ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล BLEACH เทพมรณะ (ขั้นเทพ)

    ลำดับตอนที่ #9 : Bleach Detail:ฮอลโลว์กับวัฒนธรรมสเปนและลาตินอเมริกัน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.49K
      5
      12 ก.พ. 52

    บทความนี้ ป้าก็ก๊อปเค้ามาอีกนั้นแหละค่ะ แต่เวปนี้ค่อนข้างเชื่อถือได้นะค่ะ เอาหล่ะลองอ่านกันดูนะ

    Bleach Detail:ฮอลโลว์กับวัฒนธรรมสเปนและลาตินอเมริกัน

    Credit: Dark Master
    ---------------------------------------------------------------
    คำเตือน 1: กระทู้นี้ Spoiler มากถึงมากที่สุด ดังนั้น ใครก็ตามที่ไม่ได้ตามอ่านเรื่องจนถึงตอนปัจจุบันจะไม่อ่านกระทู้นี้ก็ได้น่อครับ
    (ปล. สำหรับคนกลัว Spoil อาจลงไปอ่านถึงหัวข้อ หน้ากากของฮอลโลว์
    กับ Hueco Mundo ได้ แต่หัวข้อ 3 เป็นต้นไปไม่ควรดูอย่างยิ่ง หากไม่ต้องการโดน Spoil เหอๆๆๆ)

    คำเตือน 2: ผู้เขียนเขียนกระทู้นี้ขึ้นสำหรับเผยแพร่เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ บางอย่างที่น่าสนใจจากการ์ตูนเรื่อง Bleach เพื่อให้ผู้อ่านได้อรรถรสในการอ่านเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างมากในการรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นรูปร่างขึ้นมา

    ทุกๆ ท่านที่ตามอ่าน Spoiler Bleach ของผม หรือตามอ่านจากสแกนในเน็ต หรือจากโชเน็นจัมป์โดยตรงก็ตาม คงจะรู้เลาๆ กันแล้ว ว่าคอนเซปต์ของพวกฮอลโลว์ รวมถึงเผ่าที่แตกแขนงมาจากฮอลโลว์อย่างอารันการ์นั้นล้วนแต่ใช้ศัพท์ต่างๆ รวมถึงมีรูปร่างที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของชาวสเปนหรือผู้คนในแถบลาตินอเมริกา
    อย่างเม็กซิโกด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งผมได้ลองรวบรวมจากข้อมูลต่างๆ จากเวบต่างประเทศมาให้อ่านกัน ดังนี้


    หน้ากากของฮอลโลว์

    เริ่มที่หน้ากากของฮอลโลว์เลยดีกว่า หน้ากากของฮอลโลว์นี้มีที่มาจากหน้ากากที่ใส่กันในพิธีเฉลิมฉลองที่เรียกว่า
    "Dia de los Muertos" (วันของเหล่าผู้ตาย) ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่จัดในแถบเม็กซิโกเพื่อเฉลิมฉลองและแสดงความเคารพ
    แก่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่จากไป (คล้ายๆ ตรุษจีนบ้านเราหรือเทศกาลโอบงของญี่ปุ่นนั่นแหละ)
    โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน วันที่ 1 - 3 ของทุกปี
    ในพิธีก็จะมีการประดับประดาหลุมศพหรือรูปตั้งหน้าศพของผู้ตายด้วยดอกไม้กระดาษหลากสี
    รวมทั้งถวายอาหารต่างๆ แก่หลุมศพหรือรูปตั้งหน้าศพของผู้ตายอีกด้วย


    สัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลนี้คือรูปหัวกะโหลก
    เครื่องประดับหลายอย่างในเทศกาลนี้จึงทำเป็นรูปหัวกะโหลกหรือโครงกระดูก
    แม้แต่อาหารก็ยังทำเป็นรูปหัวกะโหลก เช่น pan de muertos ซึ่งเป็นขนมปังที่ทำเป็นรูปหัวกะโหลก
    เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีการใส่หน้ากากที่มีรูปร่างคล้ายกับหัวกะโหลกมนุษย์เดินพาเหรดไปตามท้องถนนในเมือง
    หรือหมู่บ้านเพื่อเฉลิมฉลองแก่เหล่าผู้ตายอีกด้วย (คล้ายๆ เทศกาลผีตาโขนทางภาคอีสานของไทยแหละ



    Hueco Mundo


    ภาษาไทยแปลออกมาอ่านว่าไงจำไม่ค่อยได้แฮะ
    จำได้แต่ว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกช่องว่างระหว่างโลกมนุษย์กับโซล โซไซตี้
    และเป็นสถานที่ที่พวกฮอลโลว์ใช้เป็นที่กบดานซ่อนตัวจากการไล่ล่าของโซล โซไซตี้
    โดยสองคำนี้มาจากภาษาสเปนเช่นกัน โดยคำว่า Hueco แปลว่า ว่างเปล่า กลวง (ตรงกับคำว่า
    Hollow ในภาษาอังกฤษ) และ Mundo แปลว่า โลก รวมความได้สองแง่ว่า โลกที่กลวงโบ๋ หรือ
    โลกของเหล่าฮอลโลว์ ก็ได้ครับ



    อารันการ์ (Arrancar)


    ชื่อเรียกของเหล่าฮอลโลว์ผู้ต้องการข้ามขอบเขตพลังของตัวเอง
    ด้วยการถอดหน้ากากตัวเองออกเพื่อรับพลังของยมทูตเข้ามาในร่าง
    ที่ปัจจุบันกำลังซ่องสุมกำลังพลอย่างเงียบๆ เตรียมเปิดสงครามกับโซล โซไซตี้
    กลายเป็นหนามยอกอกชิ้นสำคัญของโซล โซไซตี้เลยทีเดียว ซึ่งคำว่า อารันการ์
    นี้ก็มาจากภาษาสเปนเช่นกัน โดยมาจาก V. arrancar ในภาษาสเปน แปลว่า ดึงออก กระชากออก
    นั่นเอง (เข้ากับอิเมจของพวกอารันการ์ที่ต้องการความแข็งแกร่งจนถึงกับ "ดึงหน้ากากตัวเองออก" จริงๆ แฮะ)


    เมนอสกรังเด้

    เมื่อก่อนผมเคยเขียนไปว่า เมนอสกรังเด้ มาจากภาษาโปรตุเกส
    แต่พอได้เห็นคอนเซปต์ของวัฒนธรรมสเปนและลาตินอเมริกันในหมู่ฮอลโลว์และอารันการ์แล้ว
    ผมขอเปลี่ยนใหม่ครับว่า เมนอสกรังเด้ น่าจะมาจากภาษาสเปนมากกว่า (คำว่าเมนอสกรังเด้
    ในภาษาสเปนกับภาษาโปรตุเกสความหมายเดียวกันเลยครับ ออกเสียงก็คล้ายๆ กัน)
    ความหมายก็เหมือนเดิม ก็คือ มาจากคำว่า Menos แปลว่า ไม่มี น้อย เล็กน้อย
    กับ Grande แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจหมายความถึงลักษณะของเมนอสที่เกิดจากฮอลโลว์ขนาดเล็กมารวมตัวกัน
    จนกลายเป็นฮอลโลว์ขนาดยักษ์ครับ

