ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลองรังสิต

    ลำดับตอนที่ #5 : ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.พ. 53


    ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย





    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    1. ที่ตั้งและภูมิทัศน์ของประเทศไทย
    2. นิเวศวิทยาของประเทศไทย
    3. การผลิตผลทางเกษตรและอุตสาหกรรม
    4. ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
    5. สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง
    6. ธรณีวิทยาของประเทศไทย
    7. โครงสร้างโลกและภูมิอากาศ



    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    ที่ตั้งและภูมิทัศน์ของไทย

    จัดแสดงที่ตั้งของประเทศไทยในภูมิศาสตร์โลก บนลูกโลกจำลอง ซึ่งหมุนเร็วเท่าโลกจริง บริเวณใต้ลูกโลกแสดงภูมิทัศน์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและวิถีการดำเนินชีวิตให้ต่างกันไป

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    นิเวศวิทยาของประเทศไทย

    นำเสนอเรื่องระบบนิเวศในประเทศไทยที่มีความสมบูรณ์หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศทางทะเลเกาะสมุย ระบบนิเวศลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระบบนิเวศดอยอินทนนท์ และศึกษาความหลากหลายของสัตว์ พืชชนิดต่าง ๆ จากคอมพิวเตอร์

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    การผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม

    นำเสนอเรื่องการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย ตั้งแต่การปรับปรุงกระบวนการผลิต แปรรูป บรรจุหีบห่อ ปรับปรุงพันธุ์ เรียนรู้เรื่องการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สมัยใหม่ ชมแบบจำลองขั้นตอนการทำนา เก็บเกี่ยว แบบจำลองโรงสีข้าว แบบจำลองเครื่องจักรกลทางการเกษตร

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

    นำเสนอเรื่องการก่อตัวของแผ่นดินไทยที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ความแตกต่างนี้เองที่มีผลต่อการดำรงของคนไทยในแต่ละภูมิภาค ชมแบบจำลองทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งของประเทศไทยในมุมมองจากอวกาศ เรียนรู้เรื่องของการเกิดดิน การเกิดหิน การเคลื่อนตัวของทวีป ภูเขาไฟ และการเกิดแผ่นดินไหว

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง

    จัดแสดงถึงเรื่องราวการใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาโครงสร้างและสิ่งปลูกสร้างให้แข็งแรงและตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ให้มากขึ้น ชมแบบจำลองของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ อาคารสูง กระทั่งอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เอง

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    ธรณีวิทยาของประเทศไทย

    นำเสนอเรื่องความแตกต่างด้านธรณีวิทยาของท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีอายุของชั้นหินแตกต่างกันไป เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งหินและแร่ที่มีค่าในประเทศไทย การระเบิดหิน การทำเหมืองแร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ชนิดต่าง ๆ สัมผัสบรรยากาศการขุดค้นซากไดโนเสาร์ของอาจารย์วราวุธ สุธีธรจากแบบจำลองขนาดเท่าจริง



    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
    โครงสร้างโลกและภูมิอากาศ


    จัดแสดงกลไกการทำงานของโลก ภูมิอากาศ ซึ่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต บทบาทของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ที่มีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ ศึกษาวิธีการทำนายสภาพลมฟ้าอากาศของคนโบราณและของนักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน การกำเนิดจักรวาล แล้วมาเรียนรู้เรื่องคุณภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนเพราะผลกระทบจากมลพิษ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×