ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : รายงาน
ป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นป้อมปราการทางน้ำที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่าอำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นชัยภูมิเหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้ใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมี[[พระยาชลยุทธโยธินทร์|พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์] เป็นผู้บัญชาการรบ
ปัจจุบันป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ และกองทัพเรือได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ
ปืนเสือหมอบ
ปืนเสือหมอบหรือปืนใหญ่อาร์มสตรอง เป็นปืนใหญ่ขนาด 152/32 มม. สร้างโดยบริษัท เซอร์ ดับบลิวจี อาร์มสตอง (Sir W.G. Armstrong) ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อด้วยพระราชทานเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ จำนวน 10 กระบอก (ติดตั้งที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าจำนวน 7 กระบอก และติดตั้งที่ป้อมผีเสื้อสมุทรจำนวน 3 กระบอก) เมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อใช้ประจำการในป้อมพระจุลจอมเกล้า ลักษณะเด่นคือปืนนี้ถูกติดตั้งในหลุมปืนโดยเฉพาะ การยกปืนเมื่อทำการยิงใช้อากาศ-น้ำมัน เมื่อยิงไปแล้วปืนจะหมอบลง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ปืนเสือหมอบ ที่รู้จักกันทั่วไป ในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ปืนเสือหมอบเหล่านี้ก็ได้ใช้การต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสด้วย
เรือหลวงแม่กลองเป็นเรือรบประเภทเรือสลุป ต่อที่อู่เรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2479 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2480 และปลดระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาประจำการ 59 ปี นับว่าเป็นเรือรบที่ประจำการยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้ผ่านการใช้งานในหน้าที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา และใช้เป็นเรือฝึกของทหารเรือ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ตั้งอยู่ที่บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
“ป้อมพระจุลจอมเกล้า” หรือที่เรียกกันว่า“ป้อมพระจุลฯ” ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นด้วยเงินงบประมาณรายได้ของแผ่นดินบางส่วนและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อสมทบการก่อสร้าง และจัดหาอาวุธปืนประจำป้อม จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ได้สร้างเรียบร้อยในต้นปี พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อเสด็จทอดพระเนตรป้อม เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) ได้ทรงพระราชทานนามป้อมปืนแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ”
บริเวณป้อมปืนมีเนื้อที่ประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่เศษ ในขณะนั้นนับว่าเป็นป้อมปืนที่ทันสมัยที่สุด ป้อมปืนดังกล่าวติดตั้งปืนใหญ่ซึ่งตัวปืนจะอยู่ภายในหลุมจำนวน ๗ หลุมปืน ปืนใหญ่ที่นำมาติดตั้งที่หลุมปืนนั้นสั่งมาจากบริษัทเซอร์ ดับบริวจี อาร์มสตรอง จำกัด (Sir W.G. Armstrong & Co.) ประเทศอังกฤษ เป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ ปืนใหญ่รุ่นนี้เมื่อจะทำการยิงต้องใช้แรงม้ำมันยกปืนใหญ่ขึ้นพ้นปากหลุม เมื่อทำการยิงไปแล้วปืนก็จะถอยลดลงมาอยู่ในหลุมตามเดิม ด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ จึงมีผู้เรียกปืนใหญ่นี้ว่า “ปืนเสือหมอบ”
