รวมเนื้อหาการวิชาอ.นก
รวบรวมเนื้อหาการเรียนวิชาระบบสารสนเทศและวิชาการประมวลผลแฟ้มข้อมูลของอ.เอกรัฐ ปัญญาเทพ
ผู้เข้าชมรวม
1,154
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
การประมวลผลแฟ้มข้อมูล
สรุปเนื้อหาการเรียนการสอน
ชื่อ-นามสกุล นางสาววิจิตรา มีเงิน รหัสประจำตัวนักศึกษา 485420113
รายวิชา การประมวลผลแฟ้มข้อมูล (4122203) ประจำวันที่ 19 มิถุนายน 2550
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. สรุปการประมวลผลแฟ้มข้อมูล ( Data and File Processing)
นิยามและแนวความคิดเบื้องต้น
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและจัดการฐานข้อมูลซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและจัดการ ฐานข้อมูล (Database) Database) เป็นเพียงเครื่องมือใช้ทำงานเท่านั้นเป็นเพียงเครื่องมือใช้ทำงานเท่านั้น สิ่งสำคัญกว่าคือสิ่งสำคัญกว่าคือ คุณจะต้องเริ่มต้นด้วยการออกแบบระบบการใช้ข้อมูลอย่างระมัดระวัง
เหตุเนื่องมาจากสมองของมนุษย์ไม่อาจจดจำทุกสิ่งทุกอย่างที่สนใจได้ทั้งหมด จึงมักบันทึกไว้ในสมุดหรือกระดาษ ฯลฯ และรวบรวมเป็น แฟ้มข้อมูล (File)
มีการใช้งานระบบข้อมูล/สารสนเทศมาก่อนที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการข้อมูลช่วยจัดการข้อมูล/สารสนเทศสารสนเทศ เช่น สมุดบัญชีคลังสินค้า แฟ้มบันทึกการทำงาน
ปัจจุบันความต้องการข้อมูล/สารสนเทศมีมากขึ้น รวมทั้งโครงสร้างข้อมูล/ สารสนเทศมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยสารสนเทศมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการ
2. ลักษณะของระบบสารสนเทศ
2.1) ข้อมูลข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงขั้นต้นซึ่งอาจเรียกว่าเป็นวัตถุดิบของสารสนเทศ เมื่อข้อมูลถูกนำมาประมวลและจัดให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้และ เราจึงเราจึงเรียกว่าเป็นเรียกว่าเป็น สารสนเทศสารสนเทศ (Information)
2.2) ลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี
2.2.1) เป็นปัจจุบัน
2.2.2) ทันเวลา
2.2.3) มีค่าเที่ยงตรง
2.2.4) มีค่าคงที่
2.2.5) นำเสนอรูปแบบที่มีประโยชน์
3) แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล
จุดประสงค์ของระบบงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจัดทำแบบ บันทึกข้อมูลและทำการจัดเก็บข้อมูลจริง
4. ปัญหาการใช้ข้อมูล/ฐานข้อมูลภายในองค์กร
ปัญหาสำคัญที่มักจะเกิดขึ้นในการสร้างและใช้ข้อมูลปัญหาสำคัญที่มักจะเกิดขึ้นในการ สร้างและใช้ข้อมูล/ฐานข้อมูลภายในองค์กร มี 4 ลักษณะคือ
4.1) มีความซ้ำซ้อนกันในการเก็บข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันในการเก็บข้อมูล (Uncontrolled Data Redundancy)
4.2) มีการให้คำจำกัดความของข้อมูลแต่ละตัวไม่ตรงกันมีการให้คำจำกัดความของ ข้อมูลแต่ละตัวไม่ตรงกัน (Inconsistent Data Definition)
4.3) มีการจัดการมีการจัดการ หรือใช้วิธีการประมวลผลของข้อมูลแตกต่างกันออกไป (Inconsistent Data Manipulation)
4.4) มีการพัฒนาการใช้ข้อมูลไม่เป็นระบบมีการพัฒนาการใช้ข้อมูลไม่เป็นระบบ แต่ละหน่วยงานจัดทำหรือใช้กันอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ (Fragmental Application Development)
--------------------------------------------------------------
สรุปเนื้อหาการเรียนการสอน
ชื่อ-นามสกุล นางสาววิจิตรา มีเงิน รหัสประจำตัวนักศึกษา 485420113
รายวิชา การประมวลผลแฟ้มข้อมูล (4122203) ประจำวันที่ 19 มิถุนายน 2550
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
Foundation for Research in Information Technologyชื่อย่อ (FRIT)
การจัดแข่งขัน รางวัล เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ
มีวัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาในเชิงธุรกิจและมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ
1. ประเภทบุคคลทั่วไป ผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทาน รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ พร้อมเงินรางวัล 1,000,000 บาท
2. ประเภทนิสิตนักศึกษา ผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล100,000 บาท
ลักษณะของโครงการ
