ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #7 : อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ : ชนชาติเก่าแก่บางกลุ่มในเอเชียไมเนอร์และดินแดนใกล้เคียง

    • อัปเดตล่าสุด 29 ต.ค. 56


            เอเชียไมเนอร์ หมายถึง ดินแดนที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บริเวณที่อยุ๋ระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนปาเลสไตน์ ตุรกี และซีเรีย   นอกจากแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ในดินแดนเมโสโปเตเมียและอียิปต์แล้ว ชานชาติเก่าแก่บางกลุ่มในเอเชียไมเนอร์และดินแดนใกล็เครียงก็มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมตะวันตกเช่นเดียวกัน  ชนชาติที่สำคัญได้แก่
    ฟินิเชียน ฮีบรู และเปอร์เซีย

     ฟินิเชียน
    ชาวฟินิเชียน(Phoenicion) เป็นชนเผ่าเซมิติกเผ่าหนึ่ง มีชื่อดั้งเดิมว่าชาวแคนาไนต์(Canaanite)  พวกนี้อาศัยอยู่ในบริเวณดินแดนกันอาน(Canaan) แถบซีเรีย ปาเลสไตน์   อารยธรรมของพวกแคนาไนต์มีรากฐานมากจากอารยธรรมเมโลโปเตเมียและอียิปต์ ในระหว่า1300-1000 ปีก่อน
    คริสตศักราช ได้ถูกพวกอิสราเอลไลต์(Israelite) และฟิลิสติน(Philistine) เข้ารุกรานจนต้องเสียดินแดงเกือบทั้งหมด  ยกเว้นแต่บริเวณแถบชายฝั่งทะเลแคบๆริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เรียกว่า ฟินิเชีย เท่านั้น   หลังจากนั้นเป็นต้นมาพวกแคนาไนต์ก็มีชื่อเรียกใหม่ว่า ฟินิเชียน
              ชาวฟินิเชียนต้องดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อม
    ติดกับทะเล จึงให้พวกเขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินทะเลและการค้าอย่างมาก  ชาวฟินิเชียนได้สร้างเรือใบขนาดใหญ่ใช้เดินทะเล และสามารถควบคุมการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้นานหลายร้อยปี  ตลอดจนได้สร้างเมืองท่าขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น เมืองไทร์(Tyre) เมือไซดอน(Sidon) เมื่องบีบลอส(Byblos)
          นอกจากนี้ชาวฟินิเชียนยังรับสินค้าอินเดียและเมโสโปเตเมียไปขายยังอียิปต์ เอเชียไมเนอร์ แอฟริกาเหนือ  และชายฝั่งตะวันตกของทวีปยุโรป  และยังเดินทางผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์เข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นพวกแรก   การค้ากับหลายแห่งทำให้อารยธรรมจากที่หนึ่งเผยแพร่ไปสู่อีกที่หนึ่ง   พ่อค้าฟินิเชียนสามารถนำเรือสินค้าไปค้าขายกับเกาะอังกฤษและได้นำเอาอารยธรรมตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปเผยแพร่ทางตะวันตก  จัดตั้งอาณานิคมบนเกาะซิซิลี และชายฝั่งตอนเหนือของแอฟริกา อันได้ก่เมืองคาร์เทจ (Carthage)อีกด้วย
    เมื่อ 750ปีก่อนคริสตศักราช  พวอัสซีเรียนได้เข้ายึดครองดินแดนสำคัญๆของพวกฟินิเชียนได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นแต่เมืองคาร์เทจซึ่งเจริญรุ่งเรืองต่อมา  จนถูกชาวโรมันทำลายเมื่อ 146ปีก่อนคริสตศักราช
        เนื่องจากชาวฟินิเชียนได้เดินทางไปค้าขายในดินแดนต่างๆ จึงรับเอาวัฒนธรรมตัวอักษรจากที่ต่างๆมาปรับปรุงรูปตัวอักษรขึ้นใหม่
     เมื่อประมาณ1000-900ปีก่อนคริสตศักราช พวกฟินีเชียนได้ดัดแปลงอักษรไฮแรติกของอียิปต์ และอักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียน มาเป็นอักษรอัลฟาเบต ซึ่งสะดวกในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ    อักษรอัลฟาเบตของฟินิเชียนเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป และชาติต่างๆได้นำไปดัดแปลงเป็นตัวหนังสือของตน โดเฉพาะในภาษากรีกและละติน   ดังนั้นอักษรของชาวฟินีเชียนจึงเป็นต้นตระกูลตัวอักษรแอลฟาเบตของชาติตะวันตกและตะวันออก 

