คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง :: สงครามครูเสด
�
สงครามครูเสด
��������สงครามครูเสด (The Crusades) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13
��������ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์ ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักร
อิสลามในยุคนั้น
��������บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกราน
ต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
�
สาเหตุของสงครามครูเสด
- เนื่องจากพวกคริสต์กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อกันว่า โลกนี้จะถึงการอวสานเมื่อครบ ค.ศ. 1000 เรียกว่า Millennium และเชื่อว่าพระเยซูพร้อมด้วยสาวกจะเสด็จมาโปรดชาวโลกในวันนั้น พวกคริสเตียนจำนวนมากจึงได้ละถิ่นฐานบ้านช่องของตนเดินทางไปชุมนุมกันในปาเลสไตน์ เพื่อรอวันโลกแตก แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1000 โลกไม่ได้อวสานตามที่พวกนี้คิดไว้ ประกอบกับพวกคริสต์จำนวนมากไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยดีจากพวกสัลยูก ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในเวลานั้น ทำให้พวกคริสเตียนนี้เมื่อกลับบ้านไปแล้ว(คือทวีปยุโรป) ต่างพกเอาความเคียดแค้น ไปเล่าเรื่องแล้วแต่งเติมสิ่งที่ได้ประสบในปาเลสไตน์ให้พวกคริสเตียนด้วยกันฟัง มีคริสเตียนคนหนึ่ง ชื่อ ปิเตอร์ ได้ฉายาว่า ปิเตอร์ เดอะ เฮอร์มิต (ปิเตอร์ นักพรต ถือไม้เท้าท่องเที่ยวไปในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้ป่าวประกาศข่าวเรื่องที่พวกคริสเตียนไปอยู่ในปาเลสไตน์เพื่อรอวันโลกแตก แล้วได้รับการข่มเหงจากพวกสัลยูก พร้อมทั้งได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนรวมกำลังกันไปตีปาเลสไตน์กลับคืนมา)
- สัลยูกเป็นพวกตุรกีสายหนึ่ง กำลังรุ่งเรืองอำนาจ และมีอิทธิพลเหนือเคาะลีฟะฮ.ของอับบาสิยะฮ. ในกรุงแบกแดด พวกนี้ปกครองประเทศปาเลสไตน์ และมีอาณาเขตคุกคามกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่งนิกายนี้ไม่ถูกกับนิกายคาทอลิก แต่เมื่อถูกคุมคามจากพวกสัลยูก จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากพวกคริสต์นิกายคาทอลิก ซึ่งโป๊ปแห่งกรุงโรมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะแผ่อิทธิพลครอบคลุมพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ได้ จึงถือข้อนี้เป็นสาเหตุอันหนึ่งในการประกาศสงครามครูเสด เพื่อทำลายหลักการของคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ให้หมดสิ้นไป
- พวกคริสต์ ในยุโรปขณะนั้น ได้มีแนวความคิดร่วมกันว่า พลเมืองทั่วทั้งโลกนี้ต้องนับถือศาสนาคริสต์ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ถือเป็นครูเสดประการหนึ่ง ซึ่งพวกนี้ได้มีการพิมพ์เอกสารหรือหนังสือใส่ร้ายศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม และได้กระทำต่อมานับร้อย ๆ ปี แม้หลังจากสงครามครูเสดแล้วก็ตาม ในโรงเรียนต่าง ๆ ของพวกมิชชั่นนารี จะมีตำราเรียนหลายชนิดให้ร้ายศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพราะพวกคริสต์พ่ายแพ้สงครามครูเสดในที่สุดนั่นเอง ถึงแม้จะรบกันกว่า 150 ปี ซึ่งเพิ่งจะรู้ความจริงของอิสลาม และรู้ว่าถูกพวกคริสต์ด้วยกันเองหลอกมาตลอด เมื่อไม่กี่ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง เพราะโลกได้มีการติดต่อกันอย่างกว้างขวางขึ้น มีการชุมนุมผู้แทนประเทศต่าง ๆ และพบปะกันมากขึ้น
- เนื่องจากพวกสัลยูก คุมปาเลสไตน์และเอเชียน้อย ทำให้พวกอิตาลีเดินทางไปมหาสมุทรอินเดียไม่สะดวก พวกพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสและเจนัวก็กำลังประสบปัญหาในการค้าขาย จึงอยากให้มีสงครามขึ้น เพื่อพวกตนจะได้ทำการค้าคล่อง
ประวัติศาสตร์ของอิสลาม
��������ประวัติศาสตร์ของอิสลามหลังจากสมัยคุละฟาอุร.รอชิดีน (หมายถึงเคาะลีฟะฮ 4 ท่านแรก คือ อบูบักร. อุมัร. อุมาน และอะลี) เต็มไปด้วยปัญหาความยุ่งยาก มีเจ้าปกครองกันหลายแคว้น ประกอบไปด้วยชนต่างชาติต่างภาษาตลอดทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเหล่านี้ได้มารวมกันภายใต้แนวความคิดคือ "ละอิลาฮะ อิลลัลลอฮ มุหัมมะดุร-รสูลุลลอฮ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุฮำมัดเป็นรสูลของพระองค์" ศาสนาอิสลามได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของชนหลายประเทศหลายชาติ แต่ในบางครั้งก็เผยแพร่เข้ามาผิดที่ ผิดเวลา การมาถูกหรือมาผิดนี้ไม่ใช่เพราะศาสนาอิสลาม แต่เพราะคนหรือผู้ที่นำเข้ามาเผยแพร่นั้นบางคนเป็นเจ้าครองแคว้น เป็นนักรบที่เก่งกล้า ทารุณ โหดร้าย ซึ่งคนเช่นนี้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลกับการรบของพวกเขา แต่บังเอิญถ้าบุคคลประเภทนี้เป็นมุสลิม ศาสนิกชนอื่นก็ว่าให้ร้ายหาว่าศาสนาอิสลามเผยแพร่ด้วยคมดาบ
