ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องสมุด

    ลำดับตอนที่ #12 : "ความเชื่อผิดๆที่อันตราย"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 61
      0
      22 ส.ค. 55

     ระบบหมู่เลือด ABO

    ระบบหมู่เลือด  ABO

     

                          เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion)  เป็นระบบที่พบก่อน

                ระบบอื่นๆโดย Landsteiner .. 2443 จากการทดลอง Landsteiner สรุปได้ว่ามี

               หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A และแอนติเจน B ดังนี้

    หมู่เลือด
    Bl.gr.

    แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง
    Antigen

    แอนติบอดีย์ในซีรั่ม
    Antibody

    การกระจายในคนไทย
    Population

    A

    A

    Anti-B

    22 %

    B

    B

    Anti-A

    33 %

    AB

    และ B

    -

    8 %

    O

    H

    Anti-A และ anti-B

    37 %

                    คนที่มีหมู่เลือด เอ จะมีแอนติเจน A อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ B อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)

          คนที่มีหมู่เลือด บี จะมีแอนติเจน B อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ A อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)

          ดังนั้นซีรั่มของคนหมู่เลือด เอ จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด บี เกิดการจับกลุ่ม

                 กลับกันซีรั่มของคนหมู่เลือด บี จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด เอ เกิดการจับกลุ่ม

      คนหมู่เลือด เอบี มีแอนติเจนทั้ง A และ B อยู่บนเม็ดเลือดแดง ส่วนในซีรั่มจะไม่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจน A  และทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน B

     คนหมู่เลือด โอ บนเม็ดเลือดแดงไม่มีทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B แต่ในซีรั่มจะมีทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน A และแอนติเจน B

     

              Sub group ที่สำคัญทางการแพทย์คือ sub group A (หมู่เลือดย่อยโดยส่วนใหญ่ของคนหมู่เลือด เอจะเป็น subgroup A1 รองลงมาเป็น  subgroup A2   ส่วน subgroup A3, A4, Am, Ax พบได้น้อยมากๆ  บนผิวเม็ดเลือดแดงของ subgroup A1 จะมีแอนติเจนทั้ง A1 และ A2 เมื่อทำปฏิกิริยา  กับ Anti-A sera จะเกิดการจับกลุ่มได้ดี  ส่วนเม็ดเลือดแดงของ subgroup A2 บนผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจน A2เพียงอย่างเดียว เมื่อทำปฏิกิริยากับ  Anti-Asera จะจับกลุ่มได้ไม่ดีนัก (ขนาดตะกอนกลุ่มเล็กกว่าแบบ A1)

              H   Antigen    เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเม็ดเลือดแดงทุกหมู่ แต่จะมีปริมาณมากที่สุดบนผิวเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ  โดยแอนติเจน H เป็นสาต้นกำเนิดของทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B  โดยที่ A gene และ B gene มีหน้าที่กำหนดให้มี enzyme A transferase และ B transferase  ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับแอนติเจน H  ให้เปลี่ยนไปเป็นแอนติเจนและ แอนติเจน B

    บนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ A ซึ่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H  ส่วนบนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ B  จะมีแอนติเจนและแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว

                 ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h โดยที่  HH และHh genotype จะกำหนดให้มีแอนติเจน H บนผิวของเม็ดเลือดแดง ส่วน hh genotype จะกำหนดให้ไม่มีแอนติเจน H บนผิวเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่มีทั้งแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ไปด้วย แม้ว่าจะมี ABO genotype เป็นAA, AO, BB, BO, AB ก็ตาม ดังนั้นเมื่อนำเม็ดเลือดแดงของคนที่มีลักษณะ hh genotype มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีต่อ A ( anti-A sera) หรือกับแอนติบอดีต่อ B (anti-B sera) จะไม่เกิดตะกอนการจับกลุ่มขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆนั้นเป็นหมู่เลือด O ลักษณะดังกล่าวจัดเรียกว่า  เป็นหมู่เลือดชนิด Bombay หรือ( group O Bombay / Bombay phenotype)

     

              แอนติเจน แอนติเจน และแอนติเจน นอกจากจะปรากฏอยู่บนเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังมีอยู่บน epithelial cell , endothelial cell และละลายอยู่ในซีรั่ม น้ำลาย น้ำย่อยในกระเพาะ น้ำย่อยจากตับอ่อน และเหงื่อ

