ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    My Study & My Working :

    ลำดับตอนที่ #2 : รอยนิ้วมือ 2

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.ค. 53


     
    ลายนิ้วมือเกิดขึ้นได้อย่างไร ?               
               ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าของเราจะมีลักษณะพิเศษ คือ นอกจากจะมีความหนามากกว่าส่วนอื่นแล้ว
     ก็ยังมีส่วนที่เป็นสัน (Ridge) และส่วนที่เป็นร่อง (Furrow) ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่ไม่ซ้ำกันเลย
     ไม่ว่าจะเป็นลายที่บริเวณปลายนิ้ว ฝ่ามือและฝ่าเท้า สันและร่องเหล่านี้จะก่อให้เกิดความฝืด ทำให้เรา
    หยิบจับของได้สะดวกขึ้น
    ประวัติของลายนิ้วมือ
             คนเรารู้จักใช้ลายนิ้วมือให้เป็นประโยชน์กันมานานแล้ว โดยชาวจีนและชาวอัสซีเรียนจะเป็นกลุ่มแรก
    ที่ใช้รอยพิมพ์ของลายนิ้วมือบนดินเหนียวแทนการเซ็นชื่อในการค้าขาย
             ลายนิ้วมือถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการระบุตัวอาชญากรครั้งแรกในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย
     โดยตำรวจชาวอังกฤษชื่อ Sir Edward Richard Henry
           ในปี พ.ศ. 2445 สหรัฐฯ เริ่มใช้ลายนิ้วมือในการจำแนกตัวบุคคล และในปีต่อมาเรือนจำแห่งรัฐนิวยอร์ก
    ก็เริ่มการพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขังโดยใช้ลายนิ้วมือ 

    การจำแนกลายนิ้วมือ                       
                 ลายนิ้วมือของคนเราสามารถถูกจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ 
    ภาพที่2 ลายมัดหวาย(Loop)
    ภาพที่3 ลายก้นหอย(Whorl)
    ภาพที่4 ลายโค้ง(Arch)
       
            ลายมัดหวายพบ 65%     ลายก้นหอยพบ 30 %    ลายโค้ง พบ 5%

    ภาพที่5 ลายเส้นพื้นฐานเหล่านี้ยังถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีกหลายกลุ่ม  แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยในการบอกความแตกต่างระหว่างลายนิ้วมือแต่ละ
    ลายก็คือตำหนิที่เกิดจากลักษณะพิเศษของสัน(Ridge) ที่เป็นเส้นนูนของลายนิ้วมือนั่นเอง 



    * 2.jpg (4.6 KB, 82x88 - ดู 155 ครั้ง.)

    * 3.jpg (4.73 KB, 82x89 - ดู 152 ครั้ง.)

    * 4.jpg (4.49 KB, 83x91 - ดู 149 ครั้ง.)





    * 5.jpg (10.36 KB, 272x200 - ดู 150 ครั้ง.)


    ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับลายนิ้วมือ

    เมื่อพูดถึงเรื่องลายนิ้วมือ คนส่วนใหญ่ก็มักนึกถึง FBI ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดเพราะนี่คือหน่วยงานระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของลายนิ้วมือหน่วยพิสูจน์ลายนิ้วมือของ FBI ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2467 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานที่เก็บรอยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้มากที่สุดในโลก จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.
    2514 พบว่า FBI เก็บรอยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้บนบัตรถึง 200 ล้านใบซึ่งเป็นของ   
        
        พลเรือนและอาชญากรกว่า 81 ล้านคน
                  ในปี 2542 FBI เริ่มใช้ระบบจัดเก็บรอยพิมพ์ลายนิ้วมือเต็มรูปแบบ ด้วยระบบ IAFIS หรือIntegrated Automated Identification System ซึ่งจะช่วยให้การสืบค้นประวัติอาชญากรจากรอยนิ้วมือเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและแม่นยำ 


    การนำรอยนิ้วมือจากที่เกิดเหตุมาตรวจสอบเพื่อหาตัวผู้กระทำผิด เป็นการตรวจที่เรียกว่าระบบเปิด (Open system) หรือ แบบ 1:N เป็นการตรวจสอบที่ยากและเสียเวลามากเพราะต้องเปรียบเทียบกับรอยพิมพ์นิ้วมือที่เก็บไว้นับล้าน เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ที่ดีเท่านั้นจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
      
      
              หน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของลายนิ้วมืออยู่ โดยเฉพาะสถาบันนิติเวชวิทยา กองพิสูจน์หลักฐาน และกองทะเบียนประวัติอาชญากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนกรมราชทัณฑ์นั้นเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบลายนิ้วมือของผู้ต้องขังในหลายขั้นตอน เช่น 

             - เมื่อรับตัวเข้าเรือนจำ
             - เมื่อย้ายหรือปล่อยตัวออกจากเรือนจำ
             - ก่อนและหลังการประหารชีวิต


    * 1.jpg (5.22 KB, 109x126 - ดู 144 ครั้ง.)

