ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระดนตรีไทย #ฉบับปรับปรุง

    ลำดับตอนที่ #34 : [การละครไทย] ละครหลวงวิจิตรวาทการ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 335
      0
      28 ส.ค. 53

     
               หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้รวบรวมศิลปิน โขน ละคร และนักดนตรี เข้ามารวมกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งเป็นกองขึ้นในกรมศิลปากร ทั้งได้ตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นฝึกฝนนักเรียนด้วย เพื่อรักษาศิลปของชาติไว้มิให้เสื่อมสูญ ในระยะนี้หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านเป็นทั้งนักการทูต และนักประวัติศาสตร์ ท่านจึงมองเห็นคุณค่าทางการละครที่จะใช้เป็นสื่อปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติ เนื้อหาจะนำมาจากประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง บทละครของท่านจะมีทั้งรัก รบ สะเทือนอารมณ์ ความรักที่มีต่อคู่รัก ถึงแม้จะมากมายเพียงไร ก็ไม่เท่ากับความรักชาติ ตัวเอกของเรื่องสละชีวิต พลีชีพเพื่อชาติ ด้วยเหตุที่ละครของท่านไม่เหมือนการแสดงละครที่มีอยู่ก่อน คนทั้งหลายจึงเรียกละครของท่านว่า "ละครหลวงวิจิตรวาทการ"

              ผู้แสดง มักใช้ผู้แสดงทั้งผู้ชาย และผู้หญิง แสดงตามบทบาทในเรื่องที่กำหนด

             การแต่งกาย จะมีลักษณะคล้ายละครพันทาง คือจะแต่งกายตามเนื้อเรื่อง และให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ

             เรื่องที่แสดง มักเป็นบทประพันธ์ของท่านที่แต่งขึ้นมีอยู่หลายเรื่องด้วยกันดังนี้ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี พระมหาเทวี เบญจเพส น่านเจ้า อนุสาวรีย์ไทย พ่อขุนผาเมือง ดาบแสนเมือง ชนะมาร เจ้าหญิงกรรณิการ์ สีหราชเดโช ตายดาบหน้า ลานเลือดลานรัก เพชรรัตน์ - พัชรา ลูกพระคเณศ ครุฑดำ โชคชีวิต อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ อานุภาพแห่งความรัก อานุภาพแห่งศีลสัตย์ และเลือดสุพรรณ

             การแสดง มักมีการแสดงต่างๆแทรกอยู่เป็นระยะๆ เช่น การรำอาวุธ การประลองอาวุธ การฟ้อนรำ และระบำต่างๆประกอบเพลง ตลอดจนมีการแสดง และร้องเพลงสลับฉาก นอกจากนี้การแสดงของท่านจะมีทั้งรำร้องเพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล บางเรื่องผู้แสดงร้องเอง นอกจากนี้ละครหลวงวิจิตรวาทการยังมีลักษณะแปลก คือจะชวนเชิญให้ผู้ชมร้องเพลงในละครเรื่องนั้น ซึ่งเนื้อเพลงมีคติสอนใจ ปลุกใจให้รักชาติ จึงเป็นละครที่มีผู้นิยมมาก และจะได้รับแจกเนื้อเพลง สามารถนำมาร้องให้ลูกหลานฟังได้ ในสมัยต่อมาการแสดงฉากสุดท้ายตัวละครทุกตัวจะต้องออกแสดงหมด

            ดนตรี บรรเลงด้วยวงดนตรีไทย และวงดนตรีสากลประกอบกัน

           เพลงร้อง มีทั้งเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากล โดยมี 3 ลักษณะ คือ เพลงไทยสากลที่ให้ตัวละครร้องโต้ตอบกัน มักเป็นเพลงรัก เพลงที่ให้ตัวละครร้องประกอบการแสดง และเพลงปลุกใจ

    http://www.anurakthai.com/


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×