��������แต่ความจริงแล้วอิสลามไม่ได้มีหลักการให้เผยแพร่ศาสนาด้วยการทำสงคราม อย่างเช่นสงครามครูเสดของพวกคริสเตียน อย่างกรณี เมื่อ 50 ปีก่อน พวกมุสลิมีนที่ไปทำพิธีฮัจญ์ยังถูกพวกโจรมุสลิมีน(ชาวมุสลิมด้วยกันเอง) ในคาบสมุทรอาหรับ
ปล้นสะดม ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีเช่นนี้เป็นเรื่องการรบพุ่ง การต่อสู้ของบุคคล ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่พวกคริสเตียนที่เดินทางมาปาเลสไตน์ในเวลานั้น อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยหรือความสะดวกต่าง ๆ แต่เรื่องราวเช่นนี้กลับถูกต่อเติมจนเป็นจนกลายเป็นเรื่องร้ายแรง ก่อให้เกิดสงครามครูเสดขึ้น
��������คำว่า "ครูเสด" หมายถึง สงครามศาสนาที่พวกคริสเตียนได้กระทำต่อมุสลิมีน ('มุสลิมีน' เป็นคำพหูพจน์ของ 'มุสลิม' หมายถึง ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) เป็นเวลานานกว่า 150 ปี เพื่อทำลายศาสนสถานต่างๆ ของคริสตจักร โดยเฉพาะที่ในเมืองเบธเลแฮม
(บัยตุลละหัม) และเยรูซาเล็ม โดยที่พวกนี้มีเครื่องหมายกางเขนติดไว้ ครูเสดแปลว่า ติดด้วยเครื่องหมายกางเขน ซึ่งต่อมาคำว่าครูเสดนี้ ใช้หมายถึงสงครามทั่ว ๆ ไป ที่พวกคริสต์ต่อต้านพวกนอกศาสนาตามแต่สังฆนายก (Bishop) ของโรมจะบัญชา
��������อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วย มุสลิมเชื่อว่า นบีมุฮัมมัดได้เดินทางจากมัสยิดอัลอักซอเมืองเยรูซาเล็ม ขึ้นสู่ชั้นฟ้า มัสยิดโดมหินก็ตั้งอยู่ที่นั่น และ เมืองเยรูซาเล็ม ก็มีความสำคัญเป็นอันดับสามของโลกมุสลิมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์อยู่ภายใต้การปกครองของพวกคริสเตียน เมื่อนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่ หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว
ดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนส่วนแรกๆ ที่ถูกมุสลิมยึดครอง แต่เคาะลีฟะฮ. ของมุสลิมก็ยอมให้ชาวคริสเตียนเดินทางมาแสวงบุญยังแผ่นดินเหล่านี้
��������แต่ใน ค.ศ. 1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์กเข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาว คริสเตียนเหมือนเช่นเคย พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก ดังนั้น ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1905 โป๊ปเออร์บานที่ 2 (Pope Urban II)ได้เรียกประชุม
คณะสงฆ์ที่ปลาเซ็นติอา แต่การประชุมไม่ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในทันที จึงได้เรียกประชุมขึ้นใหม่อีกที่เคลอร์มองต์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 โป๊ปได้ประกาศให้ทำสงครามครูเสดต่อ "พวกนอกศาสนา" (ซึ่งพวกคริสเตียนในเวลานั้นหมายถึงบรรดามุสลิมีนโดยเฉพาะ) โป๊ปได้ใช้กลอุบายวิธีต่าง ๆ เพื่อปลุกระดมให้พวกคริสเตียนเข้าร่วมในสงครามครูเสด โดยประกาศว่า "ผู้ใดถือไม้กางเขนหรือประดับไม้กางเขนเพื่อไปในสงครามครูเสด ย่อมถูกยกเว้นจากการถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สิน ไม่ต้องเสียภาษี และบุคคลภาพผู้นั้นอยู่ในพิทักษ์ของศาสนจักร ถูกไถ่บาปทั้งหมดและจะได้เข้าสวนสวรรค์อันสถาพร" การเริ่มรณรงค์ดังกล่าวนี้เองเป็นที่มาของสงครามศาสนาหรือ "สงครามครูเสด"สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรก
��������ปี ค.ศ. 1097 พวกครูเสดได้จัดกองทัพใหม่ โดยมีพวกเจ้าครองนครต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเข้าร่วมด้วย และมีกอดเฟรย์แห่งบุยยอง (Godfrey of Buillon) เป็นแม่ทัพเดินทางมาทางคอนสแตนติโนเปิล กษัตริย์อเล็กซิสได้จัดให้พวกนี้ข้ามช่องแคบโฟรัสไปยังดินแดนเอเชียน้อย เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้เข้าเมือง บ้านเมืองจะถูกทำลาย
��������เดือนพฤษภาคม 1097 กองทัพครูเสดยกทัพมาเมืองนิซีอา สุลฏอนผู้ปกครองเมืองยอมเปิดประตูเมืองให้ จึงรอดพ้นจากการถูกทำลาย หลังจากนั้นพวกครูเสดจึงยกทัพไปเมืองอันติออก Antioch (อันตากิยะฮ) ซึ่งต้องเดินทางเป็นระยะทางที่ไกล พวกไพร่พลจึงล้มตายกลางทางเสียเป็นส่วนใหญ่ ล้อมเมืองอันติออกได้ 9 เดือน จนเสบียงเริ่มร่อยหรอลง ต้องกินเนื้อพวกเดียวกัน (คือเนื้อศพ) พวกครูเสดทำการทารุณกรรมต่อชาวเมืองอันติออกอย่างมาก ในที่สุดแม่ทัพพวกสัลยูก ที่ชื่อ กัรบุฆา ต้องยอมแพ้ เพราะว่ามีการทรยศจากพวกเดียวกันด้วย คือมุสลิมชาวอาร์มิเนียน ชื่อ ฟิรูซ (อาหรับเรียกว่าบิหรูซ) ได้หย่อนเชือกลงรับพวกครูเสดขึ้นมายึดป้อม แล้วเปิดประตูเมืองให้พวกครูเสดเข้ามาตะโกนว่า "Dier le veut" ฆ่าฟันผู้คนทั้งหญิงแก่ แม่หม้าย เด็ก หญิงสาว รวมทั้งทำลายมัสยิด อาคาร บ้านเรือนเสียหาย
