ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #16 : พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่ : การปฏิรูปศาสนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.23K
      6
      14 พ.ย. 56


    การปฏิรูปศาสนา(The Reformation)

        ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอีกประการคือ การปฏิรูปศาสนา ซึ่งคริสต์ศาสนาได้แตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆโดยแต่ละนิกาย มีลักษณะเป็นศาสนาประจำชาติมากขึ้น


    สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา
        การปฏิรูปศาสนามีสาเหตุอยู่หลายประการด้วยกัน ได้แก่
               -เนื่องจากความเป็นอยู่ของสันตะปาปาและพระชั้นสูงบางองค์มีความฟุ่มเฟือยมีการสะสมทรัพย์สมบัติไว้ให้ลูก ขัดต่อความรู้สึกที่ว่าพระควรจะมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอีกทั้งพระยังเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในคริสตจักรที่กรุงโรม ตลอดจนมีการซื้อขายตำแหน่งกัน ประกอบกับชาวยุโรปศึกษาเล่าเรียนมีความรู้มากขึ้น จึงไม่เชื่อคำสั่งสอนของฝ่ายศาสนจักรงมงาย และเกิดความคิดที่จะปรับปรุงศาสนาให้บริสุทธิ์
               -เนื่องจากสันตะปาปาทรงมีฐานะเป็นเจ้าผู้ปกครองฝ่ายศาสนจักร มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ได้เข้าไปมรส่วนร่วมทากการเมืองของยุโรป และสันตะปาปาเข้าไปครอบงำ รัฐต่างๆในเยอรมัน ทำให้เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆต้องการเป็นอิสระจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจากผู้ที่รักษาอำนาจของคริสตจักรคือสันตะปาปา
                -การที่ศาสนจักรมุ่งเน้นพิธีกรรมมากจนเกินไป ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องการทำความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนามากขึ้น จนมีนักคิดเสนอว่ามนุษย์ควรเข้าถึงพระเจ้าและทความเข้าในในคัมภีร์ไบเบิลด้วยตนเองมากกว่าผ่านพิธีกรรมของศาสนจักร
                 -สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 (Julius II ค.ศ. 1506-1514)และสันตะปาปาลีโอที่10 (Leo X ค.ศ.1514-1521) ต้องการงบประมานในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม จึงส่งสมณะทูตมาขายใบไถ่บาป (Indulgence Certificate) ในดินแดนเยอรมัน ใบยกโทษบาปนี้เป็นอนุโมทนาบัตรแสดงว่าได้ชำระเงินตามกำหนดเพื่อพ้นจากบาป แต่ด้วยภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านคริสตจักรหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งขุนนาง นักคิด และปัญญาชนในเยอรมัน


    การเริ่มปฏิรูปศาสนา
                  การขายใบยกเลิกบาปในเยอรมันของคริสตจักร ทำให้ มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther ค.ศ. 1484 - 1546) นักบวชชาวเยอรมันทำการประท้วงการขายใบไถ่บาปด้วยการปิดประกาศคำประท้วง95 ข้อ (Ninety-Five Theses)หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนแบร์ก (Wittenberg) โดยลูเทอร์ได้ประกาศว่า สันตะปาปาไม่ควรเก็บภาษีในเยอรมันเพื่อนำไปสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และสันตะปาปาไม่ได้เป็นบุคคลเพียงผู้เดียวที่จะนำพามนุษย์ไปสู่พระเจ้า ประกาศดังกล่าวถือว่าเป็นการประท้วง (protest) ที่มีต่อศาสนจักรอันเป็นที่มาของนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestants) คำประกาศของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเขตเยอรมัน

                  ใน ค.ศ. 1521 มาร์ติน ลูเทอร์ ได้รับคำสั่งจากจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 (Charles V ค.ศ.1519 – 1556) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ให้ไปเข้าประชุมสภาแห่งเวิร์ม เขาถูกกล่าวหาจากจักรพรรดิว่ามีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนาและเป็นบุคคลนอกศาสนา แต่เจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้อุปถัมภ์เขาไว้ และเขาแปลคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินมาเป็นภาษาเยอรมัน ทำให้ความรู้ทางศาสนาเป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการของวรรณกรรมภาษาเยอรมัน
                   ในช่วงหลังจากนั้น พวกเจ้านายในเยอรมันได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางเหนือ ซึ่งสนับสนุน มาร์ติน ลูเทอร์ กับฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางใต้ ซึ่งสนับสนุนคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่กรุงโรม ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นใน ค.ศ.1546 ในที่สุดก็มีการสงบศึก โดยการทำสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเอากส์บูร์ก (Peace of Ausburg) ในค.ศ.1555โดยให้ทางเจ้าชายเยอรมันและแคว้นของพระองค์มีสิทธิ์ที่จะเลิกนับถือนิกายลูเทอร์หรือนิกายโรมันคาทอลิกได้

                   นิกายลูเทอร์มีหลักปฏิบัติ การดำเนินงาน พิธีกรรมทางศาสนา และลักษณะของนักบวชเป็นแบบคาทอลิก แต่นักบวชในนิกายลูเทอร์เป็นเพียงผู้สอนศาสนาจึงสามารถมีครองครัวได้ นิกายลูเทอร์ยังคงมีการรักษาพิธีกรรมบางข้อไว้ เช่น ศีลจุ่ม และศีลมหาสนิท นิกายนี้มีกรอบความคิดว่าความหลุดพ้นทางวิญญาณของชาวคริสต์
    จะสามารถมีได้ก็เนื่องจากการยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจนพระองค์ทรงเมตตาเท่านั้น


    การปฏิรูปคริสต์ศาสนาได้ขยายตัวจากเยอรมันไปยังประเทศอื่นๆในยุโรป มีผู้นำในการปฏิรูป เช่น
                  -จอห์น คาลวิน (John Calvin ค.ศ.1509 - 1564) ชาวฝรั่งเศส ผู้เห็นด้วยกับความคิดของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้หนีพวกคาทอลิกจากฝรั่งเศสไปตั้งนิกายคาลวิน  เป็นโปรเตสแตนต์นิกายที่ 2 ในสวิตเซอร์แลนด์
                  -พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งประเทศอังกฤษ (Henry VIII ค.ศ.1509 - 1547)  ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหย่าขาดจากพระนางแคทเธอรีนแห่งอะรากอน (Catherine of Aragon ค.ศ.1485 - 1536) แต่สันตะปาปาจัดการให้ไม่ได้ รัฐสภาอังกฤษจึงออกกฎหมายตั้งพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษ ไม่ขึ้นต่อคริสตจักรที่กรุงโรม เรียกนิกายใหม่นี้ว่า นิกายอังกฤษหรือนิกายแองกลิคัน


                 กล่าวโดยสรุป ผลของการปฏิรูปทางศาสนาได้ก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้น  โดยแบ่งเป็น3นิกายสำคัญคือ ได้แก่
                  -นิกายลูเทอร์ แพร่หลายในเยอรมันและประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย
                  -นิกายคาลวิน แพร่หลายใน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสกอตแลนด์
                  -นิกายอังกฤษหรือแองกลิคัน เป็นนนิกายประจำประเทศอังกฤษ


    การปฏิรูปของศาสนจักร
                  เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาในดินแดนส่วนต่างๆของยุโรป คริสตจักรที่กรุงโรมได้พยายามต่อต้านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีต่างๆได้แก่
              1.ศาสนจักรได้จัดการประชุมสังคายนาพระศาสนาที่เมืองเทรนต์ (The Council of Trent) ใน ค.ศ.1545 การประชุมดังกล่าวใช้เวลาถึง 18 ปี    สิ้นสุดใน ค.ศ.1563 โดยมีบทสรุปดังนี้
                  - สันตะปาปาทรงเป็นประมุขของคริสต์ศาสนา
                  - การประกาศหลักธรรมทางศาสนาต้องให้ศาสนจักรเป็นผู้ประกาศแก่ศาสนิกชน
                  - คัมภีร์ไบเบิลยังต้องเป็นภาษาละติน
                  - ยกเลิกการขายใบยกโทษบาปและตำแหน่งทางศาสนา มีการกำหนดระเบียบวินัย    มาตรฐานของการศึกษาของพระ และให้ใช้ภาษาพื้นเมืองในการสอนศาสนา

