คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : Special ฉลองบทความตอนที่ 1 เข้าชมเกินร้อยแล้วเย้
- สมัยราชอาณาจักรโชซอน
การแบ่งชนชั้นทางสังคมโชซอนนั้นเข้มงวดมากในต้นสมัยโชซอน แต่หลังจากสงครามกับญี่ปุ่นและการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว ชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะลืมตาอ้าปากได้ขณะที่ชนชั้นบนก็ยากจนขัดสนลง สตรียังบันนั้นจะต้องเชื่อฟังสามี เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านออกนอกบ้านได้นานๆครั้ง เมื่อออกนอกบ้านต้องปกปิดหน้าตา แต่สตรีในระดับชั้นล่างกลับมีอิสรภาพมากกว่า สามารถไปไหนมาไหนก็ได้
การแบ่งชนชั้นในสมัยโชซอนมีรากฐานมาจากสังคมในปลายสมัยโครยอ มีกษัตริย์โชซอนอยู่ที่ยอดพีระมิด รองลงมาเป็นชนชั้นปกครอง คือ พวกขุนนาง ปราชญ์ขงจื้อต่างๆ ชนชั้นของโชซอนเป็น 4 ชั้น(ไม่นับชนชั้นกษัตริย์)
1.ยังบัน
ยังบันเป็นชนชั้นที่มีเอกสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการปกครอง บ้านเมือง ลูกหลานของยังบันเท่านั้นที่มีสิทธิ์สอบควากอ (จอหงวน) ในสมัยต้นโชซอนรายได้ของยังบันคือรายได้จากที่ดินของตนในการทำเกษตรกรรมหรือ ให้เช่า แต่ในสมัย พระเจ้าเซโจ กษัตริย์องค์ที่ 6 โอรสของ พระเจ้าเซจงมหาราช ได้ยึดที่ดินของยังบันไปเป็นของทางราชการหมด ทำให้ยังบันมีเพียงรายได้จากเบี้ยหวัดจากราชสำนักเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วยังบันจะได้รับการยกเว้นภาษีประกอบด้วย
- มุนบัน ชนชั้นปราชญ์ คือ ขุนนางฝ่ายบุ๋น
- มูบัน ชนชั้นนักรบ คือ ขุนนางฝ่ายบู้
2. จุงอิน เป็นคนงานในราชสำนัก อาชีพของจุงอินมีสี่อย่าง คือ
- ล่ามแปลภาษา
- นักกฎหมาย
- แพทย์ (ชาย)
- โหรหลวง
3. ซังมิน
คือ สามัญชนทั่วไป คือ ซึ่งจะต้องถูกเก็บภาษี ซังมินจะต้องรองรับภาษีที่สูงลิบลิ่วเหล่านี้ และบ่อยครั้งที่ไม่พอใจลุกฮือต่อต้านจนทางการต้องเอากำลังมาปราบ
4. ชอนมิน
คือ ทาส ทางราชการจะเข้ามาควบคุมชนชั้นนี้ ชอนมินที่ไม่ได้มีเจ้าของก็จะประกอบอาชีพที่สังคมดูถูกเช่น
- คนฆ่าสัตว์ ผู้ชาย
- นักแสดงกายกรรม ผู้ชาย
- มูดัง (ร่างทรง) ผู้หญิง
- คีแซง (นางโลม) ผู้หญิง
- และอึยนยอ (แพทย์หญิง
ชนชั้นกษัตริย์
วัง
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินแห่งโชซอน
- ขานแทนพระนามว่า ชอนฮา หรือ มามา มีการใช้คำว่า "'นารัทนิม" และ "'อิมกึม" ซึ่งเป็นภาษาพูด
- การกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดิน มักขานแทนพระนามว่า "กึมซาง" (ฝ่าบาท)
- ขานแทนด้วยรัชสมัยของพระเจ้าแผ่นดิน "จูซาง" หรือ "ซางกัม
- หรืออาจขานแทนด้วยพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินว่า "แดจอน" (ตำหนักใหญ่)
วังบี
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระมเหสีแห่งโชซอน
- ขานแทนพระนามว่า มามา
- หรือ ขานแทนด้วยพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมเหสี ชุงกุงจอน/ชุงจอน (ตำหนักกลาง)
ฮูกุง
คือ พระสนมของพระราชา แบ่งเป็น 8 ขั้น ซึ่งเป็นการเรียงลำดับตามระบบข้าราชการของโชซอน ได้แก่
- 1. พระสนมขั้นหนึ่ง ชั้นพระสนมบิน ชอง 1 พุม มีพระนามแตกต่างกันออกไป เช่น ฮีบิน ซุกบิน คยองบิน ชางบิน มยองบิน อันบิน
