ลำดับตอนที่ #9
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ : อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมัน
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มขึ้นในสังคมตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ นำไปสู่การปฎิวัติทางภูมิปัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาวตะวันตกได้เชื่อมั่นว่าความมีเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นได้ มีการแสดงความคิดเห็น เรียกร้อง สิทธิเสรีภาพ ในการมีส่วนร่วมในการปกครอง และมีการพัมนาสิ่งต่างๆมากมาย ผู้คนมีความรู้ ได้รับการยกย่องในสังคมมากขึ้น และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้าสู่ความเจริญในยุคใหม่ ดังนั้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้รับสมญาว่าเป็น ยุคภูมิธรรม (The Age of Enlightenment )
นักปราชญ์การเมืองแนวประชาธิปไตย
-ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679)
-จอห์น ล็อก (John Locke ค.ศ. 1632-1704)
-บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755)
-วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778)
-ซอง-ชาคส์ รูโซ (Jean-Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778)
ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679) นักปรัชญาชาวอังกฤษ
แนวคิดด้านการเมืองของฮอบส์ ปรากฏในหนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นเอกของฮอบส์
กล่าวไว้ว่า ก่อนหน้าที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเมือง ได้เกิดความวุ่นวาย จึงได้ตกลงกันที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่ปกครอง โดยเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ ทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครองซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับประชาชนต่อไป
แนวคิด
อำนาจของกษัตริย์ไม่ใช่อำนาจของเทวสิทธิ์ หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ แต่ความจริงเป็นอำนาจที่ประชาชนยินยอมมอบให้ ส่วนทางศาสนจักรนั้น ฮอบส์มีความเห็นว่าไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองรัฐ
จอห์น ล็อก John Locke กิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175 เป็นปรัชญาชาวอังกฤษ หนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักประสบการณ์นิยม (Empiricism)
Two Treatises of Government (ค.ศ. 1689) แนวคิดหลักของหนังสือ คือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
แนวคิดทางการเมืองของ ล็อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น
แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส
บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ ( Baron de Montesquieuค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat )
เขียนหนังสือเรื่องวิญญาณแห่งกฎหมาย(The Spirit of Laws ) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษา
แนวคิดหลัก
สรุปได้ว่ากฎหมายที่รัฐบาลแต่ละสังคมบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขทางนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม แต่การปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด ควรแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ และง่ายต่อการตรวจสอบ
แนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก
วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778) มีชื่อจริงว่า ฟรองซัว-มารี อารูเอ (Francois – Marie Arouet ) เป็นนักคิดและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส
วอลแตร์ใช้งานเขียน คัดค้านการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านความงมงายไร้เหตุผล ตลอดจนเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางด้านต่าง ๆ ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English)
เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่หล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ แต่ไม่เคยแสดงความคิดถึงการเมืองที่เขาพอใจ เขาคิดว่าการใช้เหตุผลและสติปัญญาสามารถจะแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง
ซอง-ชาคส์ รูโซ (Jean-Jacques Rousseau
ค.ศ. 1712-1778)
เขาเขียนหนังสือ หลายเล่ม โจมตีฟอนเฟะของสังคม และการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล นอกจากนี้เขายังแสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบการศึกษา ปัญหาความไม่เสมอภาคทางสังคมอันเป็นผลจากสภาวะแวดล้อม เรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และแนวทางการปกครอง และอื่น ๆ
งานเขียนชิ้นเอกของเขาซึ่งเป็นตำราทางการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก คือ สัญญาประชาคม (The Social Contract ) ค.ศ. 1762 ว่าด้วยปรัชญาทางการเมืองด้านการปกครองและพันธสัญญาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและประชาชน งานเขียนเรื่องนี้ทำให้รูโซได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอำนาจอธิปไตยของประชาชน
เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสในหนังสือเล่มนี้รูโซกล่าวถึงสัญญาประชาคมว่า หมายถึงสัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนภายใต้เอกภาพและเจตจำนงเดียวกัน โดยที่แต่ละคนสามารถก่อตั้งรัฐบาลเองได้ และให้อำนาจเหนือรัฐบาลเพื่อรับใช้ประชาชน แต่ถ้าเมื่อใดประชาชนไม่พอใจรัฐบาล ก็อาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้