             คนส่วนมากจะมีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่งต่างๆ เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า    Secretor

             คนส่วนน้อยไม่มีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่เรียกว่าเป็น non-secretor Allele ที่ควบคุมการเป็นsecretor หรือ non-secretor     คือยีน Se gene และ se gene โดยที่ Se/Se และ Se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น Secretor se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น non-secretor

                            แอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่ง กับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งจะตรงกันเช่น  secretor ที่มีหมู่เลือด เอ ในซีรั่มและน้ำคัดหลั่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H อยู่ จะไม่มีแอนติเจน B

     

     

                                          
      หลักการให้เลือด 
                     

                           ถ้าเรียนวิทยาศาสตร์ มาสมัยมัธยม จะมีหลักว่าเลือดของผู้ให้ จะต้องไม่มี Antigen ที่ผู้รับ มี Antibody นั้นดังนั้น คนหมู่เลือด ซึ่งไม่มี Antigen และAntibody สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้เฉพาะหมู่เลือด Oเท่านั้น ส่วนคนที่มีหมู่เลือด AB ไม่ควรให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A, B และ เพราะมี Antigen ทั้งA, B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่ 
                          แต่ในความเป็นจริง เวลาแพทย์จะให้เลือด จะต้องตรงหมู่กันเท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงเลือกใช้เลือดอย่างที่บอกไว้ข้างบนเนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างหมู่ อาจจะทำปฏิกิริยากัน ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดได้ 
                         ยกตัวอย่างเช่น คนเลือด หมู่ AB รับเลือด หมู่ มา แม้ว่า ตัวเองไม่มี Antibody A ไปทำลายเม็ดเลือดที่รับมา แต่ในน้ำเลือดคนให้มา จะมี Antibody B ซึ่งจะปฏิกิริยากับ Antigen ของตัวเองได้แม้แต่เลือดหมู่เดียวกัน ก็ยังมีโอกาส เป็นได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ดังนั้นก่อนให้เลือด จึงต้องเอาเลือดทั้งสองฝ่าย มาตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน (Group matched)   ดังนั้นคนที่เลือดหมู่ AB ซึ่งน่าจะดี ที่รับเลือดได้ทุกหมู่ กลับหาเลือดยากเนื่องจาก เลือดหมู่นี้มีอยู่ไม่ถึง 5 % ของประชา กรทั้งหมด เวลาต้องหาหมู่เดียวกันตอนให้เลือด จึงหายากหน่อย ไม่ดีดั่งที่คิด


               พ่อ แม่หมู่เลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง 
                       ให้นึกภาพว่ายีน ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลล์สืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

                         ลักษณะของยีน ในหมู่เลือดต่างๆ (โดยยีนนั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
               
    Group A = มียีน AO หรือ AA
            Group B = 
    มียีน BO หรือ BB
            Group AB = 
    มียีนAB
            Group O = 
    มียีน OO

              ทีนี้มาดูว่า พ่อกับแม่ แม่หมู่ใด ให้ลูก หมู่ใด ได้บ้าง

      กรณีที่ ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
         ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA 100 % (Group A ทั้งหมด
         
    ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างละครึ่งแต่ก็เป็น หมู่ ทั้งหมด)ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างละ 25%      (เป็น หมู่ A 75% กับ O 25%)
            ในทางปฏิบัติ คนหมู่ เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ หมู่ หรือ เท่านั้น

    \

      กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายหมู่ เหมือนกัน 
         ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก เป็น เท่านั้น 
         กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ หมู่ และ เท่านั้น

     

      กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
         AB+AB จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างละ 25% 
         
    กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ AB 50% และ กับ อย่างละ 25% ไม่มีหมู่ เลย

     

      กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายหมู่ เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
         OO+OO จะได้ลูก เป็น OO 100% กรณีนี้จะได้แต่ลูกหมู่ เท่านั้น ไม่มีหมู่อื่นปน

     

      กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายหมู่ จะเป็นได้ดังนี้
         AA + BB = ลูกได้ AB 100 %(หมู่ AB ทั้งหมด)
         AO + BB = 
    ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งหนึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ อย่างละครึ่ง)
         AA + BO = 
    ลูกได้ AB กับ AO อย่างละครึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ อย่างละครึ่ง)
         AO+BO = 
    ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างละ 25% ( มีได้ทุกหมู่ อย่างละ 25% )
         
    กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง หมู่ อีกคน จะมีลูกได้ ทุกหมู่เลย

     

      กรณี ฝ่ายหนึ่งหมุ่ อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
         AA + AB จะได้ลูก AA และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่และ AB อย่างละครึ่ง
         AO +AB 
    จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ A 50% และ หมู่AB กับ หมู่ อย่างละ 25%)  กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น อีกฝ่ายเป็น      AB จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ O

     

      กรณีที่ ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย จะเป็นได้ดังนี้
         AB + BB จะได้ลูก BB และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่ และ AB อย่างละครึ่ง
         AB +BO 
    จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ B 50% และ หมู่AB กับ หมู่ อย่างละ 25%)        กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่าย      เป็น จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ เหมือนกัน กับกรณีที่4

     

      กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ AB อีกฝ่าย จะได้ดังนี้
         AB + OO จะได้ AO กับ BO   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ กับ ไม่มี AB และ O

     

      กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ อีกฝ่าย จะได้ดังนี้
         AA + OO ได้ AO ทั้งหมด (หมู่ ทุกคน)
         AO + OO 
    ได้ AO กับ OO อย่างละ50%   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ กับ อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ กับ AB

     

      กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ อีกฝ่าย จะได้ดังนี้
         BB + OO ได้ BO ทั้งหมด (หมู่ ทุกคน)
         BO + OO 
    ได้ BO กับ OO อย่างละ50%   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ กับ อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ กับ AB

     

              สรุปจากทั้งสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
              คนหมู่เลือด A +A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
              
    คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
              
    คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
              
    คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เท่านั้น
              คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกหมู่
              คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
              
    คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
              
    คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ หรือ 
              
    คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด หรือ O
              
    คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด หรือ O
              
    คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O
                   
    แต่ถ้าเราสามารถระบุไปถึง ระดับยีนได้ ว่าเป็นตัวไหน ก็พยากรณ์ได้แคบลงตามตัวอย่างข้างบน (อาจจะดูได้โดยดูจากประวัติครอบครัว เช่น คนที่ หมู่ หรือ หมู่ ที่มาจาก พ่อแม่ ที่เป็น AB +AB ย่อมเป็น หมู่ที่มี ยีน AA หรือ หมู่ ที่มียีนBB เป็นต้น


                   "Blood Group" ปกติหมู่เลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ
              ABO System และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่

              ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่หมู่คือ A , B , AB และ O (หมู่ O พบมากสุด, A กับ พบพอๆกัน และ AB มีน้อยที่สุด)

              
    ในระบบ Rh จะรายงาน ได้เป็นสองพวก
                   +ve หรือ Rh+ve คือพวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้
                   -ve หรือ Rh-ve คือพวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก 
               คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3% เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่า            คนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี)

                        
    ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น 
               A+ve คือเลือดหมู่A Rh+ve ตามปกติ
               AB -ve อันนี้เป็น หมู่ AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด 
              ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คนใน หมื่นคนเท่านั้น

     

               การทดสอบก่อนการให้เลือด
              1 - การตรวจหาหมู่เลือด ทั้งของผู้รับ (Receipt) และผู้ให้ (Donor) ประกอบด้วย
                            - Cell grouping หรือ Direct grouping  คือการเอาเม็ดเลือดแดงที่ต้องการทดสอบมาทำปฏิกริยากับซีรั่มมาตรฐานที่มี Anti-A และซีรั่มมาตรฐาน
               ที่ มี anti-B อยู่ มาผสมกันและดูการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในซีรั่มทั้งสองชนิด
                            - Serum grouping หรือ Indirect grouping เป็นการตรวจหา anti-A และ Anti-B ในซีรั่ม โดย   การตรวจกับเม็ดเลือดแดงที่ทราบหมู่ที่แน่นอนทั้ง           หมู่ A, B , O ควรทำไปพร้อมกับแบบ cell grouping  เพื่อเพิ่มการยืนยันหมู่เลือด ป้องกันการผิดพลาด
              เมื่อนำข้อมูลการทดสอบทั้งวิธี cell grouping และ serum grouping มาแปลผลควรได้ผลตรงกัน

