คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #127 : 10 ธรรมเนียมอันตรายจากทั่วโลก
10 ประเพณีและธรรมเนียมอันตรายจากทั่วโลก
ในทุกๆวัฒนธรรม ทุกๆเชื้อชาติและทุกๆสมัย การกระทำอันเป็น ‘ประเพณี หรือ ธรรมเนียม’ นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆ กิจกรรมวันคริสต์มาสถูกมองเป็นประเพณี การโยนข้าวสารในงานแต่งงานก็ถูกพิจารณาให้เป็นธรรมเนียม ประเพณีหรือธรรมเนียมก็คือสิ่งหนึ่งในหลายๆสิ่งที่ใช้เชื่อมสัมพันธ์ผู้คนไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมาจากไหน อย่างไรก็ตาม ประเพณีก็ไม่ใช่เรื่องสนุกไปเสียทั้งหมด แม้ว่าส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดอันตราย แต่ก็ยังคงมีประเพณีที่มีอันตรายถึงตายอยู่มากมาย และต่อไปนี้ก็คือตัวอย่างของประเพณีอันตรายเหล่านั้น
1. การดำน้ำฉลองปีใหม่ – ไซบีเรีย, รัสเซีย
วันปีใหม่ในประเทศรัสเซีย นักดำน้ำจากทั่วสารทิศจะพากันกระโจนลงไปใน “ไบคาล” ทะเลสาบที่มีความลึกถึง 5,390 ฟุต และฉลองปีใหม่โดยการดำดิ่งไปจนกว่าจะถึงก้นบึ้งของทะเลสาบ พวกเขาจะทำการตัดแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บนผิวน้ำทะเลสาบออกก่อนที่จะดำลึก นักดำน้ำคนหนึ่งจะมีหน้าที่นำต้นไม้ปีใหม่ลงไปด้วย และเมื่อต้นไม้ได้รับการลงดินที่ก้นบึ้งของทะเลสาบแล้ว พวกเขาก็จะเต้นรำฉลองความสำเร็จไปรอบๆต้นไม้ ประเพณีนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 และแม้ว่าจะฟังดูไม่อันตรายเท่าใดนัก แต่ก็อย่าลืมว่าไบคาลเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลกที่นักดำน้ำต้องดำดิ่งลงไปพร้อมกับอุปกรณ์ดำน้ำที่หนักถึง 100 กิโลกรัม
2. เล่นน้ำท้าหนาว “Polar Bear Plunge” – อเมริกา
โพลาร์แบร์ พลันช์ เป็นกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในหลายๆภาคส่วนในประเทศอเมริกาและเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มันคือการกระโดดลงไปในน้ำเย็นเฉียบในฤดูหนาวเพื่อฉลองปีใหม่และบางครั้งก็เพื่อการกุศล โพลาร์แบร์ พลันช์ที่ใหญ่ที่สุดถูกจัดขึ้นที่ สวนสาธารณะแซนดี้ พอยท์ ในรัฐแมรี่แลนด์ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเรี่ยไรเงินสำหรับงานสเปเชียลโอลิมปิก แม้จะเป็นงานการกุศลที่ไม่มีพิษมีภัยแต่สำหรับบางพื้นที่ ผู้เข้าร่วมต้องถึงกับเซ็นเอกสารรับรู้ว่าประเพณีนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างการเป็นอัมพาต สภาวะร่างกายที่อุณหภูมิต่ำเกินกว่าปกติ และอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีบันทึกผู้เสียชีวิตจากประเพณีนี้
3. สงครามดอกไม้ไฟ – ไคออส, กรีซ
