ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อีกมุมนึงของแพทย์ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

    ลำดับตอนที่ #1 : 36 ชั่วโมง ชีวิตแพทย์ใช้ทุน (ของคุณ ผมอยากที่จะเชื่อ จากเว็บ Pantip)

    • อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 55


    ต้องย้ำก่อนว่าที่เขียนนี่เขียนมานานมากแล้ว แต่ขอเอามาโพสที่นี่
    หลายอย่างคงเปลี่ยนไปเยอะแล้ว บางอย่างคงดีขึ้น แต่บางอย่างก็ยังเหมือนเดิม (หรือแย่กว่าเดิม) ความรู้สึกก็เป็นเพียงความรู้สึกในช่วงเวลานั้นไม่ใช่ในปัจจุบัน

    *** ชื่อคน ชื่อรพ. ชื่อต่าง ๆ เป็นนามสมมติหมด ตามมารยาท ***


    6:30 น. ผมตื่นมาอย่างงัวเงีย แต่มองนาฬิกาแล้วก็ต้องรีบลุก
    เพราะอีกครึ่งชั่วโมงผมก็ต้องไปทำงานแล้ว อากาศเย็นสบายออกหนาว ๆ สมกับเป็นจังหวัดในภาคเหนือในหน้าหนาว
    ช่างต่างจากกรุงเทพที่เรียนมาหลายปีที่มีแต่ร้อนกับร้อนโคตร

    ผมเป็นคนต่างจังหวัด แต่จบหมอจากกรุงเทพ ... ภูมิใจ .... ที่เรียนจบ ....
    ภูมิใจที่ได้เป็นหมอสมดังที่ตั้งใจเลือกเรียนเอง .... ตั้งใจที่จะเลือกมาใช้ทุนต่างจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิด
    .... อยากทำงาน ....อยากช่วยคน .....อยากรู้ว่าหมอต่างจังหวัดเป็นยังไง....


    7:00 น.
    ผมไปถึงวอร์ดอายุรกรรม ที่ผมเป็นคนดูแลอยู่อย่างรวดเร็ว
    ตาม ประสาแพทย์ที่มักอาบน้ำแต่งตัว กินข้าวเสร็จได้ภายในเวลาไม่เกิน 20 นาที ซึ่งเพื่อนผมแซวว่าพวกแกมัน “วิ่งผ่านน้ำ” มากกว่า “อาบน้ำ”

    โรงพยาบาลที่ผมอยู่เป็นโรงพยาบาลจังหวัดระดับที่ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลศูนย์
    วอร์ดที่ผมดูแลอยู่ชั้นที่ 8 ฝั่ง A
    หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า 8A จริง ๆ
    แล้ววอร์ดผมมีขนาด 30
    เตียง แต่ตอนนี้กลายมาเป็น 52 เตียง ชนิดที่อีกยี่สิบกว่าเตียงคือเอาเตียงผ้าใบแบบชายหาดมาปูนอนกัน
    จนแทบไม่มีทางจะเดิน เตียงฝ้าใบล้นออกไปนอกห้องกินพื้นที่ไปจนถึงระเบียงห้องหน้าลิฟต์
    มองแล้วก็จนใจ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง ไม่รู้จะส่งคนไข้ต่อไปนอนที่ไหน
    ก็นี่มันโรงพยาบาลจังหวัดแล้วนี่นา .....

    ผมเริ่มราวด์คนไข้ในวอร์ด
    (ราวด์คนไข้
    แปลว่าดู ตรวจคนไข้) ไปเรื่อย ๆ แต่รวดเร็ว พร้อมกับน้องแพทย์ฝึกหัด
    (นักศึกษาแพทย์ปี 6)
    อีก 2 คน คือหว้าและโบว์
    ที่อยู่ฝึกกับผม

