ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ' Close ' :)

    ลำดับตอนที่ #116 : เคล็ด(ไม่)ลับ รู้ไว้ก่อนอาบแดด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 123
      0
      15 พ.ค. 52

    ยังมีคุณๆ ผู้หญิงอีกมากเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทาครีมกันแดดป้อง กันมะเร็งผิวหนัง เฮเลน ฟอสเตอร์ บอกไว้นิตยสาร "WOMAN & HOME" ฉบับมี.ค.ดังนี้

    1.
    รอให้ถึงหาดก่อนค่อยทาครีมกันแดด

    น.พ.ซันดีป คลิฟ แพทย์ที่ปรึกษาด้านผิวหนังจากโรงพยาบาลอีสต์ เซอร์เรย์ บอกว่า ไม่จริง ควรทาครีมกันแดดก่อนหนึ่งรอบก่อนออกแดด และทาทับเมื่อไปถึงจุดหมาย

    2.
    ผิวสีเข้มไม่เป็นไร

    แม้คนที่มีผิวขาวหรือมีไฝฝ้าเยอะจะเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังที่สุดก็จริง แต่ไม่มีใครรอดพ้นโดยสิ้นเชิง มีข้อมูลว่า 1 ใน 5 ผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนม่า คือผู้ที่มีผิวดำหรือน้ำตาลอย่างชาวเอเชีย

    3.
    ค่า SPF คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในครีมกันแดด

    ค่า SPF จะบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นป้องกันผิวจากรังสียูวีบีได้มากน้อยแค่ไหน แต่ปัจจุบันพบว่า รังสียูวีเอก็ส่งผลร้ายต่อผิวหนังได้เช่นกัน

    4.
    ครีมกันแดดยิ่งแพงยิ่งดี

    พ.ญ.ซูซาน เมยู จากคลินิกคาโดแกน แห่งลอนดอนบอกว่า ตราบเท่าที่ครีมกันแดดราคาถูกมีค่า SPF และค่าการปกป้องรังสียูวีเอสูงพอ ก็สามารถให้ผลได้ดีไม่แพ้ครีมราคาแพง

    5.
    ถ้ากลัวผิวไหม้ใส่เสื้อยืดลงว่ายน้ำ

    พ.ญ.ซูซาน เวนเคิล แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริด้าระบุว่า เสื้อยืดสีขาวป้องกันรังสียูวีได้เท่ากับการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 7 แต่ค่าการป้องกันจะลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อผ้าเปียก

    6.
    หมวกแก๊ปป้องกันแดดได้

    ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันแสงแดดจากสหรัฐอเมริกาบอกว่า ปีกหมวกที่กว้างเพิ่มขึ้น 1 นิ้ว ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังลงได้ถึง 10%

    7.
    แค่ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ก็ตากแดดได้ทั้งวัน

    ไม่มีครีมกันแดดชนิดใดกรองรังสียูวีได้หมด แม้กระทั่งครีมที่มีค่า SPF ถึง 30 ก็ยังดักจับรังสีได้เพียง 97%

    8.
    ทาครีมกันแดดร่วมกับยากันยุง

    งานวิจัยพบว่า การทายากันยุงซึ่งมีส่วนผสมของ DEET ทับครีมกันแดดจะลดค่า SPF ลงถึง 30%

    9.
    กางร่มแล้วไม่ต้องทาครีมกันแดดก็ได้

    รังสียูวีแผ่ลงมาจากท้องฟ้าก็จริง แต่พื้นดินหรือทรายก็สะท้อนกลับได้เช่นกัน ประมาณ 20%

    10.
    นอนเตียงอาบแดดทำผิวสีแทนก่อนไปตากอากาศ

    การใช้เตียงอาบแดดเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่เกิดขึ้นในเซลล์หนังกำพร้าเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า และเสี่ยงต่อมะเร็งเมลาโนม่าเพิ่มขึ้น 55%

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×