ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ : หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 56





    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

        ร่องรอยที่มนุษย์ได้กระทำไว้และหลงเหลือในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การสร้างสรรค์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ ความคิด โลกทัศน์ อารมณ์ ความรู้สึก ประเพณีของมนุษย์ในอดีตรวมทั้งสิ่งต่างๆตามธรรมชาติด้วย


    ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    นักประวัติศาสตร์สามารถจำแนกประเภทของหลักฐานได้หลายเกณฑ์ ดังนี้
    จำแนกตามความสำคัญ แบ่งเป็น 2 ประเภท
        

    1) หลักฐานชั้นต้น (Primary source) คือหลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน ที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น








    2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary source) คือหลักฐานที่ผู้บันทึกรับทราบเหตุการณ์มาจากคำบอกเล่าหรือข้อเขียนของผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง

        โดยปกติ นักประวัติศาสตร์จะให้ความสำคัญกับหลักฐานชั้นต้นมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่บางกรณีนักประวัติศาสตร์อาจให้ความสำคัญต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น  งานเขียนประวัติศาสตร์เรื่อง การเสื่อมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The History of Decline and Fall of Roman Empire) ของ Edward Gibbon ค.ศ. 1737-1794







    The History of Decline and Fall of Roman Empire
    •   มุมมองผู้ศึกษาประวัติศาสตร์โรมัน : หลักฐานชั้นรอง
        เนื่องจากตัวกิบบอนไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความพินาศของ จักรวรรดิโรมัน
    •   มุมมองผู้ศึกษาทางประวัติศาสตร์กรอบความคิดและโลกทัศน์ ปัญญาชนอังกฤษ : หลักฐานชั้นต้น
        เนื่องจากวานเขียนเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียมและกรอบความคิดของสังคมอังกฤษสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18
        
    นอกจากนี้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนนำไปใช้เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า การประเมินคุณค่าของหลักฐาน


    จำแนกตามลักษณะ

    1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written source ) คือหลักฐานจำพวกคำจารึกในแผ่นศิลา แผ่นโลหะ ใบลานหรือวัสดุอื่น รวมถึงตัวเขียนตัวพิพม์ในแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่น เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์

    2) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร(Unwritten source )  คือหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลปกรรม คำบอกเล่า ฯลฯ ทั้งของสมัยก่อนประวัติศาสตร์
    และสมัยประวัติศาสตร์






    จำแนกตามยุคสมัย

    1) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ตั้งแต่สมัยที่ชุมชนนั้นยังไม่มีตัวอักษรใช้

    2) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในสมัยที่ชุมชนนั้นรู้จักใช้ตัวอักษรแล้ว หลักฐานประเภทนี้มีทั้งสิ่งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และสิ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร




    แบ่งตามยุคสมัย

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

      
    1) โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง (Peking man) ยุคหินเก่า (500,000 ปีมาแล้ว) พบที่ถ้ำ โจวโข่วเตี้ยน ปักกิ่ง และพบเครื่องมือหิน กระดูกสัตว์ รวมถึง เถ้าถ่านที่แสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้ไฟ





    2)  เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหยางเซา(Yangshao Culture) และวัฒนธรรมหลงชาน(Longshan Culture) ยุคหินใหม่ (5,000 ปีมาแล้ว)

            -   วัฒนธรรมหยางเซา : ลุ่มแม่น้ำหวางเหอ พบ
        เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี ลายธรรมชาติและลายเชือกทาบ
            -   วัฒนธรรมหลงชาน : ลุ่มแม่น้ำหวางเหอทางด้าน    ตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเลียบชายฝั่ง ถึงลุ่มน้ำจางเฉียง พบเครื่องปั้นดินเผาใช้แป้นหมุนและภาชนะ 3 ขา มีความก้าวหน้ากว่าวัฒนธรรมหยางเซา


     

    เครื่องปั่่นดินเผาวัฒนธรรมหยางเชา
     



    เครื่องปั่นดินเผาหลงชาน

     