1. เป็นผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ (Applied) ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่ว่าจะเป็น Software, Application Network, Communication หรือ Hardware เป็นต้น
2. เป็นผลงานที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจหรือพัฒนามาใช้จริงในเชิงปฏิบัติได้
3. ที่ผลิตเป็นผลงานขึ้นในประเทศไทย
4. ผลงานที่มีนักวิจัยหรือเจ้าของเป็นคนไทย
5. เป็นผลงานเพื่อประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นสำคัญ
6. เป็นผลงานที่ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ที่ทำขึ้นเพื่อรับปริญญา
วิธีคัดเลือก
1. มูลนิธิฯจะมีหนังสือเชิญให้มหาวิทยาลัย สถาบัน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเสนอชื่อโครงการที่สมควรได้รับรางวัลมายังมูลนิธิฯ
2. มูลนิธิฯจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่เป็นกรรมการคัดเลือกโครงการที่ได้รับเสนอชื่อในขั้นแรก
3. มูลนิธิฯจะได้ตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำหน้าที่กรรมการตัดสินโดยเชิญจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
4. คณะกรรมการมูลนิธิฯและคณะกรรมการตัดสินร่วมกันพิจารณาคัดเลือกโครงการที่จะได้รับรางวัลอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนการรับสมัคร
ทำได้ 2 วิธี
- Download แบบฟอร์มใบสมัครจากเว็บไซต์
- กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มใบสมัคร และบันทึกไฟล์ข้อมูลแบบฟอร์ม
- จัดส่งไฟล์ข้อมูลแบบฟอร์มใบสมัครทาง Email address : admin@itprincessawrd.com
- จัดส่งเอกสารสำคัญต่างๆมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของมูลนิธิ
- ขอแบบฟอร์มการสมัครได้ที่มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- จัดเตรียมเอกสารสำคัญ
- จัดส่งเอกสารสำคัญต่างๆมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของมูลนิธิ
มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 24 โซน เอ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่ เลขที่ 9 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900
แผนดำเนินการ
มีนาคม 2550 - กรกฎาคม 2549 | - ผู้สนใจส่งใบสมัครและ Proposal |
สิงหาคม 2550 - กันยายน 2550 | - คณะกรรมการพิจารณา Proposal ผลงาน - ประกาศผลงานที่ผ่านการคัดเลือก |
ตุลาคม 2550 - พฤศจิกายน 2550 | - ผู้ผ่านการคัดเลือกนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ |
ธันวาคม 2550 | - ประกาศผลงานที่ได้รับรางวัล |
รางวัลและรายละเอียด
1. ระดับบุคคลทั่วไป / นิติบุคคล
ได้รับโล่พระราชทาน "เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ"
และ เงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท
2. ระดับนิสิต นักศึกษา ได้รับโล่ประกาศเกียคติคุณและเงินรางวัล มูลค่า 100,000 บาท
รายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประวัติความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันรับผิดชอบโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริเนื่องในปี แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒๕๓๘
วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติตามพระราชดำริฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบข้อมูลวัฒนธรรมของชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วม กันได้อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการศึกษาค้นคว้า และมีอายุการ ทำงานได้นาน โดยจะเผยแพร่ความรู้ในสาขาชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา และธรรมชาติวิทยา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเข้าใจที่เพียงพอ
ความนำ
ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ ก็จะได้เห็นได้ยิน ได้เจอคำว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างคุ้นชินเสมือนว่า คำๆ นี้ คือ ญาติสนิทมิตรสหายที่เข้ามาทักทายในชีวิตประจำวันอย่างไม่ขาดสาย