การเข้าโบสถ์เป็นเรื่องน่าเบื่อใช่ไหม? ไม่เลย! อย่างน้อยก็ไม่น่าเบื่อหากเป็นโบสถ์ที่ไคออส ประเทศกรีซ บนเกาะเล็กๆที่มีนามว่าไคออส ในทุกๆวันอีสเตอร์ของที่นี่นั้นถือเป็นปรากฏการณ์ ในวันนี้ สองโบสถ์คู่แข่งที่เป็นที่โจทย์ขานจะทำการจุดดอกไม้ไฟและยิงใส่โบสถ์ตรงข้าม เป้าหมายคือการยิงให้ถูกระฆังของอีกโบสถ์หนึ่งให้ได้ ว่ากันว่าพลุนั้นหมดไปมากกว่า 25,000 อันและใช้คนกว่า 150 คนช่วยกันดับไฟจากพลุเหล่านั้น ในอดีต พลุเหล่านั้นได้ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ทำอันตรายต่อบ้านเรือนและทำให้เกิดผู้เสียชีวิตไปมาก แต่ปัจจุบันประเพณีนี้ก็ยังคงมีอยู่
4. พิธีโยนทารก – โซลาเปอร์, อินเดีย
ประเพณีของชาวมุสลิมทางตะวันตกของอินเดีย ณ เมือง โซลาเปอร์ คือการปล่อยทารกลงมาจากเทวสถานที่สูงถึง 15 เมตรโดยมีผ้าขาวรองรับอยู่ด้านล่าง พิธีกรรมที่ถูกจัดขึ้นมานานกว่าครึ่งสหัสวรรษนี้จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงตามความเชื่อ เหล่าผู้ศรัทธาอ้างว่าไม่เคยเกิดอันตรายต่อทารกมาก่อนในตลอด 500 ปีที่พิธีกรรมดำเนินมานี้
5. ประเพณีกลิ้งชีส – กลอสเตอร์, อังกฤษ
ประเพณีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่ประหลาดที่สุด ประเพณีการกลิ้งชีสที่เนินเขาคูเปอร์นั้นประกอบไปด้วย ดับเบิลกลอสเตอร์ชีส (ชีสก้อนกลมขนาดใหญ่ที่เห็นตามซูเปอร์มาร์เก็ต) เนินเขาชันๆ และผู้เข้าร่วมที่บ้าบิ่น ว่ากันว่าประเพณีนี้มีอายุประมาณ 200 ปี และจะจัดขึ้นโดยที่ชีสก้อนกลมจะถูกกลิ้งลงมาจากเนินเขาและผู้เข้าร่วมคนใดที่วิ่งลงจากเนินเขาและไปถึงชีสได้ก่อนคือผู้ชนะ และจะได้ชีสก้อนนั้นเป็นรางวัล มันควรจะเป็นเหมือนการวิ่งไล่จับชีสเพียงแต่ว่าชีสที่ถูกกลิ้งนั้นอาจกลิ้งด้วยความเร็วถึง 70 เมตรต่อชั่วโมง ไม่ปรากฏผู้เสียชีวิตจากการเข้าร่วมประเพณีนี้ ส่วนมากจะมีเพียงข้อเท้าเคล็ด กระดูกหัก หรือถูกกระแทกพอได้แผลฟกช้ำเท่านั้น
6. ออนบะชิระ – โตเกียว, ญี่ปุ่น
‘ออนบะชิระ’ คือเทศกาลที่ถูกจัดขึ้นทุกๆ 6 ปีในปีขาลและปีวอกตามปฏิทินของจีน ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถูกจัดขึ้นมาเป็นเวลากว่า 1,200 ปี ออนบะชิระ แปลได้ความหมายว่า ‘เสาแห่งเกียรติยศ’ ประเพณีนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ยามะดะชิ (จัดในเดือนพฤษภาคม) และซาโตะบิกิ (จัดในเดือนเมษายน) ยามะดะชิจะเป็นประเพณีส่วนที่อันตรายกว่าเนื่องจากชายชาวญี่ปุ่นที่เข้าร่วมจะต้องเข้าไปในป่าบนภูเขาเพื่อตัดต้นไม้และนำเชือกผูกก่อนที่จะลากลงมาเพื่อใช้สร้างอนุสรณ์รอบๆศาลเจ้าซุวะทั้ง 4 ทิศ หลายๆคนให้ความเห็นว่านี่เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกล้าหาญ แต่ก็มีเหตุการณ์ที่ผู้เข้าร่วมได้รับอันตรายถึงตายในขณะที่พิธีกำลังดำเนินอยู่
7. คริสต์มาส
ทุกคนล้วนรู้จักประเพณีที่ต้องซื้อต้นไม้มาประดับภายในบ้านและตกแต่งให้ทันเวลาสำหรับวันคริสต์มาส ใต้ต้นไม้คริสต์มาสคือจุดที่ดีที่สุดที่จะใช้วางของขวัญและใช้ประดับระหว่างการเฉลิมฉลองในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตามในระหว่างปีค.ศ. 2003-2006 เฉลี่ย 240 กว่าครัวเรือนต่อปีเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากต้นคริสต์มาสเป็นเหตุและมีผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้นี้เฉลี่ย 16 คน และอีก 25 คนที่ได้รับบาดเจ็บ ต้นไม้คริสต์มาสที่เกิดการลุกไหม้นั้นอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันก็สามารถสร้างความเสียหายได้ในระดับหายนะ
