ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    ลำดับตอนที่ #5 : รายละเอียดสนามบิน

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ย. 49


    รายละเอียดสนามบิน

    แผนที่แสดงที่ตั้งอาคารต่างๆภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    ขยาย
    แผนที่แสดงที่ตั้งอาคารต่างๆภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ประมาณถนนบางนาตราดกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยส่วนหลัก ได้แก่

    ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน

    ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด

    อาคารผู้โดยสาร

    พื้นที่ส่วนเช็กอิน ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ
    ขยาย
    พื้นที่ส่วนเช็กอิน ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ
    แผนที่ภายในอาคารผู้โดยสารแต่ละชั้น
    ขยาย
    แผนที่ภายในอาคารผู้โดยสารแต่ละชั้น

    อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตร.ม. มี 8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน มีรายละเอียดแต่ละชั้น(ตามแผน) ดังต่อไปนี้

    • ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร (Bus Lobby)
    • ชั้น 2 - ผู้โดยสารขาเข้า (Arrivals)
    • ชั้น 3 - จุดนัดพบ, ร้านค้าต่างๆ
    • ชั้น 4 - ผู้โดยสารขาออก (Departures)
    • ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และพันธมิตร (Star Alliance)
    • ชั้น 6 - ภัตตาคาร
    • ชั้น 7 - ที่ชมทัศนียภาพ
    • ชั้นใต้ดิน - สถานีรถไฟ

    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขาเข้า 124 จุด / ขาออก 72 จุด โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 100% Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอยู่ใต้อาคาร มีอาคารผู้โดยสารนานาชาติและภายในร่วมกัน ระยะทางเดินต่อเครื่องระหว่างสายการบินภายในและภายนอก มีความยาวเฉลี่ยราว 800-1000 เมตร ระยะไกลสุดราว 3000 เมตร เดิมมีแผนที่จะเชื่อมโดยรถรางใต้ดิน (แต่ปัจจุบันไม่ได้ก่อสร้างตามแผนนั้น)

    อาคารท่าเทียบเครื่องบิน

    ภายในส่วนอาคารท่าเทียบเครื่องบินและส่วนพักคอย
    ขยาย
    ภายในส่วนอาคารท่าเทียบเครื่องบินและส่วนพักคอย

    อาคารท่าเทียบเครื่องบิน หรือคอนคอร์ส มีท่าเทียบ 51 จุด 5 จุดสามารถรอรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น Airbus A-380 ได้ ลักษณะสถาปัตยกรรมทันสมัย หลังคารูปโค้งกรุผ้าใบสลับกระจกโค้ง นอกจากการจอดเทียบท่าแล้วสามารถจอดที่ท่ากลางลานได้ รวมแล้วสามารถรองรับเครื่องบินได้ราว 120 ลำ

    งานศิลปะภายในสนามบิน

    ได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ประดับหลายชิ้นภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 ชิ้น ประติมากรรมนารายณ์กวนเกษียรสมุทร มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลอง ของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย

    งานภูมิทัศน์

    ภูมิทัศน์สวน "ชนบท" ในบริเวณส่วนอาคารผู้โดยสาร หลังการแก้ไขแบบ โดยภูมิสถาปนิกไทย
    ขยาย
    ภูมิทัศน์สวน "ชนบท" ในบริเวณส่วนอาคารผู้โดยสาร หลังการแก้ไขแบบ โดยภูมิสถาปนิกไทย

    งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบิน และภายในส่วนเปิดโล่งของสนามบิน นั้นมีลักษณะเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ (Peter Walker) ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน นับเป็นงานภูมิสถาปัตยกรรมซึ่งนักวิชาการทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมระบุว่าเป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือสวน "เมือง" (city) เป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์ และน้ำพุ และสวน "ชนบท" (country) ใช้หญ้าท้องถิ่น และต้นไม้ตัดแต่ง (topiary) รูปฝูงช้าง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ และให้กลุ่มภูมิสถาปนิกชาวไทย ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ร่วมวางแผนแม่บท เมื่อ ปี 2537 (สำนักงานภูมิสถาปนิก ดี เอส บี แอสโซสิเอส) ร่วมกับกลุ่มผู้ออกแบบชุดใหม่ สำนักงานภูมิสถาปนิกระฟ้า ปรับแบบ แต่ยังคงแนวคิดเมืองและชนบทอยู่ (ดูภาพ)


    อาคารจอดรถ

    อาคารจอดรถมี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่นๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน

    ระบบสาธารณูปโภค

    • ระบบป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่ท่าอากาศยาน และมีอ่างเก็บน้ำภายใน 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
    • ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปาสำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วัน
    • สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 115 กิโลโวลต์ ให้เหลือ 24 กิโลโวลต์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน
    • ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
    • ระบบจัดเก็บกากของเสีย สามารถกำจัดกากของเสียได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน

    ระบบบริการคลังสินค้า

    คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี

    ระบบอื่นๆ

    • ระบบโภชนาการ - ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 100,000 ชุดต่อวัน
    • โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน - โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้
    • ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ - ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2 เมตร) ที่พร้อมไปด้วยระบบวิทยุสื่อสารการบิน ระบบติดตามอากาศยานเขตประชิดสนามบินและระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดิน รวมทั้งระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย
    • โรงแรมและบริการ - โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

    นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×