ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องความลับค่ะ ห้ามเปิดเด็ดขาด !!!!!

    ลำดับตอนที่ #10 : งานครูไก่

    • อัปเดตล่าสุด 18 ธ.ค. 53


     โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

    ชื่อ. ด.ญ.พฤกษา  ลิ้มบุญล้อม  ชั้น ม.1/2 เลขที่ 36

    อ้างอิง

     

    รูปแบบการจัดเลี้ยงในงาน ส่วนใหญ่จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ การจัดเลี้ยงแบบไทย การจัดเลี้ยงแบบสากล และการจัดเลี้ยงแบบมีผู้บริการ แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อด้อยที่ต่างกันไป ซึ่งก็จะถูกกำหนดด้วยชนิดของอาหาร สไตล์การจัดงาน การตกแต่งภายในงาน และจำนวนของแขกกับขนาดของห้องจัดเลี้ยง

    3. การบริการอาหารในการจัดเลี้ยงรูปแบบต่าง ๆ
          กาบริการอาหารในการจัดเลี้ยงมีอยู่ด้วยกัน  2  ประเภทใหญ่  คือ  การจัดเลี้ยงแบบไทย  
    และการจัดเลี้ยงแบบสากล
                

                     การจัดเลี้ยงแบบไทย   ได้แก่  การจัดเลี้ยงพระสงฆ์  การจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบขันโตก  การจัดเลี้ยงวันเกิด   วันแต่งงาน  และต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  การจัดเลี้ยงในงานศพ  เป็นต้น  
    การจัดเลี้ยงแบบไทยที่พบเห็นมีด้วยกัน  3  รูปแบบ  
                    1.  การจัดเลี้ยงอาหารแบบนั่งพื้นมีสำหรับเฉพาะตัว  เป็นการจัดเลี้ยงที่ใช้กับพระสงฆ์เท่านั้น
                    2.  การจัดเลี้ยงอาหารแบบนั่งรวมกันเป็นวง  มักจะมีผู้รับประทานอาหารประมาณ 5-6 คน   ก่อนวางอาหารต้องปูเสื่อหรือพรมที่พื้น แล้วปูผ้าพลาสติกตรงกลาง   
                    3.  การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตก  เป็นการจัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อรับรองแขกผู้มีเกียร่คิหรือ ในงานฉลองสมโภช ซึ่งเป็นประเพณีของภาคเหนือ
                  

               การจัดเลี้ยงอาหารแบบสากล   ได้แก่  งานเลี้ยงสังสรรค์  งานเลี้ยงฉลองสมรส  และงานเลี้ยง ฉลองในโอกาสสำเร็จการศึกษา  อาหารที่ใช้มีทั้งอาหารไทย  อาหารจีน  อาหารตะวันตก  การจัดเลี้ยง แบบสากลแบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่  การจัดเลี้ยงแบบช่วยตนเอง  และการจัดเลี้ยงแบบมีผู้บริการ
                  1.  การจัดเลี้ยงแบบช่วยตนเอง ได้แก่  
                       1.1 การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟต์  เป็นการจัดเลี้ยงคนจำนวนมากโดยวางอาหารไว้บนโต๊ะกลาง  และมีอุปกรณ์รับประทานอาหารวางไว้ผู้รับประทานแต่ละคนหยิบเอง  ควรตักแต่พออิ่มไม่ควรตักอาหารล้น  จานหรือตักอาหารเผื่อคนอื่น
                       1.2  การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล  เป็นการจัดเลี้ยงอาหารว่างที่มีขนาดพอคำ  ใช้มือหยิบจับ อาหารได้โดยไม่ต้องใช้ช้อนส้อม  อาหารและเครื่องดื่มจะจัดวางไว้บนโต๊ะกลาง  ให้แขกผู้มาร่วมงานเดินหยิบ  รับประทาน
                       1.3  การจัดเลี้ยงแบบออกร้าน   เป็นการจัดเลี้ยงอาหารหลากหลาย  ซึ่งแต่ละซุ้มหรือแต่ละ โต๊ะจะมีอาหารไว้คอยบริการไม่ซ้ำกันแขกผู้ร่วมงานสามารถเลือกรับประทานได้ตามใจ
                       1.4  การจัดเลี้ยงแบบปิกนิก   เป็นการจัดเลี้ยงเมื่อมีการไปทัศนศึกษายังสถานที่ต่าง ๆ โดยจัดเตรียมอาหารใส่ปิ่นโตหรือกล่อง  ขณะรับประทานอาหารต้องปูเสื่อบนพื้นแล้วนั่งรับประทานร่วมกัน
            2.  การจัดเลี้ยงแบบมีผู้บริการ  
                          ส่วนใหญ่เป็นการจัดเลี้ยงในห้องอาหารหรือโรงแรม  ซึ่งจะมีบริกรยกอาหารและเครื่องดื่ม มาเสิร์ฟให้ถึงโต๊ะ  การเลี้ยงจัดแบบมีผู้บริการจะพบในการจัดเลี้ยงอาหารเช้า  อาหารกลางวัน   อาหารค่ำ แบบเป็นชุด เช่น การจัดเลี้ยงบนเครื่องบินและการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีน

       

     

     

     ค็อกเทลเป็นเครื่องดื่มผสมตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นเหล้าผสมที่ให้บริการที่บาร์ งานเลี้ยงแบบค็อกเทลจึงเน้น บริการเครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์ (Hard Drink) และไม่มีแอลกอฮอล์ (Soft Drink) โดยจะจัดบริการอาหารประเภท  อาหารว่าง อาหารทานเล่น รวมถึงอาหารเรียกน้ำย่อย ไว้ให้แขกร่วมงานเดินเลือกหยิบรับประทานตามชอบ เหมาะสำหรับ การจัดเลี้ยงแขกจำนวนมาก 

        ในงานเลี้ยงจะไม่มีโต๊ะอาหารจัดให้แขกนั่งรับประทาน มีเพียงโต๊ะวางอาหารตั้งไว้เป็นส่วนกลาง อยู่มุมต่างๆ และบริเวณ ส่วนกลางของงาน เปิดโอกาสให้แขกร่วมงานเดินไป มารอบงานเพื่อทักทาย เจ้าภาพและพบปะ สังสรรค์กับผู้ร่วมงานอื่นๆ 
    ระหว่างงานเลี้ยงพนักงานจะเดินถือถาดเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มไปตามบริเวณต่างๆของงาน ให้แขกได้เลือก และถือแก้ว เครื่องดื่มไว้ในมืออาหารที่บริการจะจัดวางไว้เรียบร้อยก่อนเริ่มงาน ปริมาณและความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพซึ่ง 
    เป็นผู้กำหนดส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารชิ้นเล็กขนาดพอคำที่หยิบรับประทานได้สะดวก เพื่อแกล้มไปกับเครื่องดื่ม โดยใช้ไม้จิ้ม ขึ้นมารับประทาน 

        ในโรงแรมขนาดใหญ่นิยมจัดจานขนาดเล็กไว้ที่โต๊ะวางอาหารเพื่อให้แขกใส่อาหารรับประทานภายในงาน และจัดวางเก้าอี้ ไว้ตามมุมต่างๆ ของงาน เพื่อให้นั่งพักได้ อาหารที่บริการมีทั้งคาวหวานแต่จะไม่ใช่ประเภทอาหารมื้อหลัก ที่ทำให้ผู้รับประทานอิ่มท้อง เหมือนงานเลี้ยง แบบอื่น แขกร่วมงานจึงสามารถรับประทานอาหารมื้อค่ำหลังจากงานเลิกได้ ปัจจุบันในโรงแรมขนาดใหญ่มีการจัดเพิ่มซุ้มบริการอาหารที่มีผู้ปรุง และตักใส่ถ้วยหรือจานขนาดเล็ก ให้แขกร่วมงานตามมุมต่างๆ ของงาน และเจ้าภาพยังอาจให้โรงแรมจัดโต๊ะว่างจำนวน ไม่มากให้แขกสำคัญ นั่งรับประทานได้  งานเลี้ยงตอนเย็นนิยมเริ่มประมาณ 18.00 น. เวลาในการบริการอาหารค่อนข้างสั้น ประมาณ 1 - 1½ ช.ม. จึงเป็นงานเลี้ยง ที่เลิกได้เร็วกว่าแบบอื่น แขกสามารถอำลาออกจากงานได้ตามความสะดวก การคิดราคาจะคิดเป็นราคาต่อแขก 1 คน

     

     

     

    ขันโตก เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารของชาวเหนือ ทำด้วย ไม้สักทาด้วยหางสีแดง สูง 8-10 นิ้ว มีขาไม้สักกลึงเป็น รูปกลมตั้งบนวงล้อรับอีกอันหนึ่ง ขันโตกจะกว้างประมาณ 10-30 นิ้ว สมัยโบราณคนพื้นเมืองนิยมใช้ขันโตกสำหรับ ใส่อาหาร รับประทานในครัวเรือน แต่ความนิยมใช้ค่อย เสื่อมลงเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น และคนหันไปนิยมของใช้ จากต่างประเทศแทน ขันโตกจึงใช้เฉพาะเป็นธรรมเนียม ในการต้อนรับแขกเมือง และบุคคลสำคัญเท่านั้

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×