ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #26 : เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21 : เหตุการณ์11กันยายน2011

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.44K
      6
      13 พ.ย. 56

    เหตุการณ์ 11 กันยา
     
    เหตุการณ์ ก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 เป็นเหตุการณ์การทำลายล้างที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ในโลก
     
    1.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
     
    เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและ กำลังใจของชาวอเมริกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเอง

    เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์1 (World Trade center I)ในมหานครนิวยอร์ก ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่177 ได้พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์2 (World Trade center II) ที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหวเวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush ค.ศ. 2001-2009 ) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศแถลงการณ์ว่าการระเบิดตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์เป็นปฏิบัติการของผู้ ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้
     
     

    ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้นำสหรัฐฯ ลงมาบัญชาการการกู้ภัยด้วยตนเอง ภายหลังเกิดเหตุได้ 3 วัน
     
     
    เจ้าหน้าที่ตำรวจท่าทางอ่อนแรงเนื้อตัวมอมแมมกำลังเดินอยู่ท่ามกลางเศษซากวัสดุต่างๆ
    ที่กระจายลงมาปกคลุมทั่วบริเวณใกล้กับตึกแฝดทั้งสอง
     


    เวลา 9.40 น. ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวงกลาโหม อาคารระเบิดและเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่73 ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองแซนแฟรนซิสโก ซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสลัดอากาศจี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้พุ่งเป้าไปที่โอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al-Qaeda) และสรุปว่าเป็นผู้บงการในเหตุการณ์ดังกล่าว
    จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม รายชื่อบุคคลทั้ง19คนที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บิน ลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมทั้งหมด


     
    สรุปเหตุการณ์
     
        เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001สมาชิกกลุ่มผู้ก่อการร้าย อัลกออิดะห์ ภายใต้การนำของอุซามะ บิน ลาดิน จำนวน 19 คนได้จี้เครื่องบินของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ 4 ลำ โดยหมายจะใช้เป็นอาวุธโจมตีสถานที่สำคัญ อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวอเมริกัน 4 แห่ง
            เครื่องบิน 2 ลำแรกมุ่งโจมตีสู่ตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งทุนนิยม ที่ตั้งอยู่บนเกาะแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์กขณะที่ลำที่ 3 มุ่งหน้าไปโจมตีเพนทากอน หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ส่วนลำสุดท้ายซึ่งคาดว่ามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ทำเนียบขาวนั้นมีอันต้องประสบ อุบัติเหตุตกลงเสียก่อนที่บริเวณท้องทุ่งในรัฐเพนซิลเวเนีย
        เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้แก่สหรัฐฯ อย่างมหาศาลเท่านั้น หากแต่ยังความเสียหน้าให้แก่รัฐบาลอเมริกันที่วางตัวเป็นมหาอำนาจของโลกแบบ ยับเยินทีเดียว โดยยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุวินาศกรรมครั้งประวัติศาสตร์นี้มี ทั้งสิ้น 2,973 คน ในบรรดานี้เป็นผู้เสียชีวิตในมหานครนิวยอร์กจำนวน 2,749 คน นอกจากนี้ เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำพาชาวตะวันตกเข้าสู่วังวนของการก่อการร้ายรูป แบบใหม่ ซึ่งมีชีวิตของผู้ก่อเหตุเป็นเดิมพันด้วย
     
    2.สาเหตุของเหตุการณ์
     
    นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์11 ก.ย. 2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับ หนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน
    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทาง เศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในฐานะชาติมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรก แซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ใน ค.ศ.1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุน รัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา
    ผลของการดำเนิน นโยบายของสหรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ ซึ่งเห็นว่าสหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามี อำนาจในประเทศต่างๆในแถบนี้
            การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของ สหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมัน การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้ง ไม่ถ้วนของชาติต่างๆหลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของ สหรัฐอเมริกาเอง
        ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนอาคารเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนการก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและ เป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยม
             เหตุปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จะเห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของ ความขัดแย้งและการต่อสู้