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์


        
    1) เมืองโบราณโมเฮนโจดาโร และ ฮารัปปา (Mohenjodaro and arappa)
    แหล่งหลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ก่อสร้างโดยชาวดราวิเดียน ช่วง 2,500-1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
    แสดงหลักฐานด้านการปกครองมีการรวมอำนาจ ระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม ระบบชลประทาน สังคม ความเชื่อและศิลปะวัฒนธรรมของชาวดราวิเดียวก่อนชาวอารยันเข้ามา

        - โบราณสถาน : เมืองโบราณ อาคาร ถนน สระอาบน้ำสาธารณะ
        - โบราณวัตถุ : ประติมากรรมหล่อด้วยโลหะ ปั้นด้วยดินเผา สลักหินเป็นรูปเทพเจ้า


    2)คัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน ชาวอารยันอพยพเข้าภาคเหนือของอินเดียเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช (สิ้นสุดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ)เกิดอารยธรรมพระเวท



    คัมภีร์พระเวท เป็นหลักฐานทางศาสนาที่สำคัญที่สุด โดยคัมภีร์พระเวทประกอบ ไปด้วยคัมภีร์ฤคเวท สามเวท และยชุรเวท และอาถรรพเวท จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยใช้วิธีเล่าสืบต่อกันมา และเนื้อหาของคัมภีร์พระเวท แม้ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา แต่ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองและสังคมวัฒนธรรมในช่วงเวลานี้ด้วย
        
    ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น กรอบความคิดทางการเมืองเรื่องสมติเทพ ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติและปรัชญาของชาวอารยัน




    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยก่อนประวัติศาสตร์

      
     1)   โครงกระดูกมนุษย์
        -   โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์ (Steinheim man)      อายุ 350,000 ปีมาแล้ว พบที่เมืองสตุตการ์ต เยอรมนี
        -   โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอร์ทอล (Neanderthal man)     อายุ 200,000-28,000 ปีมาแล้ว พบที่ หุบเขานีแอนเดอร์ เมืองดึสเซนดอร์ฟเยอรมนี
        -   โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon)     อายุ 40,000 ปีมาแล้ว พบที่เพิงหินโครมันยอง หมู่บ้านเลเซซี ฝรั่งเศส

       โครงกระดูกมนุษย์ทำให้เห็นวิวัฒนาการและบ่งบอกการดำเนินชีวิตของมนุษย์สมัยนั้น




    2)   ศิลปะถ้ำ
        -   ภาพเขียนสีวัวป่า พบที่ถ้ำอัลตามีรา สเปน
        -   ภาพเขียนสีฝูงม้าและวัวกำลังกระโดด พบที่ถ้ำลาสโก ฝรั่งเศส
        -   ภาพม้า วัวป่า สิงโต และแรด พบที่ถ้ำโชเว ฝรั่งเศส
    ศิลปะถ้ำ ทำให้รู้ว่ามนุษย์ล่าสัตว์อะไร ในบริเวณนั้นมีสัตว์อะไร




    3)    สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)    อายุ 3,000 ปี พบที่ที่ราบซอลส์เบอรี่     อังกฤษ แสดงถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมของมนุษย์ยุคหินใหม่





    หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (1,570 ปีก่อนค.ศ.-ราชวงศ์ชาง ถึง ค.ศ. 220)

      
     1)  หลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยราชวงศ์ชาง (1,570-1,045 ปีก่อนค.ศ.)

             -  อักษรภาพจารึกตามกระดองเต่า กระดูกสัตว์ โดยกษัตริย์หรือนักบวชเพื่อเสี่ยงทาย ให้ข้อมูลในด้านความเชื่อในธรรมชาติและโชคลางของชาวจีนสมัยนั้น
     
     

















     
    2)  สื่อจี้ (Shih-chi) คือบันทึกประวัติศาสตร์ โดยซือหม่าเซียน นักโหราศาสตร์ประจำราชสำนักสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้บันทึกสภาพการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในระยะเวลา 3,000 ปีตั้งแต่บรรพกาลจนถึง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
    โดยแบ่งเป็น เปิ่นจี้ เปี่ยว ซู สื้อเจียและเลี่ยจ้วน 5 ภาค “สื่อจี้”ได้อาศัยชีวประวัติของจักรพรรดิและบุคคลสำคัญอื่นๆในประวัติศาสตร์เป็นโครงสร้างการประพันธ์