��������หลังจากยึดเมืองอันติออกแล้ว พวกครูเสดได้เดินทัพไปยังมะอัรร็อต อัน-นุอมาน (Marra tun Numan) ซึ่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองเมืองหนึ่งของซีเรีย ชาวเมืองถูกฆ่าไม่ต่ำกว่า 100,000 คน โดยวิธีสับเป็นท่อน ๆ ซึ่งในกองทัพของพวกนี้มีเนื้อคนขายด้วย ส่วนคนที่แข็งแรงและหน้าตาดี จะถูกนำไปขายเป็นทาส
��������วันที่ 15 กรกฏาคม 1099 (ชะอบาน ฮ.ศ. 492) พวกนี้ก็ยกทัพเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ให้ชาวเมืองคุกเข่าสวดอ้อนวอนพระเจ้าในความสำเร็จที่พวกครูเสดเข้ายึดเมืองได้ แล้วก็ฆ่าชาวเมืองอย่างทารุณ แม้แต่สถานที่ที่พระเยซูเคยอภัยศัตรูของพระองค์ ก็ไม่สามารถทำให้ครูเสดพวกนี้ลดความโหดเหี้ยมลงได้ เพราะพวกนี้ถือว่าการรบและฆ่าพวกนอกศาสนานั้นจะได้บุญและได้ขึ้นสวรรค์
��������พวกยิวในปาเลสไตน์ก็เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกัน โบสถ์และวิหารก็ถูกเผาทำลาย กอดเฟรย์แห่งบุยยอง ได้ถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีก็เสียชีวิตลง น้องชายชื่อบอลด์วินได้รับตำแหน่งแทน และได้ยกทัพไปตีเมืองซีสะรีอา (Caesarea) ตริโปลี ซีดอน บัยรุต และยึดเมืองท่าต่าง ๆ ที่พวกโฟนิเซียนเคยเป็นเจ้าของมาก่อน
��������พวกครูเสดได้ครองส่วนใหญ่ของอาณาจักรของพวกสัลยูก (แต่ไม่ขยายตัวไปในอาณาจักรมุสลิมีนวงศ์อื่น ๆ ) พวกนี้จึงได้นำลัทธิเจ้าครองนคร(ฟิวดัลลิส์ม) มาใช้ มุสลิมีนที่มีฐานะเป็นทาสจะถูกจำตรวนเดินตามถนน อาณาจักรของสัลยูกช่วงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพวกครูเสด จนถึง ปี ค.ศ. 1147 รวมเวลาประมาณ 50 กว่าปี
สงครามครูเสดครั้งที่ 2
��������ลัทธิเจ้าครองนคร (Feudalism) ฟิวดัลลิสม์ ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชียน้อย (Asia minor) ได้เผยแพร่เข้าไปสู่พวกสัลยูก
เช่นกัน พวกนี่ต่างแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนแตกออกเป็นหลายนคร พวกที่ลี้ภัยสงครามครูเสดได้หนีไปกรุงแบกแดดเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นเป็นเดือนรอมฎอน เคาะลีฟะฮของแบกแดด ซื่อ มุสตะซิร บิลลาฮ ( ปกครองตั้งแต่ ปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1118) ส่งผู้แทนไปยังสุลฎอน เพื่อขอความช่วยเหลือจาก บัรกี ยารูก (คือพวกสัลยูก เป็นบุตรคนที่ 2 ของมาลิกชาฮ ซึ่งเป็นคนขี้เมา นำความเสื่อมมาสู่วงศ์สัลยูก ปกครองปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1140 ) เพื่อยกทัพไปปราบครูเสด แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ
��������ปี ค.ศ. 1108 พวกมุสลิมในเมืองตริโปลี ส่งผู้แทนมาขอความช่วยเหลืออีกแต่ก็ไม่ได้ผล หลังจากนั้นอีก 3 ปี ชาวเมืองอเลปโปส่งผู้แทนออกมาขอความช่วยเหลืออีก หนนี้พวกเขาเข้าไปในมัสญิดและเร่งรัดให้เคาะลีฟะฮ ส่งกองทัพไปช่วย ทางแบกแดดจึงส่งทหารไปจำนวนหนึ่ง แต่ถูกพวกครูเสดฆ่าตายหมด
��������สมัยเคาะลีฟะฮ (วงศ์อับบาสิยะฮ) แห่งกรุงแบกแดด จึงปล่อยให้พวกครูเสดปกครองปาเลสไตน์และเอเชียน้อยบางส่วน เพราะปัญหาความแตกแยกและไม่สามัคคีในหมู่พวกเดียวกันของมุสลิม
��������ต่อมาสมัยเคาะลีฟะฮ อัล-มุกตะฟี (วงศ์อับบาสิยะฮ ปี ค.ศ.1136 1160) ชาวลัลยูกชื่อ อิมาดุดดิน ซังงี (Imaduddin Zangi) เป็น
ลูกชายของแม่ทัพสุลฏอนมาลิกซาฮ ชื่อ อักสังการ ฉายาว่า กอลิม อัดเดาละฮ เมื่ออักสังการเสียชีวิต ซังงีขณะนั้นอายุเพียง 14 ปีแต่มีความสามารถทางการทหารและการปกครองได้รวบรวมพล ฝึกทหาร และเข้าตีเมืองต่าง ๆ ใน ปี ค.ศ. 1128 ยึดเมืองอเลปโปคืนมาจากพวกครูเสดได้ ในขณะนั้นพวกครูเสดก็ได้รับการสนับสนุนจากยุโรปและกรีก โดยการนำของจักรพรรดิยอน คอมเนนุส (John Comnenus) ยึดเมืองบุซาอะ (Buzaa) ฆ่าพวกผู้ชาย แล้วกวาดต้อนผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส
��������ซังงีได้ยกกองทัพมาช่วยต้านทัพพวกครูเสดไว้ได้ และยึดเมืองเอเดสสา (Edessa) หรืออัรรูหะฮได้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1144 ตอนแรกซังงีคิดจะแก้แค้นให้พวกมุสลิมีนด้วยกัน แต่ก็ล้มเลิกความคิดและขอให้ชาวเมืองยอมแพ้ แต่กลับถูกพวกแฟรงค์เยาะเย้ย ถากถาง เขาจึงฆ่าทหารและพวกบาทหลวงที่เป็นตัวการในสงครามนี้ แต่ไว้ชีวิตผู้หญิง เด็ก และทรัพย์สินของพวกเขาเหล่านั้น แต่ในที่สุดแล้วเขาก็ถูกพวกเดียวกันหักหลังโดยการลอบฆ่า เมื่อวันที่ 5 เราะบีอุษษานีย 541 ตรงกับวันที่ 14 กันยายน ปี ค.ศ.1146