- 2. พระสนมขั้นสอง ชั้นพระสนมควีอิน ชง 1 พุม
- 3. พระสนมขั้นสาม ชั้นพระสนมโซอึย ชอง 2 พุม
- 4. พระสนมขั้นสี่ ชั้นพระสนมซุกอึย ชง 2 พุม
- 5. พระสนมขั้นห้า ชั้นพระสนมโซยง ชอง 3 พุม
- 6. พระสนมขั้นหก ชั้นพระสนมซุกยง ชง 3 พุม
- 7. พระสนมขั้นเจ็ด ชั้นพระสนมโซวอน ชอง 4 พุม
- 8. พระสนมขั้นแปด ชั้นพระสนมซุกวอน ชง 4 พุม
- ขานแทนพระนามพระสนมทั้งหมดด้วยยศ แล้วต่อท้ายด้วย มามา เช่น ฮีบินมามา
วอนจา
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรสองค์แรก ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระมเหสี หรือประสูติแต่พระสนม
แดกุน คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรส ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระมเหสี
- ขานแทนพระนามว่า อากีซี ก่อนทรงเข้าพิธีมงคลสมรส
- ขานแทนพระนามว่า แดกัม หลังเข้าพิธีมงคลสมรส
- พระโอรสใน แดกุน จะมีฐานันดรเป็น กุน (องค์ชาย)
บูบูอิน คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาใน แดกุน
- ขานแทนพระนามว่า มามะนิม
กุน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระโอรส ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระสนม หรือพระโอรสในองค์ชายใหญ่ (แดกุน)
- ขานแทนพระนามว่า อากีซี ก่อนทรงเข้าพิธีมงคลสมรส
- ขานแทนพระนามว่า แดกัม หลังเข้าพิธีมงคลสมรส
กุนบูอิน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาใน กุน
- ขานแทนพระนามว่า มามะนิม
กงจู คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระมเหสี
- ขานแทนพระนามว่า อากีซี ก่อนทรงเข้าพิธีมงคลสมรส
- ขานแทนพระนามว่า จากา หลังเข้าพิธีมงคลสมรส
- หรือ กงจู มามา
องจู
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระสนม
- ขานแทนพระนามว่า อากีซี ก่อนทรงเข้าพิธีมงคลสมรส
- ขานแทนพระนามว่า จากา หลังเข้าพิธีมงคลสมรส
- หรือ องจู มามา
วังเซจา
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับองค์ชายรัชทายาท หรือเรียกฐานันดรอย่างลำลองว่า เซจา
- ขานแทนพระนามว่า จอฮา
- หรือขานแทนพระนามโดยลำลอง ว่า ตงกุง (ตำหนักบูรพา)
- หรืออาจขานแทนด้วยพระตำหนักที่ประทับขององค์ชายรัชทายาท ชุงกุง
- สมาชิกราชวงศ์ที่มีพระอิสริยยศสูงกว่า ขานแทนพระนามว่า มามา
วังเซจาบิน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาในองค์ชายรัชทายาท
- หรือเรียกฐานันดรอย่างลำลองว่า เซจาบิน
- ขานแทนพระนามว่า มาโนรา
- ภายหลังจากที่ราชสำนักได้รับอิทธิพลจาก "ตระกูลคิมจากอันดง" ทำให้การขานแทนพระนามเกิดความสับสน และหันไปขานแทนพระนามวังเซจาบินว่า "มามา"
เซจากุง คือฐานันดรศักดิ์สำหรับสนมของรัชทายาท แบ่งเป็น 4 ระดับ 4 ขั้น ได้แก่
- สนมยางเจ ระดับ 2 ขั้น 4 (เทียบเท่ากับพระสนมซุกอึยในกษัตริย์)
- สนมยางวอน ระดับ 2 ขั้น 6(เทียบเท่ากับพระสนมซุกยงในกษัตริย์)
- สนมซึงฮวี ระดับ 2 ขั้น 8(เทียบเท่ากับพระสนมซุกวอนในกษัตริย์)
- สนมโซฮุน ระดับ 2 ขั้น 9(เทียบเท่ากับซังกุงขั้นสูง หรือ ซึงอึนซังกุง)
- ขานแทนพระนามพระสนมทั้งหมดว่า มามา
