คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : ✣ History - ยุคสมัยและวิธีทางประวัติศาสตร์ {1} ✣
ยุคสมัยและวิธีทางประวัติศาสตร์
ยุคสมัย
ยุคสมัย คือ ช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไว้หลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างจะมีข้ออ้างอิงที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษรใช้ในการสื่อสาร แต่มีร่องรอยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งเกิดขึ้นหลายล้านปีมาแล้ว การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ยุคนี้จึงต้องศึกษาจากเครื่องมือเครื่องใช้ หรือร่องรอยต่างๆ ที่ถูกทิ้งไว้
1.1 ยุคหิน มีอายุอยู่ประมาณ 500,000 – 4,000 ปีมาแล้ว มีการนำหินมาใช้ทำเป็นเครื่องมือและอาวุธต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิต
ก. ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ในยุคนี้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินจะทำอย่างหยาบๆ ไม่ละเอียด
ข. ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว เครื่องมือเครื่องใช้จะถูกทำด้วยความประณีตมากขึ้น มีหลากหลายชนิดมากขึ้น
ค. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์เริ่มผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม รูปร่างตรงกับการใช้งานต่างๆ มากขึ้น เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
1.2 ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 – 1,500 ปีมาแล้ว เริ่มมีการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ ระยะแรกมนุษย์จะนำทองแดงและดีบุกมาหลอมซะส่วนมาก
ก. ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว สำริด คือทองแดงผสมกับดีบุก มีการนำทองแดงมาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งอาวุธด้วย
ข. ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์เริ่มนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือและอาวุธ
คำถามประจำคาบ
1. ในการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ออกจากกันนั้น
ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์
ตอบ ::
2. สำริด คืออะไร
ตอบ ::
3. ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีอายุประมาณกี่ปีถึงกี่ปี
ตอบ ::
-. Emerald .-อาจารย์ผู้สอน
Duck-
![ร้านค้าแจกธีมบทความ](http://i1200.photobucket.com/albums/bb339/Nano_Photo3/th_Untitled-1copy-1.jpg)
THANK FOR THEME
![บทความงามๆที่รอคุณมาสอย!](http://i1200.photobucket.com/albums/bb339/Nano_Photo3/225ea57e.gif?t=1303195761)
ความคิดเห็น