    * 2.jpg (5.93 KB, 151x113 - ดู 143 ครั้ง.)

    * 3.jpg (4 KB, 100x112 - ดู 146 ครั้ง.)



    วิธีพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขัง

    ภาพถ่าย การถ่ายรูปเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะใช้ในการพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขัง เรือนจำทุกแห่งจะเก็บภาพถ่ายผู้ต้องขังไว้ในแฟ้มทะเบียนประวัติ ข้อเสียของวิธีนี้คือ เมื่อเวลาผ่านไป (ในกรณีที่ผู้ต้องขังมีโทษสูง) หน้าตาของผู้ต้องขังก็อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายภาพซ้ำ  
        
      
             ถ้าต้องมีการนำตัวผู้ต้องขังออกนอกเรือนจำ เช่น เมื่อย้ายผู้ต้องขังกลับภูมิลำเนาเดิมหรือส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก เรือนจำอาจต้องถ่ายภาพผู้ต้องขังเก็บไว้ ถ้ามีการหลบหนีเกิดขึ้น ภาพถ่ายล่าสุดที่ถ่ายไว้จะมีประโยชน์มากในการติดตามจับกุมตัว 


    รอยพิมพ์ลายนิ้วมือ เป็นหลักฐานที่ดีที่สุดเพราะลายนิ้วมือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่แรกเกิดไปจนตาย ต่างกันก็ตรงขนาดของลายเท่านั้นการพิมพ์ลายนิ้วมืออาจมีปัญหาบ้างสำหรับผู้พิการที่นิ้วขาดหรือหรือมีนิ้วเกินหรือนิ้วติดกันตั้งแต่กำเนิด ลายนิ้วมืออาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น เกิดแผลเป็นจากการทำงาน หรือนิ้วขาดเพราะอุบัติเหตุ การรับตัวผู้ต้องขังเข้ามา จำคุก หรือปล่อยตัวผู้ต้องขังเมื่อพ้นโทษ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จำเป็นต้องตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ผิดตัว


     
    รอยสัก    ผู้ต้องขังเป็นกลุ่มที่มีการสักตามส่วนต่างๆของร่างกายมากกว่าประชากรทั่วไป   รอยสักเหล่านี้ ลบออกได้ยาก  โดยเฉพาะ
    อย่างยิ่งถ้าเป็นรอยสักที่สักด้วยมือ (ไม่ได้ใช้เครื่องสัก) ซึ่งเม็ดสีจะฝังอยู่ ในชั้นผิวหนังด้วยความลึกที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ลบออกได้ยาก  ไม่ว่าจะใช้วิธีศัลยกรรมหรือใช้เครื่องเลเซอร์ลบรอยสัก ถึงแม้ว่ารอยสักอาจจะถูกสักให้เหมือนกันได้ ก็มีผู้ต้องขังน้อยรายมากที่จะมีรอยสักเหมือนกันทุกจุด การระบุลักษณะรอยสักลงในทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ก็อาจจะเป็นประโยชน์ได้  ในด้านนิติเวชวิทยา บางครั้ง รอยสักก็มีประโยชน์ในการใช้ประกอบการพิสูจน์ศพหรือยืนยันตัวผู้ต้องหา 


    แผลเป็น แผลเป็นไม่มีประโยชน์มากนักในการช่วยพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขังยกเว้นแผลเป็นขนาดใหญ่บนใบหน้าหรือบนผิวหนังนอกร่มผ้า โดยปกติแล้วแผลเป็นจะมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะในระยะหลังเกิดบาดแผลใหม่ๆ    
        
        
        
              นอกจากนี้ปานหรือไฝขนาดใหญ่ ก็ควรถูกบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติผู้ต้องขังด้วย
     


    * 1.jpg (4.18 KB, 150x113 - ดู 142 ครั้ง.)

    * 2.jpg (4.08 KB, 157x105 - ดู 143 ครั้ง.)

    * 3.jpg (4.39 KB, 158x104 - ดู 144 ครั้ง.)