    ผมเดินไปแต่ละเตียง ถามว่าเป็นไงบ้าง
    ทักทายนิดหน่อย ก็เดินผ่านไปยังเตียงถัดไป ... หลายเตียงญาติ ๆ ตัดพ้อ ... “ทำไมหมอคุยสั้นจัง”
    .... “อะไรพูดแป๊บเดียวก็ไปแล้ว” ..... และอีกหลาย ๆ คำที่ได้ยินบ้าง
    ไม่ได้ยินบ้าง .... เข้าใจ ...เป็นใครมานอนโรงพยาบาล ... หมอมาคุยวันละไม่กี่นาทีก็ไป
    ย่อม รู้สึกไม่ดี .... แต่ลำพังแค่คุยกับคนไข้เตียงละ 5 นาที คูณ 52 เตียงก็ปาไป 260 นาที หรือก็คือ 4 ชั่วโมงกว่าแล้ว ..... หากคุยเตียงละ 10 นาที ก็จะกลายเป็นเวลา 9 ชั่วโมง ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้ .... ในเมื่อยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ
    ... ได้แต่คิดว่าหากว่างจะหาเวลามาดูเพิ่มล่ะกัน


    11 : 00 น. ผมเดินมาถึงเตียงน้องอ้อ ... น้องอ้อเด็กสาวหน้าตาดีคนหนึ่ง
    เธอมานอนโรงพยาบาลเพราะกินยาฆ่าหญ้ามาเมื่อสองวันก่อน เพราะทะเลาะกับแฟนหนุ่ม ... จนอยากตาย
    ....เธอเป็นเด็กนักเรียนชั้นม. 5 ในจังหวัดนี่เอง ผมเดินไปถามอาการ .... เธอบอก “สบายดีค่ะ”
    เหนื่อยนิดหน่อย ... มึน ๆ นิดหน่อย .... เธอตอบด้วยรอยยิ้มนิด ๆ ผมมองหน้าเธอ ได้แต่นึกเศร้าในใจ .....
    โบว์ได้คุยกับเธอเมื่อเย็นวานนี้ รู้ว่าตอนนี้เธอไม่อยากจะตายแล้ว
    .... ตอนนั้นแค่วูบหนึ่งของความโกรธ ... วูบหนึ่งของความเสียใจ .....
    วูบหนึ่งของการตัดสินใจที่ผิดพลาด ..... ผมหันไปมองหน้าแม่ของเธอ ... เธอน้ำตาคลอ
    .....

    เมื่อวานเย็นผมบอกเธอไปแล้ว ....
    ว่าลูกเธอกำลังจะตาย .... เธอไม่เชื่อ .... เธอบอกลูกไม่เห็นจะป่วยหนักตรงไหน ...
    ยังพูดได้ ... กินข้าวได้อยู่เลย .... ผมเข้าใจ .... ว่าเป็นใครย่อมไม่อยากจะเชื่อ
    .... เพราะลูกเธอดูเผิน ๆ ก็ไม่เหมือนคนป่วยหนักจริง ๆ ....
    แต่ยาที่เธอกินเข้าไปนี่สิ .... อันตราย .... อันตรายจริง ๆ .... ยาจะค่อย ๆ
    ทำลายปอดจนเป็นพังผืด .... ตับวาย .... ไตวาย ......อวัยวะล้มเหลว ...
    อาการจะมากขึ้นเรื่อย ๆ .... จนเสียชีวิตในที่สุด .......

    ผมนิ่งอึ้ง พูดอะไรไม่ออก
    ได้แต่ตอบน้องอ้อไปว่า

    “ดีแล้ว
    ที่สบายดี” .... แม้รู้เต็มอกว่ามันไม่จริง
    ..... และเธอกำลังจะตาย ....ผมแตะบ่าแม่เธอเบา ๆ ก่อนเดินไปตรวจเตียงถัดไป


    12 : 30 น. ตามคาดว่าผมไม่สามารถดูคนไข้ให้เสร็จก่อนเที่ยงได้
    ผมเดินละจากคนไข้เตียงสุดท้าย
    รีบเผ่นไปกินข้าวเที่ยง เพราะเดี๋ยวบ่ายโมงผมต้องไปตรวจโอพีดีต่อ ( OPD ;
    outpatient department =
    ตรวจผู้ป่วยนอก) .... สวมวิญญาณจระเข้ กลืนข้าวลงได้หมดในเวลา 10 นาทีเศษ ตามด้วยน้ำอีกแก้ว
    แล้วเดินไปยังแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทันที


    13 : 00 น. ผมเริ่มตรวจผู้ป่วยนอก
    มองออกไปคนไข้ที่รอเฉพาะหน้าห้องผมเหลืออีก ยี่สิบกว่าคน ...เหนื่อย ....
    แต่ก็ต้องยิ้ม คนมาหาหมอทุกคนทุกข์ยากมา หากเจอหน้าบึ้ง ๆ แค่เห็นก็คงแย่แล้ว
    .... อีกอย่างแอบไม่อยากเป็นหมอคนที่สองในเดือนนี้ที่ถูกร้องเรียนว่า
    “ไม่ยิ้มเลย หน้าไม่รับแขก”