    ฮีบรู
    พวกฮีบรูหรือยิว เป็นชนเผ่าเซมิติกที่เดินทางร่อนเร่ในทะเลทราย เมื่อประมาณ1400ปีก่อนคริสตศักราช ได้อพยพเข้าไปอยู่ในอียิปต์และถูกจับเป็นทาส  กล่าวกันว่า โมเสส(Moses) ผู้นำคนสำคัญได้ปลดแอกชาวฮีบรูจากการเป็นทาสของอียิปต์ และพาชาวฮีบรูทั้งหมดอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งคำมั่นสัญญา(Promised Land) อันได้แก่ดินแดนปาเลสไตน์ หรือกันอาน(Canaan) ที่เชื่อกันว่าเป็นดินแดนที่พระเจ้าของบรรพบุรุษอับราฮัม หรือพระเยโฮวาห์(Jehovah)ทรงประทานให้
    ต่อมาได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักร มีนครหลวงอยู่ที่เยรุซาเลม และขยายเป็นจักรวรรดิอิสราเอล  แต่ก็ไม่สามารถจะรักษาความเป็นปึกแผ่นไว้ได้นาน ก็เกิดแตกแยกเป็น2ส่วน คือ อาณาจักรอิสราเอลทางตอนเหนือ และยูดาห์ทางใต้  ต่อมาอาณาจักรอิสราเอลทางตอนเหนือได้ถูกทำลายโดยพวกอัสซีเรียน และยูดาห์ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักบาบิโลเนียใหม่ของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์  ประชาชนถูกกวาดต้อนไปอยู่บาบิโลเนียใหม่หรือที่รู้จักกันในชื่อ การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย(The Babylonian Captivity)
    ในเวลาต่อมาพวกฮีบรูก็ตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เชีย กรีก และโรมัน แต่ในคศ.70  พวกฮีบรูเป็นกบฏต่อจักรวรรดิโรมัน  และดินแดนปาเลสไตน์ได้ถูกทหารโรมันเข้าทำลาย ชาวฮีบรูจึงกลายเป็นชนเผ่าเร่ร่อนและไม่มีดินแดนเป็นของตนเอง จนกระทั่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุด ฝ่ายพันธมิตรจึงตกลงจัดตั้งประเทศอิสราเอลของชาวฮีบรูขึ้นเป็นประเทศอิสระ
    มรดกที่สำคัญที่ชาวฮีบรูมอบไว้ให้อารยธรรมตะวันตก คือศาสนา  ศาสนาของชาวฮีบรูเรียกว่าศาสนา ยูดาห์ หรือศาสนายิว (Judalism)  เป็นศาสนาที่เน้นการบูชาพระเจ้าพระองค์เดียวคือ พระเยโฮวาห์  ความผูกพันระหว่างพระเยโฮวาห์และชาวฮีบรูได้ถูกบันทึกไว้ในพันธสัญญาเดิมหรือพระคัมภีร์เก่า  ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนต้องเคารพ


    เปอร์เซีย
    พวกเปอร์เซียเป็นเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน  เดิมอยู่เหนือทะเลดำ อพยพมายังที่ราบสูงอิหร่าน ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก  ประมาณ550ปีก่อนคริสตศักราช พระเจ้าไซรัสมหาราช  สถาปนาจักรวรรดิเปอร์เซียขึ้น และได้ยึดครองอาณาจักรคาลเดียและลิเดียไว้ในอำนาจ
        พระเจ้าแคมบีซีส(Cambyses 529-521ปีก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าไซรัสมหาราช(Cyrus the Great 550-529ปีก่อนคริสตศักราช)ได้ขยายอำนาจไปปกครอง
    ฟินิเชีย เกาะไซปรัส และตีได้อียิปต์

           ในสมัยพระเจ้าดาริอัสมหาราช(Darius the Great 521-486 ปีก่อนคริสตศักราช) จักรวรรดิเปอร์เซียแบ่งการปกครองออกเป็น20มณฑล ผู้ปกครองมณฑลมีอำนาจเหมือนกษัตริย์แต่ขึ้นตรงต่อพระเจ้าดาริอัสมหาราช ซึ่งเฉลิมพระนามของพระองค์ว่า King of Kings   ในสมัยนี้มีการสร้างถนนไปยังเมืองต่างๆในจักรวรรดิ เพื่อเป้นเส้นทางในการส่งพระราชสาส์น ขนส่งสินค้า   ถนนสายสำคัญสร้างจากเมืองอีเฟซัส(Ephesus) ในเอเชียไมเนอร์ไปยังเมืองซูซา(Susa) ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริส ระยะทางประมาณ2500กิโลเมตร 
    อารยธรรมของเปอร์เซียส่วนใหญ่รับมาจากชาติอื่น เช่น รับการเขียนตัวอักษรคูนิฟอร์มจากบาบิโลเนีย  การใช้เหรียญกษาปณ์จากลิเดีย การใช้ปฏิทินแบบสุริยคติและสถาปัตยกรรมการสร้างพระราชวังจากอียิปต์
       ด้านศาสนา พวกเปอร์เซียนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ตอนหลังหันมานับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์(Zoroaster) ซึ่งมีโซโรอัสเตอร์(630-550ปีก่อนคริสตศักราช) ชาวเปอร์เซียเป็นศาสดา
      ศาสนาโซโรอัสเตอร์สอนว่า โลกนี้มีทั้งฝ่ายดีและชั่วที่ต่อสู้เอาชนะกันตลอดเวลา เทพฝ่ายความดีชื่อ อหุระมาซดะ(Ahura Mazda) มีไฟเป็นเครื่องหมาย  มารฝ่ายความชั่วชื่อ
    อังคระไมนยุ(Ahgra Mainyu) มีความมืดเป็นเครื่องหมาย มนุษย์ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายไหน  ปัจจุบันผู้นับถือศาสนานี้อพยพไปอยู่อินเดียทางใต้และเรียกชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า ศาสนาปาร์ซี(Parsi)

    หลังสมัยพระเจ้าดาริอัสมหาราช จักรวรรดิเปอร์เซียค่อยๆลดอำนาจลง ในที่สุดก็ถูกพระเจ้าอล์กซานเดอร์มหาราช(Alexander the Great 356-323ปีก่อนคริสตศักราช)แห่งมาซิโดเนียเข้ายึดครองเมื่อ 331 ปีก่อนคริสตศักราช

    จัดทำโดย
    นางสาวฉันชนก     แซ่ลิ่ม        ม.6.1  เลขที่ 7
    นางสาวนวพร      วัชราดิลกกุล  ม.6.1 เลขที่ 19


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×