8. การขลิบสำหรับสตรี
แม้จะถูกมองว่าเป็นประเพณีที่รุนแรง อันตราย และไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ชนเผ่าตามที่ต่างๆในประเทศอียิปต์ ซูดาน มาลี และเอธิโอเปียยังคงยึดมั่นในประเพณีการขลิบสำหรับผู้หญิงเพราะเหตุผลทางศาสนาและบางครั้งก็เป็นเพียงประเพณีที่ถูกจัดขึ้นตามเหตุผลทางวัฒนธรรม ว่ากันว่าผู้หญิงกว่า 130 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากพิธีการนี้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคนในแต่ละปี เป็นเพราะพิธีการนี้กระทำโดยปราศจากการใช้ยาสลบหรือยารักษาอื่นๆ ผู้หญิงเหล่านั้นอาจเสียชีวิตเพราะเกิดอาการช็อกจากการเสียเลือกมากเกินไป หรือไม่ก็ติดเชื้อจากเครื่องมือที่ยังไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ ในขณะที่ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน ว่ากันว่า 1 ใน 3 ซึ่งเป็นอย่างน้อยที่สุดของผู้หญิงที่ได้เข้าร่วมพิธีการนี้เสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนต่างๆ
9. ประเพณีวิ่งกระทิง – แพมโพลน่า, สเปน
การต่อสู้กันระหว่างกระทิงในประเทศทางตอนใต้ของอเมริกานั้นเป็นที่รู้กันดีว่าโด่งดังมาก และ ‘การวิ่งกระทิง’ ก็เป็นหนึ่งในประเพณีเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ แต่ประเพณีที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเทศกาล 9 วันที่จัดขึ้นในซาน เฟอร์มิน แพมโพลน่า ประเทศสเปน ซึ่งถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1910 ประเพณีการวิ่งนั้นรวมไปถึงการล้อมคอกกระทิงก่อนจะปล่อยพวกมันออกมาวิ่งบนถนนที่ผู้คนพากันวิ่งอยู่ด้านหน้าพวกมัน ตั้งแต่เริ่มมีการจัดขึ้น มีผู้เสียชีวิตไปทั้งหมด 15 คน และล่าสุดจนถึงปี 2009 ว่ากันว่าคนกว่า 200-300 คนต่อปีได้รับบาดเจ็บจากประเพณีวิ่งกระทิงนี้
10. การรับน้องในประเทศอเมริกา
ว่ากันว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่เข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในแต่ละปีนั้นจะเข้ารับการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษาในอเมริกา (ซึ่งมีกระบวนการรับน้องผ่านทางกลุ่มองค์กร แยกหญิงชาย ผ่านทางชมรมต่างๆ) แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่าการรับน้องนั้นเป็นสิ่งที่ถูกแบนด์ เพราะการรับน้องในระดับมหาลัยของประเทศอเมริกานั้นบางครั้งก็ก่อให้เกิดการเสื่อมเสียและเป็นอันตรายต่อตัวรุ่นน้อง มันก็ปลอดภัยที่จะพูดว่าแม้แต่ชมรมที่มีวัฒนธรรมและมีการศึกษามากที่สุดก็ยังสืบสานประเพณีการรับน้องต่อไป นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1970 เป็นต้นมามีคนอย่างน้อย 1 คนที่เสียชีวิตจากการรับน้องที่ค่ายของมหาวิทยาลัย
ความคิดเห็น