ในตอนเย็น ของ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ หมู่เรือรบฝรั่งเศส ประกอบด้วยเรือปืนชัน ๑ ชื่อ แองกองสตังค์(Inconstant) และ เรือปืนโคเมต (Comete) ภายในการบัญชา ของ นาวาโท โบรี (Bory) ได้แล่นล่วงล้ำผ่านสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เข้ามาโดยไม่ยอมฟังคำห้ามปราม และโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย ป้อมประจุลจอมเกล้า ได้ยิงนัดดินออกไป ๓ นัด เป็นการเตือนให้กลับไปเสีย แต่เรือฝรั่งเศส ยังแล่นเรื่อยเข้ามา ปืนป้อมพระจุลฯ จึงยิงด้วยกระสุนจริง แต่ข้ามหัวเรือรบฝรั่งเศสไป เรือรบฝรั่งเศส ได้ชัก ธงรบและระดมยิงป้อมพระจุลจอมเกล้า พร้อมกันทั้ง ๒ ลำ ฉากแห่งการต่อสู้จึงได้อุบัติขึ้น ป้อมพระจุลฯ ได้ยิงโต้ตอบด้วยปืนใหญ่ทุกกระบอกที่มีอยู่โดยฉับพลันในการยิงต่อสู้ครั้งนี้ ผลปรากฎว่าเรือ เย.เบ.เชย.(J.B.say) ซึ่งเป็น เรือนำร่องให้เรือ ฝรั่งเศส ถูกยิงทะลุ ต้องแล่นเกยตื้น อยู่ริมฝั่ง ณ บริเวณ ป้อมพระจุลฯ นั่นเอง ส่วนเรือรบ ฝรั่งเศส ทั้ง ๒ ลำ คงแล่นผ่านเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ และจอดทอดสมอที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส การรบครั้งนี้ พลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน ซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรืออยู่เวลานั้นได้บัญชาการต่อสู้ด้วยตนเอง
ประวัติป้อมพระจุลจอมเกล้า
“ป้อมพระจุลจอมเกล้า” หรือที่เรียกกันว่า“ป้อมพระจุลฯ” ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นด้วยเงินงบประมาณรายได้ของแผ่นดินบางส่วนและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อสมทบการก่อสร้าง และจัดหาอาวุธปืนประจำป้อม จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ได้สร้างเรียบร้อยในต้นปี พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อเสด็จทอดพระเนตรป้อม เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) ได้ทรงพระราชทานนามป้อมปืนแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ”
บริเวณป้อมปืนมีเนื้อที่ประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่เศษ ในขณะนั้นนับว่าเป็นป้อมปืนที่ทันสมัยที่สุด ป้อมปืนดังกล่าวติดตั้งปืนใหญ่ซึ่งตัวปืนจะอยู่ภายในหลุมจำนวน ๗ หลุมปืน ปืนใหญ่ที่นำมาติดตั้งที่หลุมปืนนั้นสั่งมาจากบริษัทเซอร์ ดับบริวจี อาร์มสตรอง จำกัด (Sir W.G. Armstrong & Co.) ประเทศอังกฤษ เป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ ปืนใหญ่รุ่นนี้เมื่อจะทำการยิงต้องใช้แรงม้ำมันยกปืนใหญ่ขึ้นพ้นปากหลุม เมื่อทำการยิงไปแล้วปืนก็จะถอยลดลงมาอยู่ในหลุมตามเดิม ด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ จึงมีผู้เรียกปืนใหญ่นี้ว่า “ปืนเสือหมอบ”
เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
ในตอนเย็น ของ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ หมู่เรือรบฝรั่งเศส ประกอบด้วยเรือปืนชัน ๑ ชื่อ แองกองสตังค์(Inconstant) และ เรือปืนโคเมต (Comete) ภายในการบัญชา ของ นาวาโท โบรี (Bory) ได้แล่นล่วงล้ำผ่านสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เข้ามาโดยไม่ยอมฟังคำห้ามปราม และโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย ป้อมประจุลจอมเกล้า ได้ยิงนัดดินออกไป ๓ นัด เป็นการเตือนให้กลับไปเสีย แต่เรือฝรั่งเศส ยังแล่นเรื่อยเข้ามา ปืนป้อมพระจุลฯ จึงยิงด้วยกระสุนจริง แต่ข้ามหัวเรือรบฝรั่งเศสไป เรือรบฝรั่งเศส ได้ชัก ธงรบและระดมยิงป้อมพระจุลจอมเกล้า พร้อมกันทั้ง ๒ ลำ ฉากแห่งการต่อสู้จึงได้อุบัติขึ้น ป้อมพระจุลฯ ได้ยิงโต้ตอบด้วยปืนใหญ่ทุกกระบอกที่มีอยู่โดยฉับพลันในการยิงต่อสู้ครั้งนี้ ผลปรากฎว่าเรือ เย.