��������พวกสัลยูกได้สูญเสียนักรบชาติทหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนที่มีใจกล้าหาญ ชอบศึกษาและเผยแพร่ความรู้ ซังงีมีบุตร 4 คน ล้วนมีความสามารถทั้งสิ้น ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากนี้ พวกคริสต์ในเมืองเอเดสสาได้เกิดคิดกบฏขึ้น ฆ่าทหารมุสลิมที่รักษาเมือง ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพวกแฟรงค์ ภายใต้การนำของโยสเซลิน (Joscelin) ยึดเมืองเอเดสสาได้ แต่บุตรคนที่ 2 ของซังงี
ชื่อนูรุดดีน มะหมูด (Noradius) สามารถตีคืนมาได้ พวกอาร์มิเนียนที่เป็นต้นคิดการก่อกบฏ ได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศ ทหารพวกแฟรงค์ถูกฆ่าและนูรุดดีนสั่งให้รื้อกำแพงเมือง
��������การสูญเสียเมืองเอเดสสาครั้งที่ 2 นี้ก่อให้เกิดการปลุกระดมให้พวกคริสเตียนหันมาป้องกันสถานกำเนิดแห่งศาสนาของตนโดยนักบุญเซ็นต์เบอร์นาร์ด ที่ได้ฉายาว่า ปีเตอร์-นักพรต คนที่ 2 พวกกษัตริย์ก็เข้ามามีส่วนร่วมในครั้งนี้ด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส ถือเอาสงครามครูเสดเป็นฉากบังหน้า เพื่อปิดบังซ่อนเร้นการกระทำอันโหดร้ายต่อพลเมืองที่เป็นกบฏต่อพระองค์ กษัตริย์คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันก็เข้าร่วมทัพด้วย ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1147 มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ชื่อ อิเลเนอร์ (Eleanor of Guienne) ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ ได้เข้าร่วมกองทัพด้วย ทำให้ผู้หญิงฝรั่งเศสจำนวนมากอาสาออกรบด้วยอย่างมากมาย แต่กองทัพของกษัตริย์ทั้ง 2 ได้รับการต่อต้านและเสียหายอย่างหนัก ส่วนหนึ่งของกองทัพของกษัตริย์คอนราดถูกทำลายที่เมืองลาฎิกียะฮ (Laodicea หรือ Latakia) ส่วนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ยกทัพมาทางทะเลถูกโจมตีที่เมืองคัดมุส (Cadmus ) พวกตุรกีเรียกว่า บาบาดาฆ พวกครูเสดนั้นมีกำลังพลมาก จึงรอดเหลือมาถึงเมืองอันติออก ขณะนั้นเรย์มอง (ลุงของราชินีอีเลเนอร์)ปกครองอยู่ พวกขุนนาง อัศวินนักรบ และสตรีผู้สูงศักดิ์อื่น ๆพักอยู่ในเมืองจำนวนมาก พวกครูเสดจึงยกทัพเข้าล้อมเมือง ดามัสกัส แต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีนและสัยฟุดดีน ฆอซี ( พี่ชายของนูรุดดีน ) ยกทัพมาช่วย กองทัพของกษัตริย์ทั้งสอง จึงได้เลิกทัพกลับยุโรป พวกครูเสดจึงรู้สึกท้อใจ และต้องล่าทัพกลับเมืองด้วยความผิดหวังและสูญเสียอย่างมาก
สงครามครูเสดครั้งที่ 3
��������เมื่อสองกษัตริย์และบรรดาสตรีแห่งฝรั่งเศสแตกทัพไป นูรุดดีนมุ่งตีพวกแฟรงค์ให้พ้นจากเอเชียน้อย โดยได้ยึดป้อมที่ชายแดนซีเรีย ชื่อ อัลอาริมา (Al Aareima) อีก 2 3 เดือนต่อมาเมืองซักรา (Zaghra) ติดกับเมืองอันติออก เสียหายอย่างหนัก ในสงครามติดพันริมกำแพงเมืองอันเนบ (Anneb) เจ้าชายเรย์มองแห่งอันติออก (ลุงของมเหสีพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ) ถูกฆ่า ลูกชายที่ชื่อ โบฮิมอง (ในภาษาอาหรับเรียกว่า ปิมินด์) เมียของเขาได้แต่งงานใหม่ ซึ่งสามีใหม่นี้ก็รบแพ้นูรุดดีนใน ฮ.ศ 544 (ปี ค.ศ. 1149- 1150) นูรุดดีนยึดเมืองอะปาเมียส์ได้ (ในภาษาอาหรับเรียกว่า อะฟามีอะฮ)
��������ปี ฮ.ศ 546 นูรุดดีนรบแพ้โยสเซลินที่ 2 แต่ต่อมานูรุดดีนเป็นฝ่ายรุกจนจับตัวโยสเซลินได้ (โยสเซลินเป็นผู้นำทัพของพวกแฟรงค์ที่เหี้ยมโหด) ซึ่งชาวมุสลิมถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ หลังจากนั้นนูรุดดีนยกทัพเข้าตีเมืองดุลูก (Duluk) ของพวกครูเสดได้อีก
��������ในช่วงนั้นที่เมืองดามัสกัส มีปัญหาความยุ่งยากต่าง ๆ อยู่ นูรุดดีนได้ยกทัพไปช่วยยึดดามัสกัสไว้ เคาะลีฟะฮ ที่กรุงแบกแดดได้ประทานตำแหน่ง อัล-มาลิก-อัล-อาดิล-กษัตริย์ผู้ทรงธรรมแก่เขา ขณะนั้นการศึกสงครามสงบลงชั่วคราว เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ซีเรีย นูรุดดีนจึงได้ซ่อมแซมสถานที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อเคาะลีฟะฮแห่งแบกแดดซื่อ อัลมุกตะฟีเสียชีวิต ลูกชายชื่อ อะบุลมุซัฟฟัร
ยูสุฟ เข้ามารับตำแหน่งแทน โดยมีชื่อตามตำแหน่งว่า อัล-มุสตันญิด บิลลาฮ เป็นเคาะลีฟะฮ คนที่ 32 ของวงศ์อับบาสิยะฮ
��������หลังจากนั้นอีก 9 ปี ราชวงศ์ฟาฏิมิยะฮอ่อนแอ เคาะลีฟะฮองค์สุดท้ายชื่อ อัล-อาซิด ลิดดีนิลลาฮ ได้ล้มป่วย บ้านเมืองจึงอยู่
ภายในมืออุปราชชื่อ ชาวัร อัสสะอดีย พวกขุนนางจึงคิดจะกำจัดชาวัร ชาวัรจึงหนีไปที่เมืองดามัสกัส ขอให้นูรุดดีนช่วย โดยสัญญาว่า เมื่อยึดอำนาจคืนมาได้ จะให้กองทัพอียิปต์ช่วยรบต้านพวกครูเสด นูรุดดีนจึงส่งกองทัพไปอียิปต์ โดยการนำของ อะสัดดุดดีน
ชิรผมฮ (สิงห์แห่งภูเขา) ผู้เป็นลุงของเศาะลาหุดดีน แต่เมื่อชาวัรได้อำนาจคืนแล้ว กลับร่วมมือกับพวกแฟรงค์ขับชิรผมฮออกจากอียิปต์