รูโซชี้ให้เห็นว่าสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสรเสรีและความเสมอภาค อย่างไรก็ตามแม้มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการแนวความคิดของรูโซถือเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
การปฏิวัติอังกฤษ
หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I )สิ้นพระชนม์กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มามักจะมีความขัดแย้งกับรัฐสภาอยู่เสมอ เนื่องจากการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต ใช้เงินแผ่นดินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยและก่อสงคราม ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1642-1649 และรัฐสภาได้จับพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ประหารชีวิต
จากนั้นกษัตริย์อังกฤษถูกลดอำนาจลงเรื่อย ๆ จนถึง ค.ศ. 1688 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II ) ที่ทรงพยายามใช้อำนาจอย่างสูงสุดอีก จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยรัฐสภาอังกฤษได้อันเชิญพระเจ้าวิลเลียม (William ) ขึ้นครองราชย์บัลลังก์โดยพระองค์ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวายซึ่งให้อำนาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution )
นับแต่นั้นมารัฐสภาอังกฤษได้ออกกฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษ ปฏิรูปสังคมและการเมืองของอังกฤษ ก้าวหน้าไปตามลำดับจนถึงปัจจุบันอังกฤษได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองของอังกฤษจึงยึดหลักการขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปกครองกันมา และยึดกฎหมายเป็นหลักรัฐสภา
การปฏิวัติใน ค.ศ. 1688 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแบบเทวสิทธิ์ของอังกฤษสิ้นสุดลง และได้ยุติปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่กระทบกระเทือนอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17
สาเหตุในการปฏิวัติ อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมาก แล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือ จอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่ ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก
ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา จนในที่สุด ทำให้อเมริกาสามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย (วอชิงตัน ดี.ซี. ในปัจจุบัน) เกิดประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอมเริกาคือ จอร์จ วอชิงตัน
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สาเหตุที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นเพราะฝรั่งเศสทำสงครามหลายครั้ง โดยเฉพาะ การเข้าช่วยอาณานิคมรบกับอังกฤษในสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกัน ทำให้มีหนี้สินพ้นตัว ในด้านสังคม ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้น เป็น 3ฐานันดร ฐานันดรที่1,2 ซึ่งมีฐานะดีกลับได้ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทางตรง แต่ฐานันดรที่3มีฐานะยากจนกลับต้องเสียภาษีเต็มที่ เมื่อฝรั่งเศสกำลังจะล้มละลาย จึงได้เรียกเก็บ
เมื่อชาวอเมริกันได้ก่อการปฏิวัติใน ค.ศ. 1776 ทำให้ความหวังของนักคิดของยุคภูมิธรรมบรรลุความเป็นจริง คือ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เป็นต้น
13 ปีต่อมา วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ชาวฝรั่งเศสจึงได้ก่อ การปฎิวัติขึ้นครั้งใหญ่เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองแบบราชาธิปไตยและตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณะรัฐ
นอกจากนี้ในคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่ง เศษที่ประกาศเมือวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1789 ก็นำความคิดหลัก ของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ ย้อนกลับมาใช้ให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้ง
สุรป
แนวความคิดประชาธิปไตยของของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ มีผลในการปลุกสำนึกทางการเมืองของชาวตะวันตกเป็นอันมาก และก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ
ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
1. ศิลปะบารอก ( Baroque )
ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมานคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ลักษณะของศิลปะบารอกจะมีลักษณะเฉพาะ คือ
การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม
( Humanism ) ผลงานที่ปรากฏ มักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน แสดงการเคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงามหรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหรา ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในอิตาลีและกลุ่มประเทศคาทอลิก
1. งานจิตรกรรม นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฏตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับคริสต์ศาสนา มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็นสามมิติ จิตกรสำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ ( Michelaongelo da Caravaggio ค.ศ. 1573 - 1610)
2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการ ประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์ ( Versailles ) ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี มีทั้งเพลงศาสนาและไม่ใช่เพลงศาสนา ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ
นักดนตรีสำคัญและมีชื่อเสียง คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ( Johann Sebastian Bach ) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และคลอดิโอ มอนเตเวอร์ดี ( Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643) ชาวอิตาลี
4. งานด้านวรรณกรรม วรรณกรรมแบบบารอกชอบ เขียนเรื่องที่เกินจริง ซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป
2. ลัทธิคลาสสิกใหม่ ( Neocalssicism )
ลัทธิคลาสสิกใหม่ เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้มีแนวความคิดที่เปลี่ยนไป มีเหตุผล สติปัญญา ความสามารถ มากขึ้น
คำว่า นีโอ-คลาสสิก จึงเป็นคำ ที่มีความหมายตรงตัว คือ นีโอ (Neo ) หมายถึง ใหม่ คลาสสิก (Classic ) หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหว ของศิลปะ ซึ่งมีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน
1.สถาปัตยกรรม มีการฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัยนั้น มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันมีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ การตกแต่งด้านหน้านิยมลวดลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก ( ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น ลายทรงเรขาคณิต ) แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลได้สัดส่วน สถาปนิกที่สำคัญ ได้แก่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )
โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )
2.ประติมากรรมและจิตรกรรม ประติมากรรมคลาสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบประติมากรรมของกรีก-โรมัน ประติมากรรมคนมักใช้ใบหน้าจากแบบจริงผสมผสานกับรูปร่างแบบสมัยคลาสสิก ประติมากรที่สำคัญ ได้แก่ อันโตนีโอ คาโนวา ( Antonio Canova )
ส่วนจิตรกรรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย คล้ายกับผลงานของกรีกโบราณ มีการใช้สีถูกต้องตามแสงเงา ไล่เฉดสีอ่อนแก่เพื่อให้เกิดความกลมกลืน มีสัดส่วนและ ความเด่นชัด บางครั้งแสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ จิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด ( Jacques Louis David ) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ ( Jean Auguste Dominique lngres )
3.นาฏกรรม ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลิน ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก
4.ดนตรี สมัยนี้นิยมเนื้อเรื่องที่แสดงออกด้านความคิดเห็น และในเรื่องของความเสมอภาคตามทัศนะของนักเขียนสมัยภูมิปัญญา นอกจากนี้ความคิดที่เชื่อมั่นในเหตุผล สติปัญญา และความสามารถของมนุษย์ ก็มีบทบาทที่ทำให้การแต่งเพลงมีอิสระมากขึ้น นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงสมัยคลาสสิกได้แก่ วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต(Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ.1756-1791)
วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต ( Wolfgang Amadeus Mozart)
3. ศิลปะจินตนิยม หรือ ศิลปะโรแมนติกซิสม์
( Romanticism )
ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณ์ และความรู้ สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลกใหม่ โดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม
ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ เบโทเฟิน โชแปง วิลเลียม เบลก เป็นต้น
1. สถาปัตยกรรม มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตกรรมแบบกอทิก ( ลักษณะเป็นหลังคาโค้งแหลม รุ่งเรืองมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16)
2. ประติมากรรม ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิดประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว รูเด( Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติ มากรรม นูนสูงมาร์ซายแยส( Marseillaise ) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย( Arch of Triumph ) ในกรุงปารีส
3. จิตรกรรม มีการจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์ ( Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863 ) ผู้เขียนภาพอิสรภาพนำประชาชน ( Liberty leading the people ) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830
4. ดนตรี ดนตรีแนวจินตนิยมไม่ได้แต่งเพื่อฟังเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจด้วย เช่น ความรู้สึกชาตินิยม โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตาม นักแต่งเพลงจินตนิยมที่มีชื่อเสียงได้แก่ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน( Ludwig van Beethoven ค.ศ.1770-1827) ฟรานซ์ ชูเบิร์ต( Franz Schubert ค.ศ.1797-1828) เป็นต้น
5. การละคร นิยมแสดงเรื่องที่ตัวเอกประสบปัญหาอุปสรรค หรือมีข้อขัดแย้งในชีวิตอย่างสาหัส ซึ่งจะดึงอารมณ์ของผู้ชมให้เอาใจช่วยตัวเอก การเขียนบทไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนอย่างละครคลาสสิก ละครแนวจินตนิยมกำเนิดในเยอรมนี บทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เรื่องเฟาสต์ ( Faust ) ของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ ( Johanne Wolfgang von Goethe ค.ศ.1749-1832)
