ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ยำใหญ่ใส่แฟนฟิค!][ห้องเรียนพิสดาร : คลาสพิเศษ Triple A]

    ลำดับตอนที่ #27 : [ห้องเรียนพิสดาร : คลาสพิเศษ Triple A ] ตอนที่สองเจ็ด : เมื่อน้ำท่วมคลาสพิเศษ!

    • อัปเดตล่าสุด 22 ต.ค. 54


     [และแล้วก็มาถึงวันเตรียมการ ก่อนที่จะจัดกีฬาสี]

    เรือง - กีฬาสีเหรอ. . . ไม่ค่อยอยากจะเข้าร่วมเท่าไหร่เลยแฮะ

    โย - ทำไมล่ะคะ น่าสนุกดีออก

    คุโปะริน - หรือว่า... หัวหน้า บ.ก. รำคาญเสียงเชียร์กีฬาสี ใช่มั้ยคะ

    เรือง - ก็ใช่อ่ะนะ

    โจ้ - ว่าแล้วเชียว

    คะฟุกะ - โย่ว! หัวหน่า บ.ก.

    เรือง - ว่าไงล่ะ

    คะฟุกะ - มีข่าวร้ายมาบอกจ้า ดูที่มือถือของทุกท่านสิ

    [วิ้งงงงง]

    [เสียงไตเติ้ลรายการข่าวช่อง 3]

    คุโดจุน - สวัสดีครับ

    จิริ - สวัสดีค่ะ

    คุโดจุน/จิริ - ข่าวสั้นวันพิเศษ มาแล้วครับ!/ค่ะ!

    จิริ - เริ่มที่ข่าวร้ายกันก่อนเลยนะคะ

    คุโดจุน - ขณะนี้ น้ำเหนือได้ทะลักเข้าโจมตี ร.ร. ผรุสวาส
    จนไม่สามารถจัดกีฬาสีได้ และได้เลื่อนกำหนดการ
    แข่งขันไปอย่างไม่มีกำหนด

    จิริ - น่าเสียดายจังเลยนะคะ และต่อไปจะเป็นข่าวดีค่ะ

    คุโดจุน - ทางคลาสพิเศษ จะมีการสอนวิธีรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม
    ที่ตึกหอสมุดแห่งคลาสพิเศษครับ

    คุโดจุน/จิริ - จบการรายงานเพียงเท่านี้ครับ/ค่ะ

    [จบข่าว!]

    เรือง - งั้นก็...ไปหอสมุดเลยดีกว่า

    [ที่หอสมุด]

    อ.สิ้นหวัง - เอาล่ะเอาล่ะ วันนี้จะเป็นชั่วโมงพิเศษ

    รีบอร์น - เราจะมาสอนวิธีรับมืออุทกภัยกัน

    เบ๊คกี๊ - และเรามีอุปกรณ์ฉุกเฉินยามน้ำหลากมาให้ทดลองใช้ด้วย

    อ.สิ้นหวัง - เริ่มบทเรียนแรก : การรับข้อมูลข่าวสารด้านภัยพิบัติ

    รีบอร์น - รู้จัก ศปภ. รึเปล่า?

    นักเรียนทุกคน - ไม่รู้จักอ่ะ

    เบ๊คกี๊ - ชื่อเต็มของศูนย์นี้คือ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

    เรือง - ผมนึกว่าจะเป็น ศูนย์สร้างความสับสนและปั่นป่วนแก่ผู้ประสบอุทกภัย เสียอีก

    นามิ - โอยน่อ คิดไปได้นะนายเนี่ย

    คะฟุกะ - แล้วหน้าที่หลักของศูนย์นี้ล่ะ

    อ.สิ้นหวัง - หลักๆ ก็คือ แจ้งเตือน เฝ้าระวัง ป้องกันอุทกภัย รับหน้าที่อพยพฝูงชน
    อะไรประมาณนี้แหละ

    อะบิรุ - แล้วพวกเราจะรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้อย่างไรดีคะ?