��������ในเดือนรอมฎอน อ.ศ. 559 (สิงหาคม ปี ค.ศ. 1164) นูรุดดีนถูกกองทัพพวกแฟรงค์และกรีกโจมตีอย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะนูรุดดีนได้ ถูกตีแตกพ่ายอย่างยับเยิน เจ้านครและนักรบต่าง ๆ ถูกจับเป็นเชลย นูรุดดีนสามารถยึดเมืองต่าง ๆ ได้อีก
��������ในเดือนเราะบีอุษษานีย ฮ.ศ. 562 (มกราคม กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1167) ชิรผมฮ ยกทัพไปอียิปต์ใหม่ ชาวัรได้พวกแฟรงค์มาช่วยไว้ หัวหน้าครูเสดชื่อ อะมอรี่ (Amaury) ที่อยู่เยรูซาเล็มได้ยกทัพไปช่วยชิรผมรฮ รบได้ชัยชนะ และได้ทำสัญญากันคือ อะมอรี่ตกลงถอนทหารออกจากอียิปต์ และสัญญาจะไม่เกี่ยวข้องกับเมืองนี้อีก ชิรผมฮยอมถอนทหารออกจากอเล็กซานเดรีย โดยรับค่าทำขวัญเป็นทองห้าหมื่นแท่ง แต่ปรากฎว่าชาวัรได้ทำสัญญาลับกับพวกแฟรงค์ ให้มีกองทหารอยู่ที่ไคโร และเมืองท่าต่าง ๆ ได้ โดยชาวัรจ่ายทองปีละหนึ่งแสนแท่ง แต่ปรากฏว่าพวกครูเสดที่เข้าครองเมืองเหล่านี้หยาบช้าและทารุณจนชาวอียิปต์ทนไม่ได้
��������เคาะลีฟะฮผู้หนึ่ง ชื่อ อัล-อาซิด ลิดดีนิลลาฮ จึงส่งหนังสือขอความช่วยเหลือจากนูรุดดีน นูรุดดีนส่งชิรผมฮ มาอีกครั้งพร้อมทั้งกองกำลังอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อมาถึงชานเมือง พวกครูเสดก็ได้หลบหนีไปก่อนแล้ว พร้อมด้วยทรัพย์สินที่ปล้นจากชาวอียิปต์มา
��������วันที่ 8 มกราคม ปี ค.ศ.1169 ชิรผมฮ ได้ยกทัพเข้ากรุงไคโร เคาะลีฟะฮได้สำเร็จโทษชาวัร ตั้งชิรผมฮเป็นอุปราชแทน
อีก 2 เดือนต่อมา ชิรผมฮเสียชีวิต และมีผู้รับตำแหน่งแทน ชื่อ อุโฆษ เศาะลาหุดดีน ซึ่งเป็นหลานชายของ ชิรผมฮ และขนานนามว่า อัลมาลิก อันนาศิร อัล-สุลฎอน เศาะลาหุดดีนยูสุฟ (เกิดที่เมืองตักรีต ที่ฝั่งแม่น้ำไตกริส ปี ค.ศ. 1138 เป็นพวกเคอร์ดิช เชื้อสายตุรกี บิดาชื่อนัจญ์มุดดีน อัยยูบ) ซึ่งผู้นี้ต่อมาได้เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ของมุสลิม ในขณะนั้นเคาะลีฟะฮ สุขภาพไม่แข็งแรง ได้ป่วยหนัก เศาะลาหุดดีน ผู้อยู่ในแนวหะนะฟียะฮอย่างเคร่งครัด จึงได้ประกาศอำนาจของเคาะลีฟะฮแห่งแบกแดดเหนือดินแดนอียิปต์ เมื่อถึงเวลานมาซญุมุอะฮก็ให้ออกนามเคาะลีฟะฮของแบกแดดแทน เพราะวงศ์ฟาฏิมิยะฮแห่งอียิปต์เป็นชีอะฮ
��������ปี ค.ศ. 1170 เคาะลีฟะฮอัลมุสตันญิดเสียชีวิต ลูกชายชื่อ อบูมุหัมมัด หะสัน รับตำแหน่งแทน มีนามว่า อัล มุสตะซิอิ บิ อัมริลลาฮ เป็นเคาะลีฟะฮองค์ที่ 33 ของวงศ์อับบาสิยะฮ
������� ในปีเดียวกันนี้ ลูกชายคนที่ 3 ของซังงี ชื่อ กุตบุดดีน เมาดูด เสียชีวิต และมีลูกชายชื่อ สัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 ขึ้นครองตำแหน่งแทน ในตอนนี้สภาวะทางการเมืองของโมสุล เกิดความวุ่นวายขึ้น นูรุดดีนก็ได้ยกทัพมาช่วยเหลือหลานชาย ต่อมาในเดือนมุหัรร็อม ฮ.ศ. 567 เคาะลีฟะฮผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงนักของอียิปต์ก็ได้เสียชีวิต เศาะลาหุดดีนจึงได้เป็นอุปราชของนูรุดดีน และได้ปกครองดินแดนอียิปต์ทั้งหมด
��������ในเดือนเชาวาล ฮ.ศ. 569 หรือในช่วง 15 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1174 นูรุดดีนได้เสียชีวิต เศาะลาหุดดีนจึงมีอำนาจเด็ดขาดในอียิปต์ หิจญาซและยะมัน แต่ยังขึ้นต่อพวกสัลยูกอยู่ นูรุดดีนมีลูกชายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า อิสมาอีล ได้นามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิกุศ-ศอลิห อายุ 11 ปี
��������เมื่อนูรุดดีนเสียชีวิต เศาะลาหุดดีนก็ได้ส่งบรรณาการไปยังอัลมาลิกุศศอลิห พวกขุนนางที่เคยมีอำนาจจึงวางท่ากีดกัน เพราะเห็นว่าลูกชายของนูรุดดีนนั้นยังมีอายุน้อยเกินไป เศาะลาหุดดีนได้ส่งหนังสือไปตักเตือนพวกขุนนางว่าถ้าไม่เชื่อฟังก็จะเข้ามาปกครองดามัสกัส ในขณะนั้นขุนนางชื่อ กุมุชตาจิน (Gumushtagin) พามาลิกุศศอลิห หนีไปเมืองอเลปโป ทำให้พวกแฟรงค์เข้ามาโจมตีเมืองได้อย่างสะดวก พวกครูเสดเองก็ได้ยกทัพเข้ามาล้อมเมือง และถอยทัพไปเมื่อได้รับค่าทำขวัญกันมาก ทำให้เศาะลาหุดดีนโกรธมากพอ จึงยกทัพเข้ายึดดามัสกัสไว้ แต่เขาไม่เข้าไปพักในสถานที่ของนูรุดดีน เพราะถือว่าเป็นเจ้านายเก่า และตัวเองเป็นเพียงอุปราชเท่านั้น จึงได้ไปพักที่บ้านพ่อและได้เขียนจดหมายถึงมาลิกุศศอลิห ว่าเขามาที่ดามัสกัสเพื่อป้องกันเมือง แต่พวก
ขุนนางที่เป็นศัตรูกับเขากลับตอบจดหมายกลับมาด่าว่าเขาอย่างรุนแรง ว่าเป็นคนเนรคุณ เขาจึงได้เดินทางไปเมืองอเลปโป เพื่อจะพบลูกชายของเจ้านายและจะได้ชี้แจง แต่กลับพบกับปฏิกิริยาที่ไม่เป็นมิตรจากลูกของเจ้านายและมิหนำซ้ำยังชักชวนชาวเมืองให้ต่อสู้กับเขา หาว่าเป็นคนเนรคุณ เศาะลาหุดดีนจึงต้องสู้รบจนพวกนี้ล่าถอยเข้าเมืองไป
��������มาลิกุศศอลิห ได้ขอความช่วยเหลือจากสัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 (Saifuddin Ghazi II) เศาะลาหุดดีนได้พยายามที่จะยืนยันความ
