ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #20 : พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่ : ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.85K
      1
      14 ม.ค. 57

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

     

    1. ศิลปะบารอก ( Baroque )

    ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมานคริสต์ศตวรรษที่  16  สืบต่อจากศิลปะ     สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา  ลักษณะของศิลปะบารอกจะมีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ผลงานที่ปรากฏ มักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน  แสดงการเคลื่อนไหว  หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงามหรือประณีตบรรจงเกินไป  และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหรา  ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในอิตาลีและกลุ่มประเทศคาทอลิก

    2. งานสถาปัตยกรรม  แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการ   ประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย  เกิน ความจำเป็น โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์  ( Versailles ) ของพระเจ้าหลุยส์  ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

     

    3. ศิลปะด้านดนตรี  มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี  มีทั้งเพลงศาสนาและไม่ใช่เพลงศาสนา  ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ                         

           นักดนตรีสำคัญและมีชื่อเสียง คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ( Johann Sebastian Bach ) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่  และคลอดิโอ  มอนเตเวอร์ดี( Claudio  Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)  ชาวอิตาลี

    4. งานด้านวรรณกรรม  วรรณกรรมแบบบารอกชอบเขียนเรื่องที่เกินจริง ซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17ได้ชื่อว่าเป็น  ยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป


     

    2. ลัทธิคลาสสิกใหม่  ( Neocalssicism )

    ลัทธิคลาสสิกใหม่  เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18  ถึงคริสต์ศตวรรษที่  19  มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์  จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้มีแนวความคิดที่เปลี่ยนไป  มีเหตุผล  สติปัญญา  ความสามารถ มากขึ้น

                    คำว่า นีโอ-คลาสสิก จึงเป็นคำ ที่มีความหมายตรงตัว คือ นีโอ (Neo ) หมายถึง ใหม่ คลาสสิก (Classic ) หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหว ของศิลปะ ซึ่งมีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน


    1.สถาปัตยกรรม  มี การฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัยนั้น มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันมีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ การตกแต่งด้านหน้านิยมลวดลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก ( ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น ลายทรงเรขาคณิต ) แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลได้สัดส่วน สถาปนิกที่สำคัญ ได้แก่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )

     

    โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )

    2.ประติมากรรมและจิตรกรรม  ประติมากรรมคลาสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบประติมากรรมของกรีก-โรมัน ประติมากรรมคนมักใช้ใบหน้าจากแบบจริงผสมผสานกับรูปร่างแบบสมัยคลาสสิก  ประติมากรที่สำคัญ ได้แก่ อันโตนีโอ คาโนวา ( Antonio Canova )

    ส่วนจิตรกรรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย คล้ายกับผลงานของกรีกโบราณ มีการใช้สีถูกต้องตามแสงเงา ไล่เฉดสีอ่อนแก่เพื่อให้เกิดความกลมกลืน มีสัดส่วนและ ความเด่นชัด บางครั้งแสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ  จิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด ( Jacques Louis David ) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ ( Jean Auguste Dominique lngres )


    3.นาฏกรรม  ใน สมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลิน ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก

                                   
    4.ดนตรี   สมัย นี้นิยมเนื้อเรื่องที่แสดงออกด้านความคิดเห็น และในเรื่องของความเสมอภาคตามทัศนะของนักเขียนสมัยภูมิปัญญา นอกจากนี้ความคิดที่เชื่อมั่นในเหตุผล สติปัญญา และความสามารถของมนุษย์ ก็มีบทบาทที่ทำให้การแต่งเพลงมีอิสระมากขึ้น นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงสมัยคลาสสิกได้แก่ วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต(
    Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ.1756-1791)





     

    วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต ( Wolfgang Amadeus Mozart)


    3. ศิลปะจินตนิยม หรือ ศิลปะโรแมนติกซิสม์ ( Romanticism )

     ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณ์ และความรู้ สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลกใหม่ โดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล

    ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป  ส่ง ผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม 

                                    ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ เบโทเฟิน โชแปง วิลเลียม เบลก เป็นต้น

     

    1.       1.สถาปัตยกรรม มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตกรรมแบบกอทิก ( ลักษณะเป็นหลังคาโค้งแหลม รุ่งเรืองมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16)

    2.     
    2.ประติมากรรม ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิดประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว รูเด( Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติ มากรรม นูนสูงมาร์ซายแยส( Marseillaise ) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย( Arch of Triumph ) ในกรุงปารีส

    3.      
    3.จิตรกรรม  มี การจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์ ( Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863 ) ผู้เขียนภาพอิสรภาพนำประชาชน ( Liberty leading the people ) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830


    กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก( Victor Marie Hugo ค.ศ.1802-1885) นอกจากแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยาย นวนิยายที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหยื่ออธรรม     ( Les Miserables )

