คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : P.002.2 : วิชาวรรณคดีศึกษา คาบเรียนที่ 1
หญิงสาวเดินเข้ามาในห้องเรียนก่อนจะกวาดสายตามองไปรอบๆ แล้วจดจำสภาพลักษณะของนักเรียนแต่ละคนเอาไว้ในสมองก่อนที่จะเอ่ยบางอย่างออกมา
“สวัสดีนักเรียนทุกคน ฉันมีชื่อว่าศศิรัตนากร นฤเคนทร์ หรือจะเรียกว่าอาจารย์เรย์ก็ได้ รับผิดชอบสอนวิชาวรรณกรรมศาสตร์และวรรณคดีศึกษา...” เรย์เว้นช่วงเล็กน้อยก่อนจะเอ่ยต่อ “ซึ่งในคาบเรียนนี้เราจะเรียนในส่วนของวิชาวรรณคดีศึกษา วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของวรรณคดี”
“เอาล่ะ…มาเริ่มคลาสแรกของเราก่อนเลย” เรย์เอ่ย “วันนี้เราจะมาพูดถึงความหมายของวรรณคดีกัน”
เสียงเปิดหนังสือดังขึ้นตามด้วยเสียงใสของหญิงสาว
“วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6”
“วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร”
เรย์คลี่ยิ้มก่อนจะเอ่ยต่อ “เอาล่ะ..มีอะไรสงสัยไหม”
“ถ้าไม่มี งั้นฉันจะพูดต่อเลยนะ”
“วรรณคดีมีทั้งหมดสองประเภท คือ
1. วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น
2. วรรณคดีราชสำนักหรือวรรณคดีลายลักษณ์ เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย”
“โดยในอีกตำราหนึ่งอาจกล่าวว่า วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
“วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้”
หญิงสาวเว้นช่วงเล็กน้อย ก่อนจะเอ่ยต่อ
“งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน อ่านแล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี”
“การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
- วรรณคดีคำสอน
- วรรณคดีศาสนา
- วรรณคดีนิทาน
- วรรณคดีลิลิต
- วรรณคดีนิราศ
- วรรณคดีเสภา
- วรรณคดีบทละคร
- วรรณคดีเพลงยาว
- วรรณคดีคำฉันท์
- วรรณคดียอพระเกียรติ
- วรรณคดีคำหลวง
- วรรณคดีปลุกใจ”
เสียงปิดหนังสือดังขึ้นตามด้วยเสียงพูดของหญิงสาว
“เอาล่ะ…ใกล้จะหมดเวลาเรียนแล้ว” เรย์ใช้ดวงตาสีทะเลมองดูนาฬิกาก่อนจะเงยหน้าขึ้นมา จากนั้นจึงไปเขียนบางอย่างที่กระดาน “ถึงเวลาให้การบ้านแล้ว…”
การบ้านวิชาวรรณคดีศึกษา คาบเรียนที่ 1
คำสั่ง ให้นักเรียนยกตัวอย่างวรรณคดีมาหนึ่งเรื่องโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นวรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ หรือวรรณคดีของชนชาติอื่นๆ จากนั้นให้เขียนเนื้อเรื่องอย่างย่อพร้อมกับบทความคิดเห็นที่มีต่อวรรณคดีเรื่องนั้นของนักเรียนส่งอาจารย์
ยกตัวอย่างเช่น [ป.ล. เป็นการสมมติ]
ชื่อเรื่อง : ศึกเวทมนตร์ทะลุฟ้า
เนื้อเรื่องอย่างย่อ : A ฆ่า B ตาย B เลยตามหลอกหลอน A จน C ทนไม่ไหวให้ จ้างหมอผีไปปราบ B จน C และ A ได้แต่งงานอยู่กันอย่างมีความสุข
ความคิดเห็นของนักเรียนต่อวรรณคดีเรื่องนี้ : สนุกดี บลาๆ
เป็นต้น
เมื่อหญิงสาวเขียนการบ้านบนกระดานเสร็จแล้ว เธอก็เดินออกไปทันที
ป.ล. ส่งไม่เกินวันที่พุฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม
’ cactus
ความคิดเห็น