จงรักภักดีและยอมสละชีวิตเพื่อจะปกป้องบ้านเมือง แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นการดูถูก เย้ยหยัน และระดมพวกครูเสดให้มาสู้รบกับเขา อย่างไรก็ตามเศาะลาหุดดีนก็ตีแตกพ่ายไป มาลิกุศศอลิหและสัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 ถูกตีพ่ายไปเช่นกันและเสียเมืองต่าง ๆ ทำให้มาลิกุศศอลิห ต้องยอมทำสัญญาสงบศึก โดยส่งลูกสาวคนเล็กซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ ไปให้เศาะลาหุดดีน เศาะลาหุดดีนให้ความเอ็นดูเด็กคนนี้ จึงยอมทำสัญญากับวงศ์ของนูรุดดีน และมอบของกำนัลให้ สัญญาฉบับนี้ เขาได้ปกครองเมืองดามัสกัสอย่างเด็ดขาด เคาะลีฟะฮทางเมืองแบกแดดจึงตั้งให้เป็นสุลฏอน เจ้าเมืองผู้ครองนครต่าง ๆ พากันสวามิภักดิ์ต่อเขา เพราะเชื่อกันว่าเขาจะให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือเมื่อมีภัย เศาะลาหุดดีนจึงมีอิทธิพลเรื่อยมา
��������เมื่อกล่าวถึงพวกครูเสดในเยรูซาเล็ม ได้รับการสนับสนุนในเรื่องกำลังคน อาวุธและเสบียงจากทางยุโรปมากขึ้น มีทั้งพวก
นักรบที่ต้องการชัยชนะ พวกที่ผจญภัยแสวงหาความร่ำรวย พวกคลั่งศาสนา พวกอาชญากรที่หนีคดี ต่างพากันมาที่ชายฝั่งซีเรีย ในขณะนั้นอะมอรี่เป็นผู้ครองเมืองเยรูซาเล็มได้เสียชีวิตลง ลูกชายชื่อบอล์ดวินที่ 4 ป่วยเป็นโรคเรื้อน พี่สาวของบอลด์วินชื่อสิบิลลา (Sybilla) มีลูกชายกับสามีเก่าชื่อว่าบอลด์วิน เช่นกัน ต่อมาสิบิลลาได้แต่งงานใหม่กับกาย เดอ ลุสิกนัน (Guy de Lusignan) บอลด์วินที่ 4 จึงตั้งให้พี่เขยคนนี้เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ต่อมาเขาได้ตั้งเรย์มองเคานต์แห่งตริโปลีเป็นแทน และเขาได้คืนสมบัติให้กับหลานชายบอลด์วินที่ 5 ซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ ต่อมาเมื่อเด็กคนนี้ตาย ผู้เป็นแม่จึงเป็นราชินีของเยรูซาเล็ม ในปี ค.ศ. 1189 เป็นต้นมา
��������ในสมัยบอลด์วินที่ 4 นั้นได้มีการทำสัญญาระหว่างพวกครูเสดกับเศาะลาหุดดีน ซึ่งชาวมุสลิมีนให้ความเคารพต่อสัญญาฉบับนี้ แต่พวกครูเสดถือเป็นแค่การพักรบชั่วคราวเท่านั้น ปี ค.ศ. 1189 พวกครูเสดที่ชื่อ เรโนด์ หรือเรยินัลแห่งชาติลอง ได้ปล้นคาราวานมุสลิมและฆ่าผู้คน ทำให้เศาะลาหุดดีนโกรธเป็นอย่างมาก จึงยกทัพไปแก้แค้น ผลการสู้รบพวกครูเสดตายนับหมื่นคน ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง กาย เดอ ลุสิกนัน ซึ่งเป็นสามีของสิบิลลาด้วย และเรโนด์แห่งชาติลอง ได้ถูกประหารชีวิตในฐานะผู้ที่ก่อเหตุแห่งสงคราม หลังจากพวกครูเสดแตกทัพไป เศาะลาหุดดีนจึงได้มุ่งไปยึดเยรูซาเล็ม ซึ่งมีพลเมืองอยู่กันหนาแน่น มีทหารถึง 60,000 คน
��������ในครั้งนั้นเศาะลาหุดดีนได้บอกกับพวกนั้นว่า เขาตระหนักดีว่า เมืองเยรูซาเล็มเป็นเมืองของพระเจ้าและเขาก็ไม่ต้องการให้เปื้อนไปด้วยเลือด ขอให้เลิกสู้รบกัน แล้วเขาจะแบ่งทรัพย์สินและที่ดินให้ทำการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ แต่สิ่งที่ได้รับคือคำดูถูก เยาะเย้ยจากพวกครูเสดอีก ทำให้นักรบผู้กล้าหาญอย่างเขาแค้นเคืองเป็นอย่างมาก เขาจึงสาบานว่าจะแก้แค้นให้กับชาวมุสลิมีนทั้งหลายที่ถูกฆ่าและทารุณกรรมจากกอดเฟรย์แห่งบุยยอง
��������เมื่อช่วงแรกที่ยกทัพเข้าตีพวกครูเสด หลังจากที่ได้ล้อมเมืองไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทำให้พวกครูเสดอ่อนกำลังลงอย่างมาก จึงขอความเมตตาจากเศาะลาหุดดีน ทำให้เขาใจอ่อนยอมให้พวกกรีกและพวกซีเรียคริสเตียนอยู่ในอาณาจักรโดยมีสิทธ์เหมือนพลเมืองทุกอย่าง ส่วนพวกทหารต้องกลับถิ่นฐานของตนเองพร้อมกับลูกเมียภายใน 40 วัน โดยให้ทหารของสุลฏอนคุ้มครองไปจนถึงเมืองตริโปลี และให้เสียค่าไถ่ตัวผู้ชาย 10 ดินาร์ หญิง 5 ดินาร์ เด็ก 1 ดินาร์ ซีเรีย ถ้าไม่มีจ่ายก็ต้องเป็นเชลย แต่มันเป็นเพียงกฎในสงครามยึดครองเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเศาะลาหุดดีนได้ใช้เงินค่าไถ่ตัวคนพวกนี้กว่าหมื่นคน น้องชายของเขาก็ปล่อยเชลยให้เป็นอิสระถึง 7,000 คน พวกคนแก่ที่พวกคริสเตียนต้องแบกกลับ เขาก็จัดหาลาเป็นพาหนะให้และยังให้เงินช่วยอีกด้วย เมื่อพวกผู้หญิงที่ถูกปล่อยไปขอร้องให้เขาคืนสามี พ่อ และลูก ของพวกเธอเหล่านั้นด้วย เขาก็เกิดความสงสารและยินยอมให้ตามนั้น และยังได้บริจาคเงินช่วยเหลือเด็กกำพร้า และนักรบทั้งหลายที่เคยสู้รบกับเขาให้ได้รับการรักษาพยาบาล สิ่งนี้คือมนุษยธรรม
ที่เศาะลาหุดดินแสดงต่อพวกครูเสด ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพวกครูเสดที่เคยฆ่าฟันมุสลิมีน ทำร้ายและทารุณกรรมต่าง ๆ กับเด็ก และผู้หญิงชาวมุสลิมีน