     
    3.ผลกระทบของเหตุการณ์
     
       • ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา
     
        1.)ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก จากการประเมินของสภากาชาดอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
        2.)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น
        3.)ขวัญกำลังใจของประชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยม ขึ้นมาแทน เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกซื้อจนหมด หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ
        4.)เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลักแทนที่สิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีกระทำการใดๆก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้อง กับการก่อการร้าย การกำจัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือการคุกคามสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับ ความมั่นคงของชาติ
        5.)รัฐบาลสหรัฐอเมริกานำเหตุการณ์นี้ไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการตอบ โต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ.2001 หรือ การรุกรานและยึดคลองอิรักในเวลาต่อมา
     
      • ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก
     
        หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุชประกาศให้ทุกประเทศทั่วโลกตัดสินใจว่าจะอยู่ข้างสหรัฐ อเมริกาหรืออยู่ข้างฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัด ระวังเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการ ร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่เข้าข้าง สหรัฐอเมริกา สงครามในคริสต์ศตวรรษที่21 จึงเกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรัก โดยอ้างถึงความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาล ชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลิบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับอเมริกา ซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของอเมริกาด้วย ขณะเดียวกันกลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถาบันบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า300 คน
            การก่อวินาศกรรมจึงส่งผลกระทบให้สังคมโลกต้องประสบกับบรรยากาศความตึง เครียดจากสงครามและความหวาดกลัวที่มีต่อการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้น