    Conquistadores


    ชื่อตอน 190 - 194 ซึ่งเป็นช่วงเปิดตัวอารันการ์ โดย Conquistadores เป็นภาษาสเปน แปลว่า
    ผู้พิชิต และเป็นคำที่พวกชาวสเปนที่เข้าไปตั้งอาณานิคมของตนในส่วนต่างๆ ของโลกในช่วงศตวรรษที่ 15
    ถึง 17 ใช้เรียกตัวเองในฐานะที่เป็น "ผู้พิชิต" ดินแดนเหล่านั้น
    (สังเกตได้ว่าพวกอารันการ์สองตนที่ปรากฏในตอน Conquistadores นี้ใช้ชื่อว่า ยามี่ กับ
    เออร์ควิโอล่า ซึ่งเป็นชื่อภาษาสเปนครับ นอกจากนี้ เจ้ายามี่ยังเคยตะโกนอุทานว่า "Suerte"
    ซึ่งเป็นภาษาสเปน แปลว่า "เฮงจริงๆ" อีกด้วย)



    วิชาต่างๆ ของพวกฮอลโลว์และพวกอารันการ์


    "Pesquisa" วิชาตรวจจับพลังกดดันวิญญาณของทุกๆ สิ่งได้ตั้งแต่เป้าหมายเดียว
    จนถึงขยายขอบเขตรัศมีกว้างเหมือนเครื่องเรดาร์ตรวจจับที่อยู่ของพลังวิญญาณเป็นจำนวนมากได้ โดยคำว่า
    "Pesquisa" เป็นภาษาสเปน แปลว่า ตรวจสอบ สืบหา นั่นเอง


    "Hierro" ผิวหนังของอารันการ์ที่แข็งแกร่งดุจเหล็กไหลฟันแทงธรรมดาไม่เข้า
    สามารถใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับดาบฟันวิญญาณของยมทูตได้สบายๆ (เทียบง่ายๆ ก็คล้ายๆ
    วิชาจำพวกหนังทองแดงกระดูกเหล็ก หรือ ระฆังทองคลุมกาย แหละครับ) คำว่า "Hierro"
    เป็นภาษาสเปน แปลว่า เหล็ก นั่นเอง


    "Cero" คลื่นลำแสงพลังกดดันวิญญาณสูง วิชาเด็ดของฮอลโลว์ชั้นเมนอสขึ้นไป
    เดิมทีผมเคยคิดว่าวิชานี้จะเขียนด้วยคำว่า "Zero" (ศูนย์) ในภาษาอังกฤษ
    แต่พอเห็นว่าคอนเซปต์ของพวกฮอลโลว์เป็นวัฒนธรรมสเปน ผมจึงคิดว่าอ. คุโบน่าจะใช้คำว่า ศูนย์
    ในภาษาสเปนคือ Cero มากกว่า



    ลำดับของเอสปาด้า

    ลำดับเลขที่พวกเอสปาด้าชอบอ้างถึงบ่อยๆ เวลาแนะนำตัวกับใคร
    โดยแพทเทิร์นจะเริ่มด้วยการบอกลำดับของตนก่อน แล้วจึงบอกชื่อตาม ซึ่งในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นนั้น
    อ. คุโบจะเขียนลำดับพวกนี้เป็นตัวคันจิภาษาญี่ปุ่น แต่คำบอกวิธีอ่าน (ฟุริกานะ) ที่เขียนกำกับไว้เล็กๆ
    บนตัวคันจินั้นจะเขียนเป็นตัวคาตาคานะ ซึ่งแกะออกมาจากคำบอกลำดับในภาษาสเปน ดังนี้

    ลำดับ 1 PRIMERO
    ลำดับ 2 SEGUNDO
    ลำดับ 3 TERCERO
    ลำดับ 4 CUARTO
    ลำดับ 5 QUINTO
    ลำดับ 6 SEXTO
    ลำดับ 7 SEPTIMO
    ลำดับ 8 OCTAVO
    ลำดับ 9 NOVENO
    ลำดับ 10 DECIMO
    ลำดับ 11 UNDECIMO <--------- เชารอน
    ลำดับ 12 DUODECIMO
    ลำดับ 13 DECIMOTERCERO <--------------- เอโดราโด้
    ลำดับ 14 DECIMOCUARTO
    ลำดับ 15 DECIMOQUINT
    ลำดับ 16 DECIMOSEXTO <--------------- ดีรอย
    ลำดับ 17 DECIMOSEPTIMO
    ลำดับ 18 DECIMOCTAVO
    ลำดับ 19 DECIMONOVENO
    ลำดับ 20 VIGESIMO

