ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทที่ 5 พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง

    ลำดับตอนที่ #4 : อารยธรรมในสมัยกลาง

    • อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 54


    อารยธรรมในสมัยกลาง

    นักประวัติศาสตร์ยกย่องให้ "สมัยกลาง" เป็นอู่อารยธรรมของยุโรป เพราะมีความเจริญก้าวหน้าในศิลปวิทยาการ
    แขนงต่างๆซึ่งได้ถ่ายทอดเป็นมรดกของชนชาติตะวันตกในปัจจุบัน

    สิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารยธรรมสมัยกลางมี 3 ประการ คือ คริสต์ศาสนา ระบบฟิวดัล และอารยธรรมคลาสสิกของชาวกรีก-โรมัน

    ��� 1) คริสต์ศาสนาและคริสต์จักรที่นครวาติกัน มีอิทธิพลมากที่สุดในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
    ศิลปะวิทยาการ และการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยมี
    "พระสันตะปาปา" (Pope) เป็นผู้นำ

    �� 2) ระบบฟิวดัล (Feudalism) หรือ ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ซึ่งถือว่ากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดิน กษัตริย์จะแบ่งที่ดินให้ขุนนางไปทำประโยชน์ ขุนนางจะตอบแทนโดยการรับใช้กษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี

    ระบบฟิวดัลจึงเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งของสมัยกลาง เน้นการกระจายอำนาจ กษัตริย์มิได้ทรงมีอำนาจสูงสุด
    แต่จะกระจายอำนาจการปกครอง การทหาร และตุลาการหรือการตัดสินคดีความต่างๆ ให้แก่ขุนนางในแว่นแคว้นหรือท้องถิ่นต่างๆ

    �� 3)อารยธรรมคลาสสิกของชาวกรีกและโรมันปรากฏเด่นชัดในตอนปลายสมัยกลาง เมื่อกษัตริย์ยึดอำนาจคนจากขุนนางและ
    บั่นทอนอิทธิพลของคริสต์จักรลงได้มากแล้ว จึงเกิดการรวมชาติหรือสถาปนาเป็น
    "รัฐชาติ" (Nation State) เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส และสเปน เป็นต้น

    1. สถาปัตยกรรม

    มีผลงานที่สำคัญอยู่ 2 แบบ คือ แบบโรมาเนสก์ (Romanesque) และ แบบกอทิก (Gothic)

    1.1) แบบโรมาเนสก์ (Romanesque) ได้รับอิทธิพลจากศิลปะโรมัน

    ��������������� ลักษณะสำคัญ คือ อาคารประกอบด้วยประตูหน้าต่างโค้งกลม กระเบื้องปูพื้นขนาดใหญ่ บานหน้าต่างเล็ก เรียวยาว
    กำแพงหนา คล้ายป้อมปราการ แผนผังแบบไม้กางเขน โครงสร้างหลังคาแบบกรอยด์ โวลท์ มีการตกแต่งประตูทางเข้าโบสถ์ด้วยประติมากรรมนูน เพื่อสร้างความสง่า น่าศรัทธา แก่ผู้ที่จะเข้าไปในโบสถ์

    ��������������� ผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น หอเอนปิซา ประเทศอิตาลี

    1.2) แบบกอทิก (Gothic) ผู้ให้กำเนิดสถาปัตยกรรมแบบโกธิค คือ แอบบอท ซุเกอร์ (Abbot Suger) สถาปนิกชาวฝรั่งเศสเมื่อ
    ออกแบบโบสถ์ เซนต์เดนิส (
    Church of Saint Denis) ในตอนเหนือกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    ลักษณะสำคัญคือ โครงสร้างแบบโค้งยอดแหลม (Pointed Arches)มีค้ำยันผนังภายนอก (Flying Buttresses) เนื่องจากอาคารมีความสูงมาก และหน้าต่างประดับด้วยกระจกสี (Stained Glass Windows) หน้าต่างอาคารแบบทรงกลม (Rose Window)
    มีการตกแต่งประตูทางเข้าโบสถ์ เหมือนกับศิลปะโรมันเนสก์

    ��������������� ผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น วิหารโนตรดาม (Notre Dame)ในกรุงปารีส, วิหารออร์เวียตโต (Orvieto)ในอิตาลี, วิหารชาร์ตส์ประเทศฝรั่งเศส

    2. วรรณกรรม แต่งเป็นภาษาละติน

    แบ่งเป็น วรรณกรรมทางศาสนา และวรรณกรรมทางโลก

    2.1) วรรณกรรมทางศาสนา

    ��������������� วรรณกรรมที่สำคัญ คือ เทวนคร (The City of God) โดยนักบุญออกัสติน เป็นเรื่องราวการสร้างโลกตามคติศาสนา
    มหาเทววิทยา (
    Summa Theologica) โดยนักบุญทอมัส อะไควนัส เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ และศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่าง
    มีเหตุผล ใช้สอนวิชาเทววิยาในมหาวิทยาลัย

