อนาคตฤดูหนาวโบกมือลาคนกรุงฯ เหตุภาวะโลกร้อน - อนาคตฤดูหนาวโบกมือลาคนกรุงฯ เหตุภาวะโลกร้อน นิยาย อนาคตฤดูหนาวโบกมือลาคนกรุงฯ เหตุภาวะโลกร้อน : Dek-D.com - Writer

    อนาคตฤดูหนาวโบกมือลาคนกรุงฯ เหตุภาวะโลกร้อน

    ผู้เชี่ยวชาญชี้ชัดแนวโน้ม กทม.จะไม่มีฤดูหนาว

    ผู้เข้าชมรวม

    394

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    394

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ธ.ค. 49 / 10:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ผู้เชี่ยวชาญชี้ชัดแนวโน้ม กทม.จะไม่มีฤดูหนาว ผลจากภาวะโลกร้อนสร้างปรากฏการณ์โดมความร้อนของเมือง ส่งผลอุณหภูมิอุ่นขึ้น 2 องศา ส่วนทุกภาคก็ไม่แพ้ ฤดูหนาวสั้นลง รวมทั้งได้รับผลจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ ชี้จับตา พายุไต้ฝุ่น “ ทุเรียน ” หวั่นซ้ำรอยลินดา

      รศ.ดร.จริยา บุญญวัฒน์ ผู้ประสานงานศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START)
      กล่าวถึงผลการเปลี่ยนแปลงของโลกกับประเทศไทยในเวทีการสัมมนา 1 ทศวรรษ การวิจัยการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเทศไทยว่า ขณะนี้มีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าในอนาคตกรุงเทพฯ จะไม่มีฤดูหนาวอีกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ศูนย์เคยศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเมื่อหลายปีก่อน มีข้อสรุปว่าการขยายตัวของชุมชนในเขต กทม. เป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปี (พ.ศ.2499-2540) ทำให้เกิดภาวะ Urban Heat Island หรือโดมความร้อนของเมือง ซึ่งเป็นมลภาวะทางความร้อนและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในเขตชุมชน กทม.
             
             "การวิจัยพบว่า กทม.เกิด โดมความร้อน หรือปรากฏการณ์อุณหภูมิในเมืองสูงกว่าชานเมืองของ กทม. มีลักษณะคล้ายโตเกียวคือมีอุณหภูมิระดับพื้นดินในเมืองสูงกว่าเขตชนบท ค่าสูงสุด 5 องศาเซลเซียส ส่วน กทม. โดยเฉลี่ยอุณหภูมิในบรรยากาศแนวดิ่งที่วัดด้วยเครื่องมือที่ติดกับบอลลูนที่ระดับความสูง 100 เมตร พบว่าอุณหภูมิเหนือ กทม. สูงกว่านอกเมือง 2 องศา เนื่องจากสิ่งปกคลุมดินที่เป็นต้นไม้ สนามหญ้า และพื้นที่คูคลองลดลงกลายเป็นตึกสูงและถนน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละภาคยังพบว่าในภาคเหนือที่เคยหนาวมากจนอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศา อาจจะเหลือหนาวสุดแค่ 11-15 องศา เท่านั้น ทั้งนี้ เพราะโซนภาคเหนือขึ้นไป เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม มีการพัฒนาเมืองและทำให้เกิดมลภาวะมากขึ้น ขณะที่ภาคกลางที่หนาวสุดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 25 องศา และจะมีหน้าร้อนยาวนานขึ้นและหน้าหนาวสั้นลง” รศ.ดร.จริยา กล่าว
             
             นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากกรณีที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าในปีนี้อากาศร้อนมากและไม่หนาวเหมือนปีที่ผ่านมานั้น เป็นผลโดยตรงจากภาวะโลกร้อน โดยขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ปี เอลนิโญ แล้วและจะยาวนานไปจนถึงปลายปี 2550 โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและร้อน ซึ่งถือว่าตรงข้ามกับปี 2549 ที่เป็นปี ลานีญา จะมีฝนชุกและมีอุทกภัย
             
             นายอานนท์ กล่าวต่อว่าในปลายสัปดาห์นี้ต้องจับตาว่า พายุโซนร้อน ทุเรียน ที่กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์สู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง และจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามจะส่งผลกระทบกับประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน เพราะส่วนใหญ่ถ้าเป็นพายุปลายฤดูฝนเข้าฤดูหนาวก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วงและควรต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมและเตือนภัยชาวบ้านในเขตพื้นที่เสี่ยง เพราะไม่แน่ว่าพายุอาจจะรุนแรงเหมือนกับ พายุลินดา ที่เคยสร้างเกิดความเสียหายอย่างหนักเมื่อช่วงปี 2540 ในพื้นที่ภาคใต้มาแล้วหรือไม่

      โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2549

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×