วังเซเจ คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระอนุชาในพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุชารัชทายาท (รัชทายาท)ในกรณีที่พระเจ้าแผ่นดินไม่มีพระโอรส
วังเซเจบินคือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาในองค์อนุชารัชทายาท
- ขานแทนพระนามตามตำหนักที่ประทับว่า พิณกุง ใช้คู่กับคำว่า มามา เป็นพิณกุง มามา
- สมาชิกราชวงศ์ที่มีพระอิสริยยศสูงกว่า ขานแทนพระนามว่า เซเจพิณ หรือ พิณกุง
วันเซซน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระโอรสประสูติแต่องค์ชายรัชทายาท และพระชายาในองค์ชายรัชทายาท หรือพระนัดดาชายในพระเจ้าแผ่นดิน
- ขานแทนพระนามว่า ฮัปอา
- ขานแทนพระนามตามตำหนักที่ประทับว่า ตงกุง
- สมาชิกราชวงศ์ที่มีพระอิสริยยศสูงกว่า ขานแทนพระนามว่า เซซน
วันเซซนพิณ คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาของวังเซซน
- ขานแทนพระนามตามตำหนักที่ประทับว่า พิณกุง ใช้คู่กับคำว่า มามา เป็นพิณกุง มามา
- สมาชิกราชวงศ์ที่มีพระอิสริยยศสูงกว่า ขานแทนพระนามว่า เซซนพิณ หรือ พิณกุง
วอนซน คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาองค์แรก
ซังวัง คือฐานันดรศักดิ์ที่สำหรับอดีตพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรส
- ขานแทนพระนามว่า ชอนฮา
- หรือ มามา
แด หรือมหาราช
สำหรับพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงคุณงามความดีแก่แผ่นดิน ซึ่งพระราชาที่ได้คำว่ามหาราชต่อท้ายพระนาม(เกาหลี)มีสองคนคือ
1 . พระเจ้าเซจงมหาราช (ราชวงศ์ โชซอน)ทรงเป็นที่รู้จักในการที่ทรงประดิษฐ์อักษรเกาหลีฮันกึล
2 . พระเจ้าควางแคโทมหาราช (ราชวงศ์ โคครูยอ)ททรงสนับสนุนทุกด้าน จนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
กุกวัง
ใช้ขานแทนพระนามราชทูตจากต่างแผ่นดิน
แดวอนกุนคือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชชนกในพระราชาองค์ปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยขึ้นครองราชย์
บูแดบูอิน คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระชายาในพระราชชนก (ซึ่งไม่เคยขึ้นครองราชย์) ของพระเจ้าแผ่นดิน
แดบี
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับอดีตพระมเหสีในที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่นับขึ้นไปหนึ่งขั้น (พระพันปี)
วังแดบี
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับอดีตพระมเหสีในที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่นับขึ้นไปสองขั้น (พระหมื่นปีหรือพระอัยยิกา)
แดวังแดบี
ฐานันดรศักดิ์สำหรับอดีตพระมเหสีในที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่นับขึ้นไปสามขั้นขึ้นไป (พระปัยยิกา) เป็นยศสูงสุดสำหรับอดีตพระมเหสีที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
บูวอนกุน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระบิดาในพระมเหสี
บูบูอิน
คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระมารดาในพระมเหสี
Special ครั้งหน้าไรเตอร์จะมาพร้อมกับฐานันดรศักดิ์ราชวงศ์เกาหลีใน สมัยจักรวรรดิเกาหลี ช่วยติดตามกันด้วยนะค่ะ
ความคิดเห็น