    2.1) วรรณกรรมทางโลก

    ��������������� แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ มหากาพย์, นิยายวีรคติหรือนิยายโรมานซ์, คีตกานท์, นิทานฟาบลิโอ, นิทานอุทาหรณ์

    ��������������� 2.1.1) มหากาพย์ (epic) หรือที่เรียกว่า ชาซอง เดอ กาสต์ เป็นเรื่องราวของการสร้างวีรกรรมของวีรบุรุษในอดีต
    นิยมประพันธ์ด้วยโคลงกลอน วรรณกรรมประเภทนี้ได้แก่
    ��ชาซอง เดอ โรลองด์ ( chason de roland ) เป็นเรื่องราวของการต่อสู้ของโรลองค์ ทหารของสนิทของพระเจ้าซาร์ลมาร์ลกับกองทัพมุสลิมที่เดินทัพมาจากสเปนเพื่อพิชิตยุโรปตะวันตก
    ชาซอง
    เดอ โรลองด์ เป็นที่นิยมของพวกชนชั้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักรบ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติ ความกล้าหาญ ความเสียสละของนักรบ อุดมการณ์ จริยธรรม ตลอดจนความมีศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างเด่นชัด

    2.1.2) นิยายวีรคติหรือนิยายโรมานซ์ ( romance ) ประพันธ์เป็นคำกลอนขนาดสั้นยาว นิยายประเภทเพ้อฝันเป็นเรื่องราวความรักของคนหนุ่มสาว ความจงรักภักดีของอัศวินต่อเจ้าและขุนนางเวทมนตร์คาถา นิยายที่เป็นที่นิยมกันมาก ได้แก่
    เรื่องเกี่ยวกับสงครามโทรจันในสมัยกรีก
    พระเจ้าอเล็กซาน
    เดอร์มหาราช โดยทั่วไปเป็นเรื่องราวความรักของคนหนุ่มสาวที่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ความรักสมปรารถนา ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องชู้สาว เช่น เรื่องพระเจ้าอาเธอร์ ( King Arthur ) ที่
    ซาร์ลานเซอลอด�
    ( Lancelot ) เป็นชู้กับพระนางกีเนเวีย ( Guinevere ) พระมเหสีของพระเจ้าอาเธอร์ นิยายประเภทเพ้อฝันเกี่ยวกับความหวานชื่นของความรักดังกล่าวนี้จะจบลงด้วยความหายนะของคู่รักทั้งสอง แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่านให้เห็นถึงคุณค่าของความรักว่ามีอานุภาพเหนือสิ่งใด ๆ ทั้งปวง

    2.1.3) คีตกานท์ ( lyric) เกิดจากนักร้องเร่ที่เรียกตัวเองว่า ตรูบาดูร์ ��(Troubadour) จะแต่งบทกวีขับร้องกับพิณ
    นิยมบรรเลงกันในปราสาทของขุนนางและราชสำนัก เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักแบบเทิดทูนต่อสตรีสูงศักดิ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากราชสำนักของพวกมุสลิม
    การเทิดทูนสตรีที่สูงศักดิ์ก่อให้เกิดระเบียบวิธีปฏิบัติที่บุรุษควรมีต่อสตรีเพศ หรือที่เรียกว่า ธรรมเนียมวีรคติ ซึ่งถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครันในหมู่อัศวินนักรบของสมัยกลางในภายหลัง�� ซึ่งบุรุษชั้นสูงจะแสวงหาความรักแบบเทิดทูนต่อสตรีผู้สูงศักดิ์โดยไม่ปรารถนาความรักตอบแทน เพราะถือว่าว่าการอุทิศตนเพื่อสตรีที่รักทำให้ชีวิตของการเป็นอัศวินมีคุณค่าและมีเกียรติยศยิ่งนัก

    2.1.4) นิทานฟาบลิโอ ( Fabliau )เป็นวรรณกรรมของชาวบ้านทั่วไป เป็นนิทานสั้น ๆ เขียนเป็นโคลงกลอน ซึ่งเป็น
    เรื่องเสียดสีสังคมชนชั้นสูง ตลกขบขัน เล่ห์เหลี่ยม ความไม่ดีงามและบางครั้งค่อนข้างหยาบ งานประพันธ์ที่ได้รับอิทธิพล ได้แก่
    เรื่อง แคนเทอร์เบอรี
    เทลส์ ( Canterbury s Tales ) ของซอเซอร์