              2.ศาสนจักรได้ตั้งศาลศาสนาเพื่อลงโทษพวกนอกศาสนา โดยศาลศาสนาได้พิจารณาความผิดของพวกนอกศาสนาคาทอลิก และชาวคาทอลิกที่มีความคิดเห็นแตกต่างจาก ศาสนจักร ซึ่งมีการลงโทษโดยการเผาคนผิดทั้งเป็น

                การต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของคริสตจักรที่กรุงโรมกระทำได้ผล คือ นิกายโรมันคาทอลิกสามารถป้องกันไม่ให้ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกหันไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดึงศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ให้กลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้


    ผลของการปฏิรูปศาสนา
              การปฏิรูปศาสนาได้ก่อให้เกิดผลกรทบที่สำคัญต่อชาติต่างๆในยุโรป ได้แก่
                    -คริสตจักรตะวันตกได้แตกแยกออกเป็น2นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม มีสันตะปาปาเป็นประมุข กับนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งเป็นนิกายต่างๆ ในประเทศทางภาคเหนือของยุโรป ความเป็นเอกภาพทางศาสนาของยุโรปได้สิ้นสุดลง
                    -เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆเช่น กรณีที่มาร์ติน ลูเทอร์ หนุนให้เจ้าผู้ครองรัฐต่างๆ ในเยอรมันต่อต้านจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่นับถือนิกายคาลวิน    ในเนเธอร์แลนด์ส่วนที่เป็นเจ้าของสเปนต่อต้านกษัตริย์สเปนจะได้รับเอกราช
                    -เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายต่างๆการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่องเพื่อเรียกศรัทธาและก่อให้เกิดขันติธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้นับถือนิกายต่างกัน  
                    -สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป นิกายโปรเตสแตนต์ได้สนับสนุนการประกอบอาชีพด้านการค้าและอุตสาหกรรม ทำให้ระบบทุนนิยมในยุโรปเจริญเติบโต
                    -ระบอบรัฐชาติแข็งแกร่งขึ้น การเกิดนิกายโปรเตสแตนต์ได้ส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เช่น การแปลคัมภีร์เป็นภาษาท้องถิ่น และยังส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ในฐานะตัวแทนของพระเป็นเจ้าในการปกครองประเทศ จึงเท่ากับส่งเสริมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยปริยาย
                    -ผลของการแตกแยกทางศาสนา ทำให้เกิดสงครามศาสนาขึ้นในยุโรปหลายครั้ง เช่น สงครามศาสนาในเยอรมนี (ค.ศ.1546 - 1555) สงครามศาสนาในประเทศฝรั่งเศส(ค.ศ.1562 - 1589) สงครามสามสิบปี (ค.ศ.1618 - 1648) การเกิดสงครามศาสนาทำให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักรในที่สุด เพราะสันตะปาปาต้องอาศัยอำนาจของกษัตริย์ที่นับถือคาทอลิกทำการต่อต้านกษัตริย์ที่นับถือโปรเตสแตนต์

    สงครามครูเสด
               สงครามครูเสด สงครามที่ยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติในครั้งอดีตคือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือ ชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่าง ชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ และดินแดนแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์


    ฟรานเชสโก เปทราก
               ฟรานเชสโก เปทราก เป็นกวีและนักวิชาการชาวอิตาลี หนึ่งในบรรดานักวิชาการในช่วงแรกๆ ของ เรอเนซองส์ ฮิวแมนิสม์ เขาเป็นที่รู้จักยกย่องในฐานะ  "บิดาแห่งฮิวแมนิสม์" จากงานของเปตรากและส่วนประกอบอื่นๆ Pietro Bembo ได้สร้างรูปแบบของภาษาอิตาลีในปัจจุบันขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 เปตรากได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดประดิษฐ์ซอนเน็ต งานกวีนิพนธ์ซอนเน็ตของเขาได้รับยกย่อง และเป็นที่รู้จักทั่วไปในยุโรป ตลอดยุคเรอเนซองส์ ซึ่งได้กลายเป็นแบบมาตรฐานสำหรับงานกวีนิพนธ์ในยุคต่อมา

