ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปบทเรียนเรื่องระบบต่างๆของร่างกาย

    ลำดับตอนที่ #1 : ระบบย่อยอาหาร ( Digestion )

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.29K
      4
      17 ก.ค. 49

               การย่อยอาหารหมายถึง การทำให้โมเลกุลอาหารที่เรากินเข้าไปมีอนุภาคที่เล็กลง และสามารถดูดซึมไปใช้ได้
           การย่อยอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1.การย่อยเชิงกล คือ การย่อยอาหารโดยใช้ฟันในการบดเคี้ยว
    2.การย่อยเชิงเคมี คือ การย่อยอาหารโดยมีเอนไซม์เข้ามาช่วยในการย่อย

           การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่ เรากลืนอาหารเข้าไปในปาก( mouth ) ในปากนั้นฟันจะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง ภายในปากจะมีการย่อยเกิดขึ้น โดยเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ย่อยแป้งให้กลายเป็นเด็กซ์ตริน และ      มอลโตส น้ำลายเกิดจากต่อมน้ำลาย 3คู่ คือ ต่อมน้ำลายใต้กกหู(Parotid) ต่อมน้ำลายใต้โคนลิ้น(Sublingual) และต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (Submaxillary) เมื่อกลืนอาหารลงมาก็จะผ่านคอยหอย(Pharynx) และหลอดอาหาร(Esophagus)
           หลอดอาหาร(Esophagus) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่มีอาหารผ่านลงมา เรียกการบีบตัวนี้ว่าPeristalsis จากนั้นอาหารจะถูกลำเลียงไปยังกระเพาะอาหาร(Stomach) 
            กระเพาะอาหาร(Stomach) ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามา ด้านในมีลักษณะเป็นสันเรียกว่า Rugae
    การบีบตัวจึงแรงกว่าทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ
            กระเพาะอาหารสามารถสร้างเอนไซม์ 3ชนิดคือ เปปซิโนเจน(Pepsinogen) โปรเรนนิน(Prorennin) และไลเปส(Lipas) 
            เปปซิโนเจน(Pepsinogen) จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก(HCL) กลายเป็นเปปซิน(Pepsin) เปปซินนี้จะย่อยโปรตีนให้กลายเป็นเปปไทด์
            โปรเรนนิน(Prorennin) จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ กลายเป็นเรนนิน(Rennin) เพื่อจะย่อยโปรตีนในน้ำนมที่เรียกว่า เคซีน ให้กลายเป็น พาราเคซีน 
             ส่วนไลเปส(Lipas)นั้น ไม่สามารถทำงานได้ในกระเพาะอาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหารเป็นกรด ไลเปสจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส
             หลังจากย่อยที่กระเพาะอาหารเสร็จ อาหารจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็ก(Small Intestine) 
             ลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3ส่วนคือ ดูโอดีนัม เจจูนัม และไอเลียม ในส่วนของดูโอดีนัมนี้ จะมีการย่อยมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำย่อยจากตับอ่อนมาช่วยย่อยด้วย
             น้ำย่อยในลำไส้เล็กมีดังนี้
             น้ำย่อยมอลเตส จะย่อยสารอาหารพวก มอลโตส ให้กลายเป็น กลูโคลสโมเลกุลเดี่ยว 2โมเลกุล
             น้ำย่อยซูเครส จะย่อยสารอาหารพวก ซูโครส ให้กลายเป็น กลูโคลสโมเลกุลเดี่ยว 1โมเลกุล และฟรุกโตสโมเลกุลเดี่ยวอีก 1โมเลกุล 
             น้ำย่อยแลกเตส จะย่อยสารอาหารพวก แลกโตส ให้กลายเป็นกลูโคลสโมเลกุลเดี่ยว 1โมเลกุล และกาแลกโตส
    โมเลกุลเดี่ยวอีก1โมเลกุล
             น้ำย่อยเปปไทรเดส จะย่อยสารอาหารพวก เปปไทด์ซึ่งเคยเป็นโปรตีนมาก่อน ให้กลายกรดอะมิโน
             น้ำย่อยในตับอ่อนมีดังนี้
             น้ำย่อยทริปซิน ซึ่งจะย่อยสารอาหารพวก โปรตีนให้กลายเป็นเปปไทด์ เหมือนกับน้ำย่อยเปปซินในกระเพาะอาหาร
             น้ำย่อยไลเปส จะย่อยสารอาหารพวก ไขมันหรือไลปิดให้กลายเป็น กรดไขมันและกรีเซอรอล
             ส่วนน้ำดีจากตับนั้น ไม่ใช่น้ำย่อย แต่จะส่งมาเพื่อทำให้ไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ช่วยให้ย่อยได้ง่ายขึ้น
             เมื่อย่อยเสร็จแล้ว อาหารจะถูกส่งมายังลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ซึ่งทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารทั้งหมด แล้วอาหารก็ถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ โดยผ่านลำไส้เล็กส่วนไอเลียม
             ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ดูดน้ำ เกลือแร่ต่างๆกลับเข้าสู่ร่างกาย และขับกากอาหารและของเสียอื่นๆออกมาในรูปของอุจจาระ ทางทวารหนัก(Anus) ลำไส้ใหญ่สามารถสร้างวิตามินได้สองชนิดคือ B12 และ K 
             กระผมสรุปเนื้อหาเรื่องระบบย่อยอาหารให้เพื่อนๆทุกคนอ่านกันก่อนสอบ แต่ก็ไปค่อยละเอียดเท่าไร ฉะนั้นก็ต้องอ่านหนังสือควบคู่ไปด้วยน่ะครับ ขอให้ทำข้อสอบให้ได้กันทุกคนน่ะครับ สวัสดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×