    4. ลัทธิสัจนิยม  ( Realisticism )

    ลัทธิสัจนิยม  หมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง”  ศิลปิน สัจนิยมจะมีทัศนคติที่ ตรงกันข้าม กับลัทธิจินตนิยม ซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  

                           ลักษณะเด่นของสัจนิยม  คือ  การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือน ทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในความเป็นจริง  และต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย  ส่วนมากจะเป็นรายละเอียดของชีวิตประจำวันทุกด้าน

    การให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสังคม เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น ไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์  เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน  และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวกจินตนิยม  นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง

    1. ด้านสถาปัตยกรรม  เนื่อง จากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ แทนอิฐ ไม้

           อาคาร ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดในเนื้อที่จำกัด การออกแบบจึงต้องสอด คล้องกับประโยชน์ใช้สอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความงามทางศิลปะด้วย

    2. ประติมากรรม นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวรูปปั้นหยาบ ไม่เรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง (August Rodin ค.ศ.1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The Thinker ) หล่อด้วยสำริด

    3. จิตรกรรม มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชยบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ (Gustave Courbet ค.ศ. 1819-1877) ซึ่งยึดหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาแลเห็น เช่น ภาพทุ่งนา ภาพชีวิตกรรมกรในเหมืองถ่านหิน เป็นต้น

    4. ดนตรี  สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการแต่งเพลงในรูปแบบใหม่  ไม่ยึดถือแบบเก่าที่เคยมีมา  ตามแนวคิดที่ว่า  ดนตรีจะต้องประกอบด้วยทั้งสีสันและจังหวะ  นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในยุคนี้  ได้แก่  โคลด เดอบูชี  ( Claude Debussy ค.ศ. 1882-1971 )  นัก แต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เขามีความคิด อย่างเดียวกับจิตรกรฝรั่งเศสพวก อิมเพรสชั่นนิตส์ คือเขาเพียงแต่บ่งแนะถึงความรู้สึกต่างๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ในดนตรีของเขา  ไม่สื่อความหมายโดยตรง

                                


            สตราวินสกี้( Igor Stravinsky ค.ศ. 1882 - 1971 )มีอิทธิพลอย่างสูงในด้านของแนวคิดเรื่องจังหวะที่ไม่ปกติที่เรียกว่า "อิเร็กกูลาร์ ริทึม" ( Irregular Rhythm ) และแนวคิดทางด้านการใช้บันไดเสียงหลาย ๆ บันไดพร้อมกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนัลลิตี "   ( Polytonality )

    5. การละคร  พวกสัจนิยมมักสะท้อนภาพสังคมหรือภาพชีวิตในแง่มุมต่างๆ  การแสดงสมจริงเป็นธรรมชาติ  บทเจรจาใช้ภาษาเหมาะสมแก่สภาพและฐานะของตัวละคร  บทละครเขียนเป็นร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน

                            ผู้บุกเบิกละครแนวใหม่นี้  คือ  เฮนริก อิบเซน  ( Henrik Ibsen ค.ศ. 1828 – 1906 )  นักแต่งบทละครชาวนอร์เวย์   และผู้แต่งเรื่อง บ้านตุ๊กตา     ( A Doll’s House )  จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ( George Bernard Show ค.ศ. 1856 - 1950)  นักแต่งบทละครชาวอังกฤษ  เรื่องเอกของชอว์  ได้แก่  เรื่อง  อามส์แอนด์เดอะแมน (Arms and the Man )

     

    6. วรรณกรรม  นักเขียนสัจนิยมสนใจข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก  โดยพยายามสะท้อนภาพการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ในสังคม  ความเห็นแก่ตัว  การแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ  ความยากจน  และชีวิตที่ไร้ความหวัง  นักประพันธ์และนักเขียนมักบรรยายสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกรตามชุมชนแออัด  ความชั่วร้ายจอมปลอมของชนชั้นกลาง  มนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของโชคชะตา  ศิลปินในสัจนิยมจะแสดงออกในงานวรรณกรรมมากที่สุด  มีดังนี้

    1.1 ผลงานของกุสตาฟ โฟล์แบรต์ (Gustave Flaubert ) ชาวฝรั่งเศส แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางที่ไม่มีสาระแก่นสารอันใดใน "มาดามโบวารี" (Madame Bovary )

    1.2 ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ (Charles Dickens ) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง "โอลิเวอร์ ทวิสต์" (Oliver Twist ) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นต้น

    1.3 ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Burnard Shaw ) นักเขียนแนวสัจนิยมเชิงเสียดสีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอังกฤษ ชอบเขียนเสียดสีสังคม ศาสนา ระบอบประชาธิปไตยและลัทธิทุนนิยม เป็นต้น
     
    1.4 ลิโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy ) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ "สงครามและสันติภาพ" (War and Peace )
     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×