    การแนะนำตัว เช่น ลำดับ6 SEXTO Espada กริมจอร์ แจ๊คเกอร์แจ๊ด

    ตอนนี้ที่เรารู้ลำดับยังมีแค่นี้แฮะ ไว้รู้เพิ่มเมื่อไหร่ค่อยมาใส่เพิ่มละกันน่อ



    จริงๆ คิดว่าอ. คุโบะน่าจะมีอะไรอยากเขียนลงไปเยอะกว่านี้
    แต่อาจยังไม่ถึงเวลาเผยหรือยังไม่มีโอกาสเอามาเขียนให้ดูกันก็ได้ ซึ่งถ้ามีอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาอีก
    ก็อาจลองใส่ไว้เป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ท้าย Spoiler ก็ได้ครับ

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=robonin&month=09-2007&date=11&group=13&gblog=12

     

    Bleach Detail:เรื่องน่ารู้จาก Bleach เล่ม16 & 17

    Credits: Dark Master

    ------------------------------------------------------------------------
    Night of Wijnruit

    ชื่อเล่มสุดเท่ของเล่ม 16 ที่เอาภาษาคนรู้จักน้อยๆ มาเล่นอีกตามสไตล์อ. คุโบ
    รวมทั้งยังเป็นชื่อตอนย้อนอดีตของไคเอ็นกับลูเคียอีกด้วย โดยคำว่า Wijnruit
    นั้นเป็นชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่งในภาษาดัตช์ เป็นดอกไม้ในแถบยุโรป ชื่อดอกไม้ชนิดนี้ในภาษาอังกฤษ
    ก็คือดอก Rue (อ่านว่า "รูว์") ครับ ซึ่งคำว่า Rue นี้นอกจากจะเป็นชื่อดอกไม้ชนิดนี้แล้ว ยังมีความหมายอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า "เสียใจ สำนึกผิด" อีกด้วยครับ
    (อ่านถึงตรงนี้แล้วลองนึกย้อนไปถึงเนื้อหาของตอน "Night of Wijnruit"
    ดูนะครับ ว่าตรงกันเป๊ะๆ มั้ย เหอๆๆ)

    อนึ่ง คำว่า Wijnruit ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "เฮนรูด้า" แต่ถ้าอ่านตามโฟเนติกของภาษาดัตช์จริงๆ
    จะอ่านได้ว่า "เวนไรต์" ซึ่งเมื่ออ่านแบบนี้แล้วจะสัมผัสเสียงกับคำว่า "night" พอดีครับ




    ชื่อตอน 131 - The True Will

    หลายคนอาจจะรู้กันแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำว่า "Will" นั้นมีความหมายถึง "คำสั่งเสีย" อีกด้วย
    (ใครที่เล่นการ์ดยูกิอาจจำได้ว่าจะการ์ดใบนึงที่ในญี่ปุ่นชื่อแปลได้ความหมายว่า "จดหมายสั่งเสีย"
    แต่พอเป็นภาษาอังกฤษเปลี่ยนชื่อเป็น "Last Will" แทน นั่นแหละครับ คำว่า Will
    ที่หมายความถึงคำสั่งเสียละ)



    Rosa Rubicundior, Lilio Candidior (โรซา รูบิคันดิออร์, ลิลิโอ แคนดิดิออร์)