    รีบอร์น - มีแผนรับมือที่ข้างล่างนี้ครับ
    v
    v
    v

    การเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม
    www.cendru.net

    ก่อนน้ำท่วม
             การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ

    การเตรียมความพร้อมก่อนน้ำท่วม

             รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ

    สอบถามหน่วยงานที่จัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามต่อไปนี้

            -  ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่

            -  เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

            -  เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

            -  เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

            -  ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

    การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้                               

            1.  คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

            2.  ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

            3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

            4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

            5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้

            6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง

            7.  ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

            8.  บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย

            9.  รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

            10.  ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน       11.  เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

            12.  ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย  และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ

     

    ถ้าคุณคือพ่อแม่ :

    ·        ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ  หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ

    ·        ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น

    ·        ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่

    ·        เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ

    ·        จัดเตรียมกระสอบทราย  เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน

    ·        ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

     

     

     





    การทำแผนรับมือน้ำท่วม

     

            การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้ พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

     

    ถ้าคุณมีเวลาเพียงเล็กน้อยหลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน

            -  สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน

            -  รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณ

               บ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง            

            -  เมื่ออพยพออกจากบ้าน   ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด  ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า

                คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร

            -  เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ

     

    ถ้าคุณมีเวลามาก หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ

            -  ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม

            -  อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้

            -  ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิด

                อุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้ ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็น

                ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน

            -  ปิดถังแก๊สให้สนิท

    -  จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

             -  ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ

            -  เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย

    น้ำสามารถไหลเข้าบ้านคุณได้อย่างไร

            น้ำท่วมสามารถไหลเข้าบ้านได้หลายทาง โดยทางเข้าจะสูงกว่าระดับพื้นบ้านดังนั้นหลังจากระดับน้ำท่วมลดลง น้ำจึงยังคงอยู่ในตัวบ้าน เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย

    น้ำเข้าบ้านได้หลายทาง ดังนี้

    - น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้

    - หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้าน  

      ทางท่อในห้องน้ำหรือท่ออ่างล้างหน้าได้

    - น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพง

    - น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาทางพื้นชั้นล่างได้

    - น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบๆสายไฟ

      หรือ สายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง  

    - น้ำสามารถผ่านเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้ง

    ระหว่างเกิดน้ำท่วม
     

    พายุและน้ำท่วมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ควรมีการตื่นตัวเมื่อเกิดพายุฝนตกหนักหรือหากไม่แน่ใจ ควรเปิดวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อฟังพยากรณ์อากาศและติดตามสถานการณ์           น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งจะมีหน่วยงานสำหรับเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนมีเวลารับสถานการณ์ ซึ่งประชาชนทุกคนควรให้ความร่วมมือและช่วยเป็นหูเป็นตา หากสัญญาณที่อาจจะเกิดน้ำท่วมได้ให้ทำการแจ้งหน่วยงานในท้องถิ่น

    ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

            ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

    1.  การเฝ้าระวังน้ำท่วม  ( Flood Watch) :    มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์

    2.  การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) :   เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

    3.  การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) :   เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

    4.  การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) :  เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

     

    สิ่งที่คุณควรทำ  :  หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

            1.  ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน

            2.  ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

                    -  ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

                    -  อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

                    -  อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก

            3.  ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว

            4.  ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม  จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม

            5.  ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

                    -  อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

                    -  อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน

                   -  ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

                    -  ล๊อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

                    -  ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

            6.  หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

                    -   ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

                    -  ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

                    -  เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

                    -  ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน

     

                   น้ำท่วมฉับพลัน

     -  น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย

    -  ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ

    -  เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการ

       เตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง

    -  ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

    -  ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี

    -  อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม

     

     

    ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

      

     -   ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล : มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่

         น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้  ดังนั้นถ้ามี

          ความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง

     

      -  ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดยน้ำท่วม : การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมาก

         ที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมี

         อันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตรพัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้

     

     -  ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย : กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำ

        ท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรือ

        อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

           

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่ในบ้าน

      

     -  ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม :  อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้

         แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน

         ของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท

      -  ระวังสัตว์อันตราย :  สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน

      -  เดินอย่างระมัดระวัง :  ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่

         พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว

      -  ระวังแก๊สรั่ว : หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความ

         เสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว

      -  อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซด์ : ควรใช้ เตาย่าง และโคมไฟ นอกบ้านเพราะควัน