เบ.เชย.(J.B.say) ซึ่งเป็น เรือนำร่องให้เรือ ฝรั่งเศส ถูกยิงทะลุ ต้องแล่นเกยตื้น อยู่ริมฝั่ง ณ บริเวณ ป้อมพระจุลฯ นั่นเอง ส่วนเรือรบ ฝรั่งเศส ทั้ง ๒ ลำ คงแล่นผ่านเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ และจอดทอดสมอที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส การรบครั้งนี้ พลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน ซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรืออยู่เวลานั้นได้บัญชาการต่อสู้ด้วยตนเอง
หลังจากเหตุการณ์ใน ร.ศ. ๑๑๒ ปืนเสือหมอบ (ปืนหลุม) มิได้ทำการยิงเป็นทางการอีกเลย ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๖ จึงได้ปลดประจำการ และได้เก็บไว้ในสภาพของปืนโบราณเพื่อเป็นประวัติศาสตร์เท่านั้น ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานนับเป็นสิบปี ปืนที่ถูกเก็บไว้จึงมาสภาพชำรุดทรุดโทรม ส่วนประกอบต่างของปืนสูญหาย ตลอดจนมีน้ำท่วมบริเวณฐานปืน จากสภาพที่ปรากฏแล้ว ยากต่อการปรับคืนสภาพเดิมได้ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า และมีแนวความคิดในการจัดสร้าง พระบรมราชนุสาวรีย์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้น จึงได้มีการปรับสภาพภายนอกของปืนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
แนวความคิดที่จะให้ปืนเสือหมอบทำการยิงได้นั้น พลเรือเอก สุวัชชัย เกษมสุข ผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบัน ในฐานะที่ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนประวัติการยุทธทางเรือ โรงเรียนนายเรือ และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสนใจ ในเรื่องปืนใหญ่ทั้งปืนเก่าและใหม่เป็นอย่างมาก ได้มีความคิดริเริ่มที่จะดำเนินการซ่อมทำปืนเสือหมอบให้สามารถยิงได้
การดำเนินการซ่อมปืนให้ยิงได้ ได้เริ่มเป็นจริงขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๕ เมื่อชมรมเพื่อนทหารเรือ โดย คุณ มนต์ชัย ราบรื่นทวีสุข ได้เข้ามาให้การสนับสนุน ทั้งในด้านหาข้อมูล คู่มือ และตรวจสอบด้วยความแข็งแรงตลอดจนการซ่อมทำในระยะแรกรวมทั้งหน่วยต่างๆ ของ กองทัพเรือ ได้แก่ ฐานทัพเรือกรุงเทพ อู่ทหารเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้ร่วมกันดำเนินการซ่อมทำปืนเสือหมอบหลุมที่ ๔ เป็นอันดับแรก
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ คณะกรรมการปรับปรุงปืนเสือหมอบ โดย พลเรือตรี ทวีศักดิ์ โสมาภา เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ นาวาเอก วณิชย์ พุ่มขจร รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ ทำการวิเคราะห์การทำงานของปืน และได้ศึกษาหาหนทางที่จะทำการยิงปืนด้วยหัวกระสุนที่ปลอดภัย (ไม่ใช่หัวกระสุนจริง) แล้วให้ปืนมีอาการถอยหมอบกลับมาในหลุมปืนได้เสมือนกับยิงด้วยหัวกระสุนจริงซึ่งหนักประมาณ ๔๕ กิโลกรัม ได้ทำการยิงปืนเสือหมอบครั้งแรกเมื่อ ๑๘ พ.ย.๔๐ เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของปืนและโครงสร้าง ตลอดจนสังเกตอาการปืนขณะทำการยิง เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงในครั้งต่อไป ในการยิงครั้งนี้ใช้เพียง ๑ กิโลกรัม มากที่สุด และหัวกระสุนทรงกลมทำด้วยกระดาษ
