ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหาชีววิทยา ม.4 เทอม 2

    ลำดับตอนที่ #1 : Bio : : 1 : : เตรียมความรู้ก่อนเข้าเนื้อหา

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ย. 49


    ก่อนที่จะถึงส่วนของเนื้อหา เราว่าควรจะทำความรู้จักกับไฟลัมต่างๆเบื้องต้นก่อน เพราะว่าจะมีกล่าวถึงค่อนข้างมากเมื่อถึงตัวเนื้อหาแล้ว  ....


    กล่าวสรุปลักษณะของแต่ละไฟลัมโดยย่อ


    การจำแนกอาณาจักรของสัตว์

    1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) ส่วนใหญ่พบในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - รูปร่างคล้ายแจกันหรือเป็นก้อนมีสีสวยงาม

    - ลำตัวเป็นโพรง (Spongyocoel) มีรูพรุนเป็นทางให้น้ำเข้า(Ostium) ทางน้ำออกเรียก ออสคูลัม (osculum) เป็นช่องขนาดใหญ่มีช่องเดียว มักอยู่ด้านบนของลำตัว

    - มีโครงแข็งภายใน เรียกว่า สปิคูล (Spicule) มีหลายรูปแบบ  อาจเป็นพวกหินปูน ,ซิลิกา หรืออาจมีแค่เส้นใยโปรตีน (Spongin fiber)

    - ผนังด้านในมีเซลล์ที่มีลักษณะเป็นปลอกและมีแฟลกเจลลัม เรียก เซลล์คอลลา (Collar cell) หรือ Chomocyte

    - การสืบพันธ์โดยแตกหน่อ และสร้างเจมมูล(แบบไม่อาศัยเพศ) สร้างไข่และสเปิร์มในตัวฟองน้ำ (แบบอาศัยเพศ)


    2.
    ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterrata)

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - รูปร่างมี 2 แบบ คือ กระดิ่งคว่ำ (Meudsa) ว่ายน้ำเป็นอิสระและ คล้ายต้นไม้เกาะอยู่กับที่

    - ลำตัวอ่อนนุ่มในพวกปะการังมีโครงแข็งพวกหินปูนหุ้มอยู่ภาย นอก

    - มีช่องแกสโตรวาสคูลาร์ (gastrovascular) เป็นช่องกลวงกลางรำตัว คล้ายถุง ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารยังไม่มีทวารหนัก กากอาหาร ถูกขับออกทางปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดเพียงช่องเดียว

    - บริเวณรอบปากจะมีหนวดหลายเส้น ใช้จับอาหารที่หนวดจะมี เซลล์ไนโดปลาสต์ ที่มีเข็มพิษนีมาโตซิส (Nematocyse)ทำให้คน และสัตว์ตายได้

    - มีร่างแหประสาท(Nervenet) ไม่มีสมองไม่มีอวัยวะ เฉพาะสำหรับ หายใจ ขับถ่ายและหมุนเวียนโลหิต

    - การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้การแตกหน่อ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์บนตัวเดียวกันเช่น ไฮดรา หรือแยกคนละตัว เช่น แมงกะพรุน 

    ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ไฮดรา ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา
    ปะการังนิ่ม โอปิเลีย ปากทะเล แมงกะพรุน และแมงกะพรุนไฟ


    3.
    ไฟลัมแพททีเฮลมินทีส (Phylum Plartyhelminthes)

    สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่เป็นปรสิตอาศัยในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ต่าง ๆ

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เป็นพวกแรกผนังลำตัวอ่อนนิ่มมีซีเรีย ยกเว้นพวก ปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา

    - ลำตัวแบนยาว

    - มีปากไม่มีทวารหนัก ลำไส้แตกแขนงทั่วตัว

    - ระบบขับถ่ายเป็นเฟลมเซลล์

    - มีสมองเป็นวงแหวนและมีเส้นประสาทตามยาว 1-3 คู่

    - ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีข้อหรือปล้องที่แท้จริง ไม่มี ปากช่องว่างในลำตัว

    - การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่อาศัยเพศ โดยมี 2 เพศในตัวเดียวกัน

    ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พลานาเรีย หนอนตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ในตับ ปอด ในเลือดและทางเดินอาหาร พยาธิตัวตืด


    4.
    ไฟลัมนีมาเทลมินทิส (Phylum Nemathelminthes)

    ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม ส่วนใหญ่เป็นพวกปรสิตในคนและสัตว์

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - ลำตัวกลมยาว หัวและท้ายแหลม ไม่มีปล้องและระยางค์ใด ๆ

    - มีทางเดินอาหารสมบูรณ์คือ มีปากและทวารหนัก

    - ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต พวกเป็นปรสิตจะหายใจ แบบไม่ใช้ O2 ส่วนพวกหากินเป็นอิสระจะหายใจทางผิวหนังและ บริเวณลำตัว

    - ผิวหนังมีคิวติเคิลหนาทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี

    - มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ซูโดซีลอม (Pheudocoelom) มีกล้ามเนื้อตามยาวเท่า นั้นที่ใช้สำหรับเคลื่อนไหว

    - มีสมองเป็นวงแหวนอยู่รอบทางเดินอาหาร และต่อกับเส้น ประสาทยาวตลอดตัว

    - ระบบสืบพันธุ์จะแยกคนละตัว ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้

    ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิตัวจี๊ด

    พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย ไส้เดือนฝอย และหนอน

    ในน้ำส้มสายชู (ดำรงชีพอย่างอิสระ)

    5. ไฟลัมแอนนีลิดา (Phylum Annelida)

    พบทั้งบนบก ในน้ำจืดและน้ำทะเล

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - ลำตัวกลมยาวเป็นวงแหวนต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังมีคิวติเคิลบาง ๆ มีต่อมสร้างเมือก เพื่อทำให้ลำตัวชุ่มชื้นตลอดเวลา มีระยางค์เรียก เดือย ในแต่ละปล้อง(ยกเว้น ปลิง)

    - มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง (Eucoelom) แบ่งเป็นห้องตามขวาง ลำตัวมีกล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อวงแหวน

    - ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบเลือดเป็นแบบปิด เลือดเป็นสี แดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ในเลือด ส่วนเม็ดเลือดจะไม่มีสี

    - หายใจทางผิวหนัง หรือเหงือก มีเนฟริเดียม (Nepheridium) ปล้อง 1 คู่ เป็นอวัยวะขับถ่าย มีรูปมีสมอง 1 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมกับเส้น ประสาทกลางตัวทางด้านล่าง มีอวัยวะรับความรู้สึกกับการสัมผัส กลิ่นและแสง

    - ระบบสืบพันธุ์ มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่ผสมพันธุ์ในตัวเองไม่ได้

    ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเล ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด โพลิขีด แม่เพรียง หรือตัวสงกรานต์


    6.
    ไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda)

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - ลำตัวเป็นปล้องแบ่งเป็นส่วนหัว อก ท้อง ลำตัวมีสารไคตินหุ้มเป็น เปลือกหนา มีการลอกคราบ

    - มีระยางค์ ต่อกันเป็นข้อทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว

    - มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์

    - ระบบเลือดแบบเปิด เลือดจะออกจากหัวใจไปตามช่องว่างภายใน ลำตัวที่เรียกว่า ช่องฮีโมซีส (Haemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจที่ อยู่ด้านบนของลำตัว

    - สัตว์ที่อยู่บนบกหายใจด้วยท่อลม หรือแผงปอด หรือสัตว์ที่อยู่ใน น้ำจะหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีแผงเหงือก

    - กุ้งมีต่อมเขียว (Green gland)แมลงมีท่อมัลปิเกียน (Malpighim tubele) ส่วนสัตว์บางชนิดมีต่อม Coxal gland ที่โคนขาเป็นอวัยวะ ขับถ่าย