          ที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษ และไม่ ควรนำไปใช้ในบ้าน

      -  ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ : น้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน

         ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ อาหาร ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

      -  ดูแลตัวเองและครอบครัว : หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ

         ความเจ็บป่วยทางจิตใจอาจใช้เวลารักษานานกว่าความเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นควร

         พยายาม เรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    หลังน้ำท่วม

            3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรกๆหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม     

    ขั้นตอนที่ 1 :  เอาใจใส่ตัวเอง

            หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลาเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมก็อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวพร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม

            อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด และหงุดหงิดง่ายรวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้าย และปัญหาทางกายโรคภัยไข้เจ็บ จริงๆแล้วเรื่องความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

            1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

            2. พูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ กับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวล จะช่วยให้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

            3.  พักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและ ทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

            4.  จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับและค่อยๆ ทำไป

            5.  ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่ออาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้

            6.  ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กทีมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจาก

                 น้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

            7.  ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เคยโดยน้ำท่วม

     

    ขั้นตอน  2  :  การจัดการดูแลบ้านของคุณ

             ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกไฟดูดหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอน ดังนี้

            1.  ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

            2.  ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหายและซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

            3.  เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็คสายไฟฟ้า สายและถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่ว จะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊ส

                 ให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

            4.  ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้าง ทุกอย่างปลอดภัย

            5.  ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

            6.  ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก็ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

            7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

            8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน(ถ้ามี)

            9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

           10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศและตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้าง

                 พื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

           11.  ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

           12.  เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

           13.  ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มหรือทำอาหารด้วยน้ำจากก๊อก

                 จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

          14.  ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆเนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือ

                 พื้นห้องใต้ดินได้

         15.  กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

     

    ขั้นตอน  3  :  ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

                ก่อนที่คุณพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง คุณควรประเมินความเสียหายและทำความแผนที่วางไว้ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

            1.  เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อพิจารณาความเสียหาย

            2.  ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารของบ้านคุณ

            3.  ทำแผนการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งเป็นรายการสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อ

                ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

            4.  เปิดหน้าต่างเพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป

    มันมากับน้ำท่วม !

                    โรคภัยที่แฝงมาทำร้ายผู้คนพร้อมกับน้ำท่วมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน ไข้หวัด โรคเครียดวิตกกังวล โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงและสัตว์พิษกัด


    โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
                   โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันจากเชื้อรา ที่มาจากการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน จนทำให้ราร้ายตัวนี้เจริญเติบโตไปตามซอกนิ้วเท้า โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุย เกิดผื่นที่เท้า ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา พบบ่อยที่ซอกนิ้ว แต่อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้   การรักษาและป้องกันทำได้โดยล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดไม่เปียกชื้นและไม่ใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน

    ไข้หวัด
                   เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวมและแดง มีการหลั่งของเมือกออกมา  โดยผู้ที่เป็นไข้หวัดจะมีอาการจามและน้ำมูกไหลนำมาก่อน อ่อนเพลียปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน มีการระบาดหนักในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากความชื้นต่ำ และอากาศเย็น ติดต่อได้จากน้ำลาย และเสมหะผู้ป่วย ให้พักและดื่มน้ำมากๆ สิ่งที่สำคัญในการป้องกัน คือ ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงตลอดเวลา

    โรคเครียดวิตกกังวล
                     โรคเครียดเป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนแอลงเพราะความ เครียดได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่าพึ่งสารอาหารใดสารอาหารหนึ่งเพื่อลดความ เครียด เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  และพักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลาย

    โรคตาแดง
                    เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาที่ติดเชื้อไวรัส ติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือและแพร่จากนิ้วมือมาติด อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน  สามารถติดต่อได้ง่ายมาก โดยการคลุกคลีใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วย ใช้เสื้อผ้าหรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า ผู้ป่วยโรคตาแดงจะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามากจากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน

                    การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ  ไม่คลุกคลีใกล้ชิด  และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาดอยู่เสมอ