ผลจากการยิงในครั้งแรก ทำให้คณะกรรมการ ฯ มีแนวความคิดในการพัฒนาหัวกระสุน โดยสร้างขึ้นหลายๆ แบบ มีน้ำหนักต่างกันและนำไปทดสอบยิงเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๔๐ โดยใช้ดินปืนหนัก ๕.๕ กิโลกรัม ใช้หัวกระสุนบรรจุด้วยวัสดุชนิดต่างๆ เช่น น้ำ ขี้เลื่อย ทราย ฯลฯ ซึ่งหัวกระสุนทรายนี้มีน้ำหนักมากที่สุดประมาณ ๙ กิโลกรัม มีผลต่อการถอยของปืนมากกว่าใช้หัวกระสุนชนิดอื่น ที่นำมาทดลองจึงกำหนดให้สร้างหัวบรรจุทรายหนัก ๑๐ กิโลกรัม เป็นมาตรฐานในการทดลองยิงครั้งต่อๆ ไป
ในการยิงด้วยหัวกระสุนหนักเพียง ๑๐ กิโลกรัม นี้ไม่สามารถทำให้เกิดการถอยของปืนเช่นเดียวกับกายยิงด้วยหัวกระสุนจริงซึ่งน้ำหนักถึง ๔๕ กิโลกรัม เว้นแต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการถอยในห้องหม้อสูบ คณะกรรมการฯ จึงได้ศึกษาการทำงานของปืนอย่างละเอียดพบว่าถ้าเปลี่ยนสปริงของ Recoil valves ให้อ่อนลง พร้อมทั้งขยายช่องน้ำมันให้ไหลกลับสะดวกขึ้น จะช่วยให้ปืนถอยได้ง่ายขึ้น จากที่ได้ทำการยิงมาแล้วสองครั้ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทดลองหัวกระสุนที่ได้พัฒนาสร้างขึ้นมา พร้อมทั้งสังเกตการถอยของปืนเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงนั้น แต่การยกปืนขึ้นลงตามสภาพที่ได้ซ่อมทำมาก่อนนั้นยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การยกปืนขึ้นมีข้อข้องเป็นประจำ ดังนั้น ในการปรับปรุงครั้งนี้ จึงได้ยกหม้อสูบมาทำการซ่อมใหญ่ที่ สพ.ทร. ได้ซ่อมและสร้างอุปกรณ์ในห้อมหม้อสูบใหม่ ดังนี้
- เปลี่ยนสปริงของ Recoil valves ทั้ง ๒ ตัว พร้อมทั้งขยายช่องน้ำมัน
- เปลี่ยนเบาะลิ้นยกปืนเป็นแบบเดิมทำด้วยตะกั่ว
- เปลี่ยนคันโยกลิ้นยกปืน
- เปลี่ยนซีลฝาหม้อสูบ
- ทดลองน้ำมันตรวจการรั่วไหลของ Recoil valves และลิ้นยกปืน
- เมื่อ ๒๖ ก.พ.๔๑ ได้นำหม้อสูบที่ได้ซ่อมปรับปรุงแล้วไปประกอบที่ปืนทดสอบการทำงานของปืน ปืนสามารถยกขึ้นลงได้เรียบร้อยดี ๓ มี.ค.๔๑ ปืนพร้อมยิงทดสอบครั้งต่อไป
- เมื่อ ๒๕ มี.ค.๔๑ ทำการยิงทดสอบครั้งที่ ๓ โดยใช้หัวกระสุนบรรจุทรายหนัก ๑๐ กิโลกรัม ดินขับ ๑๐ กิโลกรัม ปืนสามารถถอยได้ระยะ ๖๒ ซม. หรือประมาณ ๖๘.๘ %
การพัฒนาลูกปืนเสืเพื่อเป็นการอนุรักษ์ปืนเสือหมอบที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นเครื่องเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลัง พร้อมกับได้จัดแสดงนิทรรศการปืนเสือหมอบขึ้นในโอกาสครอบรอบ ๑๐๕ ปี ของการใช้ปืนนี้ต่อสู้เพื่อป้องกันรักษาเอกราชของประเทศในเหตุการณ์ รศ.๑๑๒ กองทัพเรือจึงมอบหมายให้ กรมสรรพาวุธทหารเรือดำเนินการซ่อมปรับปรุงปืนเสือหมอบและพัฒนาลูกปืนหมอบให้สามารถยิงได้เหมือนยิงด้วยลูกปืนเสือหมอบ(ลูกจริง) มีความปลอดภัยและแสดงอาการถอยของปืนให้เห็นได้เด่นชัด
ปืนเสือหมอบเป็นปืนที่ใช้ลูกปืนแบบแยกส่วนบรรจุ (SEPARATED LOADING) สามารถปรับแต่งน้ำหนักดินขับลูกปืนได้ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก คือ ชนวน (FUZE) หัวลูกปืน (PROJECTILE) ดินขับ (PROPELLANT) ดินเริ่ม(IGNITER) และไพรเมอร์ (PRIMER)
๑. ลูกปืนที่พัฒนาขึ้นโดยการออกแบบขึ้นมาใหม่นั้น เมื่อทำการยิงแล้วปืนเสือหมอบ ต้องมีการถอยและหมอบลงในหลุมโดยปืน ให้มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับการยิงปืนเสือหมอบ โดยใช้ลูกปืนจริงให้มากที่สุด
๒. หัวลูกปืนต้องผลิตจากวัสดุที่เมื่อทำการยิงปืนเสือหมอบ แล้วต้องแตกตัวออกโดยภายในหัวลูกปืนต้องไม่มีการบรรจุวัตถุระเบิดและชนวนเมื่อหัวลูกปืนแตกออกต้องไม่มีสะเก็ดของส่วนหัวลูกปืนที่อาจจะทำลาย เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตตลอดจนทรัพย์สินของประชาชน
๓. ดินขับต้องให้กำลับขับที่เหมาะสม ที่จะขับหัวลูกปืนออกไปจากลำกล้องปืนและทำให้ปืนเกิดแรงถอยตลอดจนปืนเสือหมอบหมอบลงในหลุม