    2.1.5) นิทานสัตว์ ( Fable ) เป็นนิทานร้อยแก้วหรือร้อยกรองในลักษณะของนิทานอีสป (Aesop) ที่มีชื่อเสียง คือ นิทานชุดโรมานซ์ออฟรีนาร์ด (The Romance of Renard) เนื้อหาล้อเลียนเสียดสีสังคมฝรั่งเศสในสมัยกลาง ประณามระบบฟิวดัล
    กระบวนการยุติธรรม และวงการศาสนา


    3. สิ่งที่เกิดจากการค้า

    ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 การค้าของโลกตะวันตกได้ฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากชะงักงันเป็นเวลานานหลายร้อยปี ก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเมืองเก่าที่เคยรุ่งเรืองในสมัยจักรวรรดิโรมัน และเกิดเมืองใหม่ๆ ขึ้นในคาบสมุทรอิตาลีจนถึงคาบสมุทร
    สแกนดิเนเวียตลอดจนดินแดนยุโรปตะวันออก เมืองกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของยุโรป เกิดสมาคมพ่อค้าและ
    ช่างฝีมือ (
    Guild) โดยใช้ระบบฝึกงานเพื่อพัฒนาฝีมือของช่าง และควบคุมมาตรฐานคุณภาพสินค้า รวมทั้งจัดสวัสดิการให้ช่างฝีมือ เกิดการจัดงานแสดงสินค้า (Fair) การเกิดระบบธนาคาร รับฝากและกู้ยืมเงิน ธุรกิจการค้าที่คึกคัก โดยเฉพาะการทำสัญญาและ
    การกู้ยืมเงินของบรรดาพ่อค้าจึงมีความจำเป็นในการกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของปีที่แน่นอน ในสมัยกลางตอนต้นชาวยุโรปตะวันตกนิยมใช้วันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ชีพหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แต่ละปีจึงมีระยะเวลาที่ไม่แน่นอน
    ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจบรรดาพ่อค้าจึงเลือกวันฉลองการทำสุหนัต ของพระกุมาร ( พระเยซู ) ในวันที่
    1 มกราคม
    �� เป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ ได้นำเอาเลขอาหรับ มาใช้แทนตัวเลขโรมัน และนำตัวเลข 0 ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย
    มาใช้
    ทำให้พ่อค้าสามารถคิดผลกำไรขาดทุนที่แสดงเป็นตัวเลขได้สะดวกและรวดเร็วซึ่งนับได้ว่าเป็น การปฏิวัติ อีกอย่างหนึ่งต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสังคมของชาวตะวันตกให้ก้าวเข้าสู่โลกของการค้า ในระบบเศรษฐกิจแบบการใช้เงินตราอย่างแท้จริง


    4. มหาวิทยาลัยตะวันตก

    มหาวิทยาลัยนับเป็นมรดกที่สำคัญของยุโรปในสมัยกลาง ในระยะแรกเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษา
    มีลักษณะเป็นองค์การหรือสมาคมอาชีพ เรียกว่า ยูนิเวอร์ซิตี (
    university )

    การศึกษาของสมัยกลางในระยะแรกๆ เน้นหนักทางด้านเทววิทยา เพื่อเตรียมคนเป็นผู้สืบศาสนา โดยใช้วัดในคริสต์ศาสนาเป็นที่เล่าเรียน ต่อมามีการจัดตั้งสถานศึกษาที่แยกออกจากวัดขึ้นในอิตาลี เพื่อเพิ่มพูนวิชาความรู้ให้แก่ผู้ที่เตรียมตัวเป็นพระให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการกลายเป็นมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเจริญเติบโตในเวลาอันรวดเร็วอันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมือง สงครามครูเสด ( Crusade s� ตั้งแต่ ค.ศ. 1096 - ค.ศ. 1291 ) และการรับรู้ความรู้ใหม่ ๆ จากทาง
    ยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์ เช่น
    ปรัชญา คณิตศาสตร์ แพทย์ และนิติศาสตร์
    การศึกษาของมหาวิทยาลัยสมัยกลางเน้นศิลปศาสตร์ 7 แขนง กล่าวคือ 3 แขนงแรกมีความสำคัญที่สุด ได้แก่ ไวยากรณ์ วาทศิลป์ และตรรกวิทยา และรองลงมา คือ เลขคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี มีนักศึกษาเข้าเรียนนับพันคน และใช้วิธีการสอบปากเปล่า การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในสมัยกลางเจริญแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เมื่อสิ้นสมัยกลางปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในยุโรป 80 แห่ง�� มหาวิทยาลัยที่มีประวัติอันยาวนานและมีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันคือ�� มหาวิทยาลัยปารีส โบโลนญา ปาดัว ออกฟอร์ด และเคมบริดจ์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×