แม้ว่าจะคุ้นเคยกันอย่างนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กันอย่างแท้จริง หลายคนอาจจะทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิงพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งที่ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 แต่การจะเข้าใจให้ลึกซึ้ง เข้าถึงอย่างถูกต้องนั้น แค่ได้ยินได้อ่าน คงยังไม่เพียงพอจนกว่าจะได้คิดตามไปด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระดับหนึ่ง (จากนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ผู้อ่านไปคิดต่อ) ผู้เขียนควรจะต้องกล่าวถึงที่มาของแนวคิดนี้ ความหมายคำนิยาม ตลอดจนการนำแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ
ความเป็นมา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแกพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ความหมาย*
คำนิยามเกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้จำได้ง่ายที่สุด คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ปัจจัยสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของ 3 ห่วง คือ 1.ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดี (dynamic optimum) ไม่สุดโต่งจนเกินไป 2.การมีเหตุมีผล (Reasonableness) หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอประมาณโดยคาดผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น (expected results) อย่างรอบคอบ 3.มีภูมิคุ้มกันที่ดี (Self-Immunity) เพื่อเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นลักษณะของพัลวัตร ความพอเพียง (systematic and dynamic optimum) จึงต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นไปได้ (scenario) ในอนาคต ภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ที่มีอยู่ (bounded rationality)
ส่วน 2 เงื่อนไขคือ การมีความรู้ (Set of knowledge) คู่คุณธรรม (Ethical Qualifications) หากมีสิ่งเหล่านี้ ไม่มีคำว่าไปไม่รอด ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เบื้องต้นคงต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป
เงื่อนไขแรก การมีความรู้นั้น ประกอบไปด้วย รอบรู้ (Stock of all relevant knowledge) คือมีความรู้คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานการคิดตัดสินใจ รอบคอบ (Connectivity of all acquired knowledge ) คือ นำความรู้มาพิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันก่อนนำไปประยุกต์ปฏิบัติ และ ระมัดระวัง (Utilization of knowledge at any poit of time with carefulness and attentiveness) คือ มีสติในการปฏิบัติเพราะในความเป็นจริง สถานการณ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เงื่อนไขที่สอง คุณธรรม ต้องเสริมสร้างใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ คือ ซื่อสัตย์ สุจริต และด้านการกระทำ คือ ขยัน อดทน แบ่งปัน
ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความพัฒนาอย่างรอบด้าน คือ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปอย่าง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน
สรุปเนื้อหาการเรียนการสอน
ชื่อ-นามสกุล นางสาว
รายวิชา การประมวลผลแฟ้มข้อมูล (4122203) ประจำวันที่ 14 สิงหาคม 2550
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Hard Disk แบบ SATA
Hard Disk แบบ SATA (Serial Advanced Technology Architecture) เป็น สถาปัตยกรรมใหม่ในการเชื่อมต่อ (Interface) ของ Hard disk (รวมถึง อุปกรณ์อื่นในอนาคต) ที่นำมาใช้กับเครื่องระดับ PC โดยจะมาทดแทน การเชื่อมต่อแบบเดิมที่ใช้ Parallel ATA (PATA) โดย Hard disk แบบ PATA ที่นิยมใช้กันมานานแล้วนั้น แม้ว่าจะใช้งานได้ดี แต่อัตราความเร็วในการถ่าย โอนข้อมูลไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้แล้ว สิ้นสุดตามทฤษฎีอยู่ที่ 133 Mbytes/sec
เมื่อใช้งานจริงก็ไม่ถึง โดยจะได้ความเร็วสูงสุดประมาณ 72 Mbytes/sec และคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันความเร็วของ CPU และ RAM ก็มีการพัฒนาไปมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพโดยรวม ยังจะไม่ดีขึ้นถ้าส่วนของ Input/Output โดยเฉพาะตัว Hard disk ยังพัฒนาตามไม่ทันจะเป็นปัญหา คอขวดของเครื่องต่อไป ในอนาคตถ้ายังไม่มีการ พัฒนาให้ดีขึ้น
SATA ในรุ่นแรกจะมีความเร็วสูงสุดเริ่มต้นที่ 150 Mbytes/sec ซึ่งจะเห็นว่าไม่แตกต่างนัก และเมื่อนำมา ใช้งานจริงจะเร็วกว่า HD PATA ประมาณ 1-5 % เท่านั้น แต่ SATA จะมีข้อดีกว่า PATA ในด้านอื่น ๆ อีก