๔. ดินเริ่มต้องสามารถจุดินขับได้อย่างสมบูรณ์
๕.ไพรเมอร์ต้องออกแบบใหม่ให้มีความเหมาะสมที่จะจุดดินเริ่มและดินขับลูกปืนได้อย่างสมบูรณ์
หัวลูกปืนเสือหมอบได้ออกแบบเป็น ๒ ลักษณะ คือ แบบทรงกลม (MK.I) และ แบบทรงหัวลูกปืน (MK.II)มีรายละเอียดดังนี้
๑. หัวลูกปืนทรงกลม แบบ MK.I MOD.I&n
ป้อมพระจุลจอมเกล้าถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติไทยในการดำรงไว้ซึ่งการรักษาความเป็นเอกราช
ของไทยมากกว่า๑๐๐ ปี เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านการรุกรานจากชาติ
มหาอำนาจในอดีต ปัจจุบันกองทัพเรือได้พัฒนาพื้นที่ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมและเชิงประวัติศาสตร์นอกจากนี้ยังได้พัฒนาและสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นจำนวนมาก เช่นพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลองและอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือที่จัดแสดงในรูปแบบของ
พิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง อีกทั้งบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้ามีสภาพเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
ไทยจึงทำให้มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์
ของไทยมากกว่า๑๐๐ ปี เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านการรุกรานจากชาติ
มหาอำนาจในอดีต ปัจจุบันกองทัพเรือได้พัฒนาพื้นที่ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมและเชิงประวัติศาสตร์นอกจากนี้ยังได้พัฒนาและสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นจำนวนมาก เช่นพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลองและอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือที่จัดแสดงในรูปแบบของ
พิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง อีกทั้งบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้ามีสภาพเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
ไทยจึงทำให้มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์
"ป้อมพระจุลจอมเกล้า" หรือที่นิยมเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "ป้อมพระจุลฯ"ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์
จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน กล่าวคือภายหลังจากองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงมีพระราชปรารภว่าป้อมต่าง ๆ ที่ เมืองสมุทรปราการซึ่งใช้เป็นที่มั่นในการป้องกันและตั้งรับ
ข้าศึกที่จะเข้ามาทางทะเลนั้นล้วนแล้วแต่เป็นป้อมเก่าล้าสมัยและชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้อีก
ทั้งในช่วงเวลานั้นเกิดการปฏิบัติอุตสาหกรรมขึ้นในแถบยุโรป ประเทศต่าง ๆได้แก่งแย่งกันขยายอำนาจจนทำให้เกิดลัทธิล่า
อาณานิคม และแน่นอนที่สุดประเทศในแถบเอเชียซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรจึงตกเป็นเป้าหมายสำคัญของการล่า
อาณานิคมโดยประเทศ ข้างเคียงโดยรอบประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น ญวน เขมร ลาว พม่าสิงคโปร์และมาเลเซียได้ถูกยึดครองไว้
ทั้งหมดซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้เกิดขึ้นด้วยพระวิจารณญาณและพระปรีชาสามารถแห่งองค์พระพุทธเจ้าหลวงจึง
ทรงมีพระบรมราชโองการให้ปรับปรุงและซ่อมแซมป้อมเก่า ๆและทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างป้อมปราการที่ทันสมัย
ขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ณตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการเป็นการเร่งด่วน