    การก่อการร้าย
    การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งกลุ่มคนหรือขบวนการก่อการร้ายต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองบางอย่าง โดยทั่วไปมักใช้ความรุนแรง เพื่อเรียกร้องความสนใจและปฏิกิริยาตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น รัฐบาล โดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การก่อการร้ายนี้อาจจำกัดขอบเขตหรือขายไปนอกเขตแดนประเทศก็ได้
    เหตุการณ์การก่อการร้ายที่สำคัญ (คริสต์ศตวรรษที่ 21)
    การวางระเบิดบนเกาะบาหลี
        เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่สถานบันเทิง 2 แห่ง บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยกลุ่มคนที่มีชื่อว่า กลุ่มเจไอ (JI)  ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดความเศร้าสะเทือนไปทั่วโลก
    เหตุการณ์ระเบิด 14 ลูกที่มาดริด
        เหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่า 11-M เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2004 เมื่อรถไฟสายชานเมืองเข้าเทียบสถานี Atocha สถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมาดริด เกิดระเบิดตามกันมา 14 ลูก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 คนและบาดเจ็บอีกประมาณ 1500 คน นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสเปน
    เหตุการณ์ระเบิดรถไฟที่กรุงลอนดอน
            เหตุเกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 รถไฟใต้ดิน     3 ขบวน และรถโดยสารประจำทาง 1 คัน ถูกวางระเบิด ทำให้มี    ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56 คน และบาดเจ็บมากกว่า 700 คน     เหตุการณ์ในครั้งนี้สร้างความไม่พอใจของคนอังกฤษต่อชาวมุสลิม    เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการทำลายมัสยิด อีกทั้งคนมุสลิมยังถูกจับ    ตามองเป็นพิเศษจากตำรวจและหน่วยสืบราชการลับ
    เหตุโจมตีในศรีลังกา
        เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2007 กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬอีแลมหรือแอลทีทีอี (Liberation Tigers of Tamil Eilam-LTTE) ในศรีลังกา ก่อเหตุรุนแรงโดยส่งนักบินไปโจมตีฐานทัพอากาศของรัฐบาล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติในกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา ทำให้ทหาร 3 นายเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บ 16 คน ต่อมามีผู้ก่อการร้ายได้ขับรถบรรทุกขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยระเบิดไปยังค่ายทหาร ก่อนที่จะจุดชนวนบริเวณด้านหน้าค่ายทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน
    การก่อการร้ายของกลุ่มแอลทีทีอีมีมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬ รัฐบาลศรีลังกาและกลุ่มแอลทีทีอีได้ลงนามยุติหยุดยิงเมื่อ ค.ศ. 2002 โดยมีประเทศนอร์เวย์เป็นผู้ไกล่เกลี่ย แต่ผลของการเจรจาไม่มีความกาวหน้ามากนัก วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2008 รัฐบาลศรีลังกาประกาศยกเลิกข้อตกลงหยุดยิง ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น เช่น กลุ่มแอลทีทีอีลอบสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ก่อเหตุวางระเบิดสถานีรถไฟ สวนสัตว์ รถประจำทาง และห้างสรรพสินค้าในกรุงโคลัมโบ เป็นต้น
    ความขัดแย้งทางศาสนา
    ความขัดแย้งทางศาสนา มาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความเชื่อศรัทธาในคำสอนของศาสนาแตกต่างกัน ความมีทิฐิมานะ ถือตัวว่าความคิดของตัวเองดีกว่าคนอื่น ความมีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ ขาดการประสานงานที่ดี ขาดการควบคุมภายในอย่างมีระบบ สังคมโลกขยายตัวเร็วเกินไป และการมีค่านิยมในสิ่งต่างๆ ผิดแผกกัน ความคิดแตกต่างกัน
    เหตุการณ์ความขัดแย้งทางศาสนา
     สงครามอินเดีย-ปากีสถาน เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมจนแยกประเทศอินเดียกับประเทศปากีสถานใน ค.ศ.1947 ซึ่งเดิมปากีสถานรวมเป็นดินแดนเดียวกับอินเดียและอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษ และก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราช ชาวมุสลิมในอินเดียก็ร่วมกันเรียกร้องที่จะแยกประเทศเนื่องจากความแตกต่างระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม เช่น ความแตกต่างทางศาสนาที่ชาวมุสลิมนับถือพระเจ้าองค์เดียว ส่วนชาวฮินดูนับถือพระเจ้าหลายองค์ ความแตกต่างทางสังคมที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่สังคมชาวฮินดูมีระบบวรรณะ
    จากเหตุผลดังกล่าวปัญหาระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดูก็เพิ่มมากขึ้นจนถึงขั้นปะทะกันอย่างรุนแรง ในที่สุดอังกฤษจึงให้เอกราชกับอินเดียและปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 แต่ภายหลังจากมีการจัดตั้งเป็นประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานก็ไม่ราบรื่นนัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพรมแดน ปัญหาแคว้นแคชเมียร์ และการแข่งขันการสะสมและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดูในอินเดียก็ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    ปัญหาโรฮิงยาของพม่า เป็นปัญหาระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงยาและชาวอารกัน หรือชาวยะไข่ ซึ่งนับถือศาสนาพุธ ปัญหานี้ได้เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 และนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนปี พ.ศ. 2548 เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ชาวโรฮิงยาได้อพยพเข้าประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จนประทั่งวันที่ 10 มิ.ย. 2555 เกิดเหตุขึ้นในเมืองมงดอว์ รัฐอารกัน มีผู้เสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บสาหัสอีก 17 คน อาคารบ้านเรือนถูกทำลายและได้รับความเสียหายรวมกว่า 500 หลัง
        ปัญหาศาสนาพุธในประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถานได้ใช้อาวุธนานาชนิดทำลายพระพุทธรูปที่หน้าผาบามิยัน ซึ่งมีอายุมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7หรือหลังพุทธกาล 600 ปี เปรียบเสมือนหัวใจพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ที่อยู่ในอัฟกานิสถาน เมินเสียงคัดค้านจากประเทศต่างๆ ซึ่งยื่นอุทธรณ์ขอให้อัฟกานิสถาน ระงับการเคลื่อนไหวเหยียบย่ำจิตใจชาวพุทธ โดยให้เหตุว่าสิ่งที่อัฟกานิสถานทำลาย เป็นมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรม
    สงครามครูเสด หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์
    อีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนัก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
    สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 7 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน ฝั่งคริสเตียนได้รับชัยชนะในครั้งที่ 1 และพ่ายแพ้ในครั้งที่ 2-5 แต่เมื่อถึงครั้งที่ 6  พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2 (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีกครั้ง จนกระทั่งมาถึงครั้งที่ 7 นั้นสงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1270 และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้
    นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างเหตุการณ์ความขัดแย้งทางศาสนาอื่นๆ เช่น ในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่19 ชาวอาหรับได้ถือเอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลนับถือศาสนายูดาห์ ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เปิดปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้น นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาวเปอร์เซียที่นับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×