                ตามตารางดังต่อไปนี้

     

    Cell grouping
    เม็ดเลือดทดสอบมาผสมกับ

    Serum grouping
    ซีรั่มไม่ทราบหมู่ผสมกับ

    การแปลผลหมุ่เลือด

    Anti-A
    (
    สีฟ้า)

    Anti-B
    (
    สีเหลือง)

    Cell gr.A

    Cell gr.B

    Cell gr.O

     

    +

    -

    -

    +

    -

    หมู่เลือด A

    -

    +

    +

    -

    -

    หมู่เลือด B

     -

    +

    -

    -

    -

    หมู่เลือด AB

    -

    -

    +

    +

    -

    หมู่เลือด O

          หมายเหตุ หมายถึงมีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง / - หมายถึงไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

              2. การตรวจความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับและเลือดผู้ให้ (Cross matching)
                 
    ถึงแม้ว่าการหาหมู่เลือดจากข้อ พบว่าเป็นหมู่เลือด ABO หมู่เดียวกันแล้วก็ตาม แต่ก่อนการให้เลือด (Blood transfusion) ก็จำเป็นต้องทำ Cross matching หรือ compatibility test อีก เพราะผู้รับอาจมีแอนติบอดีต่อหมู่เลือดอื่นที่เราไม่ได้ทำการทดสอบ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับเลือดมาแล้วหรือหญิงที่ผ่าน การคลอดบุตรมาแล้ว การทำการทดสอบประกอบด้วย
                        - Major cross matching
               
    คือการทดสอบระหว่างเม็ดเลือดแดงของผู้ให้(Donor) กับซีรั่มของผู้รับ (Receipt)
               
    เพื่อตรวจหาว่าในซีรั่มของผู้รับมีแอนติบอดีต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ที่นอกเหนือไปจากABO antigen หรือไม่
                      - Minor cross matching
               
    คือการทดสอบระหว่างซีรั่มของผู้ให้(Donor) กับเม็ดเลือดแดงของผู้รับ (Receipt)
              
    เพื่อตรวจว่าในซีรั่มของผู้ให้มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้รับนอกเหนือไปจากระบบABO antigen หรือไม่
              เลือดที่จะนำมาให้ผู้รับได้จะต้องไม่เกิดการจับกลุ่ม ตกตะกอน(hemaglutination) ใดๆทั้งสิ้นทั้งในส่วนของ major และ minor cross matching(นอกจากนั้นยังต้องมีการตรวจความปลอดภัยของเลือดที่จะให้อื่นๆอีกด้วยเช่น ต้องไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี เชื้อไวรัสเอดส์ กามโรค VDRL อื่นๆที่อาจติดต่อได้เป็นต้น)

     


                      - Indirect Coombs' test
                      แม้ว่าจะไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในการทำ cross matching แล้วก็ตาม ก็ยังมิได้หมายความว่า    ในซีรั่มของผู้รับและในซีรั่มของผู้ให้จะไม่มีแอนติบอดีดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะแอนติบอดีอาจเป็น  ชนิดที่ไม่สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มก็ได้ สำหรับการทดสอบนี้เป็นการทดสอบเพื่อหา incomplete antibody ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง (ที่จะให้)ในซีรั่มของผู้รับ ด้วยการเอาซีรั่มผู้รับมาทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ก่อน ล้างเม็ดเลือดแดงที่เข้าด้วยกันแล้ว นำมาเติมCoombs' reagent ลงไป ถ้ามีการจับกลุ่มของเม็ดเลือด แสดงว่าในซีรั่มผู้รับมี incomplete antibody ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง ที่จะให้ หมายความว่าเลือดนั้นไม่เหมาะสมที่จะใช้เลือดดังกล่าว  ได้

    เครดิต http://pirun.ku.ac.th/~b5141038/Section%201.htm



    ป.ล.และที่ ฉันบอกว่า มันเป็นความเชื่อ ผิด เพราะอะไร รู้ไหม

     

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×