    ชื่อเล่มสุดเท่ของเล่ม 17 และเป็นชื่อตอน 144 อีกด้วย
    ที่ทำคนงงเต็กด้วยภาษาต่างชาตินอกเหนือจากที่หาเรียนกันได้ง่ายๆ ในเมืองไทยอีกชื่อ
    ซึ่งชื่อตอนนี้นั้นเป็นภาษาลาติน แปลตามตัวได้ว่า "แดงฉานยิ่งกว่ากุหลาบ ขาวผุดผ่องยิ่งกว่าลิลลี่"
    โดยที่มาของวลีบทนี้นั้นมาจากบทกวีภาษาลาตินชื่อ Veni, Veni, Venias (มาเถิด มาเถิด มาเถิด)
    ซึ่งบทกวีนี้แต่งโดยกวีชาวเยอรมันชื่อว่า Carl Orff และรวมอยู่ในบทกวีชุด Carmina Burana
    ซึ่งรวมบทกวียุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ในเยอรมนีช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยเนื้อหาของของ Veni Veni
    Venias นั้นจะเป็นเหมือนบทกวีพรรณนาความรักของชายหนุ่มที่มีต่อหญิงสาวคนหนึ่งจนสุดหัวใจ ดังนี้



    Veni, veni, venias,
    ne me mori facias,
    hyrca, hyrce, nazara;
    trilirivos.

    Pulchra tibi facies,
    oculorum acies,
    capillorum series;
    o quam clara species!

    Rosa rubicundior,
    Lilio candidior,
    omnibus formosior;
    semper in te glorior!


    ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาไทยคงได้ประมาณนี้ครับ (อาจฟังดูไม่เพราะเท่าไหร่น่อ
    ผมยิ่งไม่เก่งเรื่องแต่งกลอนด้วย)


    มาเถิด มาเถิด มาเถิด
    อย่าปล่อยให้ข้าต้องตาย
    ฮิร์คา ฮิร์เค นาซารา
    ทริลิริวอส

    ความงดงามหรือ
    ก็คือดวงหน้า
    คือประกายตา
    คือเรือนผมอันยาวสลวยของเจ้าไรเล่า
    โอ้ ช่างงดงามเกินบรรยาย

    แดงฉานยิ่งกว่าดอกกุหลาบ
    ขาวผุดผ่องยิ่งกว่าดอกลิลลี่
    งดงามเหนืออื่นใดในใต้หล้า
    โอ้ ความภาคภูมิของข้าเอย



    ชื่อตอน 143 - Parthian Shaft

    ใครที่อ่านใน Boom หรืออ่านจากจัมป์เล่มก่อนๆ มาแล้วจะรู้ว่าตอน 143 นั้นเดิมมีชื่อตอนว่า Parthian
    Shaft (ในฉบับรวมเล่ม 17 เปลี่ยนชื่อตอนที่ 143 ใหม่เป็น Blazing Soul แทน) ซึ่งคำว่า
    Parthian Shaft นี้เป็นชื่อกลยุทธ์ในการทำศึกของทหารม้าชาวเปอร์เซียแคว้นปาร์เธียนในสมัยโบราณ
    โดยในระหว่างการรบ ทหารม้ากองขมังธนูจะแกล้งชักม้าควบหนีศัตรู เมื่อศัตรูตายใจไล่ตาม
    ก็จะเอี้ยวตัวกลับหลังจากท่าควบม้าเต็มเหยียดหันมาระดมยิงธนูใส่ข้าศึกที่ไล่ตามมาด้วยความชะล่าใจ
    ไม่ทันป้องกันตัวจนด่าวดิ้นสิ้นชีพอย่างง่ายดาย