6. วรรณกรรม เน้นจินตนาการ และอารมณ์ และถือว่าควมต้องการของผู้ประพันธ์สำคัญกว่าความต้องการของคนในสังคม บทร้อยกรองประเภทคีตกานต์ ( lyric ) ซึ่งเป็นโคลงสั้นๆแสดงอารมณ์ของกวีได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนี้ กวีคนสำคัญของอังกฤษ คือ วิลเลียม เวิดส์เวิร์ท ( William wordsworth ค.ศ.1770-1850 ) และ แซมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์( Samuel Taylor Colridge ค.ศ.1772-1834)
กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก( Victor Marie Hugo ค.ศ.1802-1885) นอกจากแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยาย นวนิยายที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหยื่ออธรรม ( Les Miserables )
4. ลัทธิสัจนิยม ( Realisticism )
ลัทธิสัจนิยม หมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง” ศิลปินสัจนิยมจะมีทัศนคติที่ ตรงกันข้าม กับลัทธิจินตนิยม ซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ลักษณะเด่นของสัจนิยม คือ การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือน ทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในความเป็นจริง และต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย ส่วนมากจะเป็นรายละเอียดของชีวิตประจำวันทุกด้าน
การให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสังคม เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น ไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวกจินตนิยม นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง
1. ด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ แทนอิฐ ไม้
อาคาร ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดในเนื้อที่จำกัด การออกแบบจึงต้องสอด คล้องกับประโยชน์ใช้สอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความงามทางศิลปะด้วย
2. ประติมากรรม นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวรูปปั้นหยาบ ไม่เรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง (August Rodin ค.ศ.1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The Thinker ) หล่อด้วยสำริด
3. จิตรกรรม มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชยบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ (Gustave Courbet ค.ศ. 1819-1877) ซึ่งยึดหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาแลเห็น เช่น ภาพทุ่งนา ภาพชีวิตกรรมกรในเหมืองถ่านหิน เป็นต้น
4. ดนตรี สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการแต่งเพลงในรูปแบบใหม่ ไม่ยึดถือแบบเก่าที่เคยมีมา ตามแนวคิดที่ว่า ดนตรีจะต้องประกอบด้วยทั้งสีสันและจังหวะ นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ โคลด เดอบูชี ( Claude Debussy ค.ศ. 1882-1971 ) นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เขามีความคิด อย่างเดียวกับจิตรกรฝรั่งเศสพวก อิมเพรสชั่นนิตส์ คือเขาเพียงแต่บ่งแนะถึงความรู้สึกต่างๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ในดนตรีของเขา ไม่สื่อความหมายโดยตรง
และอีกอร์ สตราวีนสกี ( Igor Stravinsky ค.ศ. 1882 - 1971 )
สตราวินสกี้มีอิทธิพลอย่างสูงในด้านของแนวคิดเรื่องจังหวะที่ไม่ปกติที่เรียกว่า "อิเร็กกูลาร์ ริทึม" ( Irregular Rhythm ) และแนวคิดทางด้านการใช้บันไดเสียงหลาย ๆ บันไดพร้อมกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนัลลิตี " ( Polytonality )
5. การละคร พวกสัจนิยมมักสะท้อนภาพสังคมหรือภาพชีวิตในแง่มุมต่างๆ การแสดงสมจริงเป็นธรรมชาติ บทเจรจาใช้ภาษาเหมาะสมแก่สภาพและฐานะของตัวละคร บทละครเขียนเป็นร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน
ผู้บุกเบิกละครแนวใหม่นี้ คือ เฮนริก อิบเซน ( Henrik Ibsen ค.ศ. 1828 – 1906 ) นักแต่งบทละครชาวนอร์เวย์ และผู้แต่งเรื่อง บ้านตุ๊กตา ( A Doll’s House ) จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ( George Bernard Show ค.ศ. 1856 - 1950) นักแต่งบทละครชาวอังกฤษ เรื่องเอกของชอว์ ได้แก่ เรื่อง อามส์แอนด์เดอะแมน (Arms and the Man )
6. วรรณกรรม นักเขียนสัจนิยมสนใจข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก โดยพยายามสะท้อนภาพการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ในสังคม ความเห็นแก่ตัว การแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ความยากจน และชีวิตที่ไร้ความหวัง นักประพันธ์และนักเขียนมักบรรยายสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกรตามชุมชนแออัด ความชั่วร้ายจอมปลอมของชนชั้นกลาง มนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของโชคชะตา ศิลปินในสัจนิยมจะแสดงออกในงานวรรณกรรมมากที่สุด มีดังนี้
1.1 ผลงานของกุสตาฟ โฟล์แบรต์ (Gustave Flaubert ) ชาวฝรั่งเศส แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางที่ไม่มีสาระแก่นสารอันใดใน "มาดามโบวารี" (Madame Bovary )
1.2 ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ (Charles Dickens ) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง "โอลิเวอร์ ทวิสต์" (Oliver Twist ) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นต้น
1.3 ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Burnard Shaw ) นักเขียนแนวสัจนิยมเชิงเสียดสีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอังกฤษ ชอบเขียนเสียดสีสังคม ศาสนา ระบอบประชาธิปไตยและลัทธิทุนนิยม เป็นต้น
1.4 ลิโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy ) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ "สงครามและสันติภาพ" (War and Peace )
น.ส.ชนาภรณ์ สินเกิดสุข เลขที่ 40 ชั้น ม.6.1
