กำเนิดใหม่เมดูซ่า (อีบุ๊ค 2 เล่มจบ) - นิยาย กำเนิดใหม่เมดูซ่า (อีบุ๊ค 2 เล่มจบ) : Dek-D.com - Writer
×

    กำเนิดใหม่เมดูซ่า (อีบุ๊ค 2 เล่มจบ)

    เทพที่นางทุ่มเทให้ทั้งกายใจลงโทษนางด้วยคำสาปร้ายกาจ ทั้งๆ ที่นางมิได้ทำผิดและเป็นฝ่ายถูกกระทำ เทพองค์นั้นยังส่งคนมาฆ่านาง แม้ตายแล้ว นางยังเทิดทูนเทพองค์นั้นอย่างงมงาย จนกระทั่งนางได้รู้ความจริง

    ผู้เข้าชมรวม

    13,141

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    170

    ผู้เข้าชมรวม


    13.14K

    ความคิดเห็น


    40

    คนติดตาม


    208
    จำนวนตอน :  53 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  24 พ.ย. 67 / 00:02 น.
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    แรงบันดาลใจในการเขียนนิยายเกี่ยวกับเมดูซ่ามาจากบังเอิญไปเห็นรูปเมดูซ่าที่เจนด้วยเอไอ เลยทำให้นึกได้ว่าควรเขียนเรื่องของหญิงสาวที่สุดแสนอาภัพคนนี้ เพราะนางอาภัพเสียจนผู้เขียนรู้สึกแย่แทนนาง ก็เลยได้พล็อตนิยายเรื่องนี้มา

    รูปลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของเมดูซ่าสามารถดูได้ที่ ‘อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici)’ ซึ่งเป็นอุโมงค์เก็บน้ำโบราณขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครคาดว่าจะซ่อนอยู่ใต้เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรเคีย

    ‘อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน’ เคยเป็นมหาวิหาร (Basilica) ในอ่างน้ำ ผู้คนจึงเรียกอีกชื่อว่า Basilica Cistern สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (Justinian I) แห่งไบแซนไทน์ ในศตวรรษที่ 6 เพื่อเป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ในพระราชวัง สำรองไว้ใช้ยามที่กรุงอิสตันบูลถูกข้าศึกปิดล้อมเมือง

    น้ำที่ส่งมาเก็บที่อุโมงค์เยเรบาตันจะถูกส่งมาตามท่อส่งน้ำจากศูนย์กระจายน้ำที่ป่าเบลเกรด (Belgrade Forest) ซึ่งอยู่ห่างจากอิสตันบูลไปทางเหนือ 19 กิโลเมตร ก่อนจะกระจายและส่งต่อไปยังพระราชวังหลวงแห่งคอนสแตนติโนเปิลและอาคารต่างๆ บนเนินแถบนี้ และเป็นแหล่งเก็บน้ำหลักเรื่อยมา จนถึงสมัยออตโตมันก็ยังคงเป็นแหล่งน้ำหลักของพระราชวังทอปกาปี (Topkapi หรือ TopkapıSarayı)

    อุโมงค์แห่งนี้มีความกว้าง 64.6 เมตร ยาว 138 เมตร สูง 9 เมตร มีเสาค้ำหลังคา 336 ต้น แบ่งเป็น 12 แถวๆ ละ 28 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 4.9 เมตร จุน้ำได้ทั้งหมด 80,000 ลูกบาศก์เมตร เสาหินขนาดใหญ่ใต้ดินแกะสลักจากหินอ่อน สันนิษฐานว่ารวบรวมมาจากโครงสร้างโบราณหลายแห่ง เสาส่วนใหญ่เป็นแบบไอออนิกและแบบคอรินเทียน

    เสาที่ใคร ๆ ก็ต้องไปดู คือ เสารูปดวงตา บางคนเรียกว่า ‘ดวงตานกยูง’ หรือ ‘ดวงตาปีศาจ’ เสาต้นนี้เขาว่าจะมีน้ำไหลออกมาตลอดเวลา (เป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ) เชื่อกันว่าเป็นน้ำตาของทาสที่ถูกเกณฑ์มาสร้าง แล้วเสียชีวิตไปหลายร้อยคน

    เสาหยดนํ้าตา (Crying Column หรือ The Column of Tears) เป็นเสาที่มีลายแกะสลักเป็นรูปดวงตานกยูง หยดน้ำตาหรือดวงตาปีศาจ ตามแต่ใครจะเห็นเป็นรูปใด เรียกชื่อว่า Forum Tauri

    เสาอีกสองต้นที่ไม่ควรพลาดชม ได้แก่ เสาที่มีฐานเป็นหัวของเมดูซากลับหัว และเสาหัวเมดูซาตะแคงขวา ประติมากรรมนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญ และเพื่อเป็นการแก้เคล็ดจึงตั้งรูปแกะสลักศีรษะของเมดูซ่าให้กลับหัวหรือตะแคง เพื่อไม่ให้เมดูซ่ามองใครแล้วกลายเป็นหิน เสาเมดูซานี้สร้างไว้เพื่อให้เมดูซาปกป้องอุโมงค์เก็บนํ้าแห่งนี้

    ในยุคออตโตมัน ในปี 1453 หลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกอาณาจักรออตโตมันตีแตก อุโมงค์แห่งนี้ถูกทิ้งร้างไปโดยปริยายเป็นเวลายาวนานร้อยกว่าปี จนในปี 1545 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Petrus Gyllius ค้นพบอุโมงค์นี้ ทางการตุรเคียจึงใช้อุโมงค์นี้เป็นที่เก็บกักน้ำอีกครั้งสำหรับพระราชวังทอปกาปีที่อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ก่อนจะปรับปรุง ล้างทำความสะอาดบูรณะครั้งใหญ่ในปี 1985 แล้วเปิดให้คนเข้าชมเป็นครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.1987 กลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งย่านจัตุรัสสุลต่านอาห์เมต

     

    นิยายเรื่อง ‘กำเนิดใหม่เมดูซ่า’ จะเล่าเรื่องราวการถือกำเนิดอีกครั้งของเมดูซ่าหลังจากนางถูกเพอร์ซีอุสฆ่า มาดูกันว่าชีวิตใหม่ของเมดูซ่าจะเป็นอย่างไร และเธอจะทำอย่างไรกับเรื่องราวที่ได้รับรู้ บทแรกของนิยายเรื่องนี้จะเป็นเรื่องของเมดูซ่าโดยละเอียด ซึ่งจะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้ แต่ผู้เขียนใส่ไว้เพื่อให้ทุกคนได้อ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติมก่อนเข้าสู่นิยาย

     

    กำเนิดใหม่เมดูซ่า:

    https://www.mebmarket.com/web/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiNzgzNzg4MCI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjI3OTM5OSI7fQ

     

     

    ‘แรมนูเซีย’ ชื่ออันเแปลกประหลาดของหญิงสาวที่งดงามราวกับเดินออกมาจากภาพวาดฝีมือเยี่ยมของจิตรกรเอกระดับโลก หากไม่มีใครทราบหรือน้อยคนนักที่จะทราบว่าชื่อ ‘แรมนูเซีย’ เป็นอีกชื่อหนึ่งของเทพีเนเมซิส เทพีแห่งการแก้แค้นในเทพปกรณัมกรีก

    แรมนูเซียไม่สนิทสนมกับผู้ชายคนใด กระทั่งบิดาและพี่ชายของเธอเองก็ยังสนิทกับเธอไม่มากแม้เธอจะรักพวกเขาก็ตาม ที่แปลกกว่านั้นคือ เธอคลั่งไคล้เทพปกรณัมกรีกอย่างยิ่ง จนถึงกับบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนที่คณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศกรีซ หากเธอมาที่กรีซด้วยจุดประสงค์บางอย่าง จุดประสงค์ที่จะพลิกเปลี่ยนเรื่องราวบางประการจากหน้ามือเป็นหลังมือ

    ที่แท้แล้ว แรมนูเซียมาทำอะไรที่กรีซกันแน่ !?

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น