    กลยุทธ์นี้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดใน "การยุทธ์ที่คาร์เรย์" (Battle of Carrhae)
    ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิปาร์เธียนในช่วง 55 ปีก่อนคริสตกาล
    โดยสาเหตุของสงครามในครั้งนี้นั้นเกิดจากแครซซุส หนึ่งใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรมันในสมัยนั้น
    (อีกสองคือปอมปีย์ และจูเลียส ซีซาร์ ที่เรารู้จักกันดี) ปรารถนาจะสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง
    (อยากดังว่างั้น) จึงตัดสินใจเปิดสงครามกับจักรวรรดิปาร์เธียน
    เนื่องจากจักรวรรดิปาร์เธียนนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากับโรมันมาตลอด
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการชิงอำนาจครอบครองเหนือแคว้นอาร์เมเนียที่อยู่ระหว่างกลาง
    ของทั้งสองอาณาจักร ทั้งยังมีแสนยานุภาพทางการทหารพอๆ กัน ดังนั้น
    แครซซุสจึงเห็นปาร์เธียนเป็นเหยื่อชั้นดีในการกระพือชื่อเสียงของตนเองให้ขจรขจาย
    ในฐานะจอมทัพผู้พิชิตแห่งโรมัน


    หลังจากได้รับการเห็นชอบจากสภาซีเนตของโรมันให้ทำสงครามได้
    (ด้วยการล็อบบี้จากปอมปีย์และซีซาร์อีกสองแรง) แครซซุสก็กรีฑากองทัพโรมันจำนวนมากมายกว่า
    40,000 นายเข้าสู่ดินแดนของแคว้นปาร์เธียนทันที ด้วยความช่วยเหลือจากซีเรียและทางอาร์เมเนีย
    ทางแคว้นปาร์เธียนทราบข่าวจอมทัพโรมันทำกำแหงยกทัพมาระราน
    จึงส่งกองกำลังของตนออกไปต่อสู้ด้วยตามคำท้าทันที โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 กองทัพ
    ทัพแรกซึ่งเป็นทัพทหารเดินเท้าได้รับคำสั่งให้ไปถล่มอาร์เมเนียให้ยับฐานเอาใจออกห่าง
    ส่วนอีกทัพซึ่งเป็นทหารม้าทั้งหมดนั้นถูกส่งไปรบกับทัพโรมัน กองทัพทั้งสองต่างมาเผชิญหน้ากัน ณ
    บริเวณใกล้เมืองคาร์เรย์ เกิดเป็นศึกใหญ่สะท้านฟ้าสะเทือนดินอีกศึกหนึ่งในประวัติศาสตร์การรบของโรมัน


    แม้กองทหารของปาร์เธียนในสงครามครั้งนี้จะมีกำลังพลเพียง 10,000 นาย
    ซึ่งน้อยกว่ากำลังพลของฝ่ายโรมันร่วม 4 เท่าก็ตาม
    แต่กองพลเล็กพริกขี้หนูนี้ก็แสดงฝีมือในการสงครามให้ประจักษ์
    ด้วยการรบแบบผสมผสานระหว่างกองทหารม้าติดเกราะหนัก กับทหารม้ากองขมังธนู
    โดยทหารม้ากองขมังธนูที่มีจำนวนมากถึง 9,000
    นายจะเปิดเกมด้วยการระดมยิงธนูใส่ข้าศึกอย่างต่อเนื่องเพื่อป่วนแนวรับของฝ่ายโรมัน
    เมื่อฝ่ายโรมันเริ่มปั่นป่วนจากพิษฝนธนูของทหารม้า ทหารม้าติดเกราะหนักสำหรับกระแทก บดขยี้
    และทำลาย ก็จะบุกทะลวงเข้าจู่โจมอย่างรวดเร็ว จนฝ่ายโรมันตั้งตัวกันไม่ติด (กล่าวกันว่า
    เพื่อให้สามารถระดมยิงใส่ข้าศึกได้อย่างต่อเนื่องไม่มีขาดตอน
    กองทัพปาร์เธียนถึงกับใช้อูฐขนลูกธนูมาให้ทหารหยิบเอามายิง
    นอกเหนือจากลูกธนูในกระบอกเก็บธนูของทหารแต่ละคนเลยทีเดียว
    เรียกว่างานนี้กะเอาให้ตายเลยว่างั้นเหอะ)