น.ส.ชานิภา เอกทรงเกียรติ เลขที่ 41 ชั้น ม.6.1
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มขึ้นในสังคมตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ นำไปสู่การปฎิวัติทางภูมิปัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาวตะวันตกได้เชื่อมั่นว่าความมีเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นได้ มีการแสดงความคิดเห็น เรียกร้อง สิทธิเสรีภาพ ในการมีส่วนร่วมในการปกครอง และมีการพัมนาสิ่งต่างๆมากมาย ผู้คนมีความรู้ ได้รับการยกย่องในสังคมมากขึ้น และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้าสู่ความเจริญในยุคใหม่ ดังนั้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้รับสมญาว่าเป็น ยุคภูมิธรรม (The Age of Enlightenment )
นักปราชญ์การเมืองแนวประชาธิปไตย
-ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679)
-จอห์น ล็อก (John Locke ค.ศ. 1632-1704)
-บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755)
-วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778)
-ซอง-ชาคส์ รูโซ (Jean-Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778)
ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679) นักปรัชญาชาวอังกฤษ
แนวคิดด้านการเมืองของฮอบส์ ปรากฏในหนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นเอกของฮอบส์
กล่าวไว้ว่า ก่อนหน้าที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเมือง ได้เกิดความวุ่นวาย จึงได้ตกลงกันที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่ปกครอง โดยเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ ทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครองซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับประชาชนต่อไป
แนวคิด
อำนาจของกษัตริย์ไม่ใช่อำนาจของเทวสิทธิ์ หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ แต่ความจริงเป็นอำนาจที่ประชาชนยินยอมมอบให้ ส่วนทางศาสนจักรนั้น ฮอบส์มีความเห็นว่าไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองรัฐ
จอห์น ล็อก John Locke กิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175 เป็นปรัชญาชาวอังกฤษ หนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักประสบการณ์นิยม (Empiricism)
Two Treatises of Government (ค.ศ. 1689) แนวคิดหลักของหนังสือ คือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
แนวคิดทางการเมืองของ ล็อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น
แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส
บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ ( Baron de Montesquieuค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat )
เขียนหนังสือเรื่องวิญญาณแห่งกฎหมาย(The Spirit of Laws ) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษา
แนวคิดหลัก
สรุปได้ว่ากฎหมายที่รัฐบาลแต่ละสังคมบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขทางนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม แต่การปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด ควรแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ และง่ายต่อการตรวจสอบ
แนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก
วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778) มีชื่อจริงว่า ฟรองซัว-มารี อารูเอ (Francois – Marie Arouet ) เป็นนักคิดและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส
วอลแตร์ใช้งานเขียน คัดค้านการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านความงมงายไร้เหตุผล ตลอดจนเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางด้านต่าง ๆ ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English)
เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่หล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ แต่ไม่เคยแสดงความคิดถึงการเมืองที่เขาพอใจ เขาคิดว่าการใช้เหตุผลและสติปัญญาสามารถจะแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง
ซอง-ชาคส์ รูโซ (Jean-Jacques Rousseau
ค.ศ. 1712-1778)
เขาเขียนหนังสือ หลายเล่ม โจมตีฟอนเฟะของสังคม และการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล นอกจากนี้เขายังแสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบการศึกษา ปัญหาความไม่เสมอภาคทางสังคมอันเป็นผลจากสภาวะแวดล้อม เรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และแนวทางการปกครอง และอื่น ๆ
งานเขียนชิ้นเอกของเขาซึ่งเป็นตำราทางการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก คือ สัญญาประชาคม (The Social Contract ) ค.ศ. 1762 ว่าด้วยปรัชญาทางการเมืองด้านการปกครองและพันธสัญญาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและประชาชน งานเขียนเรื่องนี้ทำให้รูโซได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอำนาจอธิปไตยของประชาชน
เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสในหนังสือเล่มนี้รูโซกล่าวถึงสัญญาประชาคมว่า หมายถึงสัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนภายใต้เอกภาพและเจตจำนงเดียวกัน โดยที่แต่ละคนสามารถก่อตั้งรัฐบาลเองได้ และให้อำนาจเหนือรัฐบาลเพื่อรับใช้ประชาชน แต่ถ้าเมื่อใดประชาชนไม่พอใจรัฐบาล ก็อาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้