    จริง ๆ
    เมื่อก่อนโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องจัดหมอมาตรวจช่วงบ่าย
    เพราะคนไข้ไม่ได้เยอะขนาดนั้น ส่วนใหญ่แค่บ่ายโมงเศษ ๆ ก็ตรวจได้หมดแล้ว
    แต่หลังจากมาตรการ 30
    บาทรักษาทุกโรค .... ยอดคนไข้ปีถัดมาเพิ่มเป็นสองเท่าทันตาเห็น และเพิ่มขึ้นเรื่อย
    ๆ โอพีดีอายุรกรรมจากวันละ 300 คน ถีบขึ้นเป็น 500-600 คนต่อวันทันที .... คนไข้เพิ่มสองเท่า ....
    แต่หมอน้อยลงกว่าเดิมสามคนเพราะลาออกไป .... ทำไงนะเหรอ ...ก็ต้องเพิ่มเวลาตรวจช่วงบ่ายไป
    ....

    30 บาท ...นโยบายดี ... เห็นด้วย ....
    ทุกคนมีสิทธิรับการรักษาเท่าเทียม..... ชม ...ขอชม ... อยากให้เป็นอย่างนั้น ..แต่ในแง่ปฏิบัติสิ
    ..... ตอบยาก .... เมื่อหลายคนมาตรวจ ...หลาย ๆ คนย่อมมาด้วยความคาดหวัง .....
    ความคาดหวัง .... ที่หลาย ๆ ครั้งไม่เป็นไปตามที่หวัง ย่อมผิดหวัง อารมณ์ ความโกรธ
    ความไม่พอใจก็เข้ามาแทนที่ คำตำหนิที่เข้ามา ..... บริการไม่ดี ....
    ตรวจไม่ละเอียด .... ทำไมรักษาไม่ได้ ..... รักษาเต็มที่รึเปล่า .......ฯลฯ เพิ่มมาเป็นเงาตามตัว


    15 : 45 น.
    คนไข้คนสุดท้ายเดินออกจากห้องไป ไม่มีเวลาแล้ว วันนี้ผมอยู่เวรใน อายุรกรรม (เวรในแปลว่า
    เวรที่คอยดูแลผู้ป่วยใน ที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล
    จะมีอีกเวรคือเวรนอกที่อยู่ประจำห้องฉุกเฉิน) อยู่เวรกับน้องแพทย์ฝึกหัดสองคนเดิมของผม
    หว้า กับโบว์ แพทย์ใช้ทุนหนึ่งคนกับแพทย์ฝึกหัดสองคน
    ดูแลวอร์ด 4
    วอร์ด ในสองชั้นคือ 8A 8B 9A และ 9B
    จำนวน เตียงปกติควรจะเป็นไม่เกิน 120 เตียง (วอร์ดนึงมี 30 เตียง) ซึ่งถือว่าไม่มากเท่าไหร่เทียบกับหมอสามคน แต่ตอนนี้มีคนนอนอยู่มากกว่าสองร้อยคน


    16 : 00 น. ผมไปรับเวร (อธิบายภาษาหมอหน่อย รับเวร
    คือการที่หมอคนที่จะอยู่เวรในคืนนั้น
    จะไปคุยกับแพทย์ประจำวอร์ดนั้นว่ามีคนไข้รายไหนต้องดู หรือต้องระวังเป็นพิเศษ
    คนไหนอาการหนักต้องเฝ้าติดตามอาการใกล้ชิดบ้าง) รับเวรกับหมอหรือก็เพื่อนผมเองนั่นแหละ
    หมอประจำวอร์ดส่งเวรมาวอร์ดละหลายเตียง
    รวม ๆ มีคนไข้ที่ต้องระวังกว่าสามสิบเตียง ... ถามว่าจำได้ไหม ... จำไม่ได้หรอก
    .... ต้องจดโพยติดตัวเอา