ในต้นปี พ.ศ. ๒๔๒๗ป้อมปราการแห่งนี้ก็ถูกจัดสร้างขึ้น โดยแล้วเสร็จลงเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๓๖ และ วันที่๑๐ เมษายน
ในปีเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเพื่อทอดพระเนครป้อม
แห่งนี้โดยทรงทดลองยิงปืนป้อมด้วยพระองค์เองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า
"ป้อมพระจุลจอมเกล้า"ดังความในพระราชหัตเลขาที่มีถึงเสนาบดี ตอนหนึ่งว่า
จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน กล่าวคือภายหลังจากองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงมีพระราชปรารภว่าป้อมต่าง ๆ ที่ เมืองสมุทรปราการซึ่งใช้เป็นที่มั่นในการป้องกันและตั้งรับ
ข้าศึกที่จะเข้ามาทางทะเลนั้นล้วนแล้วแต่เป็นป้อมเก่าล้าสมัยและชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้อีก
ทั้งในช่วงเวลานั้นเกิดการปฏิบัติอุตสาหกรรมขึ้นในแถบยุโรป ประเทศต่าง ๆได้แก่งแย่งกันขยายอำนาจจนทำให้เกิดลัทธิล่า
อาณานิคม และแน่นอนที่สุดประเทศในแถบเอเชียซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรจึงตกเป็นเป้าหมายสำคัญของการล่า
อาณานิคมโดยประเทศ ข้างเคียงโดยรอบประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น ญวน เขมร ลาว พม่าสิงคโปร์และมาเลเซียได้ถูกยึดครองไว้
ทั้งหมดซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้เกิดขึ้นด้วยพระวิจารณญาณและพระปรีชาสามารถแห่งองค์พระพุทธเจ้าหลวงจึง
ทรงมีพระบรมราชโองการให้ปรับปรุงและซ่อมแซมป้อมเก่า ๆและทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างป้อมปราการที่ทันสมัย
ขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ณตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการเป็นการเร่งด่วน
ในต้นปี พ.ศ. ๒๔๒๗ป้อมปราการแห่งนี้ก็ถูกจัดสร้างขึ้น โดยแล้วเสร็จลงเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๓๖ และ วันที่๑๐ เมษายน
ในปีเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเพื่อทอดพระเนครป้อม
แห่งนี้โดยทรงทดลองยิงปืนป้อมด้วยพระองค์เองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า
"ป้อมพระจุลจอมเกล้า"ดังความในพระราชหัตเลขาที่มีถึงเสนาบดี ตอนหนึ่งว่า
"แต่มีความกำเริบทะเยอทยานอยู่อย่างหนึ่งซึ่งได้กล่าวไว้แล้วเก้าปักษ์เดือนหนึ่งล่วงมาว่าป้อมนี้ได้สร้าง ขึ้นใหม่ในแผ่นดิน
ปัจจุบันนี้ อยากจะให้ชื่อป้อมจุฬาลงกรณ์ฤาพระจุลจอมเกล้า คล้ายกับป้อมทั้งปวงซึ่งเขาใช้ชื่อ เจ้าแผ่นดินมีอยู่บ้าง เช่นฟอตวิล-
เลี่ยมเมืองกัลกัตตา เปนต้นทั้งครั้งนี้จะได้สำเร็จเพราะทุนรอนซึ่งฉันจะอุดหนุนดังนี้ ก็ยิ่งมีความปรารถนากล้าถ้าท่านทั้งปวงเห็น
สมควรแล้วขอให้เลือกนามใดนามหนึ่งเปนชื่อป้อมนี้ให้เปนที่ชื่นชมยินดีแลเปนชื่อเสียงของฉันติดอยู่สืบไปภายน่า "
เมื่อการก่อสร้างและติดตั้งปืนณ ป้อมพระจุลจอมเกล้าแล้วเสร็จลงไปไม่นานนัก สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงห่วงใยและคาดการณ์ไว้ก็ได้เกิดขึ้นในตอนพลบค่ำของวันที่๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อหมู่เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำ
เข้ามาในน่านน้ำไทยการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงเริ่มต้นขึ้น
ปัจจุบันนี้ อยากจะให้ชื่อป้อมจุฬาลงกรณ์ฤาพระจุลจอมเกล้า คล้ายกับป้อมทั้งปวงซึ่งเขาใช้ชื่อ เจ้าแผ่นดินมีอยู่บ้าง เช่นฟอตวิล-
เลี่ยมเมืองกัลกัตตา เปนต้นทั้งครั้งนี้จะได้สำเร็จเพราะทุนรอนซึ่งฉันจะอุดหนุนดังนี้ ก็ยิ่งมีความปรารถนากล้าถ้าท่านทั้งปวงเห็น