    ฝ่ายกองทัพโรมันก็พยายามตีโต้ ด้วยการบุกเข้าใส่ทหารม้ากองขมังธนูของปาร์เธียน บัดนั้นเอง กลยุทธ์
    "Parthian Shaft" ก็สำแดงฤทธิ์ให้ประจักษ์ ทหารม้าขมังธนูเริ่มถอนกำลังชักม้าหนี
    ฝ่ายโรมันได้ใจคิดว่าศัตรูหนีเพราะกำลังจะเสียเปรียบก็ไล่ตามไปหมายเอาคืนที่ไล่ยิงพวกตน
    ซะเป็นหมอนปักเข็มไปหลายราย โดยไม่ทันคิดแม้แต่น้อยว่ากำลังจะตกเข้าไปในหลุมพรางของข้าศึก
    ชนิดที่ไม่มีโอกาสปีนกลับขึ้นมาแก้ตัวได้อีก

    เมื่อล่อศัตรูเข้ามาจนได้ระยะพอที่อีกฝ่ายจะตีโต้ไม่ทัน
    ทหารม้าชาวปาร์เธียนทุกคนก็เอี้ยวตัวสุดเหยียดจากท่าควบม้าหนี สองมือออกแรงขึ้นสายธนูเต็มเหยียด
    ก่อนจะปล่อยลูกธนูออกไปพร้อมๆ กัน
    พิฆาตเหล่าปรปักษ์ดวงกุดที่ไล่ตามมาไม่ดูตาม้าตาเรือจนกลิ้งโคโล่ไปนับร้อยคน
    ก่อนจะปล่อยให้ที่เหลือโดนกองทหารม้าหนักรุมสหบาทาจนเละเทะ


    ผลของสงครามครั้งนี้โรมันสูญเสียไพร่พลไปมากมายถึงกว่า 34,000 คน (บาดเจ็บ 4,000 คน
    ตายในสนามรบ 20,000 คน อีก 10,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก)
    ทั้งๆ ที่มีกำลังพลมากกว่ากันเกือบ 4 เท่า
    เรียกได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่เลยทีเดียว
    ตัวแครซซุสเองก็สูญเสียพาบลิอุสลูกชายหัวแก้วหัวแหวนไปในการศึกครั้งนี้
    แถมในท้ายที่สุดก็ยังต้องเสียแม้แต่ศีรษะของตนเองให้แก่ซูเรนา แม่ทัพใหญ่ของปาร์เธียนในศึกครั้งนี้อีกด้วย
    เมื่อขาดผู้นำทัพ กองทัพโรมันที่อ่อนเปลี้ยเต็มทีแล้วจึงได้แต่ยอมม้วนเสื่อถอยกลับบ้านโกโฮมแต่โดยดี


    หากบั้นปลายของผู้ชนะอย่างแม่ทัพซูเรนาเองก็ใช่ว่าจะดีเด่กว่าแครซซุสเท่าไหร่นัก
    เพราะถึงแม้จะไปทำศึกได้ชัยชนะกลับมาอย่างงดงาม แต่กษัตริย์ออโรเดสที่ 2
    ซึ่งเป็นกษัตริย์ของจักรวรรดิปาร์เธียนในสมัยนั้นกลับอิจฉาในความสำเร็จของซูเรนา
    (เข้าตำรา "บ่าวดูเด่น ข่มรัศมีนาย" ทำนองนั้นแหละ)
    จนกลายเป็นความหวาดระแวงว่าซูเรนามีบารมียิ่งใหญ่เกินไปอาจคิดเอาใจออกห่าง
    จึงสั่งประหารแม่ทัพซูเรนาทันที หลังจากที่ซูเรนานำทัพเข้ายึดอาร์เมเนียได้ ตามตำรา "เสร็จนาฆ่าความถึง
    เสร็จศึกฆ่าขุนพล" เปี๊ยบ

     

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=robonin&month=09-2007&date=11&group=13&gblog=14

     
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×