    17 : 00 น. เดินรับเวรมาครบทั้งสี่วอร์ดแล้ว
    ... เดินกลับมาวอร์ด 8A
    วอร์ดของตัวเอง .... เดินไปหาพยาบาล ....
    ขอผลเลือดทั้งหลายที่เจาะไปตอนเช้านี้มาดู ..... ได้ผลแล็ปมาเป็นปึ้ก
    .....ดูชื่อ.... นึกไม่ออก .... ใครหว่า .... หว้าคอยช่วยเตือนผม .... “อ๋อ
    ก็คุณตาคนนั้นไงค่ะ” ..... “คุณป้าที่นอนมุมนั้นไงคะ” .... อ๋อ ... จำได้แล้ว
    ..... มิน่าเค้ากันว่าผู้หญิงจำหน้าจำชื่อคนเก่งกว่าผู้ชาย สงสัยจะจริง

    หลังดูผลการตรวจแล้ว
    หลายเตียงผมสั่งการรักษาเพิ่ม ..... เปลี่ยนยาบ้าง ..... เพิ่มยาบ้าง ....
    ตามแต่อาการไป เดินเยี่ยมอาการคนไข้ที่ตอนเช้าคิดไว้ว่าอยากคุยด้วยเพิ่มเติมแต่ไม่มีเวลา
    คุยด้วยเตียงละนิด ... เตียงละหน่อย


    18 : 00 น. เสียงโฟนตามสายในโรงพยาบาลดังขึ้นมา
    ... เสียงนรก ที่ผมอยากให้มันดังน้อย ๆ ที่สุด ... แต่มันก็ไม่เคยเป็นจริง ...
    วันนี้มันดังแต่หัววันซะแล้ว ...

    “แพทย์ เวรอายุรกรรมโทรกลับ 802 ค่ะ แพทย์เวรอายุรกรรมโทรกลับ 802 ค่ะ “ ผมเดินไปเคาเตอร์พยาบาล กดหมายเลข 802 ลงไป ซึ่งเป็นเบอร์ของวอร์ด 8B ชั้นเดียวกับที่ผมอยู่นี่แหละ แต่ฝั่งตรงข้ามของตึกเท่านั้น

    “ผมหมอธีรศานต์ครับ”
    ผมพูดนำไปก่อนเมื่อปลายสายรับ

    “อ้อ หมอค่ะ
    มีคนไข้รับใหม่หนึ่งคนค่ะ อีอาไดแอ็กมาว่าฮาทเฟเลียค่ะ” (คำแปล อีอา คือ ER
    มาจาก emergency
    room
    คือห้องฉุกเฉิน ไดแอ็ก ย่อมาจากคำว่า diagnosis คือ วินิจฉัยโรค ส่วนฮาทเฟเลีย มาจาก congestive heart
    failure คือ
    โรคหัวใจวาย)

    “ครับ เดี๋ยวไปดูครับ” ผมเดินไปเรียกสองแพทย์ฝึกหัดที่อยู่เวรให้ไปด้วยกัน
    ระหว่างเดินไปผมกดโทรศัพท์หาปอเพื่อนผมที่อยู่รพ.เดียวกันแต่อยู่แผนกเด็ก

    “รู้แล้ว ...จะฝากซื้อข้าวเย็นล่ะสิ
    ว่ากำลังจะโทรไปถามอยู่เลยว่าจะเอาอะไร”

    เพื่อนรักเดาได้ว่าผมต้องการอะไร
    ปกติพวกผมก็จะเป็นยังงี้อยู่แล้ว เวลาใครอยู่เวร คนที่เหลือจะมีหน้าที่หาข้าว
    หาขนมมาฝาก เพราะส่วนใหญ่จะยุ่งจนออกไปกินข้างนอกไม่ได้

    “เอาก๋วยเตี๋ยวแห้งร้านเดิมก็ได้”
    เป็นที่รู้กันว่าผมมีร้านโปรดของผม ผมว่าพลางหันไปมองหน้า
    น้องสองคนทำนองว่าจะกินอะไร

    “หนูเอาเหมือนกันล่ะกัน
    ขี้เกียจคิด” ทั้งสองคนบอกเหมือนกัน


    19 : 00 น. ดูเคสรับใหม่เสร็จเรียบร้อย
    พร้อม กับถูกตามนิด ๆ หน่อย ๆ อีกสองสามครั้ง ... ผมเริ่มหิวแล้ว เดินกลับไปที่ห้องพักแพทย์ที่อยู่ชั้น 8 อาหารกองวางทิ้งไว้ให้เรียบร้อยบนโต๊ะ ตัวผู้ให้ไม่อยู่คงกลับหอไปแล้ว ...
    ไม่ทันได้ขอบใจ . ... บนถุงก๋วยเตี๋ยวมีกระดาษน้อยแปะอยู่
    “มีทับทิบกรอบเก็บไว้ในตู้เย็นนะ ...ปอ” เห็นแล้วชื่นใจ ... มีขนมฝากเพิ่มเติมมาด้วย
    ดีจัง


