คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "สงครามครั้งยิ่งใหญ่" (Great War) หรือ "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล" (War to End All Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 - ค.ศ. 1918 โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดของโลกเข้าร่วมสงคราม แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี และอิตาลี) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง(ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย)
สาเหตุ
เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482(ค.ศ. 1939)
บิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้สหราชอาณาจักรด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือ เพื่อใช้ในการขยายดินแดนและอิทธิพลในซีกโลกตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้งกลุ่มไตรภาคี(Triple Entente) ในปี ค.ศ. 1907
วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กัฟรีโล ปรินซีป นักเรียนชาวเซิร์บบอสเนีย ได้ลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่เมืองซาราเยโว ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มบอสเนียหนุ่ม โดยมีเป้าหมายที่จะรวมชาวยูโกสลาฟ หรือสลาฟใต้เข้าไว้ด้วยกัน และประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เหตุการณ์การลอบสังหารนี้ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ลุกลามต่อมาจนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ กล่าวคือ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต้องการให้เซอร์เบียลงโทษผู้กระทำผิดแต่เซอร์เบียปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ทำให้มหาอำนาจยุโรปจำนวนมากต้องเข้าสู่สงครามภายในหนึ่งสัปดาห์เนื่องจากข้อตกลงการป้องกันร่วมกัน และการเข้าแทรกแซงสงครามของประเทศพันธมิตรของตน
ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน
ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม
วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ออสเตรียขอทำสัญญาสงบศึก
วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เยอรมนีลงนามในสัญญาสงบศึก สงครามโลก ครั้งที่ 1 จึงได้ยุติลงและได้ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย (ค.ศ. 1919) ณ พระราชวังแวร์ซายเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 ไทยตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ไทยจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบประมาณ 1,200 คน ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ 400 คน รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คน
ทหาร อาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล เปแตง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม
ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
1. เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ
2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์
3. เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ
4.แก้สนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ ที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่
5. ได้ยึดทรัพย์จากเชลย
6. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์ เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
7. สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงครามเป็นต้น
8. มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก
ความคิดเห็น