ส่วนติดกับด้านเหนือมีคลองเล็กๆ คั่นเป็นบ้านอังกฤษ และบ้านฮอลันดา
ประมาณว่าในช่วงเฟื่องฟูทางการค้าอยุธยา-ญี่ปุ่นนั้น บ้านญี่ปุ่นมีประชากรอยู่ราว 1,000-1,500 คน แต่ด้วยปัจจัยที่ผู้นำชุมชนบ้านญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังทหารเข้มแข็ง และยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในราชสำนักอยุธยาอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อมรการเปลี่ยนกษัตริย์ และราชวงศ์ใหม่เป็นพระเจ้าปราสาททองเมื่อปี พ.ศ. 2172 ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดะ นางามาซะ เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นก็ได้รับคำสั่ง ให้ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อปราบกบฎในหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาพระเจ้าปราสาททองจึงส่งกองทหารทำลายล้าง บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยาอย่างราบคาบ แต่ชาวญี่ปุ่นรู้ตัวล่วงหน้า จึงพากันลอบอพยพออกจากอยุธยาไปก่อนแล้ว
บ้านญี่่ปุ่นน่าจะมีประชากรลดลงตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยคือการปิดประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นสมัยพระเจ้าปราสาททอง อันเนื่องมาจากญี่ปุ่นต้องการกีดกันคริสต์ศาสนา คำสั่งนี้ห้ามทั้งการทำการค้า กับภายนอก และห้ามคนญี่ปุ่นจากภายนอกกลับเข้าประเทศ
ชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยายังคงมีบทบาท ในการค้าทางสำเภาต่อไป แต่เป็นการค้าในอาณาบริเวณจำกัด
จากข้อมูลทำให้เราเห็นว่า การกีดกันศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น ของญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นปิดประเทศ และญี่ปุ่นที่เป็นคริสเตียนในสยามจึงไม่สามารถกลับประเทศได้ พวกเขาจึงอาศัยอยู่ในเมืองไทยจนเป็นชุมชนใหญ่ และทำการจัดตั้ง กองอาสาญี่ปุ่นขึ้น เพื่อช่วยราชการ จนมีโอกาสเป็นถึงเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่จากคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การส่งยามาดะไปเป็นเจ้าเมืองนั้นเป็นแผนการของทางการ ที่หวาดระแวงชุมชนชาวญี่ปุ่นที่ใหญ่โตขึ้น จึงอาศัยการให้บำเหน็ดรางวัล ไปเป็นเจ้าเมือง แท้จริงคือส่งไปเพชิญสถานการร้าย ถ้ารอดตายจากสงครามกับพวกกบฎที่นครศรีธรรมราชได้ ก็ให้ปักหลักที่นั้น แล้วกวาดล้างที่เหลือในอยุธยา อย่างแนบเนียน
มาไล่เรียงลำดับเหตุการณืเท่าที่มีบันทึกกัน ว่าเรารู้อะไรกันบ้าง
ปี ค.ศ.1570 หรือ พ.ศ.2133 : เท่าที่พบหลักฐานแล้ว น่าจะเป็นปีที่มีการส่งเรือสำเภาริวกิว ไปยังสยามเป็นครั้งสุดท้าย
ปี ค.ศ.1616 หรือ พ.ศ.2159 : ออกญาพระคลังเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ของสยาม ได้ส่งไม้กฤษณาพร้อมด้วยจดหมาย ถึง ไดเมียวมาเอดะ โทชิทสึเนะ เนื่องจากอยากได้ดาบญี่ปุ่น เมื่อถึงปีนี้หมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยากำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ คิอิ คิวเอมอน ได้เป้นหัวหน้าหมู่บ้านจนถึงปี พ.ศ.2163 (ค.ศ. 1620)
ปี ค.ศ.1612 หรือ พ.ศ.2155 : ชาวญี่ปุ่นจำนวน 280คน ที่อาศัยในอยุธยาวางแผนบุกเข้าไปฆ่า เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ถึงในพระราชวังอยุธยา จากนั้นก็หลบหนีไปยังเพชรบุรี และในปีนี้ ยามาดะ นางามาซะ มาอยุธยา
ปี ค.ศ.1620 หรือ พ.ศ.2163 : ยามาดะ นางามซะ ได้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา
ปี ค.ศ.1621 หรือ พ.ศ.2164 : ฑูตสยามเดินทางไปเอโดะ (ปัจจุบันคือ โตเกียว) เพื่อนำพระราชสาส์นของ กษัตริย์สยามไปมอบให้โชกุนโตกุงาวะ ฮิเดทาดะ
ยามาดะ นางามาซะ มีจดหมายถึง โดอิ โทชิดะ และ ฮอนดะ มาซาสุมิ
ปี ค.ศ.1622 หรือ พ.ศ.2165 : หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยาถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น
ปี ค.ศ.1627 หรือ พ.ศ.2170 : บาทหลวงชาวโปรตุเกสจากมะละกา ทำพิธีศีลมหาสนิทให้แก่คริสเตียนชาวญี่ปุ่น 400 คน ที่พำนักอยู่อาศัยในอยุธยา หมู่บ้านญี่ปุ่น ในช่วงที่มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่มากที่สุดนั้น มีราวๆ 1,000 ถึง 1,500 คน ในจำนวนนี้สังกัด “กรมอาสาญี่ปุ่น” 800คน
ปี ค.ศ.1629 หรือ พ.ศ.2172 : ยามาดะ นางามาซะ ไปเป้นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชที่อยู่ตอนใต้ของสยาม
ปี ค.ศ.1630 หรือ พ.ศ.2173 : ยามาดะ นางามาซะ ถึงแก่กรรม หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยาถูกเผาทำลาย
ปี ค.ศ.1659 หรือ พ.ศ.2202 : บาทหลวงนิกายเยซูอิต ที่ถูกส่งจากเอ้หมึงไปยังอยุธยานั้น ..ไปคอยให้กำลังใจแก่คริสเตียนชาวญี่ปุ่นที่อยุธยา
ปี ค.ศ.1662 หรือ พ.ศ.2205 : เดอ ลา โมเดอ ลองแบร์ บาทหลวงฝรั่งเศส รายงานว่า ในอยุธยามีชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ อาศัยอยู่
ยามาดะ นางามาซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (เกิดใน จังหวัด ชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น) นับว่าเป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินไทยมากที่สุด เหตุนี้จึงได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุข หลังจากที่พระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ.1628 ยามาดะได้แสดงความจงรักภักดีต่อโอรส 2องค์ของพระเจ้าทรงธรรม ต่อมายามาดะ ได้เดินทางไปนครศรีธรรมราช ในฐานะเป็นผู้บัญชาการกองทหารอาสาสมัคร เพื่อปราบกบฎที่นั้น เมื่อปราบกบฎจนราบคาบแล้ว ยามาดะขึงได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และเขาก้เสียชีวิตลงที่นั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ.1630 (เสียชีวิตในปีถัดมา)
คงนับได้ว่า คริสเตียนชาวญี่ปุ่นกลุ่มนี้ ต้องเผชิญกับสถานการที่เลวร้ายไม่น้อย ตั้งแต่การที่ไม่สามารถกลับประเทศได้ จากการปิดประเทศและกีดกันศาสนาคริสต์ ในสมัยนั้น และยังต้องเผชิญการเมืองอยุธยาที่เต็มไปด้วยอำนาจและแผนการร้าย ท่ามกลางสงครามภายในอยุธยา ได้มีการจัดตั้งกองอาสาญี่ปุ่นขึ้น จนวันนี้เราเห็นเพียงหลักฐาน การตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านญี่ปุ่น ที่อยุธยา ณ ปัจจุบัน มีส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่น และจัดพื้นที่สวนญี่ปุ่นไว้เป็นที่ระลึกถึงชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยาอีกด้วย
...มีโอกาสก็แวะไปเยี่ยมชมกันนะครับ ใกล้แค่นี้เอง ค่าเข้าชมคนล่ะ20 บาท
ข้อมูลท่องเที่ยว :
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทย และนักวิชาการญี่ปุ่น ปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่น ให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัย และพิพิธภัณฑสถาน เกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม
และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบ ให้เปล่า จากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน ๙๙๙ ล้านเยน (๑๗๐ ล้านบาท) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาส ที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับราชอาณาจักรไทยได้สถาพรยืนนานมาครบ ๑๐๐ ปี
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแห่งนี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนอาคารหลัก ตั้งอยู่ที่ถนนโรจนะ ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นบน และ อีกส่วนคือส่วนอาคารผนวก ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียนในบริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ของ ศูนย์แห่งนี้ มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่นคือ การพยายามสร้างภาพชีวิต สังคม วัฒนธรรมในอดีตให้กลับมามีชีวิตขึ้นใหม่ด้วยข้อมูลการวิจัย (Researched based Reconstruction) โดยการนำเทคโนโลยี ของการจัดพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ มาใช้จัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจชีวิตในอดีตได้ง่าย การจัดแสดงมีทั้งสิ้น ๕ หัวข้อ คือ อยุธยาในฐานะราชธานี อยุธยาในฐานะเมืองท่า อยุธยาในฐานะของศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครอง
ความ สัมพันธ์ของอยุธยากับนานาชาติและชีวิตชาวบ้านไทยสมัยก่อน ทั้งนี้นิทรรศการทุกอย่าง ที่นำมาแสดงในศูนย์ได้รับการตรวจสอบข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อย่างละเอียดจากคณะอนุกรรมการ ด้านวิชาการของคณะกรรมการอำนวยการมาแล้ว
ศูนย์ แห่งนี้เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมสำหรับเด็ก นักเรียนและนักศึกษา ในเครื่องแบบ ๕ บาท ประชาชนทั่วไป ๒๐ บาท นักเรียนต่างชาติ ๕๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๕๑๒๓
ขอขอบคุณ
http://www.weareimpact.com/content/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD400%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2
ความคิดเห็น