ปัจจุบันมี HDD ที่มีใช้งานทั่วไป จะแบ่งออกได้ 3 ประเภทตาม อินเทอร์เฟซ คือ
1. ATA (IDE) (AT Attachment) ความเร็วอยู่ที่ 100 MB/Sec
2. SISC (สกัสซี่) ความเร็วอยู่ที่ 160 MB/Sec
3. Serial ATA (SATA) ความเร็วอยู่ที่ 150 MB/Sec
อุปกรณ์
HDD: SATA Seagate 80/7200 Rpm
CPU: AMD Sampson 2600+ (1.8 GHz)
M/B: ASUS A7V880 se
RAM: DDR Kingston 256/400
Optical Drive: DVD LG
CD-RW Lite-On
Software: Microsoft Windows XP Professional Include SP2 (Manual Setup) แผ่น Driver Main board เพื่อนำมาสร้าง Diskette Driver SATA
Hard disk แบบ ATA กับ SATA ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างของ HDD ทั้งสองแบบคือ แบบ SATA จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่าแบบ IDE กล่าวคือ แบบ IDE มีอัตราส่งข้อมูลอยู่ที่ 100 MB/Sec และแบบ SATA มีอัตราส่งข้อมูลอยู่ที่ 150 MB/Sec เพราะว่า Hard disk แบบ ATA นั้น จะใช้การเชื่อมต่อข้อมูลแบบ Parallel ATA ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบบิตต่อบิตที่เป็นคู่ขนานกันไป จากแหล่งเก็บข้อมูลไปยังเป้าหมาย ส่วน SATA นั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเป็นก้อนเดียวกันก่อน จึงค่อยส่งข้อมูลชุดนั้นไปพร้อมๆกัน
ทำให้ในทางทฤษฏี SATA มีความเร็วสูงกว่าแบบ Parallel ถึง 50%
Windows ทุกรุ่นรู้จักอินเทอร์เฟซแบบ IDE เป็นอย่างดี จึงไม่ต้องลง Driver แต่อย่างใด แต่แบบ SATA ต้องลง Driver ให้กับมันเสียก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้ครับ
สร้างแผ่นติดตั้ง Driver SATA ขึ้นมารอเตรียมเอาไว้ก่อน โดยสร้างขึ้นมาได้จาก แผ่น Driver Main board ของเรา โดย
1. สิ่งที่เราต้องเตรียมเลยนะครับ Computer ที่ใช้ได้เครื่องหนึ่ง เพื่อทำการสร้างแผ่นไดรว์เวอร์ SATA และ Computer ที่เราต้องการจะติดตั้ง Windows
2. แผ่น Floppy Disk แผ่นหนึ่ง ซึ่ง Format แบบ Slow เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ไม่ใช่ Format แบบ Quick นะครับ)
3. ขั้นแรก เราต้อง มี Computer อีกเครื่องหนึ่งที่ยังใช้ได้อยู่ก่อนนะครับ ส่วนจะลง Win98 หรือ Win me เอาไว้ก็ได้ ไม่มีปัญหา
ฮาร์ดดิสก์ PATA กับประสิทธิภาพที่ไม่น้อยหน้าฮาร์ดดิสก์ SATA
ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชันให้มีความสามารถในการทำงานที่มากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้ขนาดของไฟล์ที่บันทึกลงไป รวมถึงขนาดของตัวแอพพิลเคชันเองมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตสื่อบันทึกข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย จนในวันนี้ความจุของฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องเดสก์ทอปก็มีความจุสูงสุดที่ 750GB เข้าไปแล้ว และอีกไม่นานนี้เราจะได้พบกับฮาร์ดดิสก์ขนาด 1TB ผลิตออกมาให้เราได้ใช้งานกันอย่างแน่นอน
สรุปเนื้อหาการเรียนการสอน
ชื่อ-นามสกุล นางสาว
รายวิชา การประมวลผลแฟ้มข้อมูล (4122203) ประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2550
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลภายนอก(External storage Devices)
Storage Devices มี 2 ประเภท
1. Internal storage Devices
มีขนาดพื้นที่หน่วยความจำที่จำกัด โดยจะจัดเก็บข้อมูลแบบ Volatile เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
2. External storage Devices ประกอบด้วยโปรแกรม ดังนี้
2.1.)โปรแกรม Access โดยทำการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับและแบบสุ่ม/โดยตรง
2.2)โปรแกรมMechanism, Media เข้าถึงข้อมูลผ่านกระบวนการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ภายนอกไปสู่หน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
- Sequential Access storage Devices: SASD
- Random/Direct Access Storage Devices: DASD
สื่อบันทึกข้อมูล(Media)
- Volatile
- Non-Volatile
คุณสมบัติของ External storage Devices
1. Access Time = เวลาในการเข้าถึงข้อมูล
2. Storage Capacity(12 TB)
3.
ผลงานอื่นๆ ของ _มิมิโก:_ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ _มิมิโก:_
ความคิดเห็น