    19 : 30 น.
    พึ่งกินข้าวเสร็จ ว่าจะแกะทับทิบกรอบมากินต่อเพราะยังไม่อิ่ม แต่ช้าไปแล้ว ...
    เสียงเดิมดังอีกแล้ว “แพทย์เวรอายุรกรรม 1414 .. ที่ 9B
    ค่ะ “ ผมสามคนหยุดกินทันที ...
    รู้ดีว่ารหัส 1414
    หมายถึงมีคนไข้หยุดหายใจหรือหัวใจไม่เต้น .... ทุกคนวางช้อนจ้ำออกไปชั้น 9 ทันที ...

    ผู้ป่วยชาย อายุมากแล้ว จากหน้าป้ายผมเปิดดูผ่าน
    ๆ แกเป็นมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย .... มะเร็งกระจายไปทั่วช่องท้อง ที่ตับ ที่กระดูก
    ผมรู้แค่นั้น ...ไปถึงแกหยุดหายใจไปแล้ว ... ผมขึ้นปั๊มหัวใจ ...
    ในขณะที่น้องหว้าใส่ท่อช่วยหายใจเข้าทางปาก ทำงานร่วมกัน.... ผมสั่งยาฉีดยาอีกหลายตัว
    ....ใจก็สับสน ไม่แน่ใจว่าที่เราทำอยู่นี่คือการ prolonged life หรือเป็นแค่ delayed death กันแน่นะ ...ไม่รู้ ....
    เพราะวินาทีนั้นผมคงไม่รู้คำตอบแน่ ๆ รู้เพียงว่าญาติและลุงแกไม่ได้เซ็นต์แสดงความจำนงว่าไม่ต้องการการกู้ชีพ
    ผมก็ต้องทำไปตามหน้าที่ .... แม้รู้ว่าถึงช่วยขึ้นมาได้ ...
    ก็ไม่รู้ว่าแกจะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน เพราะมะเร็งของแกกระจายไปจนทั่ว
    ...จนท้องบวม ...ตัวผอมแห้ง ...

    30 นาทีผ่านไป ... เหงื่อซึม ๆ ออกตามหน้าผาก ....
    หลังสลับกันขึ้นปั๊มหัวใจติดต่อกัน .... ไร้ผล .... สภาพร่างกายลุงแกคงไม่ไหวแล้วจริง
    ๆ .... แกอาจจะต้องการไปสบายมากกว่า .....ผมประกาศยุติการกู้ชีพ
    ....พยาบาลบันทึกเวลาเสียชีวิต .... ชีวิตแรกที่พ้นทุกข์ไปในคืนนี้


    20 : 30 น. มีคนไข้รับใหม่อีกแล้ว ตกลงความพยายามที่จะกินขนมของผมยังไมสำเร็จ
    ... ยังไม่ทันเดินไปถึงห้องพัก ก็ต้องเดินกลับไปที่วอร์ดชั้น 9 คนไข้เข้ามาใหม่เป็นคนไข้ที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชนอีกที
    ... เป็นคนไข้โรคหอบหืด ... พ่นยาที่รพ.ชุมชนแล้วไม่ดีขึ้น จึงส่งมา ....
    ผมรู้ว่าจริง ๆ แล้วศักยภาพรพ.ชุมชน สามารถรักษาโรคหอบได้ แม้จะอาการมากยังไง
    เพราะหากต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ รพ.ชุมชนก็มีเหมือนกัน ... รุ่นเดียวกันแป๊ะด้วย
    .... ไม่ต่างกันเลย ... เมื่อก่อนก็ไม่มีรพ.ชุมชนส่งเคสแบบนี้มาหรอก
    ....แต่ตอนนี้ผมเข้าใจ ....เข้าใจ ....ใครย่อมไม่อยากจะเสี่ยงทั้งนั้น ....
    หลังจากเหตุการณ์นั้น.....
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×