ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #28 : เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21 : ความขัดแย้งทางศาสนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.55K
      3
      3 พ.ย. 56

    ความขัดแย้งทางศาสนา

    ความขัดแย้งทางศาสนา มาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความเชื่อศรัทธาในคำสอนของศาสนาแตกต่างกัน ความมีทิฐิมานะ ถือตัวว่าความคิดของตัวเองดีกว่าคนอื่น ความมีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ ขาดการประสานงานที่ดี ขาดการควบคุมภายในอย่างมีระบบ สังคมโลกขยายตัวเร็วเกินไป และการมีค่านิยมในสิ่งต่างๆ ผิดแผกกัน ความคิดแตกต่างกัน

    เหตุการณ์ความขัดแย้งทางศาสนา

    •สงครามอินเดีย-ปากีสถาน

    เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมจนแยกประเทศอินเดียกับประเทศ ปากีสถานใน ค.ศ.1947 ซึ่งเดิมปากีสถานรวมเป็นดินแดนเดียวกับอินเดียและอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษ และก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราช ชาวมุสลิมในอินเดียก็ร่วมกันเรียกร้องที่จะแยกประเทศเนื่องจากความแตกต่าง ระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม เช่น ความแตกต่างทางศาสนาที่ชาวมุสลิมนับถือพระเจ้าองค์เดียว ส่วนชาวฮินดูนับถือพระเจ้าหลายองค์ ความแตกต่างทางสังคมที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่สังคมชาวฮินดูมีระบบวรรณะ จากเหตุผลดังกล่าวปัญหาระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดูก็เพิ่มมากขึ้นจนถึงขั้น ปะทะกันอย่างรุนแรง ในที่สุดอังกฤษจึงให้เอกราชกับอินเดียและปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 แต่ภายหลังจากมีการจัดตั้งเป็นประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานก็ไม่ราบรื่นนัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพรมแดน ปัญหาแคว้นแคชเมียร์ และการแข่งขันการสะสมและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดูในอินเดียก็ยังคงดำเนิน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

     

    •ปัญหาโรฮิงยาของพม่า

    เป็น ปัญหาระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงยาและชาวอารกัน หรือชาวยะไข่ ซึ่งนับถือศาสนาพุธ ปัญหานี้ได้เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 และนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนปี พ.ศ. 2548 เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ชาวโรฮิงยาได้อพยพเข้าประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จนประทั่งวันที่ 10 มิ.ย. 2555 เกิดเหตุขึ้นในเมืองมงดอว์ รัฐอารกัน มีผู้เสียชีวิต คน และบาดเจ็บสาหัสอีก 17 คน อาคารบ้านเรือนถูกทำลายและได้รับความเสียหายรวมกว่า 500 หลัง

     

    •ปัญหาศาสนาพุธในประเทศอัฟกานิสถาน

    อัฟกานิสถาน ได้ใช้อาวุธนานาชนิดทำลายพระพุทธรูปที่หน้าผาบามิยัน ซึ่งมีอายุมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7หรือหลังพุทธกาล 600 ปี เปรียบเสมือนหัวใจพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ที่อยู่ในอัฟกานิสถาน เมินเสียงคัดค้านจากประเทศต่างๆ ซึ่งยื่นอุทธรณ์ขอให้อัฟกานิสถาน ระงับการเคลื่อนไหวเหยียบย่ำจิตใจชาวพุทธ โดยให้เหตุว่าสิ่งที่อัฟกานิสถานทำลาย เป็นมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรม

     

    •สงครามครูเสด

    หลัง จากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิม ด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ อีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนัก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออ โธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
         สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน ฝั่งคริสเตียนได้รับชัยชนะในครั้งที่ และพ่ายแพ้ในครั้งที่ 2-5 แต่เมื่อถึงครั้งที่ 6  พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2 (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้ อีกครั้ง จนกระทั่งมาถึงครั้งที่ 7 นั้นสงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1270 และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×