คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ
บริเวณลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรติส บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์แม้จะอยู่ท่ามกลางทะเลทรายและภูเขาจึงเป็นปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ชน กลุ่มต่างๆเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และผลัดกันสร้างสรรค์อารยธรรมสืบเนื่องกันต่อมา คำว่า เมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีก หมายถึงดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง คือไทกริส ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาซากรอส ประเทศอิหร่าน และยูเฟรติส ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูเขาบริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนีย และประเทศตุรกี แม่น้ำทั้งสองไหลลงอ่าวเปอร์เซีย
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
ดินแดนเมโสโปเตเมียครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวาง ที่ราบตอนบนสูงกว่าตอนใต้และลาดต่ำลงมา พื้นที่ตอนบนจึงแห้งแล้งและต้องใช้ระบบชลประทานในการทำการเกษตร ส่วนพื้นที่ตอนล่างเป็นที่ราบดินดอนอุดมสมบูรณ์ซึ่งเกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำทั้งสองสายพัดเอามาทับถมกันไว้บริเวณปากแม่น้ำทำให้เกิดพื้นดินงอกตรงปากแม่น้ำทุกปี บริเวณนี้เรียกว่า บาบิโลเนีย ซึ่งติดกับอ่าวเปอร์เซียและเป็นแหล่งกำเนิด
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย แต่อย่างไรก็ตามในฤดูร้อน หิมะบริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียจะละลายทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณที่ราบต่ำ
ดินแดนเมโสโปเตเมียทางเหนือติดกับทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทางตะวันตกเฉียงใต้จดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกจดที่ราบสูงอิหร่าน ส่วนทางตะวันตกจดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์
ลักษณะภูมิอากาศ
ดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีฝนตกน้อยมากเพราะมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย อากาศจึงแห้งแล้ง ความชื้นไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำทั้งสองเป็นหลัก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดินอัน
อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินเหนียวที่นำมาใช้ทำอิฐก่อสร้างบ้านเรือนและศาสนสถาน ส่วนแร่คือ เหล็กและเกลือ แต่มีไม่มากนัก
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวมีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มต่างๆที่อพยพเข้ามาในดินแดนนี้เมื่อประมาณ3500ปีก่อน
คริสต์ศักราช โดยตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ร่วมมือกันปรับปรุงพื้นที่ด้วยการร่วมมือกันควบคุมระบบน้ำ ขยายพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องมีหัวหน้าควบคุมจึงมีการตั้งระบบการปกครอง การควบคุมระบบนี้ได้ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตและขยายตัวเป็นชุมชนเมืองได้ในเวลาต่อมา
ชุมชนที่ผลัดกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมใน ดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แก่ พวกสุเมเรียน ต่อมาเป็นชนเผ่าเซมิติก ได้แก่ พวกแอคคัต อามอไรต์ อัสซีเรียน และพวกคาลเดียน หลังจากนั้นมีพวกฮิตไทต์ ซึ่งมีเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียนเข้ามา
ชาวสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย และสามารถปกครองชนเผ่าต่างๆที่ตั้งรกรากอยู่ดั้งเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้นทำให้วัฒนธรรมชนพื้นเมืองถูกกลืนหายไป วัฒนธรรมของชาวสุเมเรียนจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอารยธรรมในแถบแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส
โดยทั่วไปสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายในดินแดน
เมโสโปเตเมียไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพสักเท่าไร เนื่องจากสภาพอากาศมักแปรปรวนอยู่เสมอ บางครั้งอากาศร้อนจัดติดต่อกันนาน หรืออาจเกิดพายุฝนจนน้ำท่วม
ฉับพลัน ทำให้ชาวสุเมเรียนพยายามหาทางเอาชนธรรมชาติโดยการสร้างทำนบใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ สร้างคลองระบายน้ำ เขื่อน ประตูกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ เพื่อระบายน้ำไปยังบริเวณแห้งแล้งที่อยู่ไกลออกไป ชาสุเมเรียนจึงเป็นพวกแรกที่ทำระบบชลประทานได้
สังคมชาวสุเมเรียนยกย่องเกรงกลัวเทพเจ้า จึงสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ เรียกว่า ซิกกูแรต ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายพีระมิดขั้นบันไดแต่สร้างด้วยอิฐ ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวที่หาได้ง่ายในบริเวณนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่างๆ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองห้อมล้อมด้วยบ้านเรือนและกำแพงเมือง
พวกสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักประดิษฐ์อักษรได้ ราว3500ปีก่อนคริสตศักราช อักษรนี้เรียก อักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์ม ซึ่งมาจากคำว่า cuneus แปลว่าลิ่ม และformisแปลว่ารูป อันหมายถึงตัวอักษรเป็นรูปลิ่ม ชาวสุเมเรียนใช้ไม้สลักบนแผ่นดินเหนียวเปียกๆเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของคำแล้วนำไปตากแห้ง การประดิษฐ์อักษรลิ่มเพื่อใช้ประโยชน์ทางศาสนกิจและการบันทึกของพวกพระเช่นบัญชีการค้า รายรับรายจ่าย บทบัญญัติทางศาสนา อักษรลิ่มนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดใน
การประดิษฐ์อักษรลิ่มนี้นับเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งต่อการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ต่างๆของมนุษย์สามารถเกิดการถ่ายทอดให้รุ่นต่อมาได้ และยังทำให้เกิดการเขียนวรรณกรรมด้วย วรรณกรรมเรื่องสำคัญคือ มหากาพย์กิลกาเมซ(Epic of Gilgamash) เป็นเรื่องราวการผจญภัยของวีรบุรุษที่แสวงหาชีวิตอันเป็นอมตะ ในเรื่องได้กล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลกไว้ด้วย ทำให้นักประวัติศาสตร์เข้าใจว่าการเขียน พันธสัญญาเดิม หรือ พระคัมภีร์เก่า
(Old testament) อันเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลที่กล่าวถึงน้ำท่วมโลก คงได้อิทธิพลมาจากมหากาพย์เรื่องนี้
พวกสุเมเรียนมีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการ ชั่ง ตวง วัด รู้จักการใช้จำนวนที่สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยๆได้มาก เช่นจำนวน 12 24 60 90 ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้อยู่ เช่นการแบ่งวันออกเป็น 24 ชั่วโมง กลางวัน12 ชั่วโมง กลางคืน12 ชั่วโมง การแบ่งมุมรอบจุดเป็น360 องศา มุมฉากเป็น90 องศา แบ่งชั่วโมงออกเป็น 60นาที แบ่งองศาออกเป็น60 ลิปดา นอกจากนี้ยังรู้จักวิธีคูณ หาร ยกกำลัง ถอดรากที่สองและสาม การคำนวณหาพื้นที่วงกลม การกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด และการนับวันเดือนปีแบบจันทรคติ
อาณาจักรบาบิโลเนีย
หลังจากที่พวกสุเมเรียนเสื่อมอำนาจลงเพราะทำสงครามกับชนเผ่าอื่นที่มารุกรานและการแย่งชิงความเป็นใหญ่ในพวกเดียวกันเอง ต่อมาพวกอามอไรต์ได้ตั้งอาราจักรบาบิโลเนียขึ้นมา เมืองหลวงคือเมืองบาบิโลนริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส
อาณาจักรบาบิโลเนียเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์(centralization) มีการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าต่างๆอย่างใกล้ชิด
ผลงานสำคัญของอาณาจักรบาบิโลเนีย ได้แก่ ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรจารึกอยู่บนแผ่นศิลา หลักการของกฎหมายมีรากฐานมาจากของ
พวกสุเมเรียนแต่ได้จัดให้เป็นระบบและให้อำนาจหน้าที่ใน
การลงโทษผู้กระทำผิดแก่ชนชั้นปกครองมากขึ้น ยึดถือหลักตาต่อตาฟันต่อฟัน คือให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน
อย่างไรก็ตามฝ่ายปกครองมีอำนาจได้ไม่นานเพราะพวกพระกลับมามีอิทธิพลเช่นเดิม อาณาจักรบาบิโลเนียจึงเริ่มอ่อนแอและถูกพวกฮิตไทต์ซึ่งอพยพมาเข้าปล้นสะดมเมื่อ1590ปีก่อนคริสตศักราช แต่ต่อมา
พวกอิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัตไซต์ซึ่งมาจากเทือกเขาซากรอสและเข้าครองครอง
กรุงบาบิโลนถึง400ปี
จักรวรรดิอัสซีเรีย
ในศตรววษที่8ก่อนคริสต์ศักราช พวกอัสซีเรียนได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลนและอาณาจักรต่างๆในเอเชียตะวันตก พวกอัสซีเรียนเป็นนักรบ ใช้อาวุธที่ทำจากเหล็ก จักรวรรดิอัสซีเรียนมีศูนย์กลางที่เมืองนิเนเวห์(Nineveh)
พวกอัสซีเรียนเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็นตัวแทนเทวราช ซึ่งมีเกียรติและศักดิ์ศรีสูงกว่ากษัตริย์ของชาวสุเมเรียน ซึ่งความแตกต่างนี้ได้แสดงออกมาทางด้านสถาปัตยกรรม
อาณาจักรคาลเดีย
612ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกคาลเดียน
(Chaldean)ซึ่งเป็นชนเผ่าเซไมต์อยู่ทาง
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติสเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ได้สำเร็จและสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่อีกครั้งหนึ่งรวมทั้งจัดตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ขึ้นมา อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาก
ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์(Nebuchadnezzar 605-562 ปีก่อนคริสต์ศักราช)พวกคาลเดียนยกกองทัพไปตีเมืองเยรูซาเลม และได้กวาดต้องเชลยชาวฮีบรูหรือยิวมายังกรุงบาบิโลนเป็นจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้น มีการสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่ริมฝั่ง
แม่น้ำยูเฟรติส เหนือพระราชวังขึ้นไปมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน(Hanging Garden of Babylon) ซึ่งถือเป็น1 ใน 7สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยโบราณ เพราะสามารถใช้ความรู้ด้านชลประทานทำให้สวนลอยแห่งนี้เขียวขจีได้ตลอดทั้งปี
นอกจากนั้นพวกคาลเดียนในกรุงบาบิโลเนียใหม่ได้ปรับปรุงด้านเกษตรกรรมและเริ่มต้นงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7วัน แบ่งวันเป็น12 คาบ คาบละ120นาที และยังสามารถพยากรณ์สุริยุปราคา ตลอดจนคำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง ชาวคาลเดียนเป็นชนชาติแรกที่เริ่มนำความรู้ด้านดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์
เมื่อ 539 ปีก่อนตริสต์ศักราช อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพของพวกเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช(Cyrus the Great 559-529 ปีก่อนคริสต์ศักราช)เข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเปอร์เซียที่เรืองอำนาจบริเวณเอเชียตะวันตกจึงนับได้ว่าประวัติศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมียในยุคโบราณได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ความคิดเห็น