ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องแปลกๆ!!!!

    ลำดับตอนที่ #7 : ไตรตัน(Tritons)

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.ค. 49


    ชื่อนี้เป็นชื่อนายเงือกแห่งทะเลเมดิเตอเรเนียนครับ อันที่จริงเงือกที่ทะเลนี้ก็มีลักษณะคล้ายกับที่อื่นๆน่ะแหล่ะ แต่ว่ากลับมีบุคลิกลักษณะและการปรากฎตัวน่าสนใจน้อยกว่าที่อื่นๆนะซี ก็นอกจากที่หางจะเป็นปลาแล้ว ไตรตันพวกนี้ยังมีเกล็ดที่แผงอก(แบบมนุษย์)ของมันด้วย ในปากแทนที่จะมีฟันอย่างมนุษย์ กลับเป็นฟันแหลมๆของปลา ที่มือก็มีพังผืดระหว่างนิ้วเล็บหรือก็ยาวแหลมเหมือนกรงเล็บสัตว์ร้าย และเช่นเดียวกับเงือกทางทะเลเหนือ มันสามารถเปลี่ยนหางให้กลายเป็นขาไว้สำหรับเดินบนดินได้

    นายเงือกทะเลเหนืออาจจะมีอาการตกหลุมรักนางมนุษย์สาวได้ แต่บรรดาเงือกไตรตันจะไม่มีอารมณ์อ่อนไหวปานนั้น เหตุผลสำคัญที่มันจะขึ้นฝั่งก็คือ เพื่อทำความชั่วร้ายทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการเมาหัวทิ่มยิ่งกว่ากะลาสีขึ้นฝั่ง หรือเที่ยวข่มขืนผู้หญิงที่เดินอยู่ในทางเปลี่ยว ผู้คนบนบกมันจะใช้วิธีการรุนแรงเพื่อหลีกให้พ้นแก๊งพวกไตรตัน มิฉะนั้นอาจจะต้องพบกับความหายนะ เช่นตัวอย่างหนึ่งที่พวกชาวบ้านนอนกรนอยู่บนชายหาด ยังถูกพวกไตรตันขี้เมานี้บั่นคอทิ้งเล่นเลยครับ

    เห็นๆว่าบรรดาเงือกหนุ่มไตรตันนะชั่วซะเหลือแสน แต่บิดาไตรตัน ผู้พ่อของนายเงือกชั่วร้ายกลับเป็นเงือกที่ดีมาก เงือกเฒ่าไตรตันผู้พ่อตั้งอยู่ในความสงบและชอบช่วยเหลือผู้อื่น ผู้เฒ่าท่านนี้มักจะลอยขึ้นมาจากความลึกของท้องทะเลเพื่อช่วยเหลือชาวทะเลที่กำลังประสบปัญหาเสมอๆรวมทั้งกรณีเรืออาโกร์เมื่อถูกคลื่นลมจัดด้วยครับ ท่านเพียงแต่เป่าหอย(สังข์)ของท่านเท่านั้น ท้องทะเลที่กำลังอยู่ในอาการบ้าคลั่งจะสงบลงอย่างฉับพลัน

    ท่านผู้อ่านเห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่าเงือกหนุ่มกับเงือกเฒ่ามีความดีต่างกันอย่างไร เพราะงั้นไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า เงือกหนุ่มไตรตันจะมีบทบาทอะไรในท้องทะเลมั่ง ทั้งๆที่ตัวเองมีเลือดดีมีปู่เป็นถึงเทพโปไซดอน แม้ยามที่ท่านปู่จะตั้งขบวนเดินทางท่านยังไม่ได้เอาหลานจอมเกเรติดสอยห้อยตามไปด้วยเลย ท่านเอาปลาโลมาลากราชรถมีนางพรายเนเรียดชัดธงทิวผ่านไปเหนือคลื่น เงือกหนุ่มไตรตันมีสิทธิ์แค่เพียงเป็นคนนอกที่คอยสังเกตการณ์เท่านั้นเอง

    อย่างมากที่สุดที่จะทำได้ก็แค่เป่าแตรหอยสังเสียงแหลม และเที่ยววิ่งวุ่นไปหน้าขบวนเพื่อเตือนไม่ให้ใครเข้ามาขวางทางเจ้าแห่งท้องทะเลเท่านั้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×