ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    World War I+II ,UN & องค์กรสันนิบาตชาติ

    ลำดับตอนที่ #4 : องค์การสันนิบาตชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 12 ม.ค. 55


    องค์การสันนิบาตชาติ

     

        


    ประวัติการก่อตั้ง

    เมื่อเดือนมกราคม ค.. 1919 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอหลักการ 14 ข้อ (Wilson’s Fourteen Points) พื่อ ใช้เป็นหลักในการเจรจาทำสนธิสัญญา สันติภาพต่อผู้นำของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกั มิให้เกิด สงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็น องค์กรกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษาสันติภาพอันถาวรไว้

    สมาชิกภาพ

    -         ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามใน สนธิสัญญาสันติภาพและเป็นสมาชิกของ องค์การสันนิบาตชาติ โดยอัตโนมัติ

    -         ประเทศ ที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิ สัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนประเทศอื่น จะเข้าเป็นสมาชิกด้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงสองในสามของประเทศสมาชิก ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็น สมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน

    วัตถุประสงค์

    จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติ คือ การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต ประเทศสมาชิกต่างให้สัตยาบันที่จะเคารพเอกราช และบูรณภาพแห่ง อาณาเขตของประเทศต่าง ๆและในกรณีที่ประเทศสมาชิกใดถูกรุกรานทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือกำลังทหารต้อง เป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกอื่นในการร่วมมือกันต่อต้านผู้รุกราน

    องค์การสันนิบาตชาติมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้

    1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ

    2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ

    3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์

    4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต

     

    การดำเนินงาน

    สมัชชา คือ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด มีวาระการ ประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสันติภาพ   ของโลกคณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น

    สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมีหน้าที่เป็นสำนักงาน จัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัยและประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ

    คณะกรรมาธิการ มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่องค์การอนามัยระหว่างประเทศ สำนักแรงงานสากลคณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทำ หน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่าง ๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน

     

    ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ

    องค์การ สันนิบาตชาติจะได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จในช่วงต้น ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสังคมโลก แต่ต่อมาปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                    1. การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้กฎข้อบังคับขององค์การสันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศสมาชิก
    ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่

                    2.
    ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความ
    ก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครอง
    เหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี
    เยอรมันนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศการที่ประเทศต่างๆไม่ได้ให้
    ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำ
    สันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำให้การดำเนินงานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×