รูโซชี้ให้เห็นว่าสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสรเสรีและความเสมอภาค อย่างไรก็ตามแม้มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการแนวความคิดของรูโซถือเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
การปฏิวัติอังกฤษ
หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I )สิ้นพระชนม์กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มามักจะมีความขัดแย้งกับรัฐสภาอยู่เสมอ เนื่องจากการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต ใช้เงินแผ่นดินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยและก่อสงคราม ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1642-1649 และรัฐสภาได้จับพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ประหารชีวิต
จากนั้นกษัตริย์อังกฤษถูกลดอำนาจลงเรื่อย ๆ จนถึง ค.ศ. 1688 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II ) ที่ทรงพยายามใช้อำนาจอย่างสูงสุดอีก จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยรัฐสภาอังกฤษได้อันเชิญพระเจ้าวิลเลียม (William ) ขึ้นครองราชย์บัลลังก์โดยพระองค์ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวายซึ่งให้อำนาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution )
นับแต่นั้นมารัฐสภาอังกฤษได้ออกกฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษ ปฏิรูปสังคมและการเมืองของอังกฤษ ก้าวหน้าไปตามลำดับจนถึงปัจจุบันอังกฤษได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองของอังกฤษจึงยึดหลักการขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปกครองกันมา และยึดกฎหมายเป็นหลักรัฐสภา
การปฏิวัติใน ค.ศ. 1688 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแบบเทวสิทธิ์ของอังกฤษสิ้นสุดลง และได้ยุติปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่กระทบกระเทือนอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17
สาเหตุในการปฏิวัติ อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมาก แล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือ จอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่ ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก
ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา จนในที่สุด ทำให้อเมริกาสามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย (วอชิงตัน ดี.ซี. ในปัจจุบัน) เกิดประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอมเริกาคือ จอร์จ วอชิงตัน
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สาเหตุที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นเพราะฝรั่งเศสทำสงครามหลายครั้ง โดยเฉพาะ การเข้าช่วยอาณานิคมรบกับอังกฤษในสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกัน ทำให้มีหนี้สินพ้นตัว ในด้านสังคม ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้น เป็น 3ฐานันดร ฐานันดรที่1,2 ซึ่งมีฐานะดีกลับได้ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทางตรง แต่ฐานันดรที่3มีฐานะยากจนกลับต้องเสียภาษีเต็มที่ เมื่อฝรั่งเศสกำลังจะล้มละลาย จึงได้เรียกเก็บ
เมื่อชาวอเมริกันได้ก่อการปฏิวัติใน ค.ศ. 1776 ทำให้ความหวังของนักคิดของยุคภูมิธรรมบรรลุความเป็นจริง คือ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เป็นต้น
13 ปีต่อมา วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ชาวฝรั่งเศสจึงได้ก่อ การปฎิวัติขึ้นครั้งใหญ่เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองแบบราชาธิปไตยและตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณะรัฐ
นอกจากนี้ในคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่ง เศษที่ประกาศเมือวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1789 ก็นำความคิดหลัก ของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ ย้อนกลับมาใช้ให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้ง
สุรป
แนวความคิดประชาธิปไตยของของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ มีผลในการปลุกสำนึกทางการเมืองของชาวตะวันตกเป็นอันมาก และก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ
ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
1. ศิลปะบารอก ( Baroque )
ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมานคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ลักษณะของศิลปะบารอกจะมีลักษณะเฉพาะ คือ
การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม
( Humanism ) ผลงานที่ปรากฏ มักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน แสดงการเคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงามหรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหรา ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในอิตาลีและกลุ่มประเทศคาทอลิก
1. งานจิตรกรรม นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฏตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับคริสต์ศาสนา มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็นสามมิติ จิตกรสำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ ( Michelaongelo da Caravaggio ค.ศ. 1573 - 1610)
2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการ ประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์ ( Versailles ) ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี มีทั้งเพลงศาสนาและไม่ใช่เพลงศาสนา ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ
นักดนตรีสำคัญและมีชื่อเสียง คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ( Johann Sebastian Bach ) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และคลอดิโอ มอนเตเวอร์ดี ( Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643) ชาวอิตาลี
4. งานด้านวรรณกรรม วรรณกรรมแบบบารอกชอบ เขียนเรื่องที่เกินจริง ซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป
2. ลัทธิคลาสสิกใหม่ ( Neocalssicism )
ลัทธิคลาสสิกใหม่ เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้มีแนวความคิดที่เปลี่ยนไป มีเหตุผล สติปัญญา ความสามารถ มากขึ้น
คำว่า นีโอ-คลาสสิก จึงเป็นคำ ที่มีความหมายตรงตัว คือ นีโอ (Neo ) หมายถึง ใหม่ คลาสสิก (Classic ) หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหว ของศิลปะ ซึ่งมีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน
1.สถาปัตยกรรม มีการฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัยนั้น มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันมีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ การตกแต่งด้านหน้านิยมลวดลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก ( ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น ลายทรงเรขาคณิต ) แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลได้สัดส่วน สถาปนิกที่สำคัญ ได้แก่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )
โธมัส เจฟเฟอร์สัน ( Thomas Jefferson )
2.ประติมากรรมและจิตรกรรม ประติมากรรมคลาสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบประติมากรรมของกรีก-โรมัน ประติมากรรมคนมักใช้ใบหน้าจากแบบจริงผสมผสานกับรูปร่างแบบสมัยคลาสสิก ประติมากรที่สำคัญ ได้แก่ อันโตนีโอ คาโนวา ( Antonio Canova )
ส่วนจิตรกรรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย คล้ายกับผลงานของกรีกโบราณ มีการใช้สีถูกต้องตามแสงเงา ไล่เฉดสีอ่อนแก่เพื่อให้เกิดความกลมกลืน มีสัดส่วนและ ความเด่นชัด บางครั้งแสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ จิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด ( Jacques Louis David ) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ ( Jean Auguste Dominique lngres )
3.นาฏกรรม ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลิน ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก
4.ดนตรี สมัยนี้นิยมเนื้อเรื่องที่แสดงออกด้านความคิดเห็น และในเรื่องของความเสมอภาคตามทัศนะของนักเขียนสมัยภูมิปัญญา นอกจากนี้ความคิดที่เชื่อมั่นในเหตุผล สติปัญญา และความสามารถของมนุษย์ ก็มีบทบาทที่ทำให้การแต่งเพลงมีอิสระมากขึ้น นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงสมัยคลาสสิกได้แก่ วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต(Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ.1756-1791)
วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต ( Wolfgang Amadeus Mozart)
3. ศิลปะจินตนิยม หรือ ศิลปะโรแมนติกซิสม์
( Romanticism )
ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณ์ และความรู้ สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลกใหม่ โดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม
ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ เบโทเฟิน โชแปง วิลเลียม เบลก เป็นต้น
1. สถาปัตยกรรม มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตกรรมแบบกอทิก ( ลักษณะเป็นหลังคาโค้งแหลม รุ่งเรืองมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16)
2. ประติมากรรม ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิดประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว รูเด( Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติ มากรรม นูนสูงมาร์ซายแยส( Marseillaise ) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย( Arch of Triumph ) ในกรุงปารีส
3. จิตรกรรม มีการจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์ ( Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863 ) ผู้เขียนภาพอิสรภาพนำประชาชน ( Liberty leading the people ) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830
4. ดนตรี ดนตรีแนวจินตนิยมไม่ได้แต่งเพื่อฟังเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจด้วย เช่น ความรู้สึกชาตินิยม โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตาม นักแต่งเพลงจินตนิยมที่มีชื่อเสียงได้แก่ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน( Ludwig van Beethoven ค.ศ.1770-1827) ฟรานซ์ ชูเบิร์ต( Franz Schubert ค.ศ.1797-1828) เป็นต้น
5. การละคร นิยมแสดงเรื่องที่ตัวเอกประสบปัญหาอุปสรรค หรือมีข้อขัดแย้งในชีวิตอย่างสาหัส ซึ่งจะดึงอารมณ์ของผู้ชมให้เอาใจช่วยตัวเอก การเขียนบทไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนอย่างละครคลาสสิก ละครแนวจินตนิยมกำเนิดในเยอรมนี บทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เรื่องเฟาสต์ ( Faust ) ของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ ( Johanne Wolfgang von Goethe ค.ศ.1749-1832)
6. วรรณกรรม เน้นจินตนาการ และอารมณ์ และถือว่าควมต้องการของผู้ประพันธ์สำคัญกว่าความต้องการของคนในสังคม บทร้อยกรองประเภทคีตกานต์ ( lyric ) ซึ่งเป็นโคลงสั้นๆแสดงอารมณ์ของกวีได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนี้ กวีคนสำคัญของอังกฤษ คือ วิลเลียม เวิดส์เวิร์ท ( William wordsworth ค.ศ.1770-1850 ) และ แซมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์( Samuel Taylor Colridge ค.ศ.1772-1834)
กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก( Victor Marie Hugo ค.ศ.1802-1885) นอกจากแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยาย นวนิยายที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหยื่ออธรรม ( Les Miserables )
4. ลัทธิสัจนิยม ( Realisticism )
ลัทธิสัจนิยม หมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง” ศิลปินสัจนิยมจะมีทัศนคติที่ ตรงกันข้าม กับลัทธิจินตนิยม ซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ลักษณะเด่นของสัจนิยม คือ การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือน ทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในความเป็นจริง และต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย ส่วนมากจะเป็นรายละเอียดของชีวิตประจำวันทุกด้าน
การให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสังคม เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น ไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวกจินตนิยม นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง
1. ด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ แทนอิฐ ไม้
อาคาร ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดในเนื้อที่จำกัด การออกแบบจึงต้องสอด คล้องกับประโยชน์ใช้สอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความงามทางศิลปะด้วย
2. ประติมากรรม นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวรูปปั้นหยาบ ไม่เรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง (August Rodin ค.ศ.1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The Thinker ) หล่อด้วยสำริด
3. จิตรกรรม มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชยบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ (Gustave Courbet ค.ศ. 1819-1877) ซึ่งยึดหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาแลเห็น เช่น ภาพทุ่งนา ภาพชีวิตกรรมกรในเหมืองถ่านหิน เป็นต้น
4. ดนตรี สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการแต่งเพลงในรูปแบบใหม่ ไม่ยึดถือแบบเก่าที่เคยมีมา ตามแนวคิดที่ว่า ดนตรีจะต้องประกอบด้วยทั้งสีสันและจังหวะ นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ โคลด เดอบูชี ( Claude Debussy ค.ศ. 1882-1971 ) นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เขามีความคิด อย่างเดียวกับจิตรกรฝรั่งเศสพวก อิมเพรสชั่นนิตส์ คือเขาเพียงแต่บ่งแนะถึงความรู้สึกต่างๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ในดนตรีของเขา ไม่สื่อความหมายโดยตรง
และอีกอร์ สตราวีนสกี ( Igor Stravinsky ค.ศ. 1882 - 1971 )
สตราวินสกี้มีอิทธิพลอย่างสูงในด้านของแนวคิดเรื่องจังหวะที่ไม่ปกติที่เรียกว่า "อิเร็กกูลาร์ ริทึม" ( Irregular Rhythm ) และแนวคิดทางด้านการใช้บันไดเสียงหลาย ๆ บันไดพร้อมกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนัลลิตี " ( Polytonality )
5. การละคร พวกสัจนิยมมักสะท้อนภาพสังคมหรือภาพชีวิตในแง่มุมต่างๆ การแสดงสมจริงเป็นธรรมชาติ บทเจรจาใช้ภาษาเหมาะสมแก่สภาพและฐานะของตัวละคร บทละครเขียนเป็นร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน
ผู้บุกเบิกละครแนวใหม่นี้ คือ เฮนริก อิบเซน ( Henrik Ibsen ค.ศ. 1828 – 1906 ) นักแต่งบทละครชาวนอร์เวย์ และผู้แต่งเรื่อง บ้านตุ๊กตา ( A Doll’s House ) จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ( George Bernard Show ค.ศ. 1856 - 1950) นักแต่งบทละครชาวอังกฤษ เรื่องเอกของชอว์ ได้แก่ เรื่อง อามส์แอนด์เดอะแมน (Arms and the Man )
6. วรรณกรรม นักเขียนสัจนิยมสนใจข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก โดยพยายามสะท้อนภาพการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ในสังคม ความเห็นแก่ตัว การแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ความยากจน และชีวิตที่ไร้ความหวัง นักประพันธ์และนักเขียนมักบรรยายสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกรตามชุมชนแออัด ความชั่วร้ายจอมปลอมของชนชั้นกลาง มนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของโชคชะตา ศิลปินในสัจนิยมจะแสดงออกในงานวรรณกรรมมากที่สุด มีดังนี้
1.1 ผลงานของกุสตาฟ โฟล์แบรต์ (Gustave Flaubert ) ชาวฝรั่งเศส แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางที่ไม่มีสาระแก่นสารอันใดใน "มาดามโบวารี" (Madame Bovary )
1.2 ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ (Charles Dickens ) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง "โอลิเวอร์ ทวิสต์" (Oliver Twist ) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นต้น
1.3 ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Burnard Shaw ) นักเขียนแนวสัจนิยมเชิงเสียดสีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอังกฤษ ชอบเขียนเสียดสีสังคม ศาสนา ระบอบประชาธิปไตยและลัทธิทุนนิยม เป็นต้น
1.4 ลิโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy ) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ "สงครามและสันติภาพ" (War and Peace )
น.ส.ชนาภรณ์ สินเกิดสุข เลขที่ 40 ชั้น ม.6.1
น.ส.ชานิภา เอกทรงเกียรติ เลขที่ 41 ชั้น ม.6.1
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น