ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดต้องห้ามแห่งดาร์คแลนด์

    ลำดับตอนที่ #123 : ตำนานสยองแห่งซานฟรานซิสโก้

    • อัปเดตล่าสุด 1 ก.ค. 59


    ตำนานสยองแห่งซานฟรานซิสโก้



     
     

     ซานฟรานซิสโก เป็นนครที่สวยงามอีกเมืองหนึ่ง
    ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องแวะไปเยือนเมื่อมาถึงรัฐแคลิฟอร์เนีย
    แสงสียามราตรีทำให้นครแห่งนี้มีชีวิตชีวา
    เช่นเดียวกับมหานครอีกหลายๆ แห่งของสหรัฐ



    ทว่าในคืนที่หมอกลงจัดคล้ายเงาภูตผีหลายคนอดหวนนึกไปถึง
    ตำนานสยองของซานฟรานซิสโกขึ้นมาไม่ได้
    ไม่ว่าจะเป็น ตำนาน...เรือผีสิง ตำนานฝีเท้าปีศาจ
    และ เสียงโซ่ตรวน ที่ดังกึกก้องในคุกที่ไร้นักโทษ
    ตำนานเหล่านี้เล่าขานกันมานานจนกลายเป็นตำนานคู่บ้านคู่เมือง
    ของซานฟรานซิสโกไปแล้ว ใครอยากรู้ อ่านดูเลยจ้า!


    ตำนาน...เรือผีสิง



      สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สุดของซานฟรานซิสโกก็คือ
    สะพานโกลเด้นเกท ซึ่งครั้งที่สร้างเสร็จใหม่ๆ ในปี ค.ศ.1937
    เคยได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
    ทุกวันนี้โกลเด้นเกทก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่เชิดหน้าชูตาของนครแห่งนี้
    นอกเหนือจากการเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในการเชื่อมต่อ
    ซานฟรานซิสโกเข้ากับมารินเคาน์ตี้ ทางตอนเหนือ
    โดยมีรถแล่นไปมาวันละไม่ต่ำกว่า 120,000 คัน



      ทว่า การจราจรบนท้องน้ำเบื้องล่างใต้สะพานลงไปราว 220 ฟุต
    กลับไม่ราบรื่นเหมือนการจราจรบนสะพาน เพราะช่องแคบโกลเด้นเกท
    ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และอ่าวซานฟรานซิสโก
    มีกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และแคบมากเพียง 1 ไมล์เท่านั้น
    ซึ่งหมอกยังลงจัดมากจนทำให้เรืออับปางมากกว่า 100 ลำ
    อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนทิศทางลมและกระแสน้ำอย่างฉับพลัน
     


      คนที่พำนักในย่านนั้นมักจะเห็นเรือสมัยโบราณแล่นไปมาจนต้อง
    โทร.แจ้ง 911 อยู่เสมอ แต่เมื่อตำรวจมาถึงกลับไม่พบเรือประหลาด
    เหล่านั้น ในปี 1942 ทหารเรือของเรือรบหลวงเคนนิสัน
    ยืนยันว่าเห็น “เรือผีสิง” แล่นในช่องแคบในสภาพที่ผ้าใบขาดวิ่น
    แต่กลับแล่นได้เร็วจนหายลับไปกับตา


      คงไม่ได้ตาฝาดหรอกนะ!



    ตำนาน...เหมืองปีศาจ


      ในปี 1848 ซานฟรานซิสโกเป็นเพียงเมืองเล็กๆ
    ที่มีคนอาศัยเพียง 800 คน แต่ในเมืองใกล้ๆ กันมีการค้นพบ
    เหมืองทอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพียง 2 ปีให้หลัง
    บรรดานักแสวงโชคแห่กันเข้ามาขุดทอง
    และอพยพย้ายถิ่นมาอาศัยที่ซานฟรานซิสโกมากมาย
    ถึง 25,000 คน บางส่วนของเมืองจึงเป็น สุสานเก่า
    ซึ่งเมื่อมีการขยายเมืองในเวลาต่อมา สุสานบางแห่งก็ได้ถูกยกเลิกไป



      ตำนาน...เหมืองปีศาจ เล่าว่า สุสานเก่าในเขตรัสเชียนฮิลล์
    ซึ่งฝังศพกลาสีชาวรัสเซียในยุคแสวงโชค ได้ถูกย้ายออกไป
    เพื่อใช้สร้างอาคารใหม่ๆ อาทิ สถาบันศิลปะ ซานฟรานซิสโก
    ในปี 1926 หลังจากนั้นก็จะมีเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นในตึก
    อาทิ มีเสียงฝีเท้าในยามค่ำคืนทั้งๆ ที่ไม่มีใครอยู่ในตึก
    หรืออุปกรณ์ช่างจู่ๆ ก็หมุนได้เองโดยไม่มีใครไปเปิด



      นักศึกษาบางคนเห็นแสงไฟประหลาดที่หอคอยของสถาบันทำให้โจษจันกันไปว่า...บางทีวิญญาณของกtลาสีที่ยังวนเวียนอยู่ในบริเวณนั้นอาจจะส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่า...อย่ามารบกวนพวกเขาอีก



    ตำนาน...คุกหลอน

      เกาะอัลคาทราซ เป็นเกาะร้างในอ่าวซานฟรานซิสโก
    ซึ่งใช้เป็นคุกทหารก่อนจะกลายมาเป็นเรือนจำของซานฟรานซิสโก
    ตั้งแต่ปี ค.ศ.1934  โดยมีระบบการควบคุมนักโทษที่รัดกุม
    ยากแก่การหลบหนี อัล คาโปน เจ้าพ่อคนดังของอเมริกาก็ถูกส่งตัว
    มาชดใช้กรรมที่คุกแห่งนี้นานถึง 29 ปี



      แม้จะเป็นเรือนจำที่คุมเข้มที่สุด แต่นักโทษก็ยังไม่วายคิดหนี โดยกระโจนลงสู่สายน้ำที่เย็นยะเยือก และเชี่ยวกราก
    ของอ่าวซานฟรานซิสโก หมายจะให้น้ำพัดพาตัวเองไปขึ้นฝั่ง
    ทว่า ส่วนใหญ่ถ้าไม่ตายกลางน้ำมักจะถูกจับกุมได้ก่อนขึ้นฝั่งเสมอ

     

      เกาะอัลคาทราซหมดสภาพการเป็นเรือนจำในปี 1963
    แล้วพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ แต่นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนเกาะนี้
    มักจะได้ยินเสียงโซ่ตรวนดังแว่วๆ หรือได้ยินเสียงแบนโจ
    ดังมาจากห้องคุมขัง เจ้าพ่ออัล คาโปน ในขณะที่หลายคนยืนยันว่า
    เกิดอาการขนลุก เย็นสันหลังวาบขึ้นมาเฉยๆ เมื่อได้เห็นเงาวูบๆ วาบๆ และบริเวณที่ยืนอยู่ก็เย็นยะเยือกขึ้นมาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย



      ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับคุกหลอนที่อัลคาทราซได้ตอกย้ำความเชื่อ
    ในเรื่องของชีวิตหลังความตาย...โดยเฉพาะการรับโทษทัณฑ์ในภพอื่นของอดีตนักโทษแห่งอัลคาทราซ



      ...ตายแล้วก็ยังต้องถูกจองจำแบบนี้...บางทีอาจเป็นอุทาหรณ์ให้คนชั่วคิดกลับตัวกลับใจเสียใหม่ก็เป็นได้



     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×