    - มีสมองแบบวงแหวนล้อมรอบหลอดอาหาร ซึ่งไปเชื่อมกับเส้น ประสาทคู่ด้านท้อง ซึ่งจะมีปมประสาทอยู่ทุกปล้อง มีหนวด (antenna) และขนใช้รับสัมผัสและรับรู้สารเคมี มีอวัยวะรับเสียงและ การทรงตัว ตามีชนิดตาเดี่ยว


    7
    ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ หอย และปลาหมึก บางชนิดอยู่บนบกหรือเราเรียกสัตว์ในไฟลัมนี้ว่า มอลลัสก์ (Mollusc)

    ลักษณะที่สำคัญคือ :

    - มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีต่อมเมือก บางชนิดมีเปลือกแข็ง หุ้มทั้งแบบฝาเดี่ยวและฝาคู่

    - มีหัวด้านหน้าลำตัวสั้น ด้านล่างมีแผ่นเท้าขุดฝังตัวและใช้ว่ายน้ำ

    - เปลือกแข็งที่หุ้มถูกสร้างจากเยื่อแมนเทิล (Mantle)

    - มีระบบหมุนเวียนเลือด มีหัวใจอยู่ด้านบนและมีเส้นเลือดนำเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ

    - บางชนิดหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีถุงหายใจคล้ายปอด บางชนิด หายใจด้วยปอด เช่น หอยทาก และทาก

    - มีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย ถือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียว เท่านั้นที่ใช้ไตในการขับถ่าย

    - มีปมประสาท 3 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมระหว่างปมประสาท มีอวัยวะรับภาพ รับกลิ่น และการทรงตัว สัตว์ในไฟลัมนี้เช่น หอยทาก หอยงวงช้าง หอยงาช้าง หอยกาบคู่ หอยกาบเดี่ยว เป๋าฮื้อ ทากทะเล ลิ่นทะเล หมึกทะเลชนิดต่าง ๆ


    8.
    ไฟลัมเอไคโดเนอร์มาตา (Phylum Echinodemata) เป็นสัตว์ที่อยู่ ในทะเลทั้งสิ้น และไม่มีชนิดใดเป็นปรสิต

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - มีโครงแข็งภายในเป็นหินปูนขรุขระ บางชนิดมีหนามยื่นออกมา

    - จากจุดศูนย์กลางของลำตัวมีแขนยื่นออกมา รวมทั้งสามารถงอก ส่วนที่ขาดหายไปได้

    - มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีปากอยู่ทางด้านล่างทวารหนัก เปิดอยู่ ทางด้านบน

    - มีระบบเลือดแบบเปิด

    - มีเท้าท่อหรือทิวป์ฟิต (Tube feel) ใช้เคลื่อนที่และหาอาหาร

    - หายใจโดยใช้เหงือก

    - มีระบบประสาทเป็นวงแหวนรอบปากและมีแขนงไปส่วนต่าง ๆ

    - ระบบสืบพันธุ์แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอกตัว (External fertilization) บางชนิดสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

    ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล พลับพลึงทะเล


    9.
    ไฟลัมคอร์ดาต้า (Phylum Chordata)

    ลักษณะที่สำคัญ :

    - มีโนโตคอร์ด (Notochord) เป็นแกนของร่างกายในระยะตัวอ่อน หรืออาจมีตลอดชีวิต

    - มีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน เมื่อโตจะหายไป แต่บางชนิดจะมีอยู่ ตลอดชีวิต

    - มีไขสันหลังเป็นท่อยาวกลม อยู่ด้านหลังเหนือโนโตคอร์ด เป็นแท่งที่เกิดจากเนื้อเยื่อ พวกมีโซเดิร์มอยู่เหนือทางเดินอาหารแต่ อยู่ใต้ไขสันหลัง จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีลักษณะเป็นเส้นใยหุ้มเอาไว้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×