��������เศาะลาหุดดีนมีความเคารพต่อศาสนสถานในเยรูซาเล็ม เขาไม่ยอมเข้าเมืองจนกว่าพวกครูเสดจะอพยพออกไปหมด และเมื่อเข้าไปแล้ว ในวันศุกร์ที่ 27 เดือนเราะญับ ฮ.ศ. 583 เขาได้ทำพิธีละหมาดที่นั่นด้วย ต่อมาพวกคริสเตียนที่ถูกปล่อยไปบางพวกได้
รวบรวมกำลังคนย้อนกลับมาทำสงครามอีก แต่ก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะเศาะลาหุดดีนได้ แม้ว่าจะขอกำลังสนับสนุนจากทางยุโรปให้มาสมทบก็ตาม การทำสงครามกันจึงยืดเยื้อเรื่อยมา
��������นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1095 ที่สงครามครูเสดเริ่มขึ้น ดินแดนในเอเชียน้อยไม่เคยสงบสุขเลย พวกครูเสดจะยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนแออยู่ตลอดเวลา ซ้ำในบางครั้งมุสลิมด้วยกันก็เป็นศัตรูกันเอง จึงต้องทำสงครามกันตลอด
�
สงครามครูเสดครั้งที่ 4
��������เมื่อเศาะลาหุดดีนเสียชีวิตแล้ว ได้เกิดปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ จากลูก ๆ ของเขา เศาะลาหุดดีนมีลูกชาย 3 คนคือ อะลีย
อุษมาน และฆอซี ต่างก็ได้รับสิทธิปกครองเขตแดนต่างกันไป รวมทั้งน้องชายของเศาะลาหุดดีนชื่อสัยฟุดดีน (ผู้ได้รับฉายาว่า อัล-มาลิก อัล-อาดีล เป็นแม่ทัพที่มีความสามารถและชำนาญการรบไม่แพ้ผู้ใด) เมื่อลูก ๆ ของเศาะลาหุดดีนทะเลาะกัน สัยฟุดดีนจึงได้รวบอำนาจไว้ เมื่อพวกครูเสดยกทัพมาทางทะเลยึดเมืองบัยรุตได้ เป็นการทำลายสัญญาที่ทำไว้ในสมัยของเศาะลาหุดดีน สัยฟุดดีนจึงได้ยกกองทัพไปปราบพวกครูเสด และทำสัญญาสงบศึกอีก 3 ปี แล้วจึงยกกองทัพกลับ ในตอนต้น ๆ โป็ปเซเลสตีน (Celestine III) เป็นผู้ที่ยุให้เกิดสงครามครูเสด
สงครามครูเสดครั้งที่ 5
��������หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา โป๊ปอินโนเซ็นท์ที่ 3 (Innocent III) ได้ทำการประกาศสงครามอีก โป๊บได้ปลุกระดมให้กษัตริย์ในทวีปยุโรปยกทัพมาร่วมรบเพื่อตีเมืองเยรูซาเล็ม แต่ครั้งนี้พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษไม่ทรงเห็นด้วย โป๊ปรวบรวมผู้คนได้เป็นกองทัพขนาดใหญ่ ในคราวนี้เป็นโชคดีของมุสลิม เพราะพวกนี้ได้ยกทัพมุ่งไปเมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล แทนที่จะไปเอเชียน้อย เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็นที่ตั้งของพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ลจึงถูกพวกครูเสดยึดได้ง่าย เมืองถูกเผาทำลาย นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ไฟลุกโชติช่วงสูงเกิน 1 ลีก ( ประมาณ 3 ไมล์) เป็นเวลา 8 วัน 8 คืน แม้โป๊ปจะรู้สึก
สลดใจต่อการกระทำของพวกครูเสด แต่ก็ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ ทั้งผู้หญิงและเด็ก ถูกฉุดฆ่าและสับเป็นท่อน ๆ โดยพวกคริสเตียนเหล่านี้
��������พวกครูเสดโรมันได้ครองเมืองอยู่ถึง 40 ปีเศษ ในที่สุดพวกกรีกสามารถกอบกู้เมืองคืนมาได้ และปกครองอยู่อีกราว 200 ปี จึงได้เสียเมืองให้พวกตุรกีอุษมานิยะฮ ( ที่ฝรั่งเรียกว่า อาณาจักรออตโตมัน แห่งตุรกี)
สงครามครูเสดครั้งที่ 6
��������นับเป็นสงครามครั้งที่รุนแรงและโหดร้ายที่สุด เพราะมีการปลุกระดม ปลูกฝังแนวความคิดให้พวกเด็ก ๆ และผู้หญิง เข้าไปร่วมรบในปาเลสไตน์ด้วย โดยเด็กฝรั่งเศสชื่อ สตีเฟน อายุ 12 ปี บอกว่าพระเยซูมีบัญชาให้ตนเองยกกองทัพครูเสดของพวกเด็ก ๆ ไปช่วยกอบกู้สุสานบริสุทธิ์ของพระองค์ เด็ก ๆ เกิดความตื่นเต้นกับคำพูดอวดอ้างของสตีเฟน ต่างพากันไปชุมนุมเพื่อนสนับสนุนพวกคลั่งศาสนา ประกอบกับได้มีการอ้างถึงคัมภีร์ไบเบิ้ลใหม่ เช่น มัดธาย 21�: 17 ความว่า "เสียงที่ออกจากปากเด็กอ่อนและทารกนั้นเป็นคำสรรเสริญอันแท้จริง" พวกเด็ก ๆ ในเยอรมันจึงรวมตัวกันเกือบ 4 หมื่นคน เดินทางข้ามภูเขาแอลป์มุ่งหน้าที่จะไปยังประเทศอิตาลี โดยหวังว่าจะเห็นปาฏิหาริย์ทะเลแยกออกให้พวกเขาเดินผ่านไปยังปาเลสไตน์ได้ แต่การเดินทางที่ยาวไกล ต้องพบกับความยากลำบากและความหนาวเหน็บ ทำให้เด็ก ๆ ต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
��������ฝ่ายเด็ก ๆ ชาวฝรั่งเศสเกือบ 3 หมื่นคน แม้จะเดินทางมาถึงเมืองท่ามาร์เซลส์ได้ แต่พวกเขาก็ผิดหวัง เพราะไม่เห็นทะเลแยกออกจากกันจึงพากันกลับ
��������โป๊ปได้ขอให้พวกเด็ก ๆ ชาวเยอรมันเดินทางกลับบ้าน ยังคงมีแต่เด็ก ๆ ชาวฝรั่งเศส 4-6 พันคนที่ยังคงปักหลักอยู่ที่เมือง
มาร์เซลส์ ทำให้ถูกพวกพ่อค้าที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย ได้อาสาจัดเรือเพื่อนำเด็กๆ เหล่านั้นไปยังปาเลสไตน์ เพียงเพื่อการมุ่งหาแต่ผลกำไร แม้จะเป็นจากกลุ่มเด็กๆ ก็ตาม โดยการนำเด็กเหล่านั้นไปยังเมืองอเล็กซานเดรีย และเมืองท่าอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดค้าทาสแทน แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ลูกหลานคริสเตียนครูเสด ก็ยังถูกพวกคริสเตียนด้วยกันเองนำตัวไปขายเป็นทาส เจตนาการทำสงครามครูเสดนั้น ได้เปลี่ยนไปนับแต่นั้น เพราะผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ต่างมุ่งที่จะกอบโกยประโยชน์อย่างไร้มนุษยธรรม