    โรคอุจจาระร่วง
                    จะมีการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือมูกปนเลือดหรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกลือแร่ อาจทำให้ช็อคหมดสติ  โดยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส  โปรโตซัว และ ปรสิตหนอน พยาธิ ที่มากับการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการปรุงอาหารและภาชนะสกปรก   การรักษาเมื่อเริ่มมีอาการอุจจาระร่วงให้รีบผสมผงน้ำตาลเกลือแร่ดื่มทันที

                    การป้องกันควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงหรือก่อนรับประทานอาหาร และควรถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

    ยุคโกะ - จะยาวไปน๊ายยย ชั้นอ่านตามไม่ทันอ่ะ

    พี่เทพ - อ่านไม่ทันก็ไม่ต้องอ่านสิ

    เอลเซ่ - พี่เทพค้าาาา หนูบันทึกข้อมูลนี้ใส่ USB เรียบร้อยแล้วค่ะ

    จิตัน - แล้ว จะอพยพกันอย่างไรล่ะ?

    เบ๊คกี๊ - เรามีเครื่องขนส่งทะลุมิติ โดยความร่วมมือกันระหว่างชั้นกับฮาคาเสะ

    ซุสุ - แล้ว...จะใช้ได้ผลหรือ

    เบ๊คกี๊ - ใช้ได้สิ งั้นลองเลยดีกว่า

    [แว่บบบบบ]

    เรือง - เอ. . . แล้วที่นี่มันที่ไหนล่ะเนี่ย?

    ยามาดะซัง - ตื้ด ตื้ด ตื้ด ตอนนี้ พวกเรา ห้องทริปเปิ้ลเอ อยู่ที่ดอยอินทนนท์ค่ะ

    ไคโซ - อากาศสดชื่นดีเนาะ

    คามิยามะ - นั่นสินะ. . .

    [แว่บบบบบ]

    ซุสุ - คิดว่า ตอนนี้พวกเราอยู่ที่ไหน

    ซาเอะ - จากสภาพโดยรอบ ที่ๆพวกเราชาวเอเนกกาทีฟอยู่ ณ ตอนนี้
    คือ ที่ราบสูงทิเบตค่ะ

    ฮิโระ - วัดทิเบตสวยจังเลย

    ซาซาฮาระ - งั้น. . .เราไปไหว้พระกันดีกว่า

    นักเรียนห้อง เอเนกกาทีฟ - เย้!

    [แว่บบบบบ]

    ฮินางิคุ - ที่นี่มันที่ไหน แล้วทำไมมันถึงหนาวเยี่ยงนี้ บรื๋อออ

    อิจิโจว - ตอนนี้พวกเราอยู่ที่ มลรัฐอลาสก้า!

    โฮคุโตะ - แล้ว. . . สองพี่น้องสึโบอุจิ หายไปไหนกันล่ะเนี่ย?

    ยูโนะ - นะ นะ หนูว่า. . . พวก ขะ ขะ เขา คงพลัดหละ หละ หลง
    กับพวกเราละ ละ แล้วล่ะมะ มะ มั้ง อูย. . . หนาว. . .

    [แว่บบบบบ]

    จิตัน - ที่นี่มันที่ไหน ทำไมถึงได้หนาวเยี่ยงนี้?

    ซาตัน - ที่นี่คือ. . . ทวีปแอนตาร์กติกา(ขั้วโลกใต้)!!!

    จิตัน - นี่มัน. . . อะไรกันฟร้าาาาา!!!

    [ยูโนจจิคิดถูกแล้วแหละนะ!]

    สรุปก็คือ
    ทริปเปิ้ลเอ อพยพไปที่ ดอยอินทนนท์
    เอเนกกาทีฟ อพยพไปที่ ที่ราบสูงธิเบต
    ดับเบิ้ลเอ อพยพไปที่ มลรัฐอลาสก้า
    ส่วนสองพี่น้องสึโบอุจิ หลงทางสุดกู่ ไปอยู่ที่ขั้วโลกใต้

    หนีอุทกภัยไปเจอภัยหนาวชัดๆ

    [นางาโตะ - ตอนหน้า การสอบเลื่อนชั้นสุดโหด คุณจำเป็นต้องติดตามนะ]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×