    * 4.jpg (1.91 KB, 82x103 - ดู 141 ครั้ง.)

    เครื่องสแกนลายนิ้วมือ

    การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้ราคาของเครื่องสแกนลายนิ้วมือมีราคาถูกลงอย่างรวดเร็ว จนสามารถนำมาใช้ใน
    ระดับสำนักงานหรือแม้แต่ใช้ส่วนตัว  
      
      
                 การสแกนลายนิ้วมือเก็บไว้ในรูปของภาพดิจิตอลนั้น สามารถทำได้รวดเร็ว สะดวกในการจัดเก็บ และทำให้การตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือของผู้สงสัยเพื่อเปรียบเทียบกับลายนิ้วมือที่อยู่ในคลังข้อมูลนั้น เป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ 
               
     เมื่อเครื่องสแกนลายนิ้วมือถูกนำมาใช้ใหม่ๆ การเปรียบเทียบรอยนิ้วมือผู้ต้องสงสัยกับรอยนิ้วมือที่มีอยู่ในแฟ้มข้อมูลหลายแสนหน้านั้น ใช้เวลา 1-2 นาทีเท่านั้น ซึ่งถ้าจะตรวจสอบโดยใช้ตาเปล่าจะใช้เวลาหลายวัน ส่วนเครื่องสแกนลายนิ้วมือในปัจจุบันถูกพัฒนาจนสามารถตรวจสอบลายนิ้วมือหลายล้านลายโดยใช้เวลาเพียง 1 นาทีเช่นกัน 

    เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบตัวบุคคลก่อนจะเข้าไปในสถานที่ที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัย   การตรวจลายนิ้วมือจะดีกว่าการใช้วิธีตรวจบัตรประจำตัวซึ่งอาจปลอมแปลงกันได้ง่าย 
              

                    ปัจจุบัน เครื่องเหล่านี้ถูกผลิตออกมามากมายหลายแบบ และราคาถูกจนสามารถซื้อมาใช้บันทึกเวลาทำงานของพนักงานแทนเครื่องตอกบัตรได้ ส่วนในเรือนจำนั้นเครื่องสแกนลายนิ้วมือจะมีประโยชน์มากในการจัดเก็บและตรวจสอบยืนยันตัวผู้ต้องขังละสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบผู้ผ่านเข้าออกเรือนจำได้ดีและสะดวกกว่าการใช้วิธีอื่น 


    รถยนต์บางคันติดตั้งเครื่องตรวจลายนิ้วมือไว้เพื่อตรวจสอบผู้ใช้รถจนแน่ใจว่าเป็นของเจ้าของรถเสียก่อนจึงจะสามารถสตาร์ทรถได้

    เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่ติดตั้งอยู่ที่คีย์บอร์ดหรือเมาส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาลักลอบใช้เครื่องคอมฯได้ และสะดวกมากเพราะลายนิ้วมือเป็นรหัสผ่านที่บรรดาแฮกเกอร์ต้องยกธงขาวยอมแพ้ และปัญหาการลืมรหัสผ่านก็ไม่มี เครื่องสแกนลายนิ้วมือระดับ Hi-end บางเครื่อง ต่อให้หล่อแบบลายนิ้วมือหรือตัดนิ้วมือเจ้าของรหัสมากดก็ไม่สำเร็จครับ  เพราะเขาติดตั้งเครื่องตรวจชีพจรที่ปลายนิ้ว
     หรือ ตรวจปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้วไว้ด้วย ซึ่งเจ้าเครื่องตรวจระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้วนี้ ก็มีใช้อยู่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง ราคาเครื่องละไม่กี่หมื่นบาท
     


    * 1.jpg (2.33 KB, 138x102 - ดู 140 ครั้ง.)

    * 2.jpg (5.12 KB, 124x120 - ดู 141 ครั้ง.)

    * 3.jpg (4.43 KB, 134x97 - ดู 142 ครั้ง.)

    * 4.jpg (4.79 KB, 133x109 - ดู 143 ครั้ง.)





    สารพัดวิธีพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล

    หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ตึก World Trade และที่ Pentagon ในอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน2544 แล้ว สถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งสนามบินทั่วโลกก็เริ่มให้ความสนใจกับการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้น  ซึ่งนอกจากเครื่องตรวจลายนิ้วมือแล้ว  ยังมีเครื่องมือไฮเทคอื่นๆที่จะช่วยในการตรวจยืนยันตัวบุคคลได้อีกหลายวิธี  เช่น 
      
    เครื่องตรวจม่านตา (Iris scan) 
                ม่านตาของคนเราจะมีลายที่ไม่ซ้ำกันเลย เราจึงสามารถใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพม่านตาแล้วนำมาใช้ในการตรวจสอบเปรียบเทียบเพื่อยืนยันตัวบุคคลได้ โดยให้ความแม่นยำสูงกว่าเครื่องตรวจลายนิ้วมือ  ธนาคาร United of Houston ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มทดลองนำเครื่องตรวจม่านตามาใช้กับเครื่อง ATM เป็นแห่งแรกซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่พอใจเพราะไม่ต้องพกบัตร
              สนามบิน Schiphol ในกรุงอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ก็เริ่มนำเครื่องตรวจม่านตามาใช้กับเจ้าหน้าที่สนามบินและผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2544  โดยเริ่มใช้กับผู้โดยสารที่เดินทางบ่อยๆก่อน ทำให้ผู้โดยสารเสียเวลากับพิธีการตรวจคนเข้าเมืองน้อยลง
    สนามบิน 8 แห่งในประเทศแคนาดาก็ใช้เครื่องตรวจแบบนี้กับผู้โดยสารระหว่างประเทศเช่นกัน 


    เครื่องตรวจจอตา (Retina scan) ด้วยเส้นประสาทและเส้นโลหิตฝอยมากมาย     
      จอตาเป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบเส้นโลหิตฝอยเหล่านี้ จะกระจายอยู่ทั่วจอตาและมีทิศทางและลักษณะที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคน เพราะฉะนั้น ภาพถ่ายของจอตาจึงนำมาใช้ในการพิสูจน์จำแนกตัวบุคคลได้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเครื่องตรวจม่านตา 

    ข้อดีของเครื่องตรวจจอตาก็คือมันให้ความแม่นยำในการตรวจสูงมาก ข้อมูลจาก ภาพถ่ายของจอตาจะกินเนื้อที่เพียง 96 Bytes จึงใช้เวลาในการตรวจสอบเปรียบเทียบน้อยมากอย่างไรก็ตามข้อเสียของเครื่องตรวจชนิดนี้ก็คือ ราคาแพง ใช้งานยาก เส้นเลือดที่จอตาอาจเปลี่ยน
    แปลงได้จากพยาธิสภาพต่างๆ เช่น การหลุดลอกของจอตา เส้นเลือดฝอยในจอตาแตก ฯลฯ และที่สำคัญก็คือผู้ถูกตรวจไม่ค่อยยอมรับเนื่องจากต้องเอาหน้าไปวางชิดกับเครื่องตรวจจึงระแวงว่าจะเกิดอันตรายกับตา 


    เครื่องตรวจใบหน้า (Facial scan)            
             เครื่องตรวจใบหน้ามีหลักการทำงานคือสแกนภาพใบหน้าแล้วนำจุดอ้างอิงต่างๆบนใบหน้ามาเปรียบเทียบกัน เช่น ใช้ระยะห่างระหว่าง
    ดวงตา โหนกแก้ม โหนกคิ้ว มุมปาก ฯลฯ ข้อดีก็คือสามารถตรวจได้จากระยะไกล ใช้งานง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำพอสมควร
            ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่พรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโกรวมทั้งบ่อนคาสิโนหลายแห่งในสหรัฐใช้เครื่องตรวจใบหน้าเพื่อเปรียบเทียบกับใบหน้าของบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำที่ห้ามเข้าเมืองหรือห้ามเข้าบ่อน   
         
        
         
             นอกจากนี้ ยังมีเครื่องตรวจอื่นๆที่สามารถใช้ตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลได้ เช่น เครื่องตรวจลักษณะของใบห(Ear lobe scan) เครื่องตรวจเสียง (Voice scan) ซึ่งเครื่องทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นก็มีจุดอ่อนที่เหมือนกันหมด นั่นก็คือจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ยังมีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับรอยพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งแต่ละประเทศก็ได้เก็บรวบรวมไว้เป็นจำนวนมากเนื่องจากเก็บมาเป็นระยะเวลานานแล้วนั่นเอง
     


    * 1.gif (26.79 KB, 90x93 - ดู 141 ครั้ง.)

    * 2.jpg (4 KB, 114x140 - ดู 139 ครั้ง.)

    * 3.jpg (2.19 KB, 100x97 - ดู 138 ครั้ง.)

    * 4.jpg (12.31 KB, 151x212 - ดู 141 ครั้ง.)



    http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1654.0
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×