��������ในระหว่างปี ค.ศ. 1216 1217 โป๊ปอินโนเซ็นท์ที่ 3 ได้ประกาศสงครามอีกครั้ง ในครั้งนี้กษัตริย์เมืองฮังการี ดยุกแห่งเมืองออสเตรียและบาวาเรียน พร้อมทั้งเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้รวบรวมคนถึง 250,000 คน เดินทางไปอียิปต์เพื่อตีเมืองดิมยาต (Damietta)
สัยฟุดดีนยกทัพจากทางเหนือเพื่อมาช่วย แต่ได้เสียชีวิตกลางทาง หลังจากพวกครูเสดล้อมเมืองไว้ถึง 18 เดือน จึงเข้ายึดดิมยาตได้ และทำการทารุณชาวเมืองดิมยาต หลังจากนั้นจึงได้ยกกองทัพต่อไปที่ไคโร ขณะนั้นเองลูกชายของสัยฟุดดีน มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัล-กามิล เป็นผู้ปกครองเมืองอยู่ ได้ขอทำสัญญาสงบศึกกับพวกครูเสด โดยยอมคืนเมืองต่าง ๆ ที่เศาะลาหุดดีนตีมาได้ ให้พวกครูเสด แต่พวกครูเสดไม่ยอม ชาวมุสลิมจึงได้พังเขื่อนกั้นน้ำ เพราะขณะนั้นน้ำในแม่น้ำไนล์กำลังขึ้น และพวกครูเสดอยู่ในที่ลุ่ม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พวกครูเสด และกองกำลังได้ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ขาดการติดต่อกับเมืองอื่น ๆ พวกครูเสดจึงเป็นฝ่ายขอทำสัญญาสงบศึกเสียเอง โดยยอมคืนเมืองดิมยาตให้แก่มุสลิมและได้ยกทัพกลับในเวลาต่อมา
สงครามครูเสดครั้งที่ 7
��������ในระหว่าง ค.ศ 1216-1217 โป๊บอินโนเซนต์ที่ 7 ได้ประกาศสงครามครูเสดอีก คราวนี้เจ้าเมือง ฮังการี,ดยุ๊คแห่งออสเตรียและบาวาเรียและพวกเจ้านครต่างๆได้รวมกำลังกันประมาณ 250,000 คน เพื่อไปตีพวกมุสลิมมีน!พวกนี้มาทางซีเรีย แล้วมุ่งไปทางอียิปต์เพื่อตีเมืองดิมยาต (damietta) สัยฟุดดีนได้ยกทัพจากทางเหนือมาช่วย แต่ตายเสียกลางทาง มุสลิมมีนได้สูญเสียแม่ทัพสำคัญอีกคนหนึ่งรองจากเศาะลาหุดดีนหลังจากล้อมเมืองอยู่ 18 เดือน พวกครูเสดจึงเข้ายึดเมืองดิมยาดได้และได้ประกอบอาณารยธรรมต่างๆ อย่างๆที่พวกเขาได้เคยกระทำมาแล้ว พวกนี้จึงยกทัพไปไคโร เวลานั้นลูกชายของสัยฟุดดีน ชื่อ นะศีรุดดีน มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัลกามิล ปกครองอยู่ ได้ขอร้องทำสัญญาสงบศึกโดยจะคืนเมืองต่างๆที่เศาะลาหุดดีนตีได้แก่พวกครูเสด แต่พวกนี้ไม่ยอม เวลานั้นแม่น้ำไนลืกำลังขึ้น พวกครูเสดอยู่ทางลุ่ม พวกมุสลิมมีนจึงได้พังเขื่อนกั้นน้ำทำให้น้ำท่วมพวกนี้เสียหายเป็นจำนวนมากขาดการติดต่อจากเมืองอื่น และคนตายลอยเป็นแพ พวกครูเสดจึงทำสัญญาสงบศึกโดยยอมคืนเมืองดิมยาตคืนให้แก่มุสลิมมีนแล้วยกทัพกลับ
��������ยังไม่ทันที่ไอสงครามจะจางหาย พวกพี่น้องเหล่านี้ซึ่งเป็นลูกของสัยฟุดดีนเกิดทะเลาะกันอีก คนหนึ่งไปทำสัญญาลับๆ กับพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 2 แห่งเยอรมันนี ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งต่อไป
สงครามครูเสดครั้งที่ 8
��������ลูกชายคนที่ 2 ของสัยฟุดดีน ชื่อว่า อีสา มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัล-มุอัซซัม ต้องการแยกอำนาจจากพี่ คือ อัล-มาลิก อัก-กามิล จึงไปทำสัญญากับศัตรู คือ พวกเฟรดเดอริกที่ 2 เมื่อมุอัซซัมเสียชีวิตลง ในปี ฮ.ศ 624 (ค.ศ. 1227 ) ลูกชายชื่อดาวูด มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อันนาศิร ได้ปกครองดินแดนในส่วนนั้นต่อมา พี่คนโตของมุอัซซัมคือกามิลและน้องคนเล็กชื่อ อัชรัฟ จึงยกทัพเข้ายึดเมืองดามัสกัส แล้วให้ดาวูดปกครองเมืองฮัรรอน เอเดสสาและร็อกกะแทน
��������ใน ค.ศ 1229 เฟรดเดอริกที่ 2 ยกทัพมาถึงซีเรีย เฟรดเดอริกได้เจรจากับกามิล ตกลงทำสัญญาซึ่งในสัญญานั้นมีอายุ เป็นเวลา
10 ปี 6 เดือน 10 วัน ความว่า ให้เฟรเดอริกเข้าครองเมืองเยรูซาเล็ม เมืองบัยตุลละหัม (เมือง เบธเลเฮม) เมืองนาซาเรส และเมืองอื่น ๆ ระหว่างยัฟฟะถึงอักกะได้ และยอมให้มุสลิมมีสิทธิประกอบศาสนกิจในเมืองเหล่านี้ได้อย่างเสรี แต่ทั้งมุสลิมและคริสต์เตียนไม่เห็นด้วยกับสัญญาฉบับนี้ ทางฝ่ายมุสลิมเกิดความแค้นเคืองที่กามิลยกเมืองที่เศาะลาหุดดีนตีมาได้ให้แก่พวกครูเสด ส่วนพวกครูเสดก็ไม่ยอมรับพวกมุสลิม เพราะถือเป็นพวกนอกศาสนา ไม่ยอมให้ประกอบศาสนกิจได้ โป๊ปเองก็ไม่พอใจเฟรดเดอริกที่ยกทัพไปตามลำพัง จึงประกาศให้เป็นพวกนอกศาสนา เมื่อทำสัญญาเสร็จ เฟรดเดอริกจึงได้ยกทัพกลับ
��������กามิลเสียชีวิตลง ในวันที่ 8 มีนาคม 1238 มีลูกชายคนหนึ่งชื่อ อบูบักร ครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องด้วยความเป็นเด็กที่ไม่รู้จักโต ทำให้ลูกผู้พี่คือ ดาวูด ได้ยึดเมืองคืนและกอบผม้เมืองเยรูซาเล็มให้กลับมาเป็นของมุสลิมอีกครั้ง
�
ความคิดเห็น