ลำดับตอนที่ #9
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : การกล่าวหาและการตรวจสอบเรื่องการทุจริต
การกล่าวหาและการตรวจสอบเรื่องการทุจริต
- ในรัฐบาลชวนสอง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้มีการจัดประมูลการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ในราคา 54,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง แต่ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง รัฐบาลได้ยุบสภาเสียก่อน เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่และพรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมากเบ็ดเสร็จในสภา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 9 พ.ย. 2544 [7]ได้ให้มีการประมูลการก่อสร้างใหม่ และสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้กว่าสองหมื่นล้านบาท โดยใช้วิธีการลดคุณสมบัติ (specification)ของวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่ง รวมทั้งลดขนาดอาคารและพื้นที่ตกแต่งภูมิทัศน์ในหลายๆ จุด [8]
- พ.ศ. 2548 ในรัฐบาลทักษิณหนึ่ง มีการกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัยในการจัดซื้อและติดตั้งระบบตรวจวัตถุระเบิดในสัมภาระ โดยที่ สเป็ก ของเครื่องรุ่น CTX 9000 อาจจะถูกล็อก เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้รับเหมา (บริษัทแพทริออต มีนายวรพจน์ ยศะทัศน์ หรือ เสี่ยเช เป็นผู้บริหาร) และบริษัทผู้ผลิต (บริษัทอินวิชั่น สหรัฐอเมริกา) เหตุการณ์นี้นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 28 มิ.ย. 2548 อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของบางฝ่าย นายสุริยะ ไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดได้ในสภา ปัจจุบันเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX ทั้ง 26 เครื่องได้ถูกติดตั้งเรียบร้อยและอยู่ระหว่างการทดสอบ [9][10]
- ปัญหาสัมปทานในการก่อสร้าง และจัดสรรพื้นที่ องค์ประกอบอื่นๆ สัมปทานบริการต่างๆ ภายในสนามบิน [11]เช่น
- มี.ค. 2549 สตง.ได้ทำหนังสือถึง รฟท. เพื่อขอความชี้แจงเรื่องที่ มีการจ่ายค่าบริการ 1600ล้านบาท ให้กับ บริษัทรับเหมาสร้างรถไฟขนส่ง จากตัวเมืองมายังสนามบิน (แอร์พอร์ตเรลลิงค์) เพียง 5วันหลังจากมีการเซ็นสัญญา แทนที่จะมีการจ่าย หลังจการที่โครงการสร้างเสร็จ สตง.ได้สั่งให้ รฟท. ชี้แจงภายใน 60วัน[12]
- ก.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ตนจะแจ้งความกล่าวโทษต่อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคล 6 คน (รวมถึงคนใกล้ชิดของนายกรัฐมนตร) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับสินบน 300 ล้านบาท จากบริษัทลัทธ์ เฟอร์ ไทย จำกัด ในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ (คาร์ปาร์ค) และสัมปทานเก็บผลประโยชน์ 25 ปี[13]
- ก.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ตั้งข้อสังเกตในการประมูล รถเข็นสัมภาระในสนามบิน และ การจัดหาบริษัทจำหน่ายไฟฟ้า สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศ ให้กับเครื่องบินที่ลานจอด[14]
- ก.ค. 2549 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้ตั้งข้อสังเกตเกียวกับ บริษัทไทยแอร์พอร์ตกราวน์เซอร์วิส (แทคส์, TAGS) (บริษัทที่ได้รับสัมปทาน บริหารเขตปลอดอากร และศูนย์โลจิสติกส์ในสนามบิน) ว่าุ มีบริษัทในสิงคโปร์ถือหุ้นอย่างไม่ปรกติ และไม่มีการประกาศประมูลอย่างที่ควรเป็น[15]
- ส.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้อ้่า่งว่าตนเองมี บันทึกข้อตกลงลับระหว่างคณะผู้บริหาร ทอท. กับบริษัทแทคส์ ซึ่งระบุว่ามีการแก้ไขสเปครถเข็นเอื้อให้บางบริษัทได้งาน และลดสเปคลงมาเป็นการผลิตรถเข็นในประเทศ ทำให้มีส่วนต่างกำไรมากขึ้น 200 ล้านบาท โดยได้นำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นให้กับ สตง.
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น