    -“เปิ่นจี้” เป็นการบันทึกสภาพความเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมทรุดของจักรพรรดิองค์ต่างๆและเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์

    -“เปี่ยว” เป็นตารางที่แสดง เหตุการณ์สำคัญต่างๆของแต่ละยุคสมัยตามลำดับเวลา


    -  “ซู” คือบทความเกี่ยวกับด้านต่างๆเช่น ดาราศาสตร์ ปฎิทิน การชลประทาน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเป็นต้น

    -   “สื้อเจีย” ได้บรรยายประวัติ เรื่องราวและกิจกรรมของบรรดา เจ้าผู้ครองนครรัฐ ส่วน

     -  ”เลี่ยจ้วน” เป็นชีวประวัติของบุคคลที่มีอิทธิพล ของชนชั้นต่างๆในแต่ละยุคสมัย

        สื่อจี้ ได้เล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องตามความจริง เขียนเป็นระบบชัดเจน ใช้ภาษารวบรัดและสละสลวย เข้าใจง่าย สไตล์การบันทึกมีความหนักแน่นและสนุกสนาน ถือว่าเป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสำเร็จสูงสุดของจีน



    3)สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี
    เป็นผู้รวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นและเป็นผู้ตั้งราชวงศ์ฉิน รวมทั้งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
        -  ภายในสุสาน ขุดค้นพบ หุ่นทหารดินเผามากกว่า 6,000 ตัว รูปปั้นม้าศึก รถศึก โดยหุ่นแต่ละตัวมีหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกัน เครื่องแต่งกายเหมือนจริง แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในโลกหลังความตายว่าทหารเหล่านี้จะติดตามไปรับใช้ในภายภาคหน้า อีกทั้งโบราณวัตถุที่ค้นพบยังสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคมการปกครอง และความเชื่อ วัฒนธรรมในสมัยนั้นอีกด้ว









    หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ (900 ปีก่อนค.ศ. ถึง ค.ศ. 535-ราชวงศ์คุปตะ)

        
    1) ตำราอรรถศาสตร์ โดยพราหมณ์กาฏิลยะ เมื่อ 400 ปีก่อนค.ศ. สะท้อนการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม

       
    2) คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ โดยพราหมณ์มนู เมื่อ 200 ปีก่อนค.ศ. แบ่งออกเป็น 12 เล่ม  เล่ม 1 ปรัชญา เล่ม 2 ที่มาของกฎหมาย  เล่ม 3-5 หน้าที่ของคฤหัสถ์ เล่ม 6 หน้าที่ของวานปรัสถ์และสันยาสี  เล่ม 7 หน้าที่ของราชา เล่ม 8 กฎหมายแพ่งและอาญา  เล่ม 9-10 วรรณะต่างๆเล่ม 11 การให้ทาน เล่ม 12 ทางไปสู่โมกษะ คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์เป็นคัมภีร์ที่พราหมณ์ ใช้อ้างอิง จึงมีอิทธิพลต่อศาสนา พราหมณ์-ฮินดูมาก


    3) ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (274-236 ปีก่อนค.ศ.)
    ให้บันทึกเรื่องราวของพระองค์ โดยจารึกไว้ตามผนังถ้ำ  ศิลาจารึกหลักเล็กๆจารึกบนเสาหินขนาดใหญ่ที่มีลักษณะทางศิลปกรรมที่งดงาม ตัวอย่างเสาหินที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และมีชื่อเสียงมาก คือ เสาหินที่มีหัวเสาเป็นรูปสิงห์หันหลังชนกัน ตั้งอยู่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี รัฐอุตตระประเทศ หัวเสารูปสิงห์นี้รัฐบาลอินเดียใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศอินเดียมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ




     
    Duck- ร้านค้าแจกธีมบทความ Fly
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×