คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : กระต่าย
กระต่าย
เป็นสัญลักษณ์ให้มีอำนาจ ความสามารถ ความกล้าหาญ และยุติธรรม ตาม
ความเชื่อของชาวจีนสมัยโบราณเชื่อว่า ฝูงกระต่ายสีขาวบนดวงจันทร์
มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะจึง วาดลวดลายมงคลเป็นกระต่าย ๓ ตัววิ่งไล่กันเป็นวงกลม
โดยให้หูข้างเดียวของกระต่ายแต่ละตัวอยู่ตรงกลางเป็นสามเหลี่ยม
เมื่อดูทีละตัวจึงจะเห็นกระต่ายแต่ละตัวมีหูสองข้าง ใช้แสดงมงคลถึงการให้มีอำนาจ
กล้าหาญ และยุติธรรม หากใช้สัญลักษณ์ "กระต่ายป่า"
จะหมายถึงความมีอายุยืนเหมือนกวาง
โชคลางเกี่ยวกับกระต่าย
ชาวล้านนาเชื่อกันว่าเมื่อเดินทางออกจากบ้านได้พบเจอกระต่ายก็ดี
หรือเห็นกระต่ายวิ่งผ่านหน้าไปก็ดี เชื่อว่า เมื่อเดินทางออกจากบ้าน
ได้พบเจอกระต่ายก็ดี หรือเห็นกระต่ายวิ่งผ่านหน้าไปก็ดี เชื่อว่าเป็นลางร้าย
ไม่ควรเดินทางต่อไปเพราะอาจได้รับอุบัติเหตุ
ความเชื่ออื่นๆ
คนจะเฝ้าดูวิธีวิ่งของกระต่าย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมัน
และเขาก็สังเกตได้ว่าขาหลังของกระต่ายแตะพื้นก่อนขาหน้า
และเพราะเหตุนี้ที่เท้าปุกปุยของกลายมาเป็นสิ่งนำโชคและเป็นเครื่องรางกันวิญญาณชั่วร้าย
เชื่อกันว่ากระต่ายจะช่วยขับไล่เคราะห์ร้ายและนำโชคดีมาให้
การจะได้มาต้องล่ากระต่ายในคืนพระจันทร์เต็มดวง ยิงมันด้วยกระสุนเงิน
จากนั้นตัดขาหลังข้างซ้ายของมันแล้วจุ่มนำฝนที่ขังในตอไม้
ให้พกขากระต่ายไว้ในกระเป๋าหลังข้างซ้ายหรือแขวนคอไว้จนมันแห้งและเก่า
ซึ่งตอนนั้นมันจะขลังมาก
ประเทศในแถบยุโรปไปจนถึงอเมริกา เชื่อว่ากระต่ายปาสกา
เป็นผู้ที่ออกไข่ปาสกาไว้ในสวนหรือบ้าน แต่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เชื่อว่านก cuckoo เป็นผู้ที่นำไข่ปาสกามาให้เด็กๆในฝรั่งเศส
นอกเหนือจากประเทศดังกล่าว ในประเทศที่นับถือคาทอลิก
เด็กๆได้รับการบอกเล่าว่าระหว่างวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์
และวันปาสกาเสียงระฆังจะเงียบหายไป เนื่องเพราะระฆังเหล่านั้น กำลังเดินทางไปเฝ้าพระสันตะปาปาที่กรุงโรม
พร้อมไข่ปาสกา
กระต่ายกับจักรราษี - ปีเถาะ
เถาะ เป็นชื่อปีที่ 4 ของรอบปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็นกระต่าย พุทธศักราชที่ตรงกับปีเถาะ เช่น พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2578 และ พ.ศ. 2590 เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย โดยมีพระธาตุประจำปีเกิดตามความเชื่อล้านนา คือ พระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีสีประจำปีคือสีเทา เป็นปีธาตุไม้ และมีทิศประจำปีคือทิศตะวันออก
กระต่าย (: Hare, Rabbit) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์
Leporidae
กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก
เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่
เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2
ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว
มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น
ซึ่งวิวัฒนาการมาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี
และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
จึงสามารถกระโดดได้เป็นอย่างดี ใต้ฝ่าเท้ามีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่
เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว
เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น
ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่
หญ้าและพืชผักชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายจะอยู่ที่ 2-3 ปี
นับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก โดยปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ตัว กระต่ายในธรรมชาติ
มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็นทุ่งหญ้ามากกว่าป่าทึบ
โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ
เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็สามารถวิ่งและกระโดดได้เลย
เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่
เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้
โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา
กระต่ายกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก
ไม่เว้นแม้กระทั่งเขตอาร์กติก ยกเว้นโอเชียเนียและทวีปออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 11 สกุล ได้แก่ Brachylagus
,Bunolagus , Caprolagus , Lepus , Nesolagus, Oryctolagus, Pentalagus, Poelagus,
Pronolagus, Romerolagus, Sylvilagus ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว
คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis)
กระต่ายโดยธรรมชาติ เป็นสัตว์ที่อยู่สุดปลายของห่วงโซ่อาหาร
ด้วยเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น หมาป่า, หมาจิ้งจอก,
แมวป่า, เสือชนิดต่าง ๆ, หมาใน, ชะมดและอีเห็น รวมถึงงูขนาดใหญ่ด้วย เช่น
งูหลามและงูเหลือม กระต่ายเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาเป็นเวลานาน
ด้วยการเป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อเป็นอาหารและเกมกีฬาโดยเฉพาะในแถบทวีปยุโรป
ในเชิงวัฒนธรรมและความเชื่อ ชาวตะวันตกเชื่อว่า การพกขากระต่ายจะนำมาซึ่งโชคดี
ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า กระต่ายเป็นเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์
มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ เป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์
การมอบรูปลักษณ์ของกระต่ายจึงถือเป็นการมอบความปราถนาให้โชควาสนาให้แก่กัน
ในปัจจุบัน
กระต่ายได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ทั้งในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม
และสัตว์เศรษฐกิจเพื่อรับประทานเนื้อ
โดยกระต่ายชนิดที่นำมาพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น โดยมากจะเป็นชนิด
กระต่ายยุโรป (Oryctolagus
cuniculus) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปยุโรป
ซึ่งกระต่ายสายพันธุ์สวยงามนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายมากมาย โดนยมีขนาดแตกต่างกันออกไปตามขนาดลำตัว
อาทิ เนเธอร์แลนด์ดวอฟ, โปลิช แรทบิท, ฮอลแลนด์ลอป
ซึ่งเป็นกระต่ายขนาดเล็ก และอิงลิชลอป ที่เป็นกระต่ายขนาดใหญ่ เป็นต้น
ความคิดเห็น