สมควรแล้วขอให้เลือกนามใดนามหนึ่งเปนชื่อป้อมนี้ให้เปนที่ชื่นชมยินดีแลเปนชื่อเสียงของฉันติดอยู่สืบไปภายน่า "
เมื่อการก่อสร้างและติดตั้งปืนณ ป้อมพระจุลจอมเกล้าแล้วเสร็จลงไปไม่นานนัก สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงห่วงใยและคาดการณ์ไว้ก็ได้เกิดขึ้นในตอนพลบค่ำของวันที่๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อหมู่เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำ
เข้ามาในน่านน้ำไทยการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงเริ่มต้นขึ้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้า" หรือที่นิยมเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า “ป้อมพระจุลฯ” ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ประมาณ ๖ กิโลเมตร
ป้อมพระจุลฯ เป็นป้อมที่ทันสมัย และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ทรงมีพระราชปรารถว่า ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้นบรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดเขตแดนไทยพระองค์จึงทรงหาวิธีป้องกันต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ ทรงเห็นว่าป้อมต่างๆ ที่เมืองสมุทรปราการล้วนแล้วแต่เป็นป้อมเก่าล้าสมัยและชำรุดทรุดโทรมมาก อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้ จึงทรงมีพระราชโองการให้ปรับปรุงและซ่อมแซมป้อมต่างๆ ขึ้นและทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างป้อมที่ทันสมัยขึ้นอีกแห่งหนึ่งเป็นการเร่งด่วน โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุงกิจการทหารเรือ ในครั้งนั้นด้วย
ป้อมพระจุลฯ ถูกจัดสร้างขึ้นต้นปี พ.ศ.๒๔๒๗ แล้วเสร็จลงเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๓๖ และเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายนในปีเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเพื่อทอดพระเนตรป้อม ทรงทดลองยิงปืนป้อมด้วยพระองค์เองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” ดังความในพระราชหัตถเลขาที่มีถึง เสนาบดีตอนหนึ่งว่า
"แต่มีความกำเริบทะเยอทยานอยู่อย่างหนึ่งซึ่งได้กล่าวไว้แล้วเก้าปักษ์เดือนล่วงมาว่า ป้อมนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ อยากจะให้ชื่อป้อมจุฬาลงกรณฤๅพระจุลจอมเกล้า คล้ายกับป้อมทั้งปวงซึ่งเขาใช้ชื่อเจ้าแผ่นดินมีอยู่บ้าง เช่นฟอตวิลเลี่ยม เมืองกัลกัตตา เป็นต้น ทั้งครั้งนี้จะได้สำเร็จเพราะทุนรอนซึ่งฉันจะอุดหนุนดังนี้ ก็ยิ่งมีความปรารถนากล้า ถ้าท่านทั้งปวงเหนสมควรแล้ว ขอให้เลือกนามใดนามหนึ่งเปนชื่อป้อมนี้ ให้เปนที่ชื่นชมยินดีแลเปนชื่อเสียงของฉันติดอยู่สืบไปภายน่า"
ภายในบริเวณป้อมพระจุลฯ ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับยืนเด่นเป็นสง่า อยู่บริเวณหน้าป้อมปืน และนอกจากนั้นยังมีศาลพระนเรศนารายณ์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ป้อมพระจุลฯแห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เสียค่าเข้าชมใดๆ ทั้งสิ้น
พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง
เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบที่ประจำการนานที่สุดในกองทัพเรือ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์หลายพระองค์ จัดทำขึ้นตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับกองทัพเรือ ว่าควรจะอนุรักษ์เรือรบเก่า ๆ ไว้ แล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์การทหาร เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนและเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นปีที่๕๐ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ กองทัพเรือ จึงได้นำเรือหลวงแม่กลองมาจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของกองทัพเรือพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ ณ ป้อมพระจุลจองเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ
ได้ขึ้นระวางเป็นพิพิธภัณฑ์ ณ บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยาพื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ อยู่ในความดูแลของป้อมพระจุลจอมเกล้าร.ล.แม่กลองมีอายุการใช้งานของกองทัพเรือนานถึง ๖๐ ปี จัดอยู่ในประเภทเรือสลุปสังกัดกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ เป็นเรือรบที่เก่าแก่เป็นอันดับ ๒ ของโลกปัจจุบันกองทัพเรือจัดเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชมโดยเฉพาะมีนักเรียน นักศึกษา เข้าเยี่ยมชมปีละหลายพันคน
การไปชมป้อมพระจุลจอมเกล้าและเรือหลวงแม่กลองนับว่ามีคุณค่าเหลือเกิน ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแต่ก่อนที่จะกลับ ควรถือโอกาสแวะศาลพระนเรศพระนารายณ์เพราะเป็นศาลที่ประชาชนในพื้นที่ให้ความเคารพบูชาศาลนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าวเจ้าอยู่หัวทำการสักการะจะเสี่ยงเซียมซีด้วยก็ได้
ว่าง ๆหาโอกาสไปชมป้อมพระจุลจอมเกล้าและพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลองได้ทั้งความรู้และความเพลินเพลินประทับใจไม่มีวันลืมทีเดียว
แหล่งอ้างอิง :http://www.thaifolk.com/Doc/pomprajul.htm
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122 พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งานนานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการเพื่ออนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับอุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดงภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ - กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) - กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 - กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง - กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน - การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล นอกจากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยวสามารถชมป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ ป้อมพระจุลฯ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.0018.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ผู้เข้าชมต้องขออนุญาตจากกองรักษาการณ์บริเวณหน้าประตูป้อมฯ และแลกบัตรประจำตัวไว้ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรนำชมสถานที่ต้องทำหนังสือถึงพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2475 6109, 0 2475 6259, 0 2475 8845 และ 0 2475 6357 การเดินทาง การเดินทางเที่ยวชมป้อมพระจุลจอมเกล้า, พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง และอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ให้เริ่มต้นจากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 303) มุ่งหน้าตรงไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวขวาไปจนสุดถนน ระยะทาง 12 กิโลเมตร จะถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าน้ำท่าดินแดง ก็สามารถไปถึงป้อมพระจุลจอมเกล้าได้เช่นกัน |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น