    มีเกลันเจโล
        มีเกลันเจโล เป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะผลงาน รูปสลักผู้ชายเปลือยแสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วนของร่างกายเพราะเขามีความคิดว่ามนุษย์เกิดจากฝีพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า จึงนับว่าเป็นรูปลักษณ์ที่มีความงดงามที่สุด งานประติมากรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ รูปสลักเดวิด (David) เป็นชายหนุ่มเปลือยกายที่อยู่ในท่าเตรียมพร้อมจะต่อสู้กับศัตรู และปิเอตา (Pieta) เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูคริสต์ในอ้อมพระกรหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว ส่วนงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงของมีเกลันเจโล ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บนเพดานและฝาผนังของโบสถ์ซีสติน (Sistine Chapel) ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นภาพที่งดงามและมีสีสันสวยสด ภาพส่วนใหญ่แสดงส่วนสัดต่างๆ ของร่างกายชายและหญิง ซึ่งเป็นแนวเขียนใหม่ที่ผิดแบบจากประเพณีการวาดรูปในโบสถ์วิหารอื่นๆ


    เลโอนาร์โด ดา วินชี
              เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นศิลปินและนักปราชญ์ที่มีความรู้และความสามารถเป็นเลิศในสาขาวิชาจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กายวิภาค และคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมาถ่ายทอดในรูปแบบของงานจิตรกรรมได้เป็นอย่างดี งานของเขาเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นจริง การใช้โทนสีที่นุ่มนวลทำให้ลักษณะของภาพมีความละเมียดละไม และแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความเมตตา อันเป็นลักษณะโดยทั่วไปของนักมนุษยนิยม

              ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) เขียนเป็นภาพพระเยซูคริสต์กับสาวกนั่งที่โต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของหระเยซูคริสต์ก่อนจะถูกนำไปตรึงที่ไม้กางเขน ภาพแสดงถึงความตระหนกตกใจของสาวกเมื่อพระองค์ประกาศว่าในบรรดาสาวกทั้ง12รูป ของพระองค์นั้นมีผู้หนึ่งทรยศ ส่วนอีกภาพหนึ่ง ได้แก่ โมนาลิซา (Mona Lisa) เป็นภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มอันชวนฉงน โดยมีบรรยากาศของธรรมชาติที่ปกคลุมด้วยม่านหมอกเป็นพื้นของรูป


    ราฟาเอล
             ภาพที่มีชื่อเสียงของราฟาเอล ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตร และจอห์น แบปติส (Madonna and Child with St.John) แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ แลดูเป็นปุถุชนธรรมดา ภาพเขียนของราฟาเอลดังกล่าว นับเป็นตัวอย่างที่ดีของศิลปะในสมันฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เน้นให้เห็นบทบาทและความสำคัญของปัจเจกบุคคล พระกุมารในภาพของ ราฟาเอลจึงแลดูเป็นเด็กทารกที่มิได้แอบแฝงบุคลิกของผู้ยิ่งใหญ่หรือความเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ แต่แสดงถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กที่ถูกเพิกเฉยในสมัยกลาง และนับเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ใหญ่หันมาให้ความรักและความสนใจแก่เด็กๆมากขึ้น



    วิลเลียม เชกสเปียร์

              วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) (26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก  มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ “Bard of Avon” (กวีแห่งเอวอน) เขาเกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1585-1592 เขาประสบความสำเร็จในการเป็นนักแสดงในกรุงลอนดอน รวมถึงการเป็นนักเขียน ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในคณะละครลอร์ดเชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain's Men) ซึ่งในภายหลังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ King's Men เชกสเปียร์เกษียณตัวเองกลับไปยังสแตรทฟอร์ดในราวปี ค.ศ. 1613 และเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา

               ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเชกสเปียร์ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1590 ถึง 1613 ในยุคแรกๆ บทละครของเขาจะเป็นแนวชวนหัวและแนวอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางบทละครที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเขาเขียนบทละครแนวโศกนาฏกรรมหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง แฮมเล็ต King Lear และ แม็คเบธ ซึ่งถือว่าเป็นบทละครตัวอย่างชั้นเลิศของวรรณกรรมอังกฤษ ในช่วงปลายของการทำงาน งานเขียนของเขาจะเป็นแนวสุข-โศกนาฏกรรม (tragicomedies) หรือแนวโรมานซ์ ในปี ค.ศ. 1623 เพื่อนร่วมงานสองคนในคณะละครของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “First Folio” เป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้บรรจุบทละครที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเขียนของเชกสเปียร์เอาไว้ทั้งหมด (ขาดไปเพียง 2 เรื่อง)

               ในยุคสมัยของเขา เชกสเปียร์เป็นกวีและนักเขียนบทละครที่ได้รับการยกย่องอยู่พอตัว แต่เขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงเช่นในปัจจุบันนี้นับตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 กวียุคโรแมนติกยกย่องนับถือเชกสเปียร์ในฐานะอัจฉริยะ ขณะที่กวียุควิคตอเรียเคารพนับถือเชกสเปียร์อย่างยิ่ง กระทั่ง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เรียกเขาว่า Bardolatry (คำยกย่องในทำนอง “จอมกวี” หรือ “เทพแห่งกวี”) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการดัดแปลงงานประพันธ์ของเขาออกไปเป็นรูปแบบแนวทางใหม่ๆ โดยเหล่านักวิชาการและนักแสดงมากมาย ผลงานของเขายังคงเป็นที่นิยมอย่างสูงจนถึงปัจจุบันและมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ในทุกประเทศทุกวัฒนธรรมทั่วโลก



    มาร์ติน ลูเทอร์
             มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะ  ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์ เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต์


    จอห์น คาลวิน
             จอห์น คาลวิน (John Calvin) นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นผู้ปกครองทางศาสนาของรัฐเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์  เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง “นิกายคาลวินิสม์” ปัจจุบันคำว่า “นิกายคาลวินิสม์” ยังหมายถึงกฎและการปฏิบัติของกลุ่มคริสต์ศาสนปฏิรูป ซึ่ง  คาลวินเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง หรือมีอิทธิพลต่อการก่อตั้ง และยังหมายถึงคำสอนของจอห์น คาลวินเอง
    “นิกายคาลวินิสม์” เป็นที่รู้จักกันดีในลัทธิ    “เทวลิขิต” และ “Total depravity” ที่มาจากทฤษฎีเกี่ยวกับปฐมบาป
    พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ


     พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England – พ.ศ. 2034 - 2090)
               มีพระอิสริยยศเป็นลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ (ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่ครองราชย์ช่วงปี 21 เมษยน ค.ศ. 1509 จนสวรรคต นับเป็นลำดับที่ 2 ในราชวงศ์ทิวดอร์สืบต่อจากพระเจ้าเฮนรีที่ 7 พระราชบิดา
               พระองค์เป็นที่รู้จักจากการมีพระมเหสีมากถึง 6 พระองค์ นอกจากนี้ยังทรงให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ความขัดแย้งนี้นำไปสู่การ ตัดขาดจากอำนาจของพระสันตะปาปา การยุบอาราม และการสถาปนาพระองค์เองเป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามแนวเทววิทยาคาทอลิก แม้ว่าจะทรงถูกพระสันตะปาปาตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม พระองค์ยังมีบทบาทเป็นผู้กำกับควมคุมเอกภาพระหว่างประเทศอังกฤษและเวลส์ตามพระราชบัญญัติกฎหมายในเวลส์ ค.ศ. 1535–1542

               พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะใช้พระราชอำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ มีพระวรกายพ่วงพีมาก มีพระรสนิยมผิดปกติ และพระพลานามัยไม่แข็งแรง พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง
               เมื่อสวรรคตแล้วพระราชโอรสคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แทน
               พระมเหสีทั้ง 6 พระองค์ ได้แก่
       - พระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน
       - พระนางแอนน์ โบลีน
       - พระนางเจน ซีมัวร์
       - พระนางแอนน์แห่งคลีฟส์
       - พระนางแคเธอรีน ฮอเวิร์ด
       - พระนางแคทเธอรีน พารร์


     จัดทำโดย
    นาวสาว ณชมน  ผลประเสริฐ เลขที่ 9
    นางสาว ปภาวี  ธรรมพูนผล เลขที่ 26
    ม.6.1






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×