ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาชีวะ ลุย Ad 53

    ลำดับตอนที่ #3 : ไขข้องใจเรื่องคะแนน

    • อัปเดตล่าสุด 10 พ.ค. 52


    ทุกท่านสามารถ ตามไปยังลิงค์ของ สทศ. ได้ ซึ่งมีรายละเอียดไว้เยอะพอสมควร แต่เราจะย่อ ให้ท่าน เอง 55+

    />

    ทำความเข้าใจกับ ระบบ Admission กลาง หรือ เราจะมักเรียนสั้นว่า ระบบ Ad หรือระบบกลาง 53 นั่นแล

     

    ด้วยบางความคิด ทำให้ผม คิดเอ๊ะใจไปว่า รุ่นผมมันอะไรกันนะ รุ่นแห่งการโดนเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องเรียนรู้อะไรอีก เยอะพอสมควร ดังนั้น ระบบ ความเข้าใจของผม ต้อง ถูกนำมาเปิดเผยสู่ สาธารณะ

     

    สำหรับ อาชีวะ หัวขี้เลื่อยของผม (คิดแค่ผม คนเดียวนะ คนอื่นไม่ทราบ)

     

    ระบบ นี้ ดูเข้าใจยากจนเกินทำความเข้าใจจริงๆ (แหม แล้วมีหน้าจะไปอธิบายให้คนอื่นฟัง -*-)

     

    ขโมยมาจาก สทศ. ที่อยากเอาระเบิดไปปาหลายรอบ 55+

     

    การเข้ามหาวิทยาลัยมี 2 ช่องทาง

    1.          ระบบรับตรง โควตา พิเศษ มหาวิทยาลัยทำเอง รับ 50% ของที่นั่ง รู้ผล ธันวาคม

    2.          ระบบรับกลาง (Admission กลาง) นักเรียนต้องสมัคร เสียค่าสมัคร 4 ลำดับ 250 บาท รู้ผลช่วงปลายเมษายน

     

     

    ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบ ดังนี้

                                GPAX 6 ภาคเรียน                                  20%

                            O-NET (8 กลุ่มสาระ)                             30%

                            GAT 1 ฉบับ                                          10-50%

                            PAT หลายฉบับ                                      0- 40%

                                                                    รวม                                                     100%

     

      GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

     

    GAT

     

    การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน

                    ส่วนที่ 1                คือ ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา 

                                                    จำนวน 20 ข้อ 150 คะแนน

                    ส่วนที่ 2                คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจำนวน 60 ข้อ

                                                    150 คะแนน        

     

    PAT

     

    มี 7 ประเภท โดยสอบประเภทละ 3 ชั่วโมง 300 คะแนน

                            PAT 1 ได้แก่ ความถนัดทางคณิตศาสตร์

                            PAT 2 ได้แก่ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

                            PAT 3 ได้แก่ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

                            PAT 4 ได้แก่  ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

                            PAT 5 ได้แก่ ความถนัดทางครู                  

                            PAT 6 ได้แก่ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

                            PAT 7 ได้แก่ ความถนัดในการเรียนภาษาต่างประเทศ

                                        PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส                 PAT 7.4 ภาษาจีน

                                        PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน                      PAT 7.5 ภาษาบาลี

                                                    PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น                                           PAT 7.6 ภาษาอาหรับ

     

     

    ซึ่ง สามารถ อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่  http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/1/bf1062ba27f7b4a9f1813d292793b416.ppt